วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

การสหกรณ์

· สหกรณ์ คือ ความทำร่วมกัน ซึ่งความทำร่วมกันนี้เป็นไปได้ทั้งในสังขารและกิจการ และแบ่งออกเป็นทำร่วมกันโดยสภาวะหน้าที่ เพื่อสำเร็จกิจอันประกอบร่วมกัน ตลอดจนกิจอันแยกออกเป็นต่างหน้าที่ แต่จำต้องสัมพันธ์กันโดยเหตุผล
· ความสามัคคี คือ ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ กายและจิตสามัคคี ซึ่งถือเป็นหลักธรรมสำคัญ อีกทั้งถือว่าเป็นวิธีการปกครองอย่างนึ่งคุณของความสามัคคีก็คือเป็นกำลังสำคัญอันนำมาซึ่งความมั่งคงและความสำเร็จ ความสามัคคีนี้ จะต้องนำไปใช้ให้ถูกวิธีจึงจะก่อให้เกิดประโยชน์
· ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามัคคี คือ คุณธรรม 6 ประการ ไดแก่ เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ความเผื่อแผ่ให้ปันไม่หวงแหนสิ่งที่ไม่ควรหวง ความเป็นผู้มีศีลเสมอกัน และประการสุดท้ายคือ ความเห็นชอบตามครองธรรม เหล่านี้เป็นธรรมให้เกิดความสามัคคี แก่หมู่ชน ไม่ว่าจะเป็นสามัคคีแห่งจิตใจ แห่งเรี่ยวแรง และแห่งคุณธรรมย่อมนำความสุขความเจริญมาให้อีกทั้งความสามัคคีจะเกิดขึ้นเองไม่ได้ แต่ต้องมีคุณธรรมเป็นสมฏฐานที่ตั้ง

การสหกรณ์ในประเทศไทย
ปัจจุบันประเทศไทยพยายามหาแบบงานสหกรณ์มาใช้ให้เหมาะกับสภาพสังคม เศรษฐกิจของประเทศตน เช่น สหกรณ์เกี่ยวกับการผลิต สินเชื่อเกี่ยวกับการขาย เป็นต้น ซึ่งเกี่ยวกับการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของประชาชนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีโดยอาศัยหลักร่วมแรงและประหยัด ช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้เจริญในทางเศรษฐกิจตลอดจนมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น

หลักสหกรณ์
การสหกรณ์มีหลักว่าเป็นของประชาชน ทำเพื่อประโยชนของเขาและเพื่อประเทศที่เจริญ รัฐเพียงออก กฎหมายคุ้มครองแก่กิจการสหกรณ์และช่วยทางด้านวิชาการ ส่วนทุนประชาชนจะหาและร่วมออกกันเองรัฐไม่ต้องช่วย ยกเว้นกรณีพิเศษจริงๆเช่น เกิดสงครามหรือภาวะอดอยาก เป็นต้น สำหรับการจัดสหกรณ์ในประเทศไทยจะไม่เหมือนในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา เพราะรัฐต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือ จัดการ คอยควบคุมดูแล และจัดตั้งสหกรณ์ให้ราษฎร

กำเนิดสหกรณ์ในประเทศไทย
มีการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2459 โดยอาศัยหลักสหกรณ์ของต่างประเทศ จุดมุ่งหมายในการจัดตั้งคือ เพื่อสอนให้ชาวนารู้จักใช้เงินและทุนให้เป็นประโยชน์ที่สุด ไม่ใช่จ่ายสุรุ่ยสุร่าย

หลักและวิธีการจัดตั้งสหกรณ์
ความหมายของสหกรณ์ตามสารานุกรรมกล่าวว่า สหกรณ์ คือ ชุมนุมชนรวมกันเป็นองค์การโดยสมัครใจยึดหลักประชาธิปไตยในการดำเนินงาน มีการหาสินค้าขายหรือบำรุงสมาชิก หรือจัดหาทุนให้สมาชิกโดยมีหลักสำคัญ 4 ประการ
1. มีการรวมคน (ไม่ถือหลักรวมทุนเป็นสำคัญ) แต่ถือการรวมคนเป็นหลัก ซึ่งมักเป็นการรวมตัวของคนจนที่อัตคัดขัดสน เงินไม่สำคัญเท่าน้ำใจ ฉะนั้นจึงรับสมาชิกไม่จำกัดแต่จะกำหนดลักษณะให้แคบเข้า
2. ต้องเป็นการรวมโดยสมัครใจ กล่าวคือ เข้าเป็นสมาชิกด้วยความจริงใจไม่มีการบังคับ เพราะสหกรณ์ดำเนินงานด้วยสมาชิก และเพื่อประโยชน์ของสมาชิกเอง จึงหวังให้สมาชิกมีความสามัคคีธรรม และมีความภักดี
3. มีความเสมอภาคกัน หมายความว่า ในหมู่สหกรณ์สมาชิกจะไม่มีการจำกัดว่าเป็นชั้นใดหรือเพศใด แต่จะเสมอภาคกันหมด ทั้งในเรื่องการทำกิจกรรมและการตัดสินใจต่างๆ จะใช้มติเสียงข้างมากเป็นสำคัญ โดยอาศัยหลักการที่ว่าฐานะมนุษย์ผู้กระทำการโดยสุจริตคือว่าฐานะเท่ากัน ไม่ว่าจะมีกี่หุ้นก็ตาม ต้องมีเสียงเท่ากันหมด คือ 1 เสียง
4. ถือหลักผลประโยชน์ของสมาชิก กล่าวคือ หลักการสหกรณ์มุ่งทำประโยชน์เพื่อสมาชิกเท่านั้น เพราะเปิดโอกาสให้คนภายนอกเข้าเป็นสมาชิกได้เสมอ อีกทั้งไม่ใช้องค์การกุศลเป็นองค์การทางเศรษฐกิจช่วยให้คนช่วยตัวเองได้
องค์ประกอบของสหกรณ์
การสหกรณ์มีคุณแก่สมาชิกในสังคมโดย สรุปดังนี้
· 1. สอนให้สมาชิกรู้จักออมทรัพย์
· 2. สอนให้สมาชิกมีความซื่อสัตย์และภักดีต่อสหกรณ์ของตน
· 3. สอนให้คนรู้จักมีความสามัคคีร่วมกัน คติที่ยึดถือคือ สมาชิกแต่ละคนเพื่อสหกรณ์ทั้งหมดและสหกรณ์ทั้งหมดก็เพื่อแต่ละคน (These for all, all for these.)
· 4. องค์การสหกรณ์ต้องเป็นกลางในทางการเมือง
· 5. องค์การสหกรณ์ช่วยเหลือประชาชนให้อยู่ดีกินดี มีการเผยแพร่ความรู้เรื่องหลักและวิธีสหกรณ์ ให้คนทั่วไปได้รู้และเลื่อมใส

สหกรณ์ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจการเกษตร
สหกรณ์ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจการเกษตร มี อยู่ 6 ประเภท คือ
1. สหกรณ์หาทุน เป็นสหกรณ์ที่ไม่จำกัดสินใช้และสมาชิกรับผิดชอบร่วมกัน จัดตั้งขึ้นเพราะชาวนายากจนไม่มีทุนทำมาหากิน มีหนี้สินมาก ดังนั้น วัตถุประสงค์การจัดตั้งก็เพื่อหาทุนให้สมาชิกเอาไปปลดเปลื้องหนี้สินเก่า และนำไปลงทุนบุกเบิกหรือซื้อเครื่องมือในการทำมาหากิน ซึ่งช่วยประหยัดเงินไปได้มาก แต่เนื่องจากเป็นประเภทไม่จำกัดสินใช้ จึงจำกัดวงแคบให้รู้จักไถ่ถอนหนี้และการคืนเงินใช้เงิน
2. สหกรณ์เครดิตเกษตรกรรม (สินเชื่อเพื่อการเกษตร) เป็นสหกรณ์รูปจำกัดสินใช้ หมายความว่า สมาชิกมีความรับผิดชอบเท่าที่ตนถือหุ้นอยู่ และจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการทดลอง ซึ่งจัดตั้งครั้งแรกที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้งเหมือนกับสหกรณ์การหาทุน โดยมีหน้าที่อบรมความรู้แผนใหม่ให้แก่สมาชิก ตลอดจนฝึกให้รู้จักออมทรัพย์
3. สหกรณ์บำรุงที่ดิน (สหกรณ์ชลประทาน) จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือในเรื่องน้ำที่ใช้เพาะปลูก การหาน้ำ การคุมน้ำ และการปรับปรุงที่ดินให้ถูกต้องตามหลักวิชา
4. สหกรณ์นิคมกสิกรรม (สหกรณ์นิคม) จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองและมีความลำบากยากแค้นในการครองชีพ ซึ่งจะช่วยให้กสิกรมีกำลังใจประกอบอาชีพ ปรับปรุงที่ดินให้ดีและรู้จักลงทุนลงแรง สร้างบ้านเรือนมั่นคง อันเป็นผลดีแก่ความเจริญของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศสิ่งที่สหกรณ์จัดการให้สมาชิกคือ ดำเนินการบุกเบิกป่า สร้างถนน สร้างบ่อน้ำ ให้ช่วยจำหน่ายพืชให้ได้ราคาดี การจัดสุขศาลา โรงเรือน เพื่อบริการแก่สมาชิกและลูกหลาน
5. สหกรณ์เช่าซื้อที่ดินและสหกรณ์ผู้เช่า
- สหกรณ์เช่าซื้อที่ดิน เป็นสหกรณ์ที่ดำเนินการจัดซื้อที่ดินผืนใหญ่มาจัดให้สมาชิกเช่าซื้อตามระเบียบของสหกรณ์ เมื่อสมาชิกใช้เงินหมดก็ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่ปัจจุบัน(ตั้งแต่ปี 2507) รัฐบาลไม่ขยายการสหกรณ์ชนิดนี้ เพราะไม่มีเงินทุนซื้อที่ดินและให้สมาชิกกู้ อีกทั้งการดำเนินงานต้องจำกัดตัวเองด้วย เนื่องจากที่ดินแปลงใหญ่ๆ ในปัจจุบันหาไม่มีแล้ว และราคาที่ดินก็แพงมาก
- สหกรณ์ผู้เช่า เป็นสหกรณ์ที่เช่าที่ดินมาจากองค์การทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ราคาเช่าจึงถูก และจึงนำมาให้สมาชิกเช่าช่วงอีกที่หนึ่งเพื่อทำมาหากิน ค่าเช่าถูกกว่าธรรมดาและยังให้สมาชิกกู้เงินได้อีกด้วย

สหกรณ์การขาย เป็นสหกรณ์ซึ่งจะเป็นผู้รวบรวมผลิตผลเกษตรกรรมของสมาชิกไปขายต่อตามระยะเวลาการขายการตลาด ซึ่งต้องขายผลิตผลให้ได้ราคาดีโดยไม่ผ่านคนกลางและเฉลี่ยเป็นรายได้ให้สมาชิก ดังนั้น จึงต้องมีการเก็งกำไรและเสี่ยงอยู่บ้าง เพราะราคาของจะขึ้นลงตามราคาตลาด ผลดีของสหกรณ์การขายคือ จะช่วยพยุงราคาผลิตผลให้ดีขึ้นและอยู่ในระดับดีขึ้น และอยู่ในระดับดีนอกจากนี้ยังเป็นการกันพ่อค้าคนกลาง เช่น สหกรณ์ปอ สหกรณ์ขายข้าว เป็นต้น ฉะนั้น สหกรณ์นี้สมาชิกต้องมีหุ้นของตนอยู่ในสหกรณ์ด้วยทุกคน อย่างน้อยคนละ 1 หุ้น
สรุป จะเห็นได้ว่าการสหกรณ์ของประเทศไทยที่เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบันยังไม่ได้ผลดีเท่าทีควร ซึ่งจะเห็นได้จากการที่มีการยุบสหกรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น