อุดมการณ์[1] คือ ความคิดหลักที่บุคคลยึดมั่นอันจะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อจุดหมายที่กำหนดไว้ และจัดเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาแต่จะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงยิ่งกว่าปรัชญา
อุดมการณ์ปัจจุบันของชาติไทย คือ ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ซึ่งเป็นอุดมการณ์กว้างๆ และจะกล่าวเป็นด้านๆ ได้ดังนี้
1. อุดมการณ์ทางการเมือง ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ประชาชนมีเสรีภาพและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองอย่างเต็มที่ มีสิทธิสังกัดพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งได้ และให้พรรคการเมืองเป็นแหล่งการศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน
2. อุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ ใช้ระบบสหกรณ์โดยส่งเสริมให้ประชาชนร่วมมือกันตามกลุ่มอาชีพ ของตนให้มากที่สุด
3. อุดมการณ์ทางสังคม ให้มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา ทำการปฏิรูปทางวัฒนธรรมเพื่อรักษาเอกลักษณ์ของไทยไว้
4. อุดมการณ์ทางทหาร ประชาชนทั้งชายและหญิงมีสิทธิเป็นทหารด้วยกันเพื่อทำหน้าที่ป้องกันประเทศในยามสงคราม และพัฒนาประเทศในยามสงบ แต่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
5. อุดมการณ์ทางข้าราชการ มีหน้าที่รับใช้ประเทศชาติและประชาชน จึงต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อความเจริญของชาติ
6. อุดมการณ์ทางประชาชน ต้องใช้สิทธิในทางการเมืองและการทหาร เอาตัวรอดได้ทางเศรษฐกิจ ทำตัวเป็นประโยชน์แก่สังคม และร่วมมือกับทางราชการ
อุดมการณ์เหล่านี้เป็นหลักการใหญ่ๆ และเป็นความคิดที่จะนำไปใช้ปฏิบัติ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการที่เหมาะสมและตรงกับจุดหมายที่ตั้งไว้ วิธีการกว้างๆ คือ วิธีวิทยาศาสตร์รวมกับจริยศาสตร์ หรือการใช้ปัญญาควบคู่ไปกับคุณธรรม
[1] ศึกษาเพิ่มเติม ได้จากเอกสารการสอน อาจารย์สุรชัย เจนประโคน อ.พิเศษ วิทยาลัยชุมชน สมุทรสาคร
วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น