วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้อสังเกตบางประการทางสังคมวิทยาในการศึกษาการเมืองท้องถิ่นไทย

1. คำนำ
การศึกษาการเมืองท้องถิ่นไทยยังต้องเกี่ยวพันถึงปัญหาสำคัญ 3 ประการ คือ การพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของสังคมชนบทไทย ซึ่งรัฐบาลได้มีโครงการส่งเสริมและดำเนินงานอยู่แล้ว โดยโครงการเหล่านี้จะรวมอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของรัฐบาลทุกแผนด้วย

2.ข้อสังเกต
การที่จะศึกษาถึงสถาบันท้องถิ่นและการเมืองท้องถิ่นไทย เราจะต้องเข้าใจรูปแบบการปกครองของประเทศอย่างกว้างๆ ศึกษาถึงโครงการต่างๆ การดำเนินงานและพฤติกรรมของข้าราชการตลอดจนประชาชนในท้องถิ่น
2.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มีส่วนอย่างสำคัญในการกำหนดรูปแบบวัฒนธรรม พฤติกรรม และสถาบันของท้องถิ่นไทย เราอาจสรุปโดยทั่วไปถึงคุณค่าและทัศนคติ ตลอดจนประเพณีท้องถิ่นซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวเข้ากับดินฟ้าอากาศและสิ่งแวดล้อมของชาวชนบทไทย ดังนี้
(1) มีความเชื่อในระบบเกษตรกรรม
(2) ไม่นิยมค้าขายหรือการพาณิชย์
(3) มีความรู้สึกสำนึกในตนเอง
(4) มีความรู้ในฤดูเกี่ยวกับการเกษตร
(5) มีความรู้สึกทางจิตวิทยาและวัฒนธรรมของการอยู่ดี
(6) มีความเชื่อมั่นในอนาคตของชีวิตและของประเทศเป็นพื้นฐาน
(7) มีความเชื่อถือในการเมือง
(8) ไม่มีการปฏิบัติรุนแรงของประชาชนในท้องถิ่น
(9) มีความมั่นคงของการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
(10)ไม่มีการแบ่งชนชั้น
2.2 โครงสร้างทางสังคมของชนบทไทย ปัจจุบันรูปโครงสร้างทางสังคมไทยส่วนใหญ่อาจกล่าวได้ว่า
(1) ประชาชนส่วนใหญ่ยังอยู่ในชนบท
(2) การเกษตรและเศรษฐกิจยังอยู่ในรูปแบบประเพณีเก่าๆ
(3) สุขภาพของประชาชน การสุขาภิบาล และที่อยู่อาศัย ตลอดจนการกินอยู่ ยังไม่ดีพอ
2.3 วัฒนธรรมชนบทและพฤติกรรมในส่วนรวม วัฒนธรรมและลักษณะพฤติกรรมของคนในสังคมย่อมเป็นผลสืบเนื่องในทางประวัติศาสตร์มาหลายชั่วศตวรรษ โดยต่อเนื่องกันซึ่งคุณค่าทางสังคมและทัศนคติทางสังคมจะเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นปัจจัยของสิ่งแวดล้อม ส่วนวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่จะเป็นเครื่องส่งให้เห็นความซับซ้อนถึงความเชื่อในระบบคุณธรรมและศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธมีอิทธิพลยิ่งต่อราชการระบบปกครองการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย ซึ่งมีคำสอนมากมายที่เกี่ยวกับการดำรง และพัฒนาการทั้งทางสังคมการเมือง และเศรษฐกิจของบุคคลแต่ละคน ของชุมชนหรืสังคมย่อย ไปจนถึงสังคมใหญ่ คือ ประเทศชาติ

ทัศนคติของประชาชนในการเมืองระบอบประชาธิปไตย
เชื่อกันว่าระบอบการปกครองนี้รัฐบาลได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากที่สุด ดังนั้นประชาชนในท้องถิ่นควรมีความสนใจต่อสิ่งต่างๆ ในทางการเมือง เพื่อทราบประสบการณ์ใหม่ๆ แนวความคิดหรือแรงผลักดันใหม่ ๆ ควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการทางการเมือง เพื่อเข้าควบคุมและเสนอความคิดเห็นผลักดันใหม่ๆ ควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการทางการเมือง เพื่อเข้าควบคุมและเสนอความคิดเห็นของตนได้ ควรมองเห็นความสำคัญขององค์การเมือง และการปกครองที่ตนผูกพันและเกี่ยวข้องอยู่

ข้อสังเกตเกี่ยวกับวิวัฒนาการระบบปกครองท้องถิ่นของไทย ทัศนคติของประชาชนไทยเกี่ยวกับผู้ปกครองและอำนาจปกครอง มีความสัมพันธ์แตกต่างกันเป็น 3 แบบ คือ
1. มีการปกครองระบบบิดากับบุตร ในระบบนี้ยังคงฝังรากติดอยู่ในสังคมไทยปัจจุบัน
2. มีการปกครองระบบเทวสิทธิ์[1] ความสัมพันธ์ในระบบการปกครองนี้เป็นไปในแบบมีผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง ประชาชนไม่มีสิทธิกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง
3. การปกครองระบอบประชาธิปไตย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความสัมพันธ์ฉันกึ่งธุรกิจ



[1] ศึกษาเพิ่มเติม ได้จากเอกสารการสอน อาจารย์สุรชัย เจนประโคน อ.พิเศษ วิทยาลัยชุมชน สมุทรสาคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น