วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

การศึกษาการเมืองท้องถิ่น

1. ความนำ
นายเฮอร์เบิร์ต จาคอบ(Herbert Jacob), และนายไมเคิล ลิปสกี้ (Michal Lipsky) แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน กล่าวไว้ว่า การเมืองท้องถิ่นมิได้เป็นเรื่องของโลกที่สูญหายไปจากการศึกษา วิชารัฐศาสตร์ที่จริงโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา เช่น การศึกษา V.O.Key Jr. และ Robert A. Dahl. ซึ่งจะเป็นการศึกษาการเมืองท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ โดยศึกษาสภาพสังคมในท้องถิ่นที่เกี่ยวพันกับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยและอำนาจการปกครองตนเองของท้องถิ่น

2.การศึกษาการเมืองระบบใหญ่(Macro-Politics) หรือรัฐศาสตร์มหภาค
การศึกษาการเมืองระบบใหญ่ คือ การมุ่งศึกษาถึงรัฐ, รัฐ-ชาติ, ทฤษฎีการเมือง, การบริหารรัฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กล่าวคือ เป็นการมุ่งศึกษาองค์กรใหญ่อันเป็นการศึกษาการเมืองที่กว้างขวาง เรียก Macro-Politics โดยยึดถือระบบการเมืองในสังคมใหญ่เป็นหลัก

3.การศึกษาการเมืองระบบย่อย (Micro-Politics) หรือรัฐศาสตร์จุลภาค
การเมืองระบบย่อยหรือการเมืองท้องถิ่น เป็นการศึกษาและวิจัยในวงแคบถึงความเป็นอยู่และพฤติกรรมทางการเมืองของคนในสังคมระดับเล็กกว่ารัฐ-ชาติ มุ่งศึกษาหาความจริงในระบบการเมืองย่อยๆ (Sub-System) เช่น การเมืองท้องถิ่น พฤติกรรมของประชาชนและข้าราชการระดับท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งอาจกำหนดเป็นทฤษฎีการเมืองท้องถิ่น, กำหนดรูปแบบความเกี่ยวพันกับการเมืองระบบใหญ่ หรือเป็นเครื่องชี้ให้เห็นความแตกต่างหรือเหมือนกัน หรือความเกี่ยวพันของชีวิตการเมือง ระหว่างสังคมระบบใหญ่กับระบบย่อยได้

4. ปัญหา 4 ประการ ในการศึกษาการเมืองท้องถิ่น มีปัญหาสำคัญสรุปได้ดังนี้
(1) ความสามารถที่จะวิเคราะห์นโยบายของท้องถิ่น
(2) การสังเกตพฤติกรรมทางการเมืองในสถาบันท้องถิ่น ซึ่งมีการตัดสินใจในนโยบาย
(3) ปัญหาการนำเอารูปแบบ และโครงสร้างแห่งอำนาจของการเมืองท้องถิ่นที่เจริญแล้วในนครหลวงมาใช้
(4) ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนา หลักการเหตุผลของแต่ละเรื่องก่อนที่กำกำหนดทฤษฎี



5. การศึกษาที่สำคัญของการเมืองท้องถิ่น
การเมืองท้องถิ่นเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลในสังคมระดับย่อยของประเทศ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานกับทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมในส่วนรวม อีกทั้งยังเกี่ยวพันกับหลักการประชาธิปไตย ตลอดจนความรู้ความเข้าใจของประชาชน ดังนั้น การศึกษาที่สำคัญของการเมืองท้องถิ่นจะศึกษาสิ่งเหล่านี้
(1) ปรัชญาของการปกครอง เช่น แบบรวมอำนาจ และ กระจายอำนาจ
(2) พฤติกรรมในการออกเสียงลงคะแนนในการเลือกตั้งของคนในท้องถิ่น
(3) ระบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้งในท้องถิ่น
(4) เรื่องพิเศษเกี่ยวกับท้องถิ่น เช่น การปรับปรุงที่อยู่อาศัย หรือปรับปรุงเขตในเมือง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น