วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของการศึกษานโยบายสาธารณะ

ประโยชน์ของการศึกษานโยบายสาธารณะ
1.เพื่อจะได้รับรู้ในเรื่องนโยบายและเข้าใจนโยบายทั้งอดีตและปัจจุบัน ว่าทำไมต้องมีนโยบาย โครเป็นผู้ริเริ่ม หรือมีส่วนผลักดันที่กำหนดนโยบายสาธารณะขึ้นมา และเป็นส่วนที่ทำให้เกิดนโยบายเช่นนั้น
2.เพื่อจะได้ทราบถึงกระบวนการต่างๆ ของการกำหนดนโยบายนั้นว่าเป็นอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร และได้รู้ว่านโยบายสาธารณะของแต่และประเทศเป็นอย่างไรสามารถที่จะนำมาศึกษาเปรียบเทียบกันได้
3.เพื่อจะได้ทราบและวัดได้ทันทีว่าประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสถาบันทางการเมือง พรรคการเมือง และผู้นำทางการเมืองของแต่ละประเทศเป็นอยางไร
4.เพื่อจะช่วยให้ได้ทราบถึงวิธีการต่างๆ ในการวิเคราะห์ปัญหาทางการเมืองอย่างมีเหตุและมีผลมิใช่เป็นการเดาหรือสุ่มตัวอย่างโดยไม่มีเหตุผล

องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ

องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ
การที่จะชี้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบนโยบายสาธารณะนั้นค่อยข้างจะสับสนและยุ่งยาก แม้นักวิชาการทั้งหลายต่างก็ให้ความเห็นที่แตกต่างกันไป ซึ่งพอที่จะจำแนกองค์ประกอบตามความสำคัญของนโยบาย ได้ดังนี้
1.นโยบายเป็นหลักเกณฑ์ บรรทัดฐาน สำหรับวางแนวทางในการปฎิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.นโยบายเป็นจุดหมายที่นำไปสู่การสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศ
3.นโยบายเป็นสิ่งที่แสดงถึงความไม่แน่นอน ชัดเจนในการทำงาน และก่อให้เกิดการประสานงานระหว่างบุคคลและองค์กรต่างๆ รวมทั้งขจัดความซ้ำซ้อน
4.นโยบายเป็นเครื่องมือไปสู่ภาวะการมีเอกภาพหรือเอกรูปของการดำเนินงานของรัฐบาล
5.นโยบายเป็นกลไกที่ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง6.นโยบายเป็นกระบวนการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มีเหตุมีผล

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ขยายความ บางประเด็น ของวิชานโยบายสาธารณะ

สุรชัย เจนประโคน

นโยบายสาธารณะ (public policy) คือ เครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการบริหารและพัฒนาประเทศทั้งในทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง แต่นโยบายสาธารณะจะมีความสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้รับการนำไปปฏิบัติให้ปรากฎเป็นจริง เพราะนโยบายสาธารณะมิใช่เป็นสิ่งที่แสดงเจตจำนงหรือความตั้งใจของรัฐบาลที่จะกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดเท่านั้น แต่จะต้องครอบคลุมถึงการนำไปปฏิบัติให้ปรากฎเป็นจริงด้วย
ในการนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้ปรากฏเป็นจริง อาจจำแนกได้ 2 ลักษณะ ได้ดังนี้
ลักษณะแรก เป็นการนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถปฏิบัติได้ทันทีโดยไม่ต้องจัดทำแผนหรือวางแผน (planning) รองรับ เช่น การประกาศลดภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าที่ก่อให้เกิดมลพิษ 9 รายการในการประชุมคณะรัฐมนตรี
[1] เพื่อเป็นมาตรการในการเพิ่มรายได้ให้เพียงพอต่อการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2541 เป็นต้น นโยบายนี้กรมสรรพสามิตสามารถออกประกาศให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าดังกล่าวปฏิบัติตามได้ทันทีโดยไม่ต้องทำการวางแผนรองรับการปฏิบัติแต่อย่างใด
ลักษณะที่สอง เป็นการนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องทำการวางแผนรองรับ อาจเป็นแผนระยะยาว เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
[2]
อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่า นโยบายสำคัญที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย ล้วนมีความจำเป็นที่จะต้องทำการวางแผนรองรับ เพื่อเป็นหลักประกันว่าการนำนโยบายไปปฏิบัติจะบรรละเป้าหมายที่พึงประสงค์อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า แผน (Plan) คือ รูปธรรมของนโยบายที่ประกอบด้วยมาตรการและกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้การนำนโยบายไปปฏิบัติปรากฏเป็นจริง และแผนก็คือผลผลิตของการวางแผน (Planning) เมื่อแผนถูกนำไปปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติจะต้องตรวจสอบว่า มาตรการและกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนดไว้ในแผนนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ หรือก่อให้เกิดปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ บ้างในขณะนำไปปฏิบัติ และปัญหาอุปสรรคต่างๆ เหล่านั้นสามารถแก้ไขได้หรือไม่ และส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้ามหายเพียงใด การประเมินผลการนำแผนไปปฏิบัติจะทำให้ทราบข้อมูลสำคัญเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงการวางแผนใหม่ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น หรืออาจจำเป็นจะต้องปรับปรุงนโยบายให้มีความเหมาะสมต่อการนำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าประสงค์อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบาย การวางแผนและแผน อาจแสดงให้เห็นได้ดังแผนภาพต่อไปนี้

นโยบาย การวางแผน แผน

ข้อมูลย้อนกลับ

แผนภาพ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างนโยบาย การวางแผนและแผน


ปรัชญาของการวางแผน
คำว่า Planning มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Plamum แปลว่า แบนหรือราบ (flat) เป็นคำที่นำมาใช้ในภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่ 17 โดยใช้ในความหมายแคบๆ เกี่ยวกับการวาดภาพหรือการสเก็ตภาพวัตถุลงบนพื้นผิวราบ ลักษณะเดี่ยวกับการเขียนภาพบนพิมพ์เขียวในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายที่กว้างขวางมาก ทั้งในเรื่องการวางแผนส่วนบุคคล การวางแผนของกลุ่มกิจกรรมทางสังคม การวางแผนขององค์การเอกชน รวมทั้งการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลโดยทั่วไป
การวางแผนมีแนวคิด (concepts) หรือปรัชญาของการวางแผน (philosophies of planning) แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทัศนะ และมุมมองของนักวางแผนแต่ละคน อย่างไร ก็ตามในทัศนะของ Russell L. Ackoff ได้จำแนกปรัชญาของการวางแผนออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1.การวางแผนโดยมุ่งความพอใจระดับหนึ่ง (Satisficing Planning) แนวคิดของนักวางแผนกลุ่มนี้ จะให้ความสนใจลักษณะของการวางแผนที่ “ดีพอสมควร” (well enough) มิใช่การวางแผนที่ “ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” (as well as possible)
การวางแผนในลักษณะนี้ จะเริ่มต้นจากการกำหนดวัตถุประสงค์ (objectives) และ เป้าประสงค์ (goals) ซึ่งเชื่อว่า จะมีความเป็นไปได้และเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ โดยนักวางแผนจะเห็นพ้องต้องกัน (consensus) ในการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าประสงค์ดังกล่าว
วัตถุประสงค์และเป้าประสงค์จะถูกกำหนดบนพื้นฐานของระดับความพอใจโดยอาจจะวัดจากผลการปฏิบัติง่ายๆ อาทิเช่น การวัดจากผลกำไรหรือผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการต่างๆ หรือหากพิจารณาในเชิงคุณภาพ (qualitative terms) อาจจะวัดจากลักษณะความสัมพันธ์ที่ดีของพนักงานในองค์การ เป็นต้น หรือในทางที่สุดโต่ง (extreme) นักวางแผนในแนวนี้จะยึดถือหลักการที่ว่า “ถ้าเราไม่สามารถวัดสิ่งที่เราต้องการได้ เราก็ควรต้องการเฉพาะสิ่งที่เราวัดได้เท่านั้น หรืออาจไม่จำเป็นต้องวัดสิ่งที่เราต้องการ”
ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของการวางแผนโดยมุ่งความพอใจระดับหนึ่ง คือ ความต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเพียงเล็กน้อย กล่าวคือ เป็นแผนที่มีลักษณะอนุรักษ์นิยม (conservative) ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินนโยบายเป็นไปโดยเรียบง่าย โดยมุ่งแก้ไขเฉพาะปัญหาและอุปสรรคบางประการให้ผ่านพ้นไปเท่านั้น การวางแผนลักษณะนี้ จึงมุ่งเพื่อความอยู่รอดขององค์การมากกว่าการมุ่งเพื่อการพัฒนาหรือการเติบโตขององค์การ
แนวความคิดในการวางแผนลักษณะนี้ เน้นย้ำให้เห็นความจำเป็นของความพยายามในการวางแผนที่เป็นไปได้มากกว่าแผนที่จะให้ผลตอบแทนดีที่สุด เพราะถือว่าแม้จะเป็นแผนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดแต่มีโอกาสเป็นไปได้น้อยก็ไม่มีประโยชน์
แนวความคิดนี้มีข้อโต้แย้งและจุดอ่อนหลายประการ ได้แก่
ประการแรก หากนักวางแผนใช้ความพยายามที่จะทำแผน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนดีที่สุด จะทำให้นักวางแผนต้องใช้ความพยายามในการสำรวจข้อมูลความเป็นไปได้ต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ ทั้งจากสภาพปัจจุบันและการพยากรณ์สภาพการณ์ในอนาคต ข้อมูลดังกล่าวจะต้องทำให้นักวางแผนอยู่ในฐานะได้เปรียบกว่า เพราะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการขององค์การอย่างกว้างขวางรอบด้าน ในทางตรงกันข้าม หากนักวางแผนมุ่งเพียรความพอใจระดับหนึ่ง และไม่สนใจที่จะสำรวจหรือวิเคราะห์ข้อมูลให้รอบด้านอาจทำให้สูญเสียโอกาสที่ดีขององค์การให้แก่คู่แข่งไปในที่สุด
ประการที่สอง การวางแผนโดยมุ่งความพอใจระดับหนึ่งจะไม่ส่งเสริมให้นักวางแผนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบและกระบวนการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ โดยมีแนวโน้มที่จะใช้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบที่มีอยู่เดิมเท่านั้นและไม่สนใจที่จะค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อขยายความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบและกระบวนการวางแผนให้ดีขึ้น การวางแผนลักษณะนี้ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องผลการวิจัย หรืองานวิจัยที่จะทำให้การวางแผนมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น
ประการที่สาม นักวางแผนในแนวนี้จะหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์การ เพราะไม่ต้องการให้เกิดข้อโต้แย้งหรือกลุ่มคัดค้านขึ้นในองค์การ และไม่ให้ความสนใจต่อการปรับปรุงองค์การใหม่ (reorganization) เพราะไม่ต้องการให้เป็นภาระขององค์การ (rock the boat)
ประการสุดท้าย นักวางแผนประเภทนี้จะใช้ข้อมูลจากการพยากรณ์เพียงด้านเดียวโดยคาดหมายว่า เฉพาะข้อมูลเหล่านี้ก็เพียงพอสำหรับการวางแผนที่จะให้ปรากฏผลที่เป็นจริงและจะหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลการพยากรณ์ที่เกี่ยวกับโอกาสของความเป็นไปได้ (probabilities) โดยมีสมมติฐานว่า ข้อมูลเท่าที่ใช้ในการวางแผนนั้นเพียงพอที่จะจัดการกับสิ่งที่ไม่คาดหมายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้น นักวางแผนประเภทนี้จึงไม่ให้ความสนใจเรื่องการควบคุมและกำกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผน ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อนที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม การวางแผนโดยมุ่งความพอใจระดับหนึ่ง จะใช้เวลาน้อย เงินน้อยและทักษะในการวางแผนน้อยกว่าการวางแผนในลักษณะอื่น คุณลักษณะเหล่านี้อาจเป็นสิ่งดึงดูดใจต่อนักบริหารที่ขาดวิสัยทัศน์ (vision)
กล่าวโดยสรุป หลักการสำคัญของการวางแผนโดยมุ่งความพอใจระดับหนึ่งประกอบด้วย
ประการแรก ทำการเปลี่ยนแปลงจำนวนและขนาด จากนโยบาและการปฏิบัติที่เป็นอยู่ให้น้อยที่สุด
ประการที่สอง เพิ่มการใช้ทรัพยากรเพื่อการวางแผนให้น้อยที่สุด
ประการสุดท้าย ทำการวางแผนโดยให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การให้น้อยที่สุด เพื่อลดการต่อต้านจากบุคลากรภายในองค์การให้น้อยที่สุด

2.การวางแผนโดยมุ่งผลตอบแทนที่ดีที่สุด (Optimizing Planning) แนวความคิดของนักวางแผนกลุ่มนี้ ต้องการจะทำการวางแผนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (as well as possible) โดยใช้ตัวแบบในการพัฒนาและการคำนวนที่เป็นระบบมาเป็นเครื่องมือในการวางแผน
นักวางแผนในแนวนี้พยายามจะกำหนดเป้าประสงค์ และวัตถุประสงค์ขององค์การโดยใช้แนวคิดเชิงปริมาณเป็น (quantitative methods) เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์เชิงปริมาณตามที่ต้องการได้ทั้งหมดแล้ว จะนำวัตถุประสงค์เหล่านั้นมาประมวลเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดภาพรวมของวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างชัดเจนและสะดวกต่อการวัดผลการดำเนินงานขององค์การทั้งหมด ในกรณีที่มีวัตถุประสงค์เชิงคุณภาพรวมอยู่ด้วย นักวางแผนในแนวนี้จะพยายามปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์เชิงคุณภาพให้เป็นเชิงปริมาณ เพื่อให้สามารถวัดหรือวิเคราะห์เป็นตัวเลขได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจน และเข้าใจง่าย ลักษณะนี้อาจจะใช้ปริมาณงินที่เป็นต้นทุนในการวัดระดับบรรลุวัตถุประสงค์เชิงคุณภาพที่ถูกแปลงเป็นวัตถุประสงค์เชิงปริมาณ
การวางแผนโดยมุ่งผลตอบแทนที่ดีที่สุด เป็นลักษณะของการแสวงหานโยบายแผนงานระเบียบวิธีการ และการปฏิบัติที่เป็นไปได้ดีที่สุด โดยใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ในการวิเคราะห์และเป็นการวิเคราะห์เชิงประจักษ์ (empirical analysis) ที่ยึดหลักเหตุผล ความสำเร็จของการวางแผนจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยของข้อมูลที่สมบูรณ์และเที่ยงตรงมากพอสำหรับการวิเคราะห์และ ความสามารถในการแสวงหาตัวแบบที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการวางแผน
การวางแผนในแนวนี้ให้ความสนใจข้อมูลจากการค้นคว้าวิจัยเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าข้อมูลจากการค้นคว้าวิจัยได้ผ่านการวิเคราะห์และตรวจสอบมาอย่างรัดกุม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของการวางแผนในลักษณะนี้
อย่างไรก็ตาม การวางแผนโดยมุ่งผลตอบแทนที่ดีที่สุด แม้จะมีจุดเด่นหลายประการดังกล่าวแล้ว แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดและจุดอ่อนหลายประการด้วยกัน ได้แก่
ประการแรก การวางแผนโดยมุ่งผลตอบแทนที่ดีที่สุดมีแนวโน้มที่จะละเลยต่อสิ่งที่วัดไม่ได้ในเชิงปริมาณซึ่งอาจจะนำไปสู่ความคลาดเคลื่อนในการวิเคราะห์ได้ เพราะข้อมูลเชิงคุณภาพในหลายกรณีก็มีความสำคัญต่อการวางแผนไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจของพนักงาน เป็นต้น ซึ่งมีผลต่อการนำแผนขององค์การไปปฏิบัติเป็นอยางยิ่ง หากนักวางแผนละเลย เพราะถือว่าเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพที่วัดได้ยาก อาจทำให้การวางแผนไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาขององค์การ และอาจนำไปสู่ความล้มเหลวในการปฏิบัติในที่สุดหรือปัญหาวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์การ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาเชิงคุณภาพ แต่มีความสำคัญสูงสุด หากนักวางแผนละเลยไม่พยายามทำความกระจ่างชัดในเรื่องวิสัยทัศน์ของผู้นำ การวางแผนทั้งหมดอาจสูญเปล่าเพราะผู้นำไม่สนใจที่จะนำไปปฏิบัติ
ประการที่สอง การวางแผนประเภทนี้มุ่งเน้นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่เที่ยงตรงและเพียงพอ หากได้ข้อมูลที่ไม่เที่ยงตรงหรือไม่ทันสมัยพอจะทำให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคลาดเคลื่อน ส่งผลให้การวางแผนไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติล้มเหลวในที่สุด ดังนั้น การวางแผนประเภทนี้ จึงต้องอาศัยระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเป็นองค์ประกอบสำคัญ ปัจจัยเหล่านี้ต้องอาศัยการลงทุนทั้งทรัพยากรบุคคลและงบประมาณในระยะต้นค่อนข้างสูง เพื่อหวังผลตอบแทนในระยะยาว
ประการที่สาม เนื่องจากการวางแผนประเภทนี้ ต้องอาศัยตัวแบบทางคณิตศาสตร์ ในการวิเคราะห์เป็นหลัก ดังนั้น ผลสำเร็จของการวางแผนจึงขึ้นอยู่กับการพัฒนาตัวแบบที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ทางเลือกที่ต้องการ หากไม่สามารถพัฒนาตัวแบบที่เหมาะสมจะส่งผลให้การวิเคราะห์ขาดความเที่ยงตรงไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนได้อย่างเหมาะสมโอกาสที่จะทำให้ได้แผนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดจึงลดน้อยตามไปด้วย
ประการที่สี่ ข้อจำกัดที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการวางแผนประเภทนี้ คือ ไม่สามารถ จะสร้างตัวแบบใดตัวแบบหนึ่งเพื่อนำมาใช้เป็นตัวแทนของเป้าประสงค์ทั้งหมดขององค์การ เป็นเหตุให้นักวางแผนมีแนวโน้มที่จะวางแผนเฉพาะหน่วย หรือเฉพาะด้านของระบบที่สามารถพัฒนาตัวแบบในการวิเคราะห์ได้ ทำให้หน่วยอื่นหรือด้านอื่นที่ไม่สามารถพัฒนาตัวแบบที่เหมาะสมมาใช้ในการวิเคราะห์ถูกละเลยไปโดยปริยาย ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาแก่องค์การในภายหลัง
ประการสุดท้าย เนื่องจากการวางแผนประเภทนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากการวิจัยที่น่าเชื่อถือซึ่งต้องใช้เวลาและทรัพยากรพอสมควรอาจทำให้การวางแผนไม่ทันตามความต้องการหรือเวลาที่จะต้องใช้ในขณะเดี่ยวกันในบางโอกาสอาจพบว่า เกิดการขาดแคลนนักวิจัยที่มีคุณภาพ จะยิ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการวางแผนโดยมุ่งผลตอบแทนที่ดีที่สุดมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในหลายกรณีความพยายามของนักวางแผนที่มุ่งผลตอบแทนที่ดีที่สุดจะไม่ประสบผลสำเร็จ คือ ไม่สามารถพัฒนาการวางแผนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดได้ตามที่ต้องการ เพราะมีข้อจำกัดและปัญหาอุปสรรคต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ความพยายามดังกล่าวมิหมายความว่าจะสูญเปล่า อย่างน้อยที่สุดจะก่อให้เกิดผลพลอยได้ที่คุ้มค่า เพราะจะทำให้นักวางแผนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับระบบและกระบวนการวางแผนที่กำลังกระทำอยู่ รวมทั้งสภาพการณ์ขององค์การทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนให้มีประสิทธิภาพมากกว่าไม่รู้และไม่เข้าใจสภาพการณ์ดังกล่าวขององค์การ
กล่าวโดยสรุป นักวางแผนโดยมุ่งผลตอบแทนที่ดีที่สุดพยายามที่จุวางแผนโดย ประการแรก ใช้ทรัพยากรให้น้อยในการบรรลุเป้าประสงค์ขององค์การ ประการที่สอง
ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด ประการสุดท้าย ให้ได้รับความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ (benefits) และต้นทุน (costs) ให้มากที่สุด
อนึ่งการวางแผนกลยุทธ์แบบครอบคลุม (comprehensive strategic planning) เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดยังห่างไกลจากความสามารถของนักวางแผนในปัจจุบัน แต่การวางแผนเพื่อให้บางส่วนของแผนได้รับประโยชน์สูงสุดและนำมาประสานกับส่วนอื่นๆ ใช้เทคนิคเชิงประมาณเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด จะเกิดประโยชน์อย่างมาก หรืออีกนัยหนึ่งการวางแผนโดยใช้เทคนิคเชิงปริมาณเพื่อการวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้ควบคู่กับการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่จำเป็นและสามารถให้ความพอใจได้ระดับหนึ่ง มีแนวโน้มว่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการใช้แนวทางอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงแนวทางเดียว
การวางแผนโดยมุ่งการปรับตัวขององค์การ (Adaptivizing Planning) แนวคิดของนักวางแผนในกลุ่มนี้มุ่งที่จะทำการวางแผนแบบวัตกรรม (innovaftive planning) ซึ่งยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะนักวางแผนยังไม่สามารถพัฒนาแนวคิดที่ชัดเจนและครอบคลุมในการวางแผนเพื่อให้เกิดการปรับตัวขององค์การอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งนักวางแผนยังไม่สามารถกำหนดระเบียบวิธีการวิเคราะห์ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการวางแผนอย่างเป็นระบบ ดังนั้น การวางแผนโดยมุ่งการปรับตัวขององค์การอย่างสร้างสรรค์ จึงมีลักษณะเป็นอุดมคติมากกว่าการนำมาปฏิบัติอยู่ในองค์การจะเชื่อว่าทำให้เกิดขึ้นได้ อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้นักวางแผนคิดถึงการสร้างนวัตกรรมเพิ่มขึ้นใหม่ๆ ในการวางแผน เพื่อให้องค์การเกิดการปรับตัวอย่างสร้างสรรค์
ลักษณะสำคัญของการวางแผนโดยมุ่งการปรับตัวขององค์การอย่างสร้างสรรค์
ประกอบด้วย
ประการแรก การวางแผนในแนวนี้อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่วางค่านิยมหลักของการวางแผนมิได้ขึ้นอยู่กับแผนที่ถูกกำหนดขึ้น แต่เกิดอยู่ในกระบวนการวางแผน ทำให้นักวางแผนในแนวทางนี้ถือว่า “กระบวนการ คือ ผลผลิตที่สำคัญของนักวางแผน” ดังนั้น ความสำคัญของแผนจึงขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของนักบริหารในกระบวนการวางแผนไม่ใช่อยู่ที่การใช้แผน หมายความว่า นักบริหารที่รับผิดชอบอยู่ในส่วนต่างๆ ขององค์การมีความรู้ความเข้าใจต่อสภาพความเป็นจริงขององค์การอย่างชัดเจน การให้นักบริหารเหล่านี้มีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนกระบวนการนี้จึงเป็นหัวใจสำคัญของการวางแผนที่จะก่อให้เกิดแผนที่พึงประสงค์ ด้วยเหตุนี้ การวางแผนที่มีประสิทธิผลจะต้องกระทำโดยการมีส่วนร่วมของนักบริหาร ที่รับผิดชอบในทุกส่วนขององค์การ
ประการที่สอง ความต้องการในการวางแผน ส่วนใหญ่ในขณะนี้เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการจัดการและการควบคุมอย่างมีประสิทธิผลขององค์การ ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของการวางแผนควรจะมุ่งเน้นการออกแบบองค์การและระบบการจัดการเพื่อลดความต้องการในอนาคตที่จะต้องวางแผนซ้ำรอยอดีตขององค์การ (retrospective planning) ซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเปล่าทั้งเวลา ทรัพยากรและโอกาสในการเติบโตก้าวหน้าขององค์การ
ประการสุดท้าย ความรู้นักวางแผนเกี่ยวกับอนาคต อาจจำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ
ก.ความแน่นอน (certainty)
ข.ความไม่แน่นอน (uncertainty)
ค.ความเพิกเฉย (ignorance)
ในลักษณะที่แตกต่างดังกล่าว ต้องการ การวางแผนที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านความผูกพัน (commitment) ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ (contingency) และความรับผิดชอบ (responsiveness) ดังนั้น นักวางแผนจึงต้องพยายามทำการวางแผนเพื่อให้สามารถปรับตัวได้ตามสภาพการณ์ของอนาคต โดยจะต้องพยายามแสวงหาความรู้เพื่อลดความไม่แน่นอนหลีกเลี่ยงการเพิกเฉยต่อสภาพอนาคตและเสริมสร้างสมรรถนะในการปรับตัวขององค์การ เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม การปรับตัวเป็นลักษณะธรรมชาติอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปการปรับตัวขององค์การเป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนทั้งจากภายในองค์การ อาทิ คุณภาพของบุคลากรในองค์การและจากภายนอกองค์การ อาทิ การเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดของคู่แข่งขัน เป็นต้น แต่องค์การจะมีสมรรถภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถในการวางแผนให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไป
ลักษณะของการปรับตัว อาจเกิดได้จาก
กรณีแรก องค์การถูกกระทำ (passive) อาทิ คู่แข่งลดราคาสินค้าเพื่อแย่งส่วนแบ่งการตลาดและเราตัดสินใจลดราคาและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ เพื่อต่อสู้กับคุ่แข่ง
กรณีที่สอง องค์การเป็นผู้กระทำ (active) อาทิ การปรับสูตรการผลิตสินค้าใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าขององค์การให้เหนือคู่แข่งขัน เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอาจเกิดขึ้นเร็วหรือช้าก็ได้ สิ่งแวดล้อมบางกรณีเกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก อาทิ อัตราแลกเปลี่ยนเงินอาจเปลี่ยนแปลงวันต่อวัน ในขณะที่สิ่งแวดล้อมบางกรณีเปลี่ยนแปลงช้ามาก อาทิ ค่านิยม ในการทำงานของบุคคลซึ่งเกิดจากกระบวนการปลูกฝังและหล่อหลอมมาเป็นเวลานาย ทำให้ยากต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป การวางแผนโดยมุ่งการปรับตัวขององค์การอย่างสร้างสรรค์ จะให้ความสนใจเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันขององค์การและความรู้เกี่ยวกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในอนาคต โดยนักวางแผนจะต้องพยายามแสวงหาความรู้เพื่อลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของอนาคต และจะต้องผลักดันให้นักบริหารที่รับผิดชอบส่วนต่างๆ ขององค์การให้มีส่วนร่วมในการวางแผน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประสบการณ์ เพื่อนำเสนอนวัตกรรมในการวางแผนสำหรบอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถึงแม้ว่าการวางแผนโดยมุ่งการปรับตัวขององค์การอย่างสร้างสรรค์ จะมีลักษณะเป็นอุดมคติมากกว่าความเป็นจริง แต่ความพยายามในการวางแผนโดยใช้แนวคิดนี้จะก่อประโยชน์ต่อองค์การอย่างมาก
[1] พฤษภาคม 2540

[2] สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการวางแผนและถือว่าเป็นแผนหลักหรือแผนกลยุทธ์ที่มีระยะเวลา 5 ปี แผนดังกล่าว จะต้องส่งไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่กระทรวง ทบวง และกรมต่างๆ ทำการแปลงแผนเป็นแผนประจำปี อาจจะเป็นแผนงาน (programs) งาน (works) หรือโครงการ (projects) แล้วแต่ความเหมาะสมของภารกิจของแต่ละหน่วยงาน

นโยบาย (Policy)

นโยบาย (Policy)
ความหมายของนโยบายและ นโยบายสาธารณะ
โดยทั่วไปในการศึกษานโยบายจะจำแนกการศึกษาออกเป็น 2 แนวทาง คือ
การศึกษานโยบายทั่วๆ ไป (General Policy)
การศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy)

ในความความหมาย นโยบาย หมายถึง แนวทางกว้างๆ ในการปฎิบัติงาน ซึ่งในความหมายนี้จะไม่แยกแยะว่าจะเป็นนโยบายของเอกชนหรือของรัฐ ก็เป็นแนวทางกว้างๆ ในการปฎิบัติงานทั้งสิ้น
ในความหมายที่กล่าวถึงเฉพาะ นโยบายสาธารณะเป็นสำคัญ ซึ่งในความหมายของนโยบายสาะรณะนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ และซึ่งสรุปได้ว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางหรือกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำ ภายใต้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยกำหนดเป็นหลักการแผนงานหรือโครงการ เพื่อก่อประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวมต่อไป
ข้อสังเกต นโยบายสาธารณะ (Public Policy) นั้น อาจเป็นนโยบายของรัฐบาลหรือของเอกชนก็ได้ หากนโยบายนั้นมุ่งผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ แต่สำหรับนโยบายของรัฐบาล (Government Policy) ต้องเป็นนโยบายสาธารณะเท่านั้น

ลักษณะทั่วไปของนโยบาย
เป็นแนวทางอย่างกว้างๆ
มีจุดมุ่งหมาย
เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการปฎิบัติ

ลักษณะของนโยบายสาธารณะที่ดี
มีวัตถุประสงค์ ที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม
มีแผนงานรองรับ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขในด้าน บริบท เวลาและสถานที่
มีลักษณะของความเข้าใจได้ง่าย ของข้อความ เพื่อให้สามารถปฎิบัติตาม ได้ และสามารถเข้าใจได้ง่าย
ตอบสนองต่อผลประโยชน์สูงสุดของชาติ และส่วนรวม

รูปร่างของนโยบาย
มีรูปเป็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ คือ เป็นนโยบายที่มีลักษณะบังคับให้ต้องปฎิบัติตาม
มีรูปเป็นแผนงาน โครงการ
มีรูปเป็นประกาศ หรือเพื่อแจ้งความ แจ้งข่าวสาร เชิญชวน และมีลักษณะที่บังคับน้อยที่สุด
มีรูปเป็นสัญญา
มีรูปเป็นอื่นๆ

ข้อสังเกต นโยบายจะมีรูปร่างอย่างไรไม่สำคัญ แต่แผนและโครงการนั้นจะต้องมีรูปร่างที่แน่นอนเสมอ


ลักษณะของผู้กำหนดนโยบาย
เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์การ (Top-Level Administrator) เท่านั้น
เป็นเรื่องที่อยู่ในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง
เป็นการกระทำในนามขององค์การมิใช่ในฐานะส่วนตัว

เนื่องจาก องค์การมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ ถึงระดับท้องถิ่น (ผู้บริหารขององค์การจึงมีหลายระดับ) นโยบายจึงต้องมีหลายระดับตามองค์การไปด้วย แต่ไม่ว่านโยบายจะเป็นในระดับใดผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบายก็ต้องเป็นนักบริหารสูงสุดในระดับนั้นๆ นั้นเอง ส่วนบุคคลอื่นๆ ในองค์การไม่ว่าจะเป็นในระดับใดจะเป็นเพียงผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายเท่านั้น

และนอกจากนี้ ผู้กำหนดนโยบายสาธารณะยังอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
ผู้กำหนดนโยบายสาธารณะอย่างเป็นทางการ (Official Policy Makers) เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐสภา เป็นต้น
ผู้กำหนดนโยบายสาธารณะอย่างไม่เป็นทางการ (Unofficial Policy Makers) เช่น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ นักวิชาการ สื่อมวลชน

การศึกษาวิชานโยบายสาธารณะ นั้น มีจุดประสงค์ที่สำคัญคือ การทำความเข้าใจเหตุผลของการกำหนดนโยบาย เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำนโยบายมาใช้ให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่ง Thomas R. Dye ได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผลในการศึกษานโยบายสาธารณะไว้ 3 ประการคือ
เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Reasons)
เหตุผลเชิงวิชาชีพ (Professional Reasons)
เหตุผลทางการเมือง (Political Reasons)

การศึกษานโยบายสาธารณะ นี้ เป็นลักษณะเป็นสหวิทยาการ คือต้องอาศัยความรู้จากหลายสาขามาประยุกต์

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นโยบายสาธารณะ และการวางแผน วัตถุประสงค์ และคำอธิบายรายวิชา

นโยบายสาธารณะและการวางแผน
Public Policy and planning
อาจารย์สุรชัย เจนประโคน

ศศ0213 3(3 – 0 – 6)


วัตถุประสงค์
1.มีความรู้ ความเข้าใจความหมาย ขอบข่ายของการศึกษานโยบายสาธารณะ
2.มีความเข้าใจแนวความคิดและกระบวนการนโยบายสาธารณะ ด้านการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ การประเมินผลนโยบาย
3.สามารถวิเคราะห์ และอธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องการกำหนดนโยบาย การวิเคราะห์นโยบาย การนำนโยบายไปปฎิบัติ
4.มีความรู้ความเข้าใจหลักการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และแผนปฎิบัติการ
5.มีความเข้าใจความสัมพันธ์นโยบายรัฐบาลและท้องถิ่น

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาแนวความคิดและวิธีการในการกำหนดนโยบายสาธารณะและการวางแผนทฤษฏีต่างๆ ที่เกี่ยวกับการตัดสินใจการกำหนดนโยบายสาธารณะและแผนงาน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ การวิเคราะห์นโยบายและแผนระดับของแผนขั้นตอนของการวางแผน การนำแผนไปปฏิบัติ การประเมินผลการปฏิบัติตามแผนงาน ปัญหาและอุปสรรคในการกำหนดนโยบายและการวางแผนโดยเน้นศึกษานโยบายและแผนงานที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
สมบัติ ธำรงธัญวงค์.
2545. “นโยบายสาธารณะ แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ”
กรุงเทพมหานคร: สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
2539. “การเมืองกับการบริหาร.” วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. ปีที่ 36
ฉบับที่ 1
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร
2538. วาทกรรมกับการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2538. ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2549. รัฐ – ชาติ (ความไร้) ระเบียบโลกชุดใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2544. รัฐศาสตร์แนววิพากษ์. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช.
2523. การเมืองกับการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
2549. อารยะขัดขืน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิ
โกมลคีมทอง.
สิทธิพันธ์ พุทธหุน
2543. แนวทางการศึกษารัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิรโชค (บรรพต) วีระสัย
2546. รัฐศาสตร์ทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.


สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ.
2527. ตัวแบบกระบวนการการติดต่อสื่อสาร. เอกสารทางวิชาการ
หมายเลข 30, ศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
ตุลาคม 2527
2543. สาธารณบริหารศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: คณะ
รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จันทนี เจริญศรี
2545. Postmodern Sociology โพสต์โมเดิร์น สังคมวิทยา.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิทยา บวรวัฒนา.
2545. รัฐประศาสนศาสตร์ ทฤษฏีและแนวการศึกษา (ค.ศ.1970 – ค.ศ.
1980). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
2545. รัฐประศาสนศาสตร์ ทฤษฎีและแนวการศึกษา (ค.ศ.1887 – ค.ศ.
1970). พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
2545. ทฤษฏีองค์การสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรเดช จันทรศร.
2528. การนำนโยบายไปปฏิบัติ : การสำรวจกรอบความรู้โดยสังเขป.
พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐประศาสนศาสตร์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ฟริตจ๊อฟ คาปร้า.
2529. จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ : ทัศนแม่บทเพื่อการปฏิวัติวัฒนธรรม
แบบใหม่. พระประชาปสนมธมโนและคณะ, แปล 3 เล่ม.
กรุงเทพมหานคร.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา.
2534. แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes)

โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) (5 เมษายน พ.ศ. 2131 (ค.ศ. 1588) - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2222 (ค.ศ. 1679) เป็นนักปรัชญาการเมือง ชาวอังกฤษ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากผลงานที่สำคัญคือหนังสือชื่อ Leviathan ที่เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2194 หนังสือเล่มนี้กลายเป็นฐานประเด็นในแนวปรัชญาการเมืองตะวันตกในสมัยต่อมาในเกือบทุกแนว
ถึงแม้ว่าทุกคนได้รู้จักโทมัส ฮอบส์จากงานเขียนกี่ยวกับปรัชญาการเมืองตะวันตกก็จริง แต่ที่จริงแล้วฮอบส์ได้สร้างผลงานที่เป้นประโยชน์ไว้อีกหลายด้าน เช่น ประวัติศาสตร์ เรขาคณิต เทววิทยา จริยธรรม รวมทั้งด้านปรัชญาทั่วๆ ไปอีกหลายเรื่อง และที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันว่า รัฐศาสตร์ (political science) นอกจากนี้สิ่งที่ฮอบบส์เชื่อที่ว่า "มนุษย์นั้นโดยธรรมชาติมีการร่วมมือกันก็โดยมุ่งผลประโยชน์ส่วนตัว" ซึ่งข้อคิดนี้ได้รับการพิสูจน์ในทฤษฎีของ ปรัชญามานุษยวิทยาต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน

ชีวิตในวัยเยาว์และการศึกษา
โทมัส ฮอบส์ เกิดที่วิลท์ไชร์ ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรของพระราชาคณะแห่งชาร์ลตัน และ เวสต์พอร์ตซึ่งหนีออกจากประเทศอังกฤษเนื่องจากการกลัวโทษแขวนคอและปล่อยลูก 3 คนทิ้งไว้ให้พี่ชายชื่อฟรานซิสดูแล ฮอบบส์ได้เข้าเรียนในโรงเรียนโบสถ์ตั้งแต่อายุ 4 ขวบ และเรียนต่อในชั้นที่สูงขึ้นตามลำดับ ฮอบส์เป็นนักเรียนดีและได้เข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยที่เฮิร์ทฟอร์ดคอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเมื่อ พ.ศ. 2146 ที่มหาวิทยาลัย ฮอบส์ได้เป็นครูกวดวิชาให้กับบุตรชายของวิลเลียม คาเวนดิช บารอนแห่งฮาร์ดวิกซึ่งกลายเป็นมิตรภาพกับครอบครัวนี้อย่างต่อเนื่องกันไปชั่วชีวิต
ฮอบบส์กลายเป็นคู่หูของวิลเลียมผู้เยาว์ ได้ร่วม "การท่องเที่ยวครั้งใหญ่" (en:Grand tour -ประเพณีของคนอังกฤษชั้นสูงวัยหนุ่มระหว่างประมาณ พ.ศ. 2200 - พ.ศ. 2360 เพื่อท่องยุโรปแผ่นดินใหญ่เพื่อเรียนรู้ แสวงหาและสัมผัสกับปรัชญาและวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ที่รุ่งเรืองในที่นั้น) ฮอบบส์ได้สัมผัสกับวิทยาศาสตร์และวิธีการคิดเชิงวิฤติของยุโรปซึ่งแตกต่างกับ "ปรัชญาเชิงอัสสมาจารย์" (scholastic philosophy) ที่ได้เขาเคยเรียนที่ออกซ์ฟอร์ดซึ่งมุ่งเรียนอย่างจริงจังทางกรีกคลาสสิกและละติน
แม้ว่าฮอบส์จะมีโอกาสได้คลุกคลีกับนักปรัชญามีชื่อเช่น เบน จอนสัน และ ฟรานซิส เบคอนมานานแต่ก็ไม่ได้สนใจด้านปรัชญาจนกระทั่งถึงหลังจาก พ.ศ. 2172 คาเวนดิชซึ่งได้เลื่อนเป็นเอร์ลแห่งเดวอนไชร์ผู้เป็นนายจ้างฮอบส์ได้เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2171 และภริยาหม้ายของคาเวนดิชได้บอกเลิกจ้างเขา แต่ในเวลาต่อมาฮอบบส์ก็ได้งานใหม่เป็นครูกวดวิชาให้กับลูกของเซอร์เกอร์วาส คลิฟตันซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในปารีสและจบลงเมื่อ พ.ศ. 2174 เนื่องจากการได้พบกับครอบครัวคาเวนดิชอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้เป็นงานกวดวิชาให้กับลูกชายของนักเรียนเก่า ในช่วงต่อมาอีก 7 ปี ฮอบส์ได้เพิ่มพูนความรู้ด้านปรัชญาไปพร้อมกับงานกวดวิชาซึ่งทำให้เขาเกิดความอยากรู้อยากอภิปรายเกี่ยวปรัชญามากขึ้นและได้กลายเป็นนักอภิปรายปรัชญาหลักที่เป็น "ขาประจำ" ในยุโรป และจากปี พ.ศ. 2180 เป็นต้นมา ฮอบส์ได้ถือว่าตนเองเป็นนักปรัชญาและผู้รอบรู้
ที่ปารีสที่ปารีสฮอบส์ได้ศึกษาลัทธิปรัชญาในหลายๆ ด้านและได้ทดลองเข้าถึงปัญหาด้วยแนวทางฟิสิกส์ ได้พยายามไปถึงการวางระบบความคิดที่ละเอียดบรรจงขึ้นซึ่งได้กลายเป็นงานที่ฮอบบ์ได้อุทิศชีวิตให้ ฮอบส์ได้ทำศาสตรนิพนธ์หลายเรื่อง เช่นเกี่ยวกับลัทธิที่เป็นระบบเกี่ยวกับร่างกายเพื่อแสดงให้เห็นว่าปรากฏการณ์ทางกายภาพสามารถอธิบายอาการเคลื่อนไหวได้อย่างไร ฮอบบ์ได้แยกเอา มนุษย์ ออกจากอาณาจักรของธรรมชาติและพืชพรรณ ในอีกศาสนตรนิพนธ์หนึ่ง ฮอบบ์ได้แสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนไหวเฉพาะบางอย่างของร่างกายเนื่องมาจากผลของปรากฏการณ์ผัสสาการ (ศัพท์ปรัชญา = sensation) ความรู้ วิภาพ (ความชอบ = affection) และกัมมภาวะ (ความดูดดื่ม, กิเลส = passion) และสุดท้ายในศาสตรนิพนธ์อันลือชื่อ ฮอบบ์แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ถูกผลักดันเข้าสังคมได้อย่างไรและตั้งประเด็นว่าจะต้องออกกฎระเบียบใช้บังคับหากไม่ต้องการให้มนุษย์ต้องตกสู่ "ความเหี้ยมโหดและความทุกข์ระทม" ทำให้ฮอบบ์เสนอการรวมปรากฏการณ์ที่ว่าแยกกันของ ร่างกาย" มนุษย์และ รัฐ เข้าเป็นหนึ่งเดียว
โทมัส ฮอบบ์กลับบ้านเมื่อ พ.ศ. 2180 ในขณะที่อังกฤษกำลังเกิดสงครามกลางเมืองสู้กันระหว่างบิชอปซึ่งมีผลกระทบต่องานศึกษาค้นคว้าทางปรัชญา แต่ฮอบส์ก็สามารถเขียนศาสตรนิพนธ์เรื่อง "Human Nature" และ "De Corpore Politico" แล้วเสร็จและตีพิมพ์ร่วมกันภายหลังใน 10 ปีต่อมาในชื่อ "The Element Of Law"
ในปี พ.ศ. 2183 ฮอบส์ได้หนีกลับไปฝั่งเศสอีกครั้งด้วยรู้ว่าการเผยแพร่ศาสตรนิพนธ์ที่เขาเขียนขึ้นกำลังให้ร้ายแก่ตัวเอง คราวนี้ฮอบส์ไม่ได้กลับบ้านอีกเป็นเวลา 11 ปี ฮอบส์ได้เขียนหนังสืออื่นๆ อีกหลายเล่มเกี่ยวกับปรัชญาการเมือง เขาเกิดในยุคเดียวกับ เดส์การตส์ และเขียนบทวิจารณ์ตอบบทหนึ่งของหนังสือ "การครุ่นคิด" ของเดส์การตส์ซึ่งตีพิมพ์เมื่อพ.ศ. 2184 งานเขียนหลายๆ เรื่องของฮอบส์ได้ส่งให้เขามีชื่อเสียงมากขึ้นในวงวิชาการด้านปรัชญา
"เลอไวอะทัน" (Leviathan) (พ.ศ. 2194) เป็นศาสตรนิพนธ์ชิ้นเอกด้านปรัชญาทางการเมืองที่ฮอบส์ใช้เผยแพร่ "ลัทธิพื้นฐานของสังคมกับรัฐบาลที่ชอบธรรม" ซึ่งเนื้อหาของหนังสือนี้ได้กลายเป็นต้นตำหรับของงานวิชาการทางปรัชญาด้าน "สัญญาประชาคม" และในหนังสือ "สภาวะตามธรรมชาติของมวลมนุษย์" ในเวลาต่อมา ซึ่งว่าในขณะที่คนๆ หนึ่งที่อาจแข็งแรงหรือฉลาดกว่าใครๆ แต่เมื่อกำลังจะถูกฆ่าให้ตาย ในฐานะมนุษย์ตามสภาวะตามธรรมชาติ เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จะต่อสู้ทุกวิถีทาง ฮอบส์ถือว่าการต่อสู้ป้องกันตัวเพื่อเอาชีวิตรอดจากสิ่งใดก็ตามในโลกเป็นสิทธิ์และความจำเป็นตามธรรมชาติของมนุษย์
เลอไวอะทันเป็นงานที่ฮอบส์เขียนขึ้นในระหว่างความยากลำบากของสงครามกลางเมืองของอังกฤษที่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงที่มีการเรียกร้องให้มีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความไม่ลงรอยที่นำไปสู่สงครามกลางเมือง มีการยอมให้ใช้อำนาจมากไปบ้างเพื่อรักษาสันติภาพ ด้วยสภาวะความยุ่งเหยิงทางการเมืองขณะนั้นทำให้ทฤษฎีทางการเมืองของฮอบส์ที่ว่า องค์อธิปัตย์ หรือ อำนาจอธิปไตยควรมีอำนาจในการควบคุมพลเรือน ทหาร ตุลาการ และศาสนาได้รับการยอมรับ
ฮอบส์แสดงออกมาอย่างเปิดเผยว่าองค์อธิปัตย์จะต้องมีอำนาจครอบคลุมไปถึงศรัทธาและลัทธิ และว่าถ้าไม่ทำเช่นนั้นย่อมเป็นการนำไปสู่ความแตกแยกในที่สุด
ฮอบบีเซียน (Hobbesian)คำว่า ฮอบบีเซียน ในภาษาอังกฤษสมัยใหม่บางครั้งหมายถึงสถานการณ์ของการแข่งขันที่ไม่มีการควบคุม มีแต่ความเห็นแก่ตัวและไร้อารยธรรม เป็นความหมายที่นิ่งแล้ว แต่ก็เพี้ยนไม่ตรงความเป็นจริงด้วยเหตุผล 2 ประการคือ ประการแรกเลอไวอะทันได้พรรณาสถานการณ์นี้ไว้จริงแต่เพื่อเพียงใช้สำหรับการวิจารณ์ อีกประการหนึ่งฮอบส์และเป็นหนอนหนังสือเป็นกระดากที่จะชี้แจง อีกความหมายหนึ่งที่ใช้เกือบทันทีหลังการตีพิมพ์คือ "อำนาจคือธรรม"
ชีวิตบั้นปลายฮอบส์ได้พยายามตีพิมพ์ผลงานด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ที่ไม่ค่อยดีนักไปพร้อมๆ กับงานด้านปรัชญา ในช่วงของ ยุคปฏิสังขรณ์ (The Restoration) (การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ ราชวงศ์สกอตแลนด์ และราชวงศ์ไอร์ริชโดยพระเจ้าชาร์ลที่ 2 กษัตริย์หนุ่มของอังกฤษ) ชื่อเสียงของฮอบส์ได้โด่งดังขึ้นจนพระเจ้าชาร์ล ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของฮอบส์เมื่อครั้งยังเป็นปรินซ์ออฟเวลล์ลี้ภัยอยู่ในปารีสจำได้ จึงมีรับสั่งให้ฮอบส์เข้ารับราชการในราชสำนักและพระราชทานบำนาญแก่ฮอบส์ปีละ 100 ปอนด์
พระเจ้าชาร์ลต้องช่วยปกป้องฮอบส์จากการถูกกล่าวหาว่าเขียนหนังสือหมิ่นศาสนาและไม่ยอมรับว่าพระเจ้ามีตัวตนจากซึ่งเกิดจากความพยายามของรัฐสภาที่จะออกกฎหมายเพื่อเอาผิดฮอบส์ แม้จะเอาผิดฮอบส์ไม่ได้ แต่ก็มีผลทำให้ฮอบส์ไม่กล้าตีพิมพ์งานของเขาในอังกฤษอีก
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2222 ฮอบส์ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ ตามด้วยภาวะเส้นเลือดในสมองแตกจนเป็นอัมพาต ฮอบส์เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมปีนั้น ด้วยวัย 91 ปี ศพได้รับการฝังที่สนามของโบสถ์อัลท์ฮักนาล ในเดวอนไชร์ ประเทศอังกฤษ
โทมัส ฮอบส์ มีอายุยืนยาวมาก มีชีวิตอยู่ตรงกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชา และสมเด็จพระเพทราชาในสมัยอยุธยาซึ่งในช่วงนั้นมีกษัตริย์อยุธยาครองราชย์รวมแล้วถึง 12 รัชกาล

จอห์น ล็อก (John Locke)

จอห์น ล็อก
จอห์น ล็อก (John Locke) (29 สิงหาคม พ.ศ. 2175-28 ตุลาคม พ.ศ. 2247) เป็นนักปรัชญา ชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือสังคมและทฤษฎีของความรู้
แนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย ชีวิต, เสรีภาพ, และทรัพย์สิน นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางปรัชญาการเมือง แนวคิดของเขาเป็นพื้นฐานของกฎหมายและรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งผู้บุกเบิกได้ใช้มันเป็นเหตุผลของการปฏิวัติ
แนวคิดด้านญาณวิทยาของล็อกนั้นมีอิทธิพลสำคัญไปจนถึงช่วงของยุคแสงสว่าง. เขามีทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ว่า ความรู้จะต้องเกิดหลังประสบการณ์ และความรู้จะเกิดขึ้นโดยอาศัยการสัมผัส เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสก็จะมีความรู้สึก และความรู้สึกจะทำให้มนุษย์นั้นคิด และความคิดนี้คือแหล่งกำเนิดแห่งความรู้ หากปราศจากการสัมผัสมนุษย์ก็จะไม่คิด เพราะจิตโดยธรรมชาติจะมีสภาพอยู่เฉย. เขาถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับนักประสบการณ์นิยมชาวบริติช ซึ่งประกอบไปด้วยเดวิด ฮูม และจอร์จ บาร์กลีย์. ล็อกมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับโทมัส ฮอบบส์

สตรีนิยม

สตรีนิยม
สตรีนิยม คือกลุ่มสังคม และกลุ่ม การเมือง ที่ออกมาเคลื่อนไหว. สตรีนิยมออกมาเพื่อเปลี่ยนแปลงมุมมองของผู้คนที่มองชายและหญิงอย่างแตกต่างกัน สตรีนิยมกล่าวว่าผู้หญิงถูกกระทำโดยสังคมในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และต้องหยุดเดี๋ยวนี้ ผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวในสังคมคือ นักเคลื่อนไหวสตรีนิยม
3 มุมมองสำคัญของสตรีนิยม:
กลุ่มแรกเชื่อว่าเราควรกระทำทุกสิ่งทุกอย่างให้เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างชายและหญิง เพราะผู้คนไม่ควรนำเรื่องเพศมาแบ่งแยก อีกทั้งเพราะชายกับหญิงนั้นแทบไม่แตกต่างกันเลย วัฒนธรรมที่ให้ผู้ชายไปทำงานและผู้หญิงทำงานบ้านเลี้ยงลูกเป็นสิ่งที่ผิดอย่างสิ้นเชิง
กลุ่มที่สองเชื่อว่าชายกับหญิงนั้นแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างนั้นก็ไม่ควรนำไปสู่การปฏิบัติที่เอนเอียง วัฒนธรรมที่ให้ผู้ชายไปทำงานและผู้หญิงทำงานบ้านเลี้ยงลูกเป็นสิ่งที่อาจจะถูกแต่รัฐ หรือผู้ชายก็ควรที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เช่นดูแลผู้หญิงที่ทำงานอยู่กับบ้านให้ดีขึ้น
กลุ่มที่สามเชื่อว่าผู้หญิงกับผู้ชายแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และสังคมทุกวันนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงกลุ่มนี้เชื่อว่าสังคมในวันนี้ถูกขับเคลื่อนโดยผู้ชาย ซึ่งให้ผู้หญิงอยู่ตามหลัง ดังนั้นควรจะมีการปฏิวัติเพื่อให้ทั้งสองเพศเท่าเทียมกัน
ประวัติศาสตร์ของสตรีนิยม
แมรี่ วูลสโตนคราฟ
สตรีนิยมมีแนวคิดนี้ตั้งแต่เรื่องสิทธิของบุคคล. แนวคิดนี้ทันสมัยมากในสมัยนั้นโดยนักปรัชญา ในศตวรรษที่ 18 และศตวรรษที่ 19 เช่น แมรี่ วูลสโตนคราฟ จอน สจ็วต มิล. หลังจากนั้นในศตวรรษที่20 ก็มีกลุ่มมากมายที่เรียกร้องให้ผู้หญิงมีสิทธิในการเลือกตั้ง ในหลักประชาธิปไตยจนในปัจจุบันหลายประเทศได้มีนายกรัฐมนตรี และประธานาธบดีที่เป็นผู้หญิง
ทำไมบางคนถึงคัดค้านสตรีนิยม
บางคนคิดว่าถ้าสตรีนิยมเกิดขึ้นอย่างจริงจัง สังคมจะอ่อนแอ อีกทั้งอาจจะเป็นสิ่งที่พระเจ้าไม่ต้องการให้เป็นในคัทภีร์ไบเบิ้ล พระเจ้าสร้างอดัมก่อน และจึงสร้างอีฟ ให้แก่อดัม ผู้คนจึงคิดว่านั่นหมายความว่า พระเจ้าสร้างผู้หญิงมาเพื่อผู้ชาย ผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ เป็นผู้นำไม่ได้ และข้อถกเถียงนี้ก็ยังดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน