ตามหลักการสันนิษฐานของผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีของไทย เชื่อกันว่าพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทยก่อน พ.ศ.500 หลักฐานที่ปรากฏได้แก่ พุทธเจดีย์ เช่น พระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูป ตลอดจนสิ่งต่างๆ ที่ขุดพบ ซึ่งทางโบราณคดีจัดว่ามีหลักฐานพุทธเจดีย์ในประเทศไทยอยู่ 7 สมัย คือ สมัยทวาราวดี จนถึง สมัยรัตนโกสินทร์
หลักธรรมของพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ปวงชนด้วยอาการ 3 อย่าง คือ
1. ให้รู้ยิ่งและเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้เห็น
2. มีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
3. มีผลคือผู้ปฏิบัติได้ประโยชน์สมกับปฏิบัติ ซึ่งมีดังนี้
- ประโยชน์ชั้นต้น เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกประโยชน์ คือ ประโยชน์ปัจจุบัน 4 อย่าง
- ประโยชน์ชั้นกลาง เรียกว่า สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ภายหน้า 4 อย่าง
- ประโยชน์ชั้นสูง เรียกว่า ปรมัตถประโยชน์ ได้แก่ การสละกิเลส อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ธรรมที่ทรงสั่งสอนเกี่ยวกับชาวบ้านโดยทั่วไปที่เห็นได้ชัดก็คือ ฆราวาสธรรมหรือธรรมของผู้ครองเรือน เช่น
1. คฤหบดีธรรม คือ ธรรมของผู้ครองเรือน ได้แก่ ความมีหลักฐาน สุขของคฤหัศถ์ 4 อย่าง และสังคหวัตถุ 4 อย่าง
2. ทิฏฐธัมมิกประโยชน์ คือ ประโยชน์ปัจจุบัน 4 อย่าง อุฏฐานสัมปทา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา และสมชีวิตา
3. ความกระเหม็ดกระแหม่ คือ การรู้จักรักษาทรัพย์ที่พากเพียรหามาได้เพื่อจะได้มีใช้ในคราวจำเป็น
4. ตระกูลอันมั่งคั่งจะอยู่นานไม่ได้เพราะสถาน 4 คือ ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ และตั้งคนทุศีลให้เป็นพ่อบ้านแม่เรือน
5. อบายมุข คือ เหตุแห่งความฉิบหาย มี 6 ประการคือ ดื่มน้ำเมา ติดเที่ยวกลางคืน ติดดูการเล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร และเกียจคร้านการทำงาน
6. วิธีการปกครอง มี 3 ระดับ คือ
- ครองตน คนเราควรละเว้นความชั่วและทำแต่ความดี ต่อจากนั้นพึงตั้งในวุฒิธรรม คือ ธรรมเครื่องให้ถึงความเจริญ 4 ประการ นอกจากนี้เราควรมีพรหมวิหารธรรม คือ ธรรมของผู้เป็นใหญ่ 4 ประการ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
- ครองคน (รวมถึงงานและตนด้วย) เพื่อให้การปกครองเป็นไปโดยชอบจึงต้องอยู่ในธรรมของผู้ใหญ่ได้แก่ ตั้งตนเป็นผู้ใหญ่ให้สมควรที่ผู้น้อยจะนับถือ, ไม่เบียดเบียนผู้น้อย, ทำความประนีประนอมในระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย, รู้จักวางตนและปฏิบัติการต่อผู้ใหญ่ผู้น้อยและผู้ที่เสมอกับตน และรู้จักรักษาน้ำใจผู้น้อย
- คลองทรัพย์สมบัติ การที่ทรัพย์สมบัติของผู้ครองเรือนจะมั่นคงเพิ่มพูนขึ้นหรือลดน้อยไป ขึ้นอยู่กับเจ้าของว่ารู้จักปกครองหรือไม่ อนึ่ง อย่าทำตนเป็นคนมีหนี้เลยเป็นอันขาด เพราะการเป็นหนี้นำมาซึ่งความทุกข์ และอาจเป็นคนล้มละลายได้
ความเคารพ
เป็นคุณธรรมช่วยในการปฏิบัติตามาคำสั่งสอนของนักปราชญ์ เช่น พระพุทธเจ้า เป็นต้น โดยทั่วไปความเคารพมี 6 ประการ เรียกว่า คารวะ 6 ครั้ง คือ เคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ในการศึกษา ในความไม่ประมาท และในการปฏิสันถารต้อนรับปราศรัย บุคคลผู้มีความเคารพที่แท้จริงต้องเป็นผู้ปราศจากความถือตัว กระด้าง และเย่อหยิ่ง ส่วนบุคคลผู้เคารพยำเกรงมี 3 ประเภท คือ ผู้เจริญโดยชาติ (ชาติวุฑโฒ) ผู้เจริญโดยวัย (วัยวุฑโฒ) และ ผู้เจริญโดยคุณความดี (คุณวุฑโฒ) ส่วนการเคารพอีกอย่างหนึ่ง คือ เคารพตน, เคารพผู้อื่น และเคารพธรรม (หน้าที่และความสมควร)
ความกตัญญูกตเวที
กตัญญู คือ รู้อุปการคุณที่ท่านทำแล้วแก่ตน, กตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ท่านได้ทำแล้วแก่ตน ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
ความจงรักในวัตถุ มี 4 อย่าง คือ
- รักชาติ
- รักศาสนา
- รักพระมหากษัตริย์
- รักรัฐธรรมนูญ
-
ความสามัคคี
ความสามัคคี แปลว่า ความพร้อมเพรียง ได้แก่ ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่วิวาทบาดหมาหมางแก่งแย่งกัน สามัคคีมี 2 อย่าง คือ กายสามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกันด้วยกาย และจิตสามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกันด้วยจิต ซึ่งความสามัคคี ทั้ง 2 ประเภทนี้ ย่อมยังผลให้หมู่ชนที่มีนั้นมีความสุขความเจริญ
การปรับหลักธรรมะของพุทธศาสนากับประชาธิปไตย
ธรรมในพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับการเมืองและการปกครองนั้น ผู้รู้มักกล่าว่าพุทธศาสนาแบ่งการปกครองออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
· 1. โลกาธิปไตย คือ ปกครองโดยโลก (คนส่วนใหญ่)
· 2. อัตตาธิปไตย คือ ปกครองโดยผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยกลุ่มคน
· 3. ธรรมาธิปไตย คือ ปกครองโดยธรรม ซึ่งลักษณะการปกครองในพุทธศาสนาคือหลักธรรมมาธิปไตยนั่นเอง
หลักธรรมในพุทธศาสนาเราอาจนำมาปรับใช้กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้อย่างดี เช่น ความสามัคคี การช่วยตนเอง การสหกรณ์ ฯลฯ
วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น