วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

การจัดกลุ่ม ของเหตุการณ์

สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช (พ.ศ.1893-2475)สมัยกรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาสถาปนา เมื่อปี พ.ศ.1893 โดยพระเจ้าอู่ทอง(พระรามาธิบดีที่ 1) สมัยกรุงศรีอยุธยามีการปกครองแบบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราช โดยสมบูรณ์แบบ คืออำนาจอยู่ที่กษัตริย์เพียงพระองค์เดียว โดยเชื่อถือตามคติพราหมณ์ตามแบบพวกเขมรว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอำนาจจากสวรรค์ ฐานะของกษัตริย์จึงเป็น “สมมติเทพ” ทรงมีอำนาจที่จะกำหนดชะตาชีวิตของใครก็ได้จึงเรียกระบบการปกครองนี้ว่า “ระบบเทวสิทธิ์”(Divine Right) ลักษณะการปกครองเป็นแบบนายปกครองบ่าว หรือ “เจ้าปกครองไพร่ ฐานะของกษัตริย์กับประชาชนจึงห่างไกลกัน ข้าราชบริพารเป็นสื่อกลางระหว่างกษัตริย์ และประชาชน จึงเกิดเป็นระบบเจ้าขุนมูลนาย หรือศักดินาขึ้นระบบเจ้าขุนมูลนายหรือศักดินาเกิดขึ้นเพราะกรุงศรีอยุธยาอยู่ในสภาวะสงครามตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องให้พลเมืองทุกคนอยู่ในสังกัดของเจ้าขุนมูลนายเพื่อว่าเมื่อมีศึกสงครามพระมหากษัตริย์จะได้สั่งการ ให้เจ้าขุนมูลนายเกณฑ์ไพร่พลมาช่วยทำสงครามป้องกันบ้านเมืองได้

พระเจ้าอู่ทอง(พระรามาธิบดีที่ 1) ทรงวางระบบการปกครองดังนี้ ส่วนกลางเป็นแบบจตุสดมภ์ โดยมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ดูแลกิจกรรมหลัก 4 ประการของการบริหารราชการแผ่นดิน มีการแบ่งหัวเมือง 3 ระดับ คือ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช

สมัยพระบรมไตรโลกนาถ - สมัยรัชกาลที่ 4
ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031)มีการปรับปรุงระบบบริหารใหม่โดยแยกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือนหัวหน้าฝ่ายพลเรือน เรียกว่า“สมุหนายก” รับผิดชอบด้านการบริหารพลเรือนเกี่ยวกับ เมือง วัง คลัง นา หัวหน้าฝ่ายทหาร เรียกว่า “สมุหกลาโหม” รับผิดชอบด้านการทหารและป้องกันประเทศ เช่น กรมช้าง กรมม้า กรมทหารราบ ส่วนในด้านภูมิภาคได้มีการปฏิรูปการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง คือ เมืองหลวง มากขึ้นขยายเขตหัวเมืองชั้นในให้กว้างขวางขึ้น หัวเมืองชั้นนอกให้เรียกเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลักษณะความสำคัญและขนาดของพื้นที่
และส่งพระราชวงศ์ หรือขุนนางไปดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ เมืองประเทศราชยังคงให้ปกครองตนเอง และส่งบรรณาการ 3 ปีต่อครั้ง ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา(สมัยพระเพทราชา) จึงมีการปรับปรุงระบบการปกครองอีกครั้งหนึ่ง โดยแยกหัวเมืองนอกเขตราชธานีเป็น 2 ภาค หัวเมืองภาคเหนือให้สมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน หัวเมืองภาคใต้ให้สมุหกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบดูแล ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนเช่นกัน ในด้านการปกครอง มีการปรับปรุงหัวเมืองภูมิภาค 3 ส่วน คือ หัวเมืองฝ่ายเหนือ สังกัดสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายใต้ สังกัดสมุหกลาโหม หัวเมืองชายทะเลตะวันออก และเมืองท่าสังกัดกรมท่า ในสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบอยุธยาตอนปลายแต่บทบาทกษัตริย์ในฐานะสมมติเทพเริ่มค่อย ๆลดความสำคัญลง โดยเฉพาะรัชกาลที่ 4 ทรงดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการทั้งหลาย จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นเหมือนสมัยสุโขทัย

สมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2411 - 2475)
สมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ เรียกว่า “การปฏิรูปการปกครอง”อันนำมาซึ่งความเจริญอย่างมากมายในปัจจุบัน การปฏิรูปการปกครองที่สำคัญ ได้แก่
1)การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และจตุสดมภ์แล้วแบ่งส่วนราชการเป็น 12 กระทรวง มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าราชการกระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสัดส่วนแน่นอน ไม่ก้าวก่ายกันเหมือนแต่ก่อน เช่นกระทรวงมหาดไทยดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว กระทรวงกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ตะวันออกแหลมมลายู กระทรวงการต่างประเทศดูแลในเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศ กระทรวงนครบาล รับผิดชอบด้านความสงบเรียบร้อยภายในเมืองหลวงกระทรวงพระคลังมหาสมบัติดูแลในการจัดเก็บภาษีและหาเงินเข้าท้องพระคลังเป็นต้น
2)การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค ยกเลิกระบบเมืองเอก โท ตรี แต่ให้รวมหัวเมืองภาคเหนือ ภาคใต้และเมืองท่าตั้งเป็น “มณฑล”ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยมี สมุหเทศาภิบาล หรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล แต่ละมณฑลประกอบด้วยเมือง มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ปกครอง แต่ละเมืองยังแบ่งเป็นอำเภอมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง แต่ละอำเภอแบ่งเป็นตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน กำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองตำบลและหมู่บ้าน 3)การปกครองส่วนท้องถิ่น รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นประโยชน์ที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง“สุขาภิบาล” ซึ่งลักษณะคล้ายเทศบาลในปัจจุบัน สุขาภิบาลแห่งแรกคือสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลท่าฉลอม (จังหวัดสมุทรสาคร) เป็นสุขาภิบาลหัวเมือง เป็นการทดลองรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปรากฏว่าการดำเนินงานของสุขาภิบาลทั้ง 2 แห่งได้ผลดียิ่งจึงได้ตราเป็นพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2458 แบ่งสุขาภิบาลเป็น 2 แบบ คือ สุขาภิบาลเมือง และตำบล เพื่อขยายกิจการสุขาภิบาล ให้แพร่หลายไปยังท้องถิ่นอื่น ๆการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการวางรากฐานการปกครองในสมัยต่อมา มีการแก้ไขปรับปรุงบางส่วนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศมีระบบการบริหารที่ทันสมัย มีเอกภาพและมั่นคง

สมัยประชาธิปไตย (พ.ศ.2475-2535) สมัยรัชกาลที่ 7-ก่อน 14 ตุลาคม 2516
รูปแบบการปกครองสมัยรัชกาลที่ 6-7 ยังคงยึดรูปแบบการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงแก้ไขบ้างเพียงเล็กน้อย ทั้ง 2 พระองค์ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่คงจะมีขึ้นในภายข้างหน้า สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการจัดตั้ง “ดุสิตธานี” ให้เป็นนครจำลองในการปกครองแบบประชาธิปไตย จนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 หลังจากที่รัชกาลที่ 7 ทรงครองราชย์ได้ 7 ปี คณะผู้ก่อการซึ่งเรียกตัวเองว่า “คณะราษฎร์” ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือและพลเรือน จำนวน 99 คน ได้ทำการยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช หรือ “ราชาธิปไตย” มาเป็นระบบการปกครองแบบ “ประชาธิปไตย” และได้อัญเชิญรัชกาลที่ 7 ขึ้นเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ นับได้ว่ารัชกาลที่ 7 ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกในระบอบประชาธิปไตย
มูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
1.ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก หลังสงครามโลก รัฐบาลต้องการลดรายจ่าย โดยปลดข้าราชการบางส่วนออก ผู้ถูกปลดไม่พอใจ
2.ผู้ที่ไปเรียนจากต่างประเทศเมื่อกลับมาแล้วต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันสมัยเหมือนประเทศที่เจริญแล้ว
3.ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างข้าราชการและประชาชน จึงต้องการสิทธิเสมอภาคกัน
4.ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานชีวิตของราษฎรได้

ลักษณะการปกครองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 1.พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ 2.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ 3.อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทยและเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ 4.ประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา รัฐบาลและศาล 5.ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน 6.ประชาชนเลือกตัวแทนในการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี 7. ในการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
- การปกครองส่วนกลาง แบ่งเป็น กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ- การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น จังหวัด และอำเภอ- การปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยเป็นไปอย่างสงบไม่รุนแรงเหมือนบางประเทศอย่างไรก็ตามลักษณะการเมืองการปกครองมิได้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ อำนาจบางส่วนตกอยู่กับผู้นำทางการเมือง หรือผู้บริหารประเทศ มีการขัดแย้งกันในด้านนโยบายมีการแย่งชิงผลประโยชน์ เป็นเหตุให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นหลายครั้ง ระบบการปกครองของไทยจึงมีลักษณะกลับไปกลับมาระหว่างประชาธิปไตยกับคณาธิปไตย (การปกครองโดยคณะปฏิวัติ)

ประชาธิปไตย หลัง 14 ตุลาคม 2516
จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2511 หลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ซึ่งใช้เวลาร่างถึง 10 ปีแต่หลังจากบริหารประเทศมาเพียง 3 ปีเศษ จอมพลถนอม กิตติขจร และคณะได้ทำการปฏิวัติตนเองและล้มเลิก รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 และได้เข้าควบคุมการบริหารประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ การบริหารประเทศโดยคณะปฏิวัติ ซึ่งนำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร หรือกลุ่ม ถนอม-ประภาส-ณรงค์ ถูกมองว่าเป็นการทำการปฏิวัติเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและกลุ่ม มีการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นมากมายในที่สุด นิสิต นักศึกษา และประชาชนได้ร่วมกันเรียกร้องรัฐธรรมนูญและขับไล่รัฐบาล จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเรียกเป็น “วันมหาวิปโยค” และในที่สุดจอมพลถนอม กิตติขจรและคณะต้องลาออกจากตำแหน่งและเดินทางออกนอกประเทศภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีระยะหนึ่งในระยะนี้ถือว่าเป็นการตื่นตัวในทางประชาธิปไตยอย่างมาก มีการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพมากขึ้น มีการจัดหยุดงาน (Strife) มีการแสดงออกในทางเสรีภาพด้านการพูด การเขียน จำนวนหนังสือพิมพ์ได้มีออกจำหน่ายมากขึ้น มีกลุ่มพลังทางการเมืองเกิดขึ้นมากมาย มีการเดินขบวน เพื่อเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์หลายครั้งเหตุการณ์เหล่านี้ได้สร้างความเบื่อหน่ายให้กับประชาชนเรื่อยมา อีกทั้งคุณภาพของผู้แทนราษฎรไม่ดีไปกว่าเดิม นิสิตนักศึกษาได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเหตุการณ์วุ่นวายต่างๆ
จนในที่สุดเกิดวิกฤติการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 ทหารในนาม “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” ได้เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้แต่งตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร บริหารประเทศมาได้เพียง 1 ปี คณะปฏิรูปฯ ได้ยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่ง และครั้งหลังนี้ได้แต่งตั้งพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523 จึงได้ลาออกจากตำแหน่ง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจาก พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ดำรงตำแหน่งมาจนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2531 รวมระยะเวลา 8 ปีเศษได้มีการปรับปรุงคณะรัฐบาลหลายครั้ง ในระหว่างดำรงตำแหน่ง มีผู้พยายามทำการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ สมัย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ชื่อว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ทางด้านการเมืองการปกครองมีการพัฒนาโครงสร้างทางการเมือง ให้เข้มแข็งรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศให้ก้าวหน้าด้วย พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อจากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2531 และถือได้ว่าเป็นคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความชอบธรรมในกระบวนการบริหารตามระบอบประชาธิปไตย
รัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ถูกคณะทหารซึ่งเรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติทำการยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 และได้แต่งตั้งให้ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน ทำการบริหารประเทศมาได้ปีเศษจึงพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่นำโดย พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลโดยพลเอก สุจินดา คราประยูร ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งจึงถูกต่อต้านจากพรรคการเมืองบางพรรค นิสิตนักศึกษา และประชาชนบางกลุ่ม จนนำไปสู่เหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” เมื่อวันที่ 15-17 พฤษภาคม 2535 ในที่สุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ลาออกจากตำแหน่ง นายอานันท์ ปันยารชุน ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง โดยมีเป้าหมายสำคัญที่การยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่และเมื่ออยู่ในตำแหน่งได้ประมาณ 3 เดือนเศษ จึงได้ทำการยุบสภา เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2535เป็นต้นมา

ประวัติการปฏิวัติ รัฐประหารในประเทศไทย
รูปแบบของการจลาจลกบฏ ปฏิวัติหรือรัฐประหารความหมายของคำเหล่านี้เหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้กำลังอาวุธยึดอำนาจทางการเมืองแต่มีความหมายต่างกันในด้านผลของการใช้กำลังความรุนแรงนั้น หากทำการไม่สำเร็จจะถูกเรียกว่า กบฏ จลาจล (rebellion) ถ้าการยึดอำนาจนั้นสัมฤทธิผล และเปลี่ยนเพียงรัฐบาลเรียกว่า รัฐประหาร (coupd etat) แต่ถ้ารัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง ก็นับว่าเป็น การปฏิวัติครั้งสำคัญๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่
- การปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส ค.ศ.1789
- การปฏิวัติในรัสเซีย ค.ศ.1917
- การปฏิวัติของจีนในปี ค.ศ.1949
- การปฏิวัติในคิวบา ค.ศ.1952
ในการเมืองไทยคำว่า ปฏิวัติ กับ รัฐประหาร มักใช้ปะปนกัน แล้วแต่ผู้ยึดอำนาจได้นั้นจะเรียกตัวเองว่าอะไร เท่าที่ผ่านมามักนิยมใช้คำว่า ปฏิวัติ เพราะเป็นคำที่ดูขึงขังน่าเกรงขามเพื่อความสะดวกในการธำรงไว้ซึ่งอำนาจที่ได้มานั้น ทั้งที่โดยเนื้อแท้แล้ว นับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่แท้จริงครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การยึดอำนาจโดยวิธีการใช้กำลังครั้งต่อๆ มาในทางรัฐศาสตร์ถือว่าเป็นเพียงการรัฐประหารเท่านั้น เพราะผู้ยึดอำนาจได้นั้นไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงหลักการมูลฐานของระบอบการปกครองเลย ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมทางการเมืองและมิให้สับสนกับการใช้ชื่อเรียกตัวเองของคณะที่ทำการยึดอำนาจทั้งหลาย อาจสรุปความหมายแคบๆ โดยเฉพาะเจาะจงสำหรับคำว่าปฏิวัติ และรัฐประหารในบรรยากาศการเมืองไทยเป็นดังนี้คือ "ปฏิวัติ" หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่

อาจมีหรือไม่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง เช่นเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย หรือ คอมมิวนิสต์ ฯลฯ "รัฐประหาร" หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าต่อไป หรือประกาศใช้รัฐธรรมฉบับใหม่ เพื่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก ในประเทศไทยถือได้ว่ามีการปฏิวัติเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียวคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2547 โดยคณะราษฎร จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และมีการกบฏเกิดขึ้น 12 ครั้ง และรัฐประหาร 9 ครั้ง ดังนี้
กบฏ 12 ครั้ง
1.กบฏ ร.ศ.130 2.กบฏบวรเดช 11 ต.ค. 24763.กบฏนายสิบ 3 ส.ค.2478 4.กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ 29 ม.ค.2482 5.กบฏเสนาธิการ 1 ต.ค.2491 6.กบฏแบ่งแยกดินแดน พ.ย. 2491 7.กบฏวังหลวง 26 ก.พ.2492 8.กบฏแมนฮัตตัน 29 มิ.ย. 2494 9.กบฏสันติภาพ 8 พ.ย. 2497 10.กบฏ 26 มี.ค. 2520 11.กบฏยังเติร์ก 1-3 เม.ย. 2524 12.กบฏทหารนอกราชการ 9 ก.ย. 2528

รัฐประหาร 9 ครั้ง 1.พ.อ.พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร 20 มิ.ย. 2476 2.พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก ทำการรัฐประหาร เมื่อ 8 พ.ย. 2490 3.จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร 29 พ.ย.2494 4.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร 16 ก.ย. 2500 5.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำรัฐประหาร 20 ต.ค.2501 6.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร 17 พ.ย. 2514 7.พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 8.พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 25349.คณะผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ ผบ.ตร. นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ทำการ รัฐประหาร เมื่อ 19 ก.ย. 2549
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศสำหรับประเทศไทย นับจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๕๗๕ เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและประกาศใช้รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองอีกหลายฉบับ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์บ้านเมืองที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัยบรรดารัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองที่มีมาทุกฉบับ มีสาระสำคัญเหมือนกัน ที่ยึดมั่นในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล จะมีเนื้อหาแตกต่างกันก็แต่เฉพาะในเรื่องสถานภาพของรัฐสภาและสัมพันธภาพระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น ๆ มีดังนี้ (ข้อมูลถึงปี 2551)
1.พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
3.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
4.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
5.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
6.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
7.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
8.รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
9.ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
10.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
11.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
12.ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
13.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
14.ธรรมนูยการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
15.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2538
16.รัฐธรรมนูยแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
17.เปรียบเทียบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 กับ
พุทธศักราช 2540
18.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

การปกครองท้องถิ่นรูปต่างๆ และการจัดองค์การบริหาร

การจัดองค์การและการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และสุขาภิบาล

องค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นโดย พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 โดยมีเจตนารมณ์ที่จะเร่งพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดที่มิได้อยู่ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาลให้เจริญขึ้นอีกทางหนึ่ง จึงเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่เพราะมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่จังหวัด แต่ยกเว้นพื้นที่ของหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปอื่นในจังหวัด
1. การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคล และตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นราชการส่วนท้องถิ่น โดยจัดตั้งขึ้นจังหวัดละ 1 แห่ง ในทุก จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร เพราะมีการจัดการปกครองท้องถิ่นรูปเศษ) รับผิดชอบในเขตท้องที่ของจังหวัดอยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล เป็นหน่วยการปกครองที่แยกต่างหากไปส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง อีกทั้งเป็นหน่วยการปกครองที่มีงบประมาณ ทรัพย์สิน และเจ้าหน้าที่ของตนเอง มีอำนาจหน้าที่จัดทำกิจการที่เรียกว่า “กิจการส่วนจังหวัด” ในเขตที่รับผิดชอบโดยอิสระตามที่กฎหมายกำหนด
ดังนั้น หน่วยการปกครองจังหวัดมีฐานะ 2 อย่างในขณะเดียวกัน คือ เป็นทั้ง “ราชการบริหารส่วนภูมิภาค” และ “ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น” กล่าวคือ
จังหวัดในฐานะเป็น “ราชการบริหารส่วนภูมิภาค” ซึ่งเป็นตัวแทนของราชการบริหารส่วนกลางที่แยกออกไปสู่ส่วนต่างๆ ของประเทศ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และตามที่กระทรวง ทบวง กรม ส่วนกลางมอบหมายมาปฏิบัติให้เหมาะสมกบท้องที่และประชาชน จึงเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิที่ใหญ่ที่สุด โดยมี “อำเภอ” เป็นหน่วยรองลงมา การบริหารงานในด้านการใช้จ่ายเพื่อดำเนินงานต่างๆ ใช้จากเงินงบประมาณแผ่นดิน กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ได้รับและจัดสรรไปให้ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานมาจากการแต่งตั้งของส่วนกลาง และอยู่ในบังคับบัญชาของส่วนกลาง ตามลำดับ รวมทั้งได้รับเงินเดือนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากเงินงบประมาณแผ่นดินของส่วนกลางทั้งสิ้น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติให้เหมาะสมกับท้องที่ที่ประชาชน ดังนั้น จึงเป็นหน่วยงานที่นำนโยบายของส่วนกลางไปปฏิบัติให้เกิดผลประโยชน์โดยตรงในจังหวัดและอำเภอที่รับผิดชอบ
จังหวัดในฐานะเป็น “ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น” เป็นหน่วยงานที่แยกไปต่างหากจากการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง โดยมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการที่เรียกว่า “กิจการส่วนจังหวัด” ตามที่กฎหมายกำหนด จึงมีทรัพย์สิน งบประมาณ และรายได้จากภาษีอากรของตนเอง ซึ่งสามารถนำมาใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ อีกทั้งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดโดยอิสระ ราชการส่วนกลางเพียงแต่ควบคุมดูแล มีการจัดระเบียบการปกครองที่มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ “สภาจังหวัด” และ “ผู้ว่าราชการจังหวัด” เป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปนี้
2. การจัดองค์การและการบริหาร ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วย “สภาจังหวัด” และ “ผู้ว่าราชการจังหวัด” เป็นผู้ดำเนินกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
2.1 สภาจังหวัด เป็นองค์การตัวแทนของราษฎรในจังหวัดและเป็นองค์การฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งจากอำเภอต่างๆ ในจังหวัด จำนวนสมาชิกถือเกณฑ์ตามจำนวนราษฎร แต่ ละจังหวัดคือ
- จังหวัดที่มีราษฎรไม่เกิน 200,000 คน มีสมาชิกได้ 18 คน
- จังหวัดที่มีราษฎรเกินกว่า 200,000 คน แต่ไม่เกิน 500,000 คน มีสมาชิกได้ 24 คน
- จังหวัดที่มีราษฎรเกินกว่า 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1,000,000 คน มีสมาชิกได้ 30 คน
- จังหวัดที่มีราษฎรเกินกว่า 1,000,000 คน ขึ้นไป มีสมาชิกได้ 36 คน
ดังนั้น จำนวนสมาชิกต้องมีอย่างน้อย 18 คน อย่างมาก 36 คน โดยให้อำเภอหนึ่งๆ เลือกตั้งสมาชิกได้หนึ่งโดยมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และจะสิ้นสุดลงก่อนครบวาระเมื่อ
- สภาจังหวัดถูกยุบโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ตาย
- ลาออก
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ออก เพราะขาดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
- สภาจังหวัดวินิจฉัยให้ออกเพราะมีความประพฤติไม่เหมาะสม แต่ต้องมีเสียงไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่งทั้งหมด

อำนาจหน้าที่ของสภาจังหวัดสรุปได้ดังนี้
(1) ตราข้อบัญญัติจังหวัด มีกระบวนการดำเนิน การ คือ ร่างข้อบัญญัติเสนอได้โดยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสมาชิกสภาจังหวัด เมื่อสภาจังหวัดพิจารณาและลงมติเห็นชอบ จะใช้บังคับได้ต่อเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบ โดยลงชื่อประกาศใช้ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับร่าง แต่ถ้าไม่เห็นชอบด้วยก็ต้องส่งร่างข้อบัญญัตินั้นไปให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณา ซึ่งถ้าเห็นชอบด้วยก็จะส่งกลับไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดให้ลงชื่อบังคับใช้ แต่ถ้าไม่เห็นชอบก็เป็นอันระงับไป อีกทั้งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจจะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดไว้ด้วยก็ได้ โดยไม่เกิน 100 บาท และถือเป็นความผิดลหุโทษ
(2) อนุมัติงบประมาณ คือ แผนการหรืโครงการปฏิบัติแต่ละปีที่จัดทำขึ้นและเสนอโดยฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติงบประมาณประจำปีของจังหวัดต่อสภาจังหวัด เพราะงบประมาณประจำปีของจังหวัดต้องตราเป็นข้อบัญญัติจังหวัด
(3) การควบคุมการบริหารงานกิจการ สมาชิกสภาจังหวัดมีสิทธิตั้งกระทู้ถามและสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ โดยเป็นข้อความที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของราชการบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งทำได้ทั้งในสภา และในส่วนภูมิภาค สำหรับคำสอบถามและการตอบให้บันทึกทำเป็นหนังสือเสนอ กระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีสิทธิไม่ตอบถ้าเห็นว่ายังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของจังหวัด หรือเกี่ยวข้องกับนโยบายราชการบริหารส่วนกลาง ตลอดจนอาจมีการตั้งคณะกรรมการสามัญ และวิสามัญอันถือเป็นการควบคุมฝ่ายบริหารในการดำเนินกิจการส่วนจังหวัดในรูปคณะกรรมการ
2.2 ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกระทรวงมหาดไทย และมี 2 ฐานะ คือ
(ก) ฐานะเป็นตัวแทนราชการบริหารส่วนกลาง มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนภูมิภาพในเขตจังหวัด ตลอดจนรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ควบคุมดูแลเทศบาลและสุขาภิบาลแทนราชการส่วนกลางด้วย
(ข) ฐานะเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารกิจการส่วนจังหวัดตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เรียกว่า “องค์การบริหารส่วนจังหวัด” อันเป็นตำแหน่งคล้ายกับนกยกเทศมนตรี โดยมีหน้าที่ปฏิบัติกิจการส่วนจังหวัดที่แยกต่างหากจากราชการส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง ต้องรับผิดชอบต่อสภาจังหวัด ดังนั้น จึงมีอำนาจหน้าที่อันได้แก่ ปฏิบัติตามมติของสภาจังหวัด, ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการส่วนจังหวัด, เสนอร่างข้อบัญญัติจังหวัดและให้ความเห็นชอบประกาศใช้ร่างข้อบัญญัติจังหวัด,เปิด – ปิด และขยายเวลาสมัยประชุมสภาจังหวัด สั่งเพิกถอนมติของสภาจังหวัด, รับใบลาออกและสั่งให้สมาชิกสภาจังหวัดออก และปฏิบัติหน้าที่ทั่วไป
3. หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีหน้าที่ทำกิจการที่ เรียกว่า “กิจการส่วนจังหวัด” ซึ่งเป็นกิจการที่รัฐมอบให้จัดทำ ทั้งนี้ภายในวงเงินงบประมาณที่ตั้งไว้ ของจังหวัด และได้รับอนุมัติจากสภาจังหวัดแล้วกิจการส่วนจังหวัด เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน, การศึกษา การทุบำรุงศาสนา และการส่งเสริมวัฒนธรรม, การสาธารณูปการ, การป้องกันโรค การบำบัดโรค การจัดตั้งและบำรุงสถานพยาบาล การจัดให้มีการบำรุงทั้งทางน้ำและทางบก, การจัดให้มีการบำรุงทางระบายน้ำ, การรักษาความสะอาดท้องถนน ทางเดิน และที่สาธารณะ, การกำจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล, การจัดให้มีน้ำสะอาดและบำรุงการไฟฟ้า, การจัดให้มีสุสาน และฌาปนสถาน, การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น นอกจากนี้อาจทำกิจการนอกเขตโดยเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำและเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินตามอำนาจหน้าที่อยู่ในเขตของตน โดยได้รับความยินยอมจากสภาเทศบาล คณะกรรมการสุขาภิบาล สภาจังหวัด หรือตำบลแห่งท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อีกทั้งอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นในรูปบริษัทจำกัด หรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค และต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เช่นกัน


4. รายได้และรายจ่ายองค์การบริหารส่วนจังหวัด
4.1 รายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายจึงอาจมีรายได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ และผลประโยชน์ ซึ่งเป็นรายได้ที่เทศบาลจะตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนให้จังหวัดให้จัดเก็บเพิ่มขึ้นเฉพาะท้องที่นอกเขตสุขาภิบาล เพื่อกิจการส่วนจังหวัดด้วยก็ได้
4.2 รายจ่ายองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ร.บ. บริหารราชการส่วนจังหวัดได้กำหนดประเภทรายจ่ายไว้ คือ เงินเดือน, ค่าจ้าง, เงินตอบแทนอื่นๆ, ค่าใช้สอย, ค่าวัสดุ, ค่าครุภัณฑ์, ค่าที่ดิน, สิ่งก่อสร้างและทรัพย์สินอื่นๆ เงินอุดหนุน ตลอดจนรายจ่ายอื่นใดตามข้อผูกพันหรือตามที่กฎหมายหรือระเบียบกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้
5. ข้าราชการส่วนจังหวัดและการแบ่งราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งนอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าฝ่าบริหารแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้มี “ข้าราชการส่วนจังหวัด” ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำและมีฐานะเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน จึงให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้เป็นระเบียบข้าราชการส่วนจังหวัดโดยอนุโลม แบ่งการบริหารส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดออกเป็น
(1) สำนักงานเลขานุการจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการทั่วไปของจังหวัด
(2) ส่วนต่างๆ ที่จังหวัดจัดตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการส่วนจังหวัดในส่วนนั้น เช่น ส่วนการคลัง การโยธา ส่วน รพช. ส่วนอำเภอ ส่วนกิ่งอำเภอ เป็นต้น
6. การควบคุมองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(1) การยุบสภาพจังหวัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจที่จะยุบสภาจังหวัดเพื่อให้ราษฏรเลือกตั้งใหม่ และต้องแสดงเหตุผล และกำหนดให้เลือกตั้งใหม่ภายใน 90 วัน
(2) สั่งเพิกถอนมติสภาจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งเพิกถอนมติซึ่งมิใช้ข้อบัญญัติจังหวัด เมื่อเห็นว่ามตินั้นเป็นการเมืองแห่งรัฐหรือฝ่าฝืนกฎหมาย แต่ต้องสั่งเพิกถอนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่สภาจังหวัดมีมติ









แผนภูมิองค์การบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

องค์การบริหารส่วนจังหวัด
สภาจังหวัด
(เลือกตั้ง)
ผู้ว่าราชการจังหวัด
(โดยตำแหน่ง)
ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สำนักงานเลขานุการจังหวัด
ส่วนอำเภอ
ส่วน…
ส่วน…

เทศบาล
เทศบาลเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยโดย พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2476 ซึ่งมีลักษณะสมบูรณ์ตามหลักการกระจายอำนาจ โดยไดกำหนดโครงสร้างของเทศบาลที่จำลองรูปแบบการปกครองของประเทศแบบรัฐสภา และนิยมกันมากในประเทศตะวันตก ปัจจุบันเทศบาลได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 กับฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม วัตถุประสงค์ของการนำมาใช้ก็เพื่อให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการปกครองในระดับท้องถิ่นตามแบบอารยประเทศ
1. การจัดตั้งเทศบาล
พระราชบัญญัติเทศบาล แบ่งเทศบาลออกเป็น 3 ประเภท คือ
(1) เทศบาลตำบล เป็นเทศบาลขนาดเล็ก
(2) เทศบาลเมือง เป็นเทศบาลขนาดกลาง
(3) เทศบาลนคร เป็นเทศบาลขนาดใหญ่
การจัดตั้งเทศบาลจะจัดตั้งเป็นแห่งๆ ไป ส่วนการยกฐานะของท้องถิ่นขึ้นเป็นเทศบาลจะถือความสำคัญของท้องถิ่น จำนวนและความหนาแน่นของราษฎรในชุมชน ตลอดจนรายได้ที่คาดว่าสามารถจัดเก็บมาเป็นค่าใช้จ่ายการปฏิบัติหน้าที่ที่บังคับไว้ตามกฎหมาย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลตำบล โดยให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย ดังนั้น การยกฐานะท้องถิ่นใดขึ้นเป็นเทศบาลตำบลจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาล ซึ่งต้องเป็นท้องถิ่นที่มีราษฎรอยู่มาก และมีความเจริญพอสมควร
(ข) เทศบาลเมือง การจัดตั้งกระทำได้ 2 กรณี คือ
(1) ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดทุกแห่ง
(2) ท้องถิ่นอื่นๆ ซึ่งต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้
- เป็นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป
- ชุมนุมชนมีราษฎรอยู่หนาแน่เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
- มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่ที่บังคับไว้ตามกฎหมาย สำหรับเทศบาลเมือง
(ค) เทศบาลนคร การจัดตั้งจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- เป็นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป
- ชุมนุมชนมีราษฎรอยู่หนาแน่เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
- มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่ที่บังคับไว้ตามกฎหมาย สำหรับเทศบาลนคร
การจัดตั้งจะต้องกระทำเป็น “พระราชกฤษฎีกา” โดยระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย เมื่อเป็นเทศบาลแล้วก็จะมีสภาพเป็นทบวงการเมือง ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย สำหรับการเปลี่ยนชื่อเทศบาล, เปลี่ยนเขตเทศบาล, เปลี่ยนแปลงฐานะ หรือยุบเลิกเทศบาล กฎหมายก็กำหนดให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา เช่นกัน
2. การจัดตั้งองค์การและการบริหาร
พ.ร.บ.เทศบาลได้กำหนดรูปแบบโครงสร้างการจัดองค์การ และการบริหารของเทศบาลจำลองแบบการปกครองแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นแบบการปกครองประเทศมาใช้กับเทศบาลด้วย มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ
2.1 สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
เทศบาลตำบล มีสมาชิกจำนวน 12 คน
เทศบาลเมือง มีสมาชิกจำนวน 18 คน
เทศบาลนคร มีสมาชิกจำนวน 24 คน[1]
เขตเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล โดยปกติให้ถือเขตเทศบาลเป็นเขตเลือกตั้งเขตหนึ่ง แต่ถ้าเทศบาลมีจำนวนราษฎรเกินกว่า 100,000 คน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศแบ่งเขต เป็นเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่เกิน 4 เขต โดยให้แต่ละเขตมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันเท่าที่จะแบ่งได้ และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมีจำนวนเท่ากันทุกเขต อีกทั้งต้องระบุว่าเป็นเขตเลือกตั้งที่เท่าใด ของเทศบาลใดมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลที่จะทำการเลือกตั้งเท่าใด และต้องประกาศให้ราษฎรทราบก่อนวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยเขตที่ประกาศนั้นก็จะใช้ตลอดไปจนกว่าจะได้ประกาศเปลี่ยนแปลง
สมาชิกสภาเทศบาล มีวาระอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 5 ปี แต่สมาชิกภาพของเทศบาลอาจสิ้นสุดลงก่อนวาระได้ เมื่อ
(1) สภาเทศบาลถูกยุบโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(2) ตาย
(3) ลาออกโดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
(5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้สอบสวนแล้วสั่งให้ออก เพราะไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลนั้น
(6) สภากระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยให้ออก เพราะมีความประพฤติที่จะทำให้เสื่อมเสียแก่กระทรวงมหาดไทย โดยมีคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกอยู่ในตำแหน่ง
(7) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้ออก เพราะมีความประพฤติที่จะทำให้เสื่อมเสียแก่เทศบาลหรือไม่มาประชุมสภาเทศบาล 3 ครั้ง ติดๆ กัน โดยไม่มีเหตุผลสมควร
สภาเทศบาลจะมีประธานและรองประธานที่เลือกตั้งมาจากสมาชิกสภาเทศบาล โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้ง มีหน้าที่ดำเนินการของสภาเทศบาล ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุม ซึ่งในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสำคัญ 2 สมัย หรือหลายสมัยก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 4 สมัย และในการประชุมครั้งแรกต้องทำภายใน 90 วัน นับแต่การเลือกตั้งเสร็จแล้ว โดยสมัยหนึ่งๆ มีกำหนดไม่เกิน 15 วัน แต่ถ้าจะขยายออกไปก็ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนการประชุมวิสามัญควรเป็นกรณีที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งเทศบาล และมีจำนวนผู้เข้าประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่ง ซึ่งอาจยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดให้พิจารณาและเรียกประชุมเมื่อเห็นสมควร ตลอดจนอนุญาตให้มีการขยายเวลาประชุมถ้าเกินกว่า 15 วัน สำหรับองค์ประชุมต้องมีสมาชิกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่ง แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด และการลงมติวินิจฉันข้อปรึกษาให้ถือเอาเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงเพิ่มหนึ่งเสียงซึ่งเป็นเสียงชี้ขาด การประชุมสภาเทศบาลมิให้ทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่, ฝ่าฝืนกฎหมาย, หรือเรื่องการเมืองแห่งรัฐ อีกทั้งกระทำโดยเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล ส่วนการประชุมลับประธานจะดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอมติที่ประชุมเมื่อคณะเทศมนตรีหรือสมาชิกสภาเทศบาลรวมกันไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของจำวนสมาชิกที่มาประชุมร้องขอให้ทำการประชุมลับ
อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล ซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติของเทศบาล สรุปได้ดังนี้
(1) ตราเทศบัญญัติ ซึ่งใช้บังคับกับประชาชนในเขตเทศบาล และไม่ขัดแย้งต่อตัวบทกฎหมาย เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาล อีกทั้งอาจจะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดไว้ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 1,000 บาท นอกจากนี้เทศพาณิชย์ของเทศบาลกฎหมายกำหนดไว้ตราเป็น เทศบัญญัติด้วย สำหรับการนำเสนอร่างทำได้โดยสมาชิกสภาเทศบาลหรือคณะเทศมนตรีซึ่งไม่ต้องมีผู้รับรอง แต่ถ้าสมาชิกสภาฯ เป็นผู้เสนอ จะต้องมีผู้รับรองอย่างน้อย 2 คน โดยลงชื่อในร่างญัตติ ทั้ง 2 ฝ่าย และถ้าเป็นร่างฯ ที่เกี่ยวกับการเงิน ต้องให้นายกเทศมนตรีรับรอง
สำหรับการพิจารณาร่างเทศบัญญัติจะทำเป็น 3 วาระ แต่ที่ประชุมจะอนุมัติให้พิจารณา 3 วาระรวดเดียวก็ได ยกเว้นร่างเทศบัญญัติงบประมาณจะทำไม่ได้ และจะใช้บังคับได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบ และลงชื่อโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งกำหนดไว้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ร่างฯเสร็จ ในกรณีเทศบาลตำบลต้องส่งให้นายอำเภอก่อน ส่วนเทศบาลเมืองและเทศบาลนครให้ประธานสภาจะส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดได้เลย ถ้าเห็นชอบให้ลงชื่ออนุมัติภายในกำหนด 30 วัน แต่ถ้าไม่เห็นชอบก็จะส่งกลับคืนไปยังสภาเทศบาล เพื่อพิจารณาใหม่ และถ้ายืนยันร่างเดิมก็ส่งกลับมายังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อส่งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 30 วัน ซึ่งถ้าเห็นชอบก็สั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่ออนุมัติ แต่ถ้าไม่เห็นชอบก็เป็นอันระงับไปและในกรณีฉุกเฉินคณะเทศมนตรีอาจออกเทศบัญญัติชั่วคราว โดยให้ใช้บังคับทันทีในวันที่ประกาศ ตลอดจนต้องมีการประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานเทศบาลแล้ว 7 วัน
(2) พิจารณาอนุมัติงบประมาณประจำปีของเทศบาล เป็นแผนโครงการใช้จ่ายเงินของเทศบาลแต่ละปีรวมทั้งรายรับของเทศบาลที่ได้ประมาณการไว้ด้วย คณะเทศมนตรีเป็นฝ่ายจัดทำโยเสนอต่อสภาเทศบาลเพื่อพิจารณา และกำหนดเป็น 3 วาระ จึงต้องตามเป็นเทศบัญญัติ อีกทั้งมีความสำคัญเพราะว่าถ้าสภาเทศบาลไม่รับหลักการ คณะเทศมนตรีต้องพันจากตำแหน่ง ซึ่งสมาชิกสภาเทศบาลมักจะอาศัยอำนาจนี่โค่นล้มคณะเทศมนตรีทำให้การบริหารงานของเทศบาลดำเนินไปไม่ราบรื่น แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยับยั้งโดยส่งคืนให้สมาชิกเทศบาลพิจารณาใหม่ และต้องมีมติยืนยันด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด จึงจะถือว่าสภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งรางเทศบัญญัติงบประมาณ อันเป็นผลให้คณะเทศมนตรีทั้งคณะต้องออกจากตำแหน่ง
(3) ควบคุมการบริหารงานของเทศบาล ซึ่งได้จำลองรูปแบบการปกครองแบบรัฐสภามาใช้ โดยฝ่ายบริหารไม่ได้มาจากการเลืองตั้งโดยตรง แต่เป็นทางอ้อม คือ ประชาชนเลือกสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งจะเป็นผู้เลือกและให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกันเอง ดังนั้น สภาเทศบาลจึงมีอำนาจในการควบคุมการบริหารงานของเทศบาลที่คณะเทศมนตรีรับผิดชอบด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
- ตั้งกระทู้ถาม ในข้อความใดๆ อันเกี่ยวกับการงานในหน้าที่ได้ แต่คณะเทศมนตรีมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่า ยังไม่สมควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือประโยชน์สำคัญของเทศบาล
- ยื่นคำร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้คณะเทศมนตรี หรือ เทศมนตรีออกจากตำแหน่ง
- การตั้งคณะกรรมการ สภากระทรวงมหาดไทยมีอำนาจเลือกสมาชิกสภาเทศบาล ตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลทั้งที่เป็นหรือไม่เป็นสมาชิกเป็นคณะกรรมการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการหรือพิจาณาสอบสวนข้อความใดๆ อันอยู่ในวงงานของสภาเทศบาล
2.2 คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารของเทศบาล ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี และเทศมนตรีอื่น มีจำนวนกำหนดไว้ตามประเภทของเทศบางดังนี้
- เทศบาลตำบล มีนากยกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรีอีก 2 คน
- เทศบาลตำเมือง มีนากยกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรีอีก 2 คน (แต่ในกรณีเทศบาลเมืองแห่งใดมีรายได้จับเก็บตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป ก็ให้มีเทศมนตรีเพิ่มขึ้นได้อีก 1 คน)
- เทศบาลนคร มีนากยกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรีอีก 4 คน
การแต่งตั้งคณะเทศมนตรี มีหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี
(2) ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีจากผู้เป็นสมาชิก สภาเทศบาลเท่านั้น จะแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกไม่ได้ (เว้นแต่กรณีคณะเทศมนตรีชั่วคราว)
(3) ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาเทศบาล
เนื่องจากคณะเทศมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง กฎหมายจึงมิได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะเทศมนตรีไว้ แต่ก็ได้มีการกำหนดการออกจากตำแหน่งไว้ดังนี้
การออกจากตำแหน่งทั้งคณะของเทศมนตรี
(1) สมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลชุดที่คณะเทศมนตรีเข้ารับหน้าที่สิ้นสุดลง
(2) สภานายกเทศมนตรีและเทศมนตรีไม่รับหลักการเทศบัญญัติงบประมาณ และผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบด้วยสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณนั้น หรือสภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมด
(3) ความเป็นเทศมนตรีของนกยกเทศมนตรีสิ้นสุดลง
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้เทศมนตรีทั้งคณะออกจากตำแหน่ง
ความเป็นเทศมนตรีจะสิ้นสุดเฉพาะตัวเมื่อ
(1) สมาชิกภาพแห่งสภาสิ้นสุดลง
(2) ลาออกโดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้สอบสวนแล้วสั่งให้ออก โดยเห็นว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับเทศบาลหรือในกิจการที่ทำให้แก่เทศบาล ทั้งนี้ไม่ว่าโดยตรงหรืออ้อม
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้ออก
อำนาจหน้าที่ของคณะเทศมนตรี คณะเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารของเทศบาล โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า นอกจากนี้เทศบาลทุกแห่งที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นครบ 1 ปีแล้ว จะเป็นเหตุให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้นๆ พ้นจากตำแหน่งและหน้าที่ ให้นายกเทศมนตรีของเทศบาลนั้นมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตเทศบาล
3. หน้าที่ของเทศบาล
เทศบาลจำดำเนินกิจการใดย่อมอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ อีกทั้งเพื่อความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นแต่ละแห่งและสถานะเกี่ยวกับรายได้ของเทศบาลด้วย มีดังต่อไปนี้
เทศบาลตำบล มีหน้าที่ที่ต้องทำในเขตเทศบาล ได้แก่ รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ รักษาความสะอาดของถนนและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลฯ ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม ฯลฯ
เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลได้แก่ กิจการตามที่ระบุไว้ว่าเป็นหน้าที่ที่เทศบาลตำบลต้องทำ ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา ให้มีโรงฆ่าสัตว์ ให้มีการบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้ ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ฯลฯ
เทศบาลนคร มีหน้าทีที่ต้องทำในเขตเทศบาล ได้แก่ กิจการตามที่ระบุไว้ว่าเป็นหน้าที่ที่เทศบาลเมืองต้องทำ ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข ฯลฯ

สหการ เป็นองค์การซึ่งเทศบาลตั้งแต่ 2 เทศบาลขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อประกอบกิจการอันอยู่ในหน้าที่ของเทศบาลร่วมกัน การจัดตั้งจะทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และมีสภาพเป็นทบวงการเมือง ซึ่งได้กำหนดชื่อ อำนาจ หน้าที่ และระเบียบการดำเนินงานไว้ สำหรับการยุบเลิกสหการก็ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาโดยกำหนดวิธีการจัดทรัพย์สินไว้ด้วย สหการอาจได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และอาจกู้เงินได้โดยออกพันธบัตร หรือเงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ ตลอดจนนิติบุคคลต่างๆ



4. รายได้และรายจ่ายของเทศบาล
รายได้ของเทศบาล อาจได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล รายได้จากสาธารณูปโภคและเทศพาณิชย์ พันธบัตรหรือเงินกู้ เงินกู้จาก กระทรวง ทบวง กรม องค์การ ตลอดจนนิติบุคคลต่างๆ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินและทรัพย์สินอย่าอื่นที่มีผู้อุทิศให้ ฯลฯ
รายจ่ายของเทศบาล อาจมีรายจ่าย เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เงินตอบแทนอื่นๆ ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดินก่อสร้างและทรัพย์สินอื่นๆ เงินอุดหนุน ฯลฯ
5. พนักงานเทศบาลและการกำหนดส่วนราชการของเทศบาล
พนักงานเทศบาล ในการบริหารกิจการของเทศบาลนกจากจะมีคณะเทศมนตรีซึ่งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า กฎหมายเทศบาลยังกำหนดให้เทศบาลมี “พนักงานเทศบาล” ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำ เป็นผู้ปฏิบัติกิจการของเทศบาล โดยมี “ปลัดเทศบาล” เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาล และรับผิดชอบในงานประจำทั่วไปของเทศบาล ระเบียบพนักงานเทศบาลให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
การกำหนดส่วนราชการของเทศบาล การบริหารงานของเทศบาลตามกฎหมายกำหนดให้จัดแบ่งการบริหารออกเป็นส่วนต่างๆ ตามปริมาณและคุณภาพของงาน
6. การควบคุมเทศบาล โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด และ นายอำเภอ เป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมเทศบาล ดังนี้
(1) การชี้แจงนำตักเตือนเทศบาลและตรวจสอบกิจการ
(2) สั่งเพิกถอนหรือสั่งให้ระงับการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี หรือเทศมนตรี
(3) การสั่งให้คณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีออกจากตำแหน่ง
(4) การสั่งยุบสภาเทศบาล
(5) การสั่งให้เทศบาลอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทยโดยตรง และต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
สรุป จะเห็นได้ว่าเทศบาลเป็นรูปการปกครองท้องถิ่นไทยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง และเป็นไปตามลักษณะการกระจายอำนาจมากที่สุด ซึ่งการจัดตั้งเทศบาลทุกประเภทต้องตราเป็น “พระราชกฤษฎีกา” แต่ในปัจจุบันเทศบาลหลายแห่งยังประสบปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย จึงทำให้ไม่สามารถพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญเท่าที่ควรได้






แผนภูมิการจัดองค์การบริหารของเทศบาล

เทศบาล
สภาเทศบาล
(เลือกตั้ง)
คณะเทศมนตรี
(มาจากสภาเทศบาล)
ปลัดเทศบาล
สำนักงานปลัดเทศบาล
กองฝ่าย..
กองฝ่าย..

กองฝ่าย..













สุขาภิบาล เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ทรงจัดตั้งขึ้นในกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2440 และประสบผลสำเร็จในการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม พ.ศ.2451 จึงได้ตรา พ.ร.บ.จัดการสุขาภิบาลหัวเมือง ร.ศ.127 ขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการมาจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ก็หยุดชะงักไป เพราะรัฐบาลจะจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาลทั้งหมดแต่ในปี พ.ศ.2495 ก็นำกลับมาใช้อีก เพราะมีท้องถิ่นชุมชนขนาดเล็กหรือขนาดกลางจำนวนมาที่ไม่อาจจัดตั้งเป็นเทศบาลได้
1. การจัดตั้งสุขาภิบาล ให้จัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ เป็นแห่งๆ ไป จะจัดตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย โดยต้องมีการระบุชื่อและเขตไว้ด้วย และต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล ตลอดจนให้ประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษาด้วย ดังนั้น การจัดตั้งจึงอยู่ในดุลพินิจของรัฐบาล โดยกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่รับผิดชอบซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้
- ท้องถิ่นที่เป็นที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ จะต้องมีรายได้จริงในปีงบประมาณที่ แล้ว ตั้งแต่ 300,000 บาทขึ้นไป โดยไม่รวมเงินอุดหนุน
- ท้องถิ่นที่เป็นเขตตำบลหรือหมู่บ้าน จะต้องมีราได้จริงในปีงบประมาณที่แล้วตั้งแต่ 400,000. บาท ขึ้นไป โดยไม่รวมเงินอุดหนุน
- มีพื้นที่ไม่เกินกว่า 13 ตารางกิโลเมตร เว้นแต่กรณีที่สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทยเห็นว่ามีความจำเป็นทางวิชาการด้านผังเมือง
- มีประชากรตั้งแต่ 1,500 คนขึ้นไป
- ได้รับความเห็นชอบจากราษฎรในท้องถิ่นนั้น
2. การยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- มีรายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่แล้วตั้งแต่ 5,000,000 บาท ขึ้นไป
- มีประชากรตั้งแต่ 7,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ขึ้นไป
- ได้รับความเห็นชอบจากราษฎรในท้องถิ่นนั้น
3. การจัดองค์การและการบริหาร มีการจัดองค์การในรูปคณะกรรมการ เรียกว่า “คณะกรรมการสุขาภิบาล” ซึ่งทำหน้าที่ทั้งทางนิติบัญญัติและทางบริหารไปพร้อมกัน โดยมีหน้าที่ทำการตราข้อบังคับ วางนโยบาย และรับผิดชอบบริหารกิจการของสุขาภิบาลตามกฎหมาย คณะกรรมการสุขาภิบาล ประกอบด้วย
(1) นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอแห่งท้องที่ที่สุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่
(2) ปลัดอำเภอแห่งอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่สุขาภิบาลตั้งอยู่ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำนวน 1 คน
(3) กำนันแห่งตำบลซึ่งมีพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของตำบลนั้นตั้งอยู่ ในเขตสุขาภิบาล
(4) ผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งราษฎรในเขตสุขาภิบาลนั้นเลือกตั้งขึ้นจำนวน 9 คน และมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยจะพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุต่อไปนี้
- ถึงคราวออกตามวาระ
- ตาย
- ลาออก โดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
- ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง
- กรรมการสุขาภิบาลไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดมีมติให้ออกเพราะพฤติกรรมไม่ดี
- ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สอบสวนแล้วสั่งให้ออก
การบริหารสุขาภิบาล กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมสุขาภิบาลมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารเกี่ยวกับสุขาภิบาล โดยมีหน้าที่ประชุมร่วมกันเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงาน บริหารกิจการของสุขาภิบาล และปรึกษาเกี่ยวกับการตราข้อบังคับสุขาภิบาล เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของสุขาภิบาล สำหรับการประชุมจะต้องมีไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้งเป็นปกติ โดยมีกรรมการประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่อยู่ในตำแหน่ง ส่วนการลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ที่ลงคะแนน ดังนั้น จึงต่างกับการประชุมสภาท้องถิ่นรูปอื่น คือ ไม่มีการเสนอญัตติ ตั้งกระทู้ถาม หรือเปิดอภิปราย และในด้านการบริหารงานก็มีหน้าที่จัดทำ “แผนดำเนินงาน” ไว้เพื่อใช้เป็นหลักในการบริหารกิจการสุขาภิบาล แต่ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเสียก่อน จึงจะปฏิบัติตามแผนได้ นอกจากนี้ยังมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและอนุมัติงบประมาณประจำปี โดยตราเป็นข้อบังคับว่าด้วย งบประมาณประจำปี และเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่ออนุมัติ
4. หน้าที่ของสุขาภิบาล มีหน้าที่จัดทำกิจการภายในเขต ได้แก่ ให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ รักษาความสะอาดของถนน การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้อกันและระงับโรคติดต่อ ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา ให้มีโรงฆ่าสัตว์ ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม ให้มีสุสานและฌาปนสถาน ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า ป้องกันและระงับสาธารณภัย ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ ส่งเสริมให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬา การส่งเสริมศาสนา การสาธารณูปการ การพาณิชย์ ฯลฯ
5. พนักงานสุขาภิบาลและการกำหนดส่วนบริหารของสุขาภิบาล
พนักงานสุขาภิบาล กฎหมายกำหนดให้สุขาภิบาล มีพนักงานสุขาภิบาลซึ่งเป็นฝ่ายปฏิบัติงานประจำ ประกอบด้วย ปลัดสุขาภิบาล สมุห์บัญชีสุขาภิบาล และพนักงานสุขาภิบาลอื่น ตามความจำเป็น
การกำหนดส่วนบริหารของสุขาภิบาล ประกอบด้วย สำนักปลัดสุขาภิบาล ฝ่ายคลัง ฝ่ายช่าง ฝ่ายสาธารณสุข และฝ่ายประปา ซึ่งต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการพนักงานสุขาภิบาล (ก.สภ.) เพื่อกำหนดส่วนการบริหารตามลักษณะปริมาณและคุณภาพของงานสุขาภิบาลนั้นๆ
6. การควบคุมสุขาภิบาล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่ควบคุมดูแลสุขาภิบาลในจังหวัดนั้นเพื่อให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่เป็นไปตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังให้ผู้ตรวจการเทศบาลจังหวัด มีหน้าที่ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลสุขาภิบาลในจังหวัดนั้น ซึ่งปัจจุบันคือตำแห่งผู้ตรวจราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติราชการอยู่ ณ ที่ทำการปกครองจังหวัด
สรุป สุขาภิบาลเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่งที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นที่ยังไม่เจริญพอที่จะจัดตั้งเป็นเทศบาลได้ เพื่อทำการพัฒนาให้เจริญขึ้นและอาจยกฐานะเป็นเทศบาลได้ในอนาคต ซึ่งจัดในรูปของคณะกรรมการ จึงไม่แบ่งแยกองค์การเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารเหมือนการปกครองท้องถิ่นรูปอื่นๆ ที่ปัจจุบันสุขาภิบาล โดยทั่วไปยังมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะบริหารงานประจำได้ต้องอาศัยเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น รูปแบบสุขาภิบาลที่มีนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ เป็นประธานสุขาภิบาล จึงมีมากกว่ารูปแบบที่มาจากกรรมการสุขาภิบาลโดยการเลือกตั้ง


แผนภูมิการจัดองค์การของสุขาภิบาล
สุขาภิบาล
คณะกรรมการสุขาภิบาล
โดยตำแหน่ง
โดยแต่งตั้ง
โดยเลือกตั้ง
ปลัดสุขาภิบาล
สำนักงานปลัดสุขาภิบาล
ฝ่าย...
ฝ่าย...
ฝ่าย...














การจัดองค์การและการบริหารงานของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
กรุงเทพมหานคร
เป็นหน่วยการปกครองที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นให้มีลักษณะพิเศษ เพื่อให้สามารถจัดทำกิจการและบริหารในด้านต่างๆ ให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว ตลอดจนเพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของกรุงเทพมหานครให้สำเร็จลุล่วงไปได้ จึงเป็นหน่วยการปกครองรูปแบบพิเศษที่มีฐานะเป็นจังหวัดพิเศษที่มุ่งเน้นให้การปกครองดำเนินไปโดย ประหยัด มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับนโยบายของส่วนกลาง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น โดยแบ่งพื้นที่การบริหารเป็น เขต และ แขวง การตั้ง ยุบหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตให้กระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
1. การจัดองค์การและการบริหารกรุงเทพมหานคร
1.1 สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งเข้ามา สำหรับการกำหนดเขตเลือกตั้งจะถือเกณฑ์ราษฎร 100,000 คน ต่อสมาชิกฯ 1 คน เขตใดที่มีราษฎรไม่ถึง 100,000 คน ให้มีสมาชิกสภาฯ ได้ 1 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกิน 100,000 คน ก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาฯ ในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ต่อจำนวนราษฎรที่ 1 แสนคน เศษของ 1 แสน ถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสนคน ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาฯ จะกระทำได้เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้ง โดยให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้งไว้ด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี เช่นเดียวกับสภากรุงเทพมหานครและเมื่อครบวาระกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน ซึ่งสภาพของสมาชิกสภาจะสิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้
1. ถึงคราวออกตามอายุของสภาฯ หรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
2. ตาย
3. ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภาฯ และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันยื่นหนังสือลาออก
4. ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือมีลักษณะห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาฯ
5. กระทำการต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใด ในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์กรุงเทพฯ หรือบริษัทกรุงเทพฯ ถือหุ้น หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
6. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
7. ขาดการประชุมสภาฯ ตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาฯ
8. สภากรุงเทพมหานครวินิจฉันให้ออก เพราะมีความประพฤติที่เสื่อมเสีย
การยุบสภากรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาฯ ใหม่ กระทำได้ 2 กรณี คือ
(1) ในกรณีที่การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร ขัดแย้งกันจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครหรือแก่ราชการโดยส่วนรวม
(2) ถ้าปรากฏว่าการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกันหรือเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้องจนอาจให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม และการแก้ไขสภาพที่เหมาะสมคือ การยุบสภาฯ โดยจะต้องทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยพร้อมแสดงเหตุผลโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประธานสภาพและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร สภากรุงเทพมหานครมีประธานสภา 1 คน และรองประธานไม่เกิน 2 คน โดยเลือกจากสมาชิกสภาและให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก มีวาระคราวละ 2 ปี ซึ่งอาจพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระดังนี้
(3) ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
(4) ลาออกจากตำแหน่ง โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(5) เมื่อสมาชิกสภาฯ ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เข้าชื่อเสนอญัตติให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยสภา ก.ท.ม. มีมติเห็นตามนั้นด้วยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของสมาชิกทั้งหมด
การประชุมสภากรุงเทพมหานคร ภายใน 15 วัน นับแต่วันเลือกตั้งโดยทั่วไป ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเรียกประชุมเป็นครั้งแรก
สมัยประชุม มีไม้น้อยกว่า 2 สมัย แต่ต้องไม่เกิน 4 สมัย และมีกำหนดเวลา 30 วัน และสามารถขยายได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกิน 15 วัน การปิดสมัยประชุมก่อนครบ 30 วัน ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร นอกจากนี้อาจมีการประชุมสมัยวิสามัญเมื่อมีกรณีที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภาฯ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดยื่นคำร้องต่อประธานสภาฯ ซึ่งกำหนดวันประชุมภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง และมีกำหนดเวลาสมัยประชุม 30 วัน
องค์ประชุม ในการประชุมทุกคราว ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเข้าประชุมสภาฯด้วย อีกทั้งมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ส่วนการลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ การประชุมกระทำเป็นอย่างเปิดเผย แต่ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภาฯ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดร้องขอให้ประชุมลับก็ให้เป็นไปตามคำร้องขอ
อำนาจหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร
(6) การตราข้อบังคับกรุงเทพมหานคร ขึ้นใช้บังคับในกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของสภาฯ ดังนี้
- เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
- เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานคร มีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
- การดำเนินการพาณิชย์กรุงเทพมหานคร
- การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์ จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ
(7) การพิจารณาขออนุมัติงบประมาณ งบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรุงเทพมหานคร ต้องทำเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอ และกรณีที่งบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่พอ หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นใหม่ ในระหว่างปี ก็ให้ทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมได้ โดยสภากรุงเทพมหานครจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 45 วัน และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามและประกาศใช้ราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
(8) การควบคุมการบริหาร โดยใช้วิธีการต่างๆ ดังนี้
- ตั้งกระทู้ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นๆ ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญ ของกรุงเทพมหานคร
- การเปิดอภิปรายทั่วไป สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติให้เปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริงในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
- การตั้งคณะกรรมการ ซึ่งสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเลือกสมาชิกสภาฯ ตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกสภาฯ หรือไม่ได้เป็นสมาชิกสภาฯ ตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจกรรมหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร
- การลงมติขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรี ส่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกจากตำแหน่ง เมื่อเห็นว่ามีความประพฤติไม่เหมาะสม
1.2 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นโดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร และมีรองผู้ว่าราชการฯ ไม่เกิน 4 คน ที่แต่งตั้งและถอดถอนโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับการเลือกตั้งนั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งต้องระบุวันเลือกตั้ง และระยะเวลารับสมัครไว้ด้วย มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี ส่วนการมอบหมายงานให้ทำภายใน 7 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง และเมื่อครบวาระแล้วต้องทำการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน แต่ถ้าตำแหน่งว่างลงด้วยเหตุอื่นให้ทำการเลือกตั้งใหม่ภายใน 90 วัน
ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือกระทำอันต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์ ของ กทม. บริษัทที่ กทม. ถือหุ้น, ตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(2) ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการหรืหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจหรือการพาณิชย์ของ กทม. หรือบริษัทที่ กทม. ถือหุ้น
(3) ต้องไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับ กทม. หรือการพาณิชย์ของ กทม. หรือบริษัทที่ กทม. ถือหุ้น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้
(1) ถึงคราวออกตามวาระ
(2) ตาย
(3) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยกเว้นกรณีต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
(5) กระทำอันต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
(6) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่ได้ทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(7) มีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(8) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรีสั่งให้ออก จากตำแหน่งเมื่อเห็นว่ามีความประพฤติที่ไม่เหมาะสม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมาย
(2) สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
(3) แต่งตั้งและถอดทอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และตั่งตั้ง ถอดถอน ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ
(4) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
(5) วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย
(6) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(7) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.นี้ และกฎหมายอื่น
นอกจากนี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยังเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ตลอดจนรับผิดชอบปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
การบริหารงานของกรุงเทพมหานคร นอกจากจะมีสภากรุงเทพมหานครเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ และมีผู้ว่ารากชารกรุงเทพมหานครเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปลัดกรุงเทพมหานคร และข้าราชการกรุงเทพมหานคร รวมทั้งลูกจ้างกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ปฏิบัติงานประจำให้เป็นไปตามกฎหมาย และนโยบายของกรุงเทพมหานคร
2. อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ การรักษาความเรียบร้อยของประชาชน การทะเบียนตามี่กฎหมายกำหนด การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การผังเมือง การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ การวิศวกรรมจราจร การขนส่ง การจัดให้มีและควบคุมตลาดท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสาธารณูปโภค การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน การควบคุมสัตว์เลี้ยง การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การควบคุมความปลอดภัย การจัดการศึกษา การสาธารณูปการ การสังคมสงเคราะห์ การส่งเสริมการกีฬา การส่งเสริมการประกอบอาชีพ การพาณิชย์ของ กรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ถ้ากิจการใดอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ก็อาจดำเนินการนั้นร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น โดยจัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า “สหการ” มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย ผู้แทนของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ระบุวิธีจัดการทรัพย์สินไว้ด้วย
3. ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
นอกจากจะมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารแล้ว ยังมีผู้ปฏิบัติงานประจำคือ “ข้าราชการกรุงเทพมหานคร” โดยมีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นตำแหน่งข้าราชการประจำสูงสุดขงกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร รองลงมาจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
4. การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีส่วนราชการที่เป็นสำนัก ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการที่เป็นของสภากรุงเทพมหานคร
(2) สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(3) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(4) สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(5) สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจ แนะนำ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการทั่วไปของหน่วยงาน และส่วนราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร ตลอดจนปฏิบัติราชการตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ ปลัดกรุงเทพมหานคร มอบหมาย
(6) สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร
(7) สำนักงานแพทย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานด้านการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดกรุงเทพมหานคร การจัดการศึกษาหรือฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ และการพยาบาล
(8) สำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน ควบคุมและประสานงานกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสาธารณสุข การอนามัยในครอบครัว การอนามัยสิ่งแวดล้อม ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลชุมชน ควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การอนามัยในโรงมหรสพ ฯลฯ
(9) สำนักการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งดูแลการปฏิบัติงานของโรงเรียนและนิเทศการศึกษา
(10) สำนักการโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการโยธา การออกแบบการก่อสร้าง และบูรณะ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร และการดูแลรักษาที่สาธารณะ
(11) สำนักการระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุมและดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วม และการกำจัดน้ำเสีย
(12) สำนักรักษาความสะอาด มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ควบคุมและดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตลอดจนจัดให้มีและบำรุงรักษาสุขาชั่วคราวและรถสุขาเคลื่อนที่
(13) สำนักสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดที่อยู่อาศัย จัดให้มีและบำรุงสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา การนันทนาการ และการพัฒนาเยาวชน
(14) สำนักการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคลังการเงิน การบัญชี การพัสดุ การซ่อม บำรุงรักษายานพาหนะ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรงของกรุงเทพมหานคร และควบคุมดูแลการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(15) สำนักเทศกิจ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลและบังคับให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
5. เขตและสภาเขต
กรุงเทพมหานครมีเขตการปกครอง 36 เขต โดยมีสำนักงานเขตเป็นส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินกิจการของกรุงเทพมหานคร ภายในเขต และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันยังได้กำหนดให้มีสภาเขตอีกด้วย
5.1 สำนักงานเขต มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมอาชีพ การทะเบียน การโยธา การรักษาที่สาธารณะ การสาธารณสุข การจัดเก็บรายได้ การรักษาความสะอาด การจัดการศึกษา การดูแลและรักษาให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการเขตมีหน้าที่ดังนี้
(1) อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ
(2) อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนายการเขต
(3) อำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือปลัดกรุงเทพมหานคร มอบหมาย
5.2 สภาเขต ในเขตหนึ่งๆ มีสภาเขตประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้ง มีจำนวนอย่างน้อยเขตละ 7 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกิน 100,000 คน ให้มีการเลือกตั้งเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ต่อจำนวนราษฎรทุก 100,000 คน สำหรับเศษถ้าถึงห้าหมื่นหรือเกินกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร สภาเขตมีอายุคราวละ 4 ปี และเมื่อสิ้นสุดลงต้องจัดการเลือกตั้งใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่อายุของสภาเขตสิ้นสุดลง ส่วนประธานและรองประธานสภาเขตมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 1 ปี
สภาเขตมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อำนวยการเขต และสภากรุงเทพมหานคร
(2) จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต ตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรืองบประมาณรายจ่าย
(3) สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขตเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร
(4) ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขตเกี่ยวกับการปรับปุรง หรือการแก้ไขการบริการประชาชนภายในเขต
(5) ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตขอร้อง
(6) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันเกี่ยวกับการงานของสภาเขต
6.การควบคุมกรุงเทพมหานคร
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอาจให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อเห็นว่าการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานคร ขัดแย้งกันหรือเป็นไปในทางไม่ถูกต้อง
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยุบสภากรุงเทพมหานครตามข้อเสนอของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่การดำเนินงานก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือราชการโดยส่วนรวม
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกจากตำแหน่ง เมื่อเห็นว่ามีความประพฤติไม่เหมาะสม

สรุป กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ ที่ได้จัดตั้งขึ้นโดยรวมหน่วยงานส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นเข้าด้วยกันเป็นองค์การปกครองท้องถิ่น ภายใต้การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับสภากรุงเทพมหานคร เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารในอันที่จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ และจัดบริการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง และรวดเร็วกว่าเดิม โดยได้นำเอาหลักการแบ่งแยกอำนาจแบบการปกครองระบอบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกามาใช้ เป็นแบบที่ให้องค์การต่างๆ ปฏิบัติหน้าที่ไปตามเขตอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ก้าวก่ายกัน จึงเป็นการจัดองค์การและการบริหารที่แตกต่างกันไป จากหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปอื่น ๆ
ข้อดีของการปกครองท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร
(1) เป็นรูปการปกครองท้องถิ่นที่ให้เลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรง
(2) ฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพมั่นคง เพราะได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
จุดอ่อนของกรุงเทพมหานครคือ
(1) ทั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งเหมือนกัน ถ้าในสภากรุงเทพมหานคร มีกลุ่มหรือพรรคของผู้ว่าน้อย ก็อาจทำให้การบริหารงานเป็นไปโดยยากลำบากได้
(2) สภากรุงเทพมหานคร ไม่มีสิทธิถอดถอนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฉะนั้นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ได้นั้นไม่ดีก็ต้องรอจนครบวาระถึงเปลี่ยนได้





แผนภูมิการจัดองค์การบริหารกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าฯ กทม.
สำนักงานเลขานุการสภา กทม.
ปลัดกรุงเทพมหานคร
สำนักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
สำนักงานปลัด กทม.
สำนัก....
สำนัก....
สำนัก....
เขต
สภาเขต























เมืองพัทยา
เมืองพัทยาเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ ซึ่งได้นำระบบการปกครองท้องถิ่นที่เรียกว่าแบบ “ผู้จัดการนคร” (City Manager) มาใช้ โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้

1. การจัดการเมืองพัทยา
ให้ยุบเลิกสุขาภิบาลเกลือ และจัดตั้งเมืองพัทยาโดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น เมืองพัทยา จึงเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ มีเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
2. การจัดองค์การและการบริหาร
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา ได้กำหนดหลักการจัดองค์การและการบริหารเมืองพัทยา เป็นแบบ “ผู้จัดการนคร” ซึ่งเป็นแบบหนึ่งของเทศบาลในสหรัฐอเมริกา นับเป็นครั้งแรกที่นำมาใช้ในประเทศไทยการปกครองท้องถิ่นระบบนี้จะประกอบด้วยองค์การสำคัญ คือ สภากับผู้จัดการ
2.1 สภาเมืองพัทยา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 17 คน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สมาชิกซึ่งประชาชนเลือกตั้ง จำนวน 9 คน และให้กระทำโดยวิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
- สมาชิกซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งจำนวน 8 คน โดยแต่งตั้งจากบุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ กัน จำนวน 4 คน และจากผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับเมืองพัทยาจำนวน 4 คน
ซึ่งสมาชิกภาพ 2 ประเภท จะเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับแต่งตั้ง โดยมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้งทั่วไป และให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่อายุของสภาเมืองพัทยา สิ้นสุดลง ในกรณีที่มีการยุบสภาเมืองพัทยา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาเมืองพัทยา เพื่อให้มีการเลือกตั้งและแต่งตั้งสมาชิกใหม่ โดยในคำสั่งนั้นต้องแสดงเหตุผลและกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน 3 เดือน
สมาชิกภาพของสภาเมืองพัทยาอาจสิ้นสุดลงด้วยเหตุผลต่อไปนี้
(1) ถึงคราวออกตามอายุของสภาหรือมีการยุบสภาเมืองพัทยา
(2) ตาย
(3) ลาออก โดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา เว้นแต่สมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งซึ่งยกเว้นเกี่ยวกับเรื่องภูมิลำเนา
(5) มีลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา เว้นแต่สมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งที่ยกเว้นเกี่ยวกับการเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของทางราชการ หรือการพาณิชย์ของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(6) กระทำการต้องห้าม คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งต้องไม่ดำรงตำแหน่ง หรือหน้าที่อื่นใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์ของเมืองพัทยา บริษัทที่พัทยาถือหุ้นหรือดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือพนักงานท้องถิ่น
(7) สภาเมืองพัทยามีมติให้ออก เพราะเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อเสียแก่เมืองพัทยา โดยมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 6 คน เข้าชื่อเสนอญัตติให้สภาเมืองพัทยาพิจารณาและมีมติในข้อนี้ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 11 คน เห็นชอบด้วยกับญัตติดังกล่าว
(8) ไม่มาประชุมสภาเมืองพัทยา 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ในการนี้ยกเว้นเมืองพัทยารายงานผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อส่งให้พ้นจากตำแหน่ง
(9) สำหรับสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งจากผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง กับเมืองพัทยา เมื่อพ้นจากตำแหน่งอันเป็นเหตุที่ได้รับการแต่งตั้ง
การประชุมสภาเมืองพัทยา ในการประชุมสภาเมืองพัทยาครั้งแรก ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป ผู้ว่าราชการจังหวัดเรียกประชุมสภาภายใน 15 วัน และต้องมีการประชุมอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ส่วนในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยาหรือสมาชิกไม่น้อยกว่า 6 คน อาจทำคำร้องยื่นต่อนายกเมืองพัทยาขอให้เรียกประชุมสภาเมืองพัทยา โดยกำหนดวันประชุมภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง ในการประชุมสภาเมืองพัทยาทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจะเป็นองค์ประชุม ซึ่งมีนายกเมืองพัทยาเป็นประธาน และปลัดเมืองพัทยาเป็นเลขานุการสภาเมืองพัทยาโดยเปิดเผย แต่ถ้าสมาชิกไม่น้อยกว่า 6 คน ร้องขอให้ประชุมลับก็ให้ประชุมได้
อำนาจหน้าที่ของสภาเมืองพัทยา
(1) วางนโยบายและอนุมัติแผนเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการเมืองพัทยา
(2) พิจารณาและอนุมัติร่างข้อญัตติ
(3) แต่งตั้งสมาชิกเป็นคณะกรรมการสามัญ และตั้งบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกเป็นคณะกรรมการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเมืองพัทยา แล้วรายงานต่อสภาหรือให้คำปรึกษาแก่สภาเมืองพัทยา หรือปลัดเมืองพัทยา
(4) ควบคุมการปฏิบัติราชการของปลัดเมืองพัทยาให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย ข้อบัญญัติ นโยบาย และแผน
นายกเมืองพัทยา พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา หรือปลัดเมืองพัทยาได้กำหนดให้มีตำแหน่ง “นายกเมืองพัทยา” โดยให้สมาเมืองพัทยาเลือกสมาชิกคนหนึ่งเป็นนกยกเมืองพัทยา อยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และให้เลือกใหม่ภายใน 15 วัน เมื่อครบวาระ นอกจากนี้นายกเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสมาเมืองพัทยา
(2) ลาออกจากตำแหน่ง โดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) สมาชิกไม่น้อยกว่า 6 คน เข้าชื่อเสนอญัตติให้สมาเมืองพัทยาเลือกนายกเมืองพัทยาใหม่ และสมาเมืองพัทยามีมติเห็นชอบในญัตติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 11 เสียง
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้ออกจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่
นกยกเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่พอสรุปได้ดังนี้
(1) เป็นประธานเมืองพัทยา มีอำนาจหน้าที่เรียกประชุมสภาเมืองพัทยา และควบคุมการประชุมให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุม
(2) เป็นผู้แทนและผู้นำ ของเมืองพัทยาในงานหรือพิธีการต่างๆ
(3) เสนอชื่อผู้มิได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา โดยมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด อย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน เพื่อให้สภาเมืองพัทยาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งปลัดเมืองพัทยา
(4) ลงชื่อในร่างข้อญัตติและประกาศใช้ข้อญัตติ ซึ่งสมาเมืองพัทยาตราขึ้นและผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบแล้ว
(5) ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยและข้อบัญญัติ
ข้อญัตติเมืองพัทยา ต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายในกรีอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
(1) เพื่อปฏิบัติให้เป็นตามอำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยา
(2) เมื่อมีกฎหมายข้อบัญญัติให้เมืองพัทยาตราข้อบัญญัติได้
(3) การให้บริการโดยมีค่าตอบแทน
(4) การพาณิชย์ ซึ่งเป็นการประกอบการพาณิชย์ของเมืองพัทยา อาจจะกำหนดโทษจำคุกหรือโทษปรับผู้ละเมิดไว้ก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เมื่อนกยกเมืองพัทยาลงชื่อแล้วให้ใช้บังคับเมื่อได้ประกาศไว้ โดยเปิดเผยที่ศาลาว่าการเมืองพัทยาแล้ว 3 วัน และในกรณีที่อายุของสภาเมืองพัทยาสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาเมืองพัทยา บรรดาร่างของบัญญัติที่สภาเมืองพัทยาได้พิจารณาและที่ยังพิจารณาไม่เสร็จ เป็นอันตกไป
2.2 ปลัดเมืองพัทยา ทำหน้าที่บริหารให้เป็นไปตามนโยบาย ของสภาเมืองพัทยา และจะมีรองปลัดจำนวนไม่เกิน 2 คน ทำหน้าที่ช่วยปลัดเมืองเมืองพัทยาบริหารกิจการเมืองพัทยาตามที่ได้รับมอบหมาย นายกเมืองพัทยาเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน เพื่อให้สภาเมืองพัทยา ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งเป็นปลัดเมืองพัทยา โดยมีสัญญาจ้างคราวละไม่เกิน 4 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งและการกำหนดเงื่อนไขอื่นในการทำงานเป็นไปตามแบบสัญญาจ้าง ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดตลอดจนให้นกยกเมืองพัทยาเป็นคู่สัญญาในนามของเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยาจึงเป็นบุคคลที่เมืองพัทยาจ้างมาทำหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยา มีฐานเสมือนผู้จัดการเมืองพัทยาซึ่งถือว่าเป็นนักบริหารอาชีพ จึงคล้ายกับระบบธุรกิจของเอกชน ส่วนรองปลัดเมืองพัทยา กฎหมายกำหนดให้เมืองพัทยา เป็นผู้แต่งตั้งโดยใช้หลักการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งปลัดเมืองพัทยา ที่กล่าวข้างต้น และในการว่าจ้างนั้นให้ปลัดเมืองพัทยาเป็นคู่สัญญาในนามเมืองพัทยา
ปลัดเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) สัญญาจ้างสิ้นสุด และไม่มีการต่ออายุสัญญาจ้างใหม่
(2) ตาย
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเมืองพัทยา และรองปลัดเมืองพัทยา
(4) ลาออกจากตำแหน่งโดยยื่นใบลาออกต่อนกยกเมืองพัทยา ตามเงื่อนไข ที่กำหนดในสัญญาจ้าง
(5) กระทำการที่ผิดเงื่อนไขในสัญญาจ้าง ซึ่งสัญญาจ้างระบุไว้ ให้ถือสัญญาจ้างสิ้นสุดลง
(6) นายกเมืองพัทยาบออกเลิกจ้างด้วยความเห็นชอบจากสภาเมืองพัทยา ตามเหตุที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง
อำนาจหน้าที่ของปลัดเมืองพัทยา
(1) ร่างแผนเพื่อเสนอสภาเมืองพัทยา
(2) บริหารกิจการตามนโยบายและแผนของสภาเมืองพัทยา
(3) ร่างข้อบัญญัติงบประมาณและข้อบัญญัติอื่นๆ เพื่อเสนอต่อสภาเมืองพัทยา
(4) ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย และข้อบัญญัติ
(5) รวบรวมปัญหาในการบริหารราชการเมืองพัทยา พร้อมด้วยข้อเสนอแนะเพื่อเสนอสภาเมืองพัทยา
(6) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของเมืองพัทยาต่อสภาเมืองพัทยา
(7) ปฏิบัติงานอื่นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายเมืองพัทยา
3.อำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยา
(1) การรักษาความสงบเรียบร้อย
(2) การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
(3) การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง
(4) การจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
(5) การรักษาความสะอาดของถนน ทางเดิน และที่สาธารณะ
(6) การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(7) การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(8) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ และที่จอดรถ
(9) การควบคุมอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่นๆ
(10)การควบคุมการส่งเสริมการท่องเที่ยว
(11)หน้าที่อื่นที่กฎหมายระบุเป็นหน้าที่ของเทศบาลนคร หรือของเมืองพัทยา
4. พนักงานเมืองพัทยาและการกำหนดส่วนราชการของเมืองพัทยา
4.1 พนักงานเมืองพัทยา เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของปลัดเมืองพัทยา ถือว่าเมืองพัทยามีฐานะเทียบเท่าเทศบาลนคร และปลัดเมืองพัทยามีอำนาจบังคับบัญชา เทียบเท่านายกเทศมนตรี นอกจากนี้กำหนดว่าในระหว่างดำรงตำแหน่งให้ปลัดเมืองพัทยา และรองเมืองพัทยามีฐานะเป็นพนักงานเมืองพัทยา เว้นแต่ในสัญญาจ้างจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
4.2 การกำหนดส่วนราชการของเมืองพัทยา การบริหารงานของเมืองพัทยากฎหมายกำหนดให้แบ่งส่วนราชการออกเป็นดังนี้
- สำนักปลัดเมืองพัทยา
- ฝ่ายหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
การตั้ง การเปลี่ยน การยุบ การกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและหัวหน้าส่วนราชการให้กระทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย ในปัจจุบันได้มีการกำหนดส่วนราชการ และอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการเมืองพัทยาคือสำนักปลัดเมืองพัทยา กองการแพทย์ กองการศึกษา กองคลัง กองช่าง กองช่างสุขาภิบาล กองวิชาการและแผนงาน กองสวัสดิการของสังคม กองอนามัยและสิ่งแวดล้อม งานตรวจสอบภายใน และแขวง
สำนักปลัดเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปเมืองพัทยา มีหัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยาเป็นหัวหน้าบังคับบัญชา และรับผิดชอบของสำนักปลัดเมืองพัทยา ขึ้นตรงต่อปลัดเมืองพัทยา ส่วนกองต่างๆ มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการนั้นเป็นหัวหน้าบังคับบัญชา รับผิดชอบงานส่วนราชการนั้นๆ
5. การควบคุมเมืองพัทยา
(1) ให้ปลัดเมืองพัทยาทำรายงานรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณเสนอต่อสภาเมืองพัทยาภายใน 1 เดือน
(2) ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน การจ่างเงิน การบัญชี การเงิน และทรัพย์สินอื่นๆ แล้วรายงานต่อปลัดเมืองพัทยา เพื่อเสนอสภาเมืองพัทยา
(3) บรรดาเรื่องที่เมืองพัทยาต้องเสนอไปยังเมืองหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนั้น ให้ปลัดเมืองพัทยา เสนอผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของเมืองพัทยาโดยมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง หรือสั่งให้เมืองพัทยาชี้แจงแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการเมืองพัทยาได้
(5) ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เห็นว่าปลัดเมืองพัทยาปฏิบัติการ ในทางที่จะนำมาซึ่งความเสียหายแก่เมืองพัทยาโดยได้ชี้แจง แนะนำ หรือตักเตือนแล้ว แต่ก็ยังไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานให้รัฐมนตรีทราบเพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควร หรือถ้าในกรณีฉุกเฉิน ก็ให้มีอำนาจออกคำสั่งระงับการปฏิบัติราชการของปลัดเมืองพัทยาไว้ก่อนได้ และในกรณีที่ปลัดเมืองพัทยาเห็นว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรัฐมนตรีได้สั่งการโดยมิชอบ ก็ให้นำเรื่องขึ้นฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง เพื่อวินิจฉัยได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันได้รับคำสั่ง
สรุปเมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีความเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีปัญหาต่างๆ มากมายที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นและประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว จึงได้จัดตั้งเมืองพัทยาเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษขึ้นโดยกำหนดให้ฝ่ายบริหารมาจากนักบริหารอาชีพ และนำระบบผู้จัดการมาใช้ ซึ่งเน้นที่จะให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และคล่องตัวตลอดจนจัดองค์การโดยการบริหารและการเมืองออกจากกันกล่าวคือ
1. สภาเมืองพัทยาจะทำหน้าที่ทางด้านกำหนดนโยบายและควบคุมการบริหาร
2. ด้านการดำเนินงานได้มีสัญญาจ้างปลัดเมืองพัทยาและรองเมืองพัทยา ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการบริหารมาทำหน้าที่บริหารงาน
3. สภาเมืองพัทยาจะไม่เข้าไปก้าวก่ายการบริหารงานประจำของปลัดเมืองพัทยา
4. ปลัดเมืองพัทยามีภาระหน้าที่ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย ของสภาเมืองพัทยาและรับผิดชอบโดยตรงต่อสภาเมืองพัทยา
5. นายกเมืองพัทยาทำหน้าที่ประธานสมาเมืองพัทยาไม่มีอำนาจในทางบริหารเหมือนกับนายกเทศมนตรีของเทศบาล







แผนภูมิการจัดองค์การบริหารเมืองพัทยา
เมืองพัทยา
นายกเมืองพัทยา
สภาเมืองพัทยา
(เลือกตั้งและแต่งตั้ง)
ปลัดเมืองพัทยา
(มาจากการจ้าง)
รองปลัดเมืองพัทยา
(มาจากการจ้าง)
สำนักงานปลัดเมือง
กองการแพทย์
กองการศึกษา
กองคลัง
กองช่าง
กอง















แนวโน้มการปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นของไทย
การจัดการปกครองท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันได้ดำเนินการตามที่ได้กำหนดไว้ เป็นหลักการใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534[2] โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และดำเนินกิจการท้องถิ่นของตนเองตามหลักการกระจายอำนาจ มีอยู่ 5 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ซึ่งหน่วยการปกครองท้องถิ่นของไทยทุกรูปแบบ ยกเว้นสุขาภิบาล จะมีองค์การสภาท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และองค์การบริหาร สภาท้องถิ่นจึงประกอบด้วยสมาชิกที่มากจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น ยกเว้นสภาเมืองพัทยาที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้ง ฝ่ายบริหารของกรุงเทพมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ส่วนฝ่ายบริหารของเทศบาลมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม สำหรับฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด กฎหมายกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามารับผิดชอบในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งแตกต่างจากรูปการปกครองท้องถิ่นอื่นๆ
สำหรับสุขาภิบาลมีการจัดองค์การที่แตกต่างจากรูปการปกครองท้องถิ่นรูปอื่น ไม่แยกฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารออกจากกัน โครงสร้างการจัดองค์การของสุขาภิบาลเป็นแบบรูปคณะกรรมการ เรียกว่า คณะกรรมการสุขาภิบาล ทำหน้าที่ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยการปกครองท้องถิ่น คือ การบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และพัฒนาความเจริญให้แก่ท้องถิ่น โดยสามารถดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด จะเห็นได้ว่าหน่วยการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลแบบกรุงเทพมหานคร มีลักษณะการจัดองค์การ และการบริหารที่เป็นไปตามลักษณะการกระจายอำนาจ มากกว่าแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัดและแบบสุขาภิบาล เพราะเป็นรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและดำเนินกิจการของท้องถิ่นของตนเองอย่างมาก แต่ก็ประสบอุปสรรคที่ทำให้ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการโดยเฉพาะปัญหาเรื่องท้องถิ่นมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้จ่ายในการพัฒนาท้องถิ่น
ส่วนกรุงเทพมหานครก็เกิดการแตกแยกระหว่างสภากรุงเทพมหานครกับ ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสุขาภิบาลนั้น แม้จะเป็นรูปแบบที่กระจายอำนาจไม่เต็มที่ แต่ก็เป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นตามความเหมาะสมและตามสภาพของท้องถิ่นส่วยเมืองพัทยาก็เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นตามความเหมาะสมและตามสภาพของท้องถิ่นส่วนเมืองพัทยาก็เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งเน้นการบริหารให้มีประสิทธิภาพโดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมการบริหารงานตามสมควร และเป็นการกระจายอำนาจอีกแบบหนึ่ง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการปกครองท้องถิ่นของไทยมีหน่วยการปกครองท้องถิ่นหลายรูปแบบ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามความเหมาะสมของสภาพท้องถิ่น และวัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการที่จะให้มีกระจายอำนาจทำให้เกิดการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายที่จะเป็นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยการปกครองท้องถิ่น จึงควรที่จะจัดระบบการปกครองท้องถิ่นให้เป็นแบบเดียวกัน รูปแบบที่เหมาะสมควรจะเป็นระบบเทศบาล และแบ่งเทศบาลเป็นขนาดต่างๆ ตามความเหมาะสมกับท้องถิ่นและรายได้ นอกจากนี้อาจพิจารณาจัดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดที่มีความเจริญก้าวหน้าและมีความเหมาะสมให้เป็นแบบเดียวกับกรุงเทพมหานครก็สามารถดำเนินการได้
ดังนั้น รูปการปกครองท้องถิ่นของไทยในอนาคตควรจะเป็นแบบระบบเทศบาลหรือแบบระบบพิเศษเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครในบางจังหวัดที่เหมาะสมที่จะจัดให้มีรูปการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการปกครองท้องถิ่นที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
ปัญหาและอุปสรรคขององค์การปกครองท้องถิ่นไทยปัจจุบัน มีดังนี้
1. ปัญหาเกี่ยวกับอุดมคติในการปกครองท้องถิ่น ปัญหาและอุปสรรคสำคัญประการแรก “อุดมคติของการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย” ซึ่งหมายถึง ทัศนคติที่มีต่อการปกครองท้องถิ่นในด้านรัฐบาลและประชาชน คือ
ด้านรัฐบาล
(1) จะจำกัดขอบเขตการปฏิบัติงานขององค์การปกครองท้องถิ่น
(2) แต่งตั้งให้ข้าราชการของรัฐเข้าดำรงตำแหน่งในองค์การปกครองท้องถิ่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลต้องการรวมอำนาจเข้าส่วนกลาง
(3) รัฐบาลให้การปฏิวัติหรือรัฐประหารเข้าแก้ไขปัญหายุ่งยากทางการเมือง เป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยในแต่ครั้งที่กระทำ
ด้านประชาชน
(1) ประชาชนขาดความรู้ในการปกครองตนเอง
(2) ประชาชนเคยชินกับการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาแต่ก่อน
(3) ประชาชนยังมีความคิดหรือทัศนคติเก่า คือ มักเรียกร้องให้รัฐบาลทำทุกอย่างให้ โดยคิดว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว
2. ปัญหาเกี่ยวกับการคลัง ซึ่งปัจจุบันคือ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงทำให้การบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความอิสระของตนเองไป เพราะส่วนกลางได้ให้การอุดหนุนทำให้มีการควบคุมกัน
สาเหตุของรายได้ไม่พอกับรายจ่าย คือ สาเหตุเกี่ยวกับนโยบายระบบภาษีอากรและสภาพเศรษฐกิจยังไม่ดี
3. ปัญหาพนักงานท้องถิ่น ซึ่งแยกออกเป็นฝ่ายที่ได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกับฝ่ายพนักงานประจำ คือ
(1) ฝ่ายที่ได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติกิจการของท้องถิ่นในรูปผู้วางนโยบายหรือควบคุมนโยบายระดังสูง ทำให้เกิด
- เกิดการพิพาทระหว่างคณะเทศมนตรีและสภาเทศบางเป็นผลให้การโค่นล้ม คณะเทศมนตรีอยู่เป็นประจำ
- ปัญหาเกี่ยวกับความรู้ของผู้ดำรงตำแหน่งบริหารท้องถิ่น คือ หาคนที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนดไม่ค่อยได้
(2) ฝ่ายที่เป็นพนักงานประจำ คือ มีปัญหาไม่สามารถดึงดูดคนดีมีความรู้มาทำงานให้องค์การปกครองท้องถิ่นได้ เพราะศักดิ์ศรีของพนักงานปกครองท้องถิ่นยังไม่อยู่ในระดับมาตรฐาน และนอกจากนี้คณะกรรมการส่วนกลางที่แต่งตั้งขึ้นรับฟังความคิดเห็นของพนักงานเทศบาลน้อยมาก
การแก้ไขปัญหาในข้อ 1. คือ นำเอารูปแบบการจัดองค์การที่ให้ฝ่ายบริหาร มีความเข็มแข็งมาใช้ เช่น ระบบผู้จัดการเทศบาลเหมือนพัทยา
ส่วนในข้อ 2. แก้ไขโดยปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคลเสียใหม่
4. ปัญหาการควบคุม คือ รัฐบาลควบคุมองค์การปกครองท้องถิ่นสูงมาก ทำให้ขาดอิสระในการกระทำกิจการต่างๆ นอกจากนี้ยังทำให้ประชาชนขาดความสนใจทางการเมือง เพราะคิดไปว่าการเมืองเป็นเรื่องของรัฐบาล
็็็
[1] ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง ตามบริบท แห่งเวลา และสถานที่
[2] อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามบริบท แห่งเวลาและสถานที่

ผู้นำท้องถิ่นและกลุ่มผลประโยชน์

กลุ่มผลประโยชน์
กลุ่มผลประโยชน์ต่างจากพรรคการเมืองตรงที่ไม่ได้มุ่งที่จะแสวงหาตำแหน่ง ให้สมาชิกในวงการรัฐบาล แต่เป็นการพยายามสร้างอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะ ส่วนในสหรัฐอเมริกากลุ่มผลประโยชน์เกิดจากบุคคลต่างๆ ที่มีพื้นฐานของผลประโยชน์และความเห็นอย่างเดียวกัน

อะไรคือผลประโยชน์
ผลประโยชน์อย่างหนึ่งอาจมีความหมายไปได้หลายทาง นักวิชาการบางคนหมายความถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และอาจเป็นอุดมคติยิ่งกว่านั้น กล่าวคือ อาจกำหนดเป็นผลประโยชน์ในระยะสั้นหรือระยะยาว ซึ่งความสำคัญของอุดมคตินั้นอาจต่างกันจากสภาพของกลุ่มทางสังคม ทางเศรษฐกิจหนึ่งต่อกลุ่มอื่นๆ โดยพิจารณาอย่างจริงจังต่อความปรารถนาอันเป็นองค์ประกอบระยะยาว และเป็นอัตราที่จะได้รับในอนาคต ดังนั้น ในกลุ่มที่มีคุณธรรมและรายได้ซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งก็จะต้องดูว่ากลุ่มไหนบ้าง ที่พยายามนำสิ่งสาธารณะมาเป็นผลประโยชน์ของตนเอง เช่น ต้องการสวัสดิการเกี่ยวกับสวัสดิภาพของชุมชนมาเป็นของตน เป็นต้น

ลักษณะของกลุ่มผลประโยชน์
กลุ่มผลประโยชน์คือการรวมกับของผลประโยชน์ บางพวกเกิดขึ้นเป็นพิเศษเพื่อจุดมุ่งหมายเพียงอย่างเดียวและอาจมีการวิ่งเต้นเกิดผลสมประสงค์ บางกลุ่มรวมกันเพียงชั่วคราว โดยก่อตัวขึ้นจากปัญหาพิเศษเช่น ในสหรัฐอเมริกา มีกลุ่มติดต่อในการขายเครื่องดองของเมาในบาร์ และมีการวิ่งเต้นต่อสภาให้ออกกฎหมายห้าม ซึ่งวิ่งเต้นเพียงเรื่องเดียวของตน ผิดกับองค์การ AFL-CIO (องค์การกรรมกร) ที่มีกิจกรรมวิ่งเต้นมากมาย เป็นต้น กลุ่มต่างๆ ยังคงรวมพลังอยู่ตราบเท่าที่มีความคาดหมาย คอยให้ได้มาตามสิ่งที่ตนต้องการ

ชนิดของกลุ่มผลประโยชน์
กลุ่มผลประโยชน์ดำเนินการพื้นฐานในรูปแบบเดียวกันไมว่าจะเป็นระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น แต่อาจมีความแตกต่างกันในด้านความสัมพันธ์ของดุลแห่งอำนาจของกลุ่มต่างๆ และความเกี่ยวกันของการวิ่งเต้นใดๆ จะเข้มแข็งแตกต่างกันออกไปตามระยะเวลา ดังนั้น ในโอกาสต่างๆ ประชาชนอาจยอมรับผู้นำหลายรูปแบบหรือใบบางแห่งมีกลุ่มเดียวและบางแห่งรัฐบาลท้องถิ่นต้องไปเกี่ยวพันกับการตัดสินใจเล็กๆ ตลอดจนข้อขัดแย้งเฉพาะอย่างของผลประโยชน์ของท้องถิ่น

กลุ่มผลประโยชน์ผู้นำท้องถิ่น
ในการศึกษาถึงกลุ่มต่างๆ ในชุมชนจำเป็นต้องสังเกตถึงโครงสร้างของอำนาจและความเป็นผู้นำของแต่ละกลุ่มเพื่อนำไปปรับใช้กับหลักการปกครองโดยใช้สอดคล้องกับท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย
โครงสร้างอำนาจและลักษณะผู้นำกลุ่ม ในทุกสังคมจะปรากฏว่ามีชนอยู่ 2 พวก คือ ฝ่ายผู้ปกครองกับฝ่ายผู้ถูกปกครอง ปัจจุบันนักสังคมวิทยารู้กันอยู่ว่าองค์การทางการเมืองมิใช่สิ่งสำคัญ อีกทั้งผู้นำกลุ่มต่างๆ ในสังคมก็แตกต่างกันออกไปและซับซ้อน ฉะนั้น บางกลุ่มผู้นำอาจกดขี่ผู้ใต้ปกครองก็ได้ มากน้อยแล้วแต่อำนาจของผู้นำในสังคม คำว่า “ความสัมพันธ์ของอำนาจ” หมายถึง การได้รับอำนาจของบุคคลบางคนที่ทำให้สามารถจะใช้สถาบันต่างๆ ทางสังคมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งเป็นเรื่องของเอกชนและกลุ่มชนต่างๆ ในสังคม เพราะในทางปฏิบัติอำนาจเป็นสิ่งจำเป็นที่จะกำหนดหน้าที่ในการเสริมสร้างและคงอยู่ของข้อบังคับในสังคม ชนิดโครงสร้างทางการเมืองเฉพาะอย่าง หรือกระบวนการที่ผ่านทางคำสั่งของสังคมนั้น บรรลุโดยสังเกตจากค่านิยมที่ควบคุมสังคมหนึ่งๆ อยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ นั่นเอง

นักศึกษาในฐานะผู้นำท้องถิ่น
นักศึกษาเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมากกลุ่มหนึ่งในสังคม และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปทุกประเทศซึ่งในความเป็นจริงแล้วพฤติกรรมของนักศึกษาไทยหาได้มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ หรือแสดงอิทธิพลเพื่อตนได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่ ตรงกันข้ามกลับมุ่งแสดงพฤติกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนรวม หรือของประชาชน ส่วนในด้านอื่นๆ ก็มุ่งแสดงบทบาทในการพัฒนาสังคมมากกว่า จึงควรเป็นทั้งตัวเชื่อม และตัวเร่งโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองและสังคมในท้องถิ่น

บทบาทของนักศึกษาในฐานะผู้นำท้องถิ่น
นักศึกษาควรมีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นตามสมควร โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดและมีโอกาสได้เรียนต่อในระดับสูง แต่ต้องดำเนินไปในขอบเขตของกฎหมาย กาละ และเทศะที่สมควรเพราะเป็นการทำงานเพื่อสาธารณะและอุดมคติ คือ ช่วยกันพัฒนาประเทศให้เจริญ


โครงการพัฒนาการเมืองท้องถิ่น ที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ
โครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตัวเอง (อพป.)
โครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตัวเอง (อพป.) เป็นโครงการเพิ่งปรากฏในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 โดยมุ่งสนับสนุนให้ประชาชนมีการพัฒนาแบบเปิดเสร็จทุกด้านและมีความสามารถในการป้องกันตนเองได้ซึ่งได้เริ่มในสมัยรัฐบาล นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี มุ่งพัฒนาประชาชนในชนบทเป็นเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเอง ตลอดจนชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อีกทั้งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
ความจำเป็นและความสำคัญของโครงการ อพป. เป็นโครงการที่จะรวมเอาโครงการพัฒนาบริการสาขาต่างๆ และการป้องกันของหน่วยต่างๆ ในระดับหมู่บ้านเข้าด้วยกัน โดยอาศัยหลักการบริหารแบบร่วมกันของงานเดียวกันหรือหน่วยงานเดียวกัน เพื่อผนึกกำลังเข้าเสริมสร้างให้หมู่บ้านชนบทมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมขจัดการทำงานซ้ำซ้อน มีการใช้เครื่องมือพัฒนาและป้องกันตนเองในระดับหมู่บ้านเกิดผลสูงสุด
จุดมุ่งหมาย เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาและป้องกันตนเองในระดับหมู่บ้าน โดยให้ราษฎรในหมู่บ้านมีส่วนรับผิดชอบในการบริหารงานของหมู่บ้าน และต่อต้านการก่อการร้ายด้วยตนเองเป็นหลักตลอดจนร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ของรัฐบาลด้วย เรื่องสำคัญของโครงการนี้มี 2 ประการ คือ การรักษาความปลอดภัยในชนบท และการพัฒนาชนบทในทุกสาขา
การดำเนินงาน นอกจากจะดำเนินการตาม พ.ร.บ. หมู่บ้านอาสาพัฒนา พ.ศ.2518 แล้ว ยังต้องมีศูนย์ประสานงานเพื่อบริหารและกำกับดูแลการปฏิบัติงาน และรายงานผลให้มีประสิทธิภาพ เรียกว่า ศูนย์อาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (ศอพป.ฯ) โดยมีเจ้าหน้าที่ดำเนินงานที่อยู่เดิมของหน่วยงานต่างๆ หน่วยงานหลักในโครงการคือ กองทัพต่างๆ ที่จะต้องสนับสนุนชุดฝึกอบรมเคลื่อนที่เพื่อไปอบรมประชาชนในหมู่บ้านให้รู้จักวิธีป้องกันตนเอง และรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านนอกจากนี้ยังมีหน่วยงานหลักที่สำคัญ คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตร กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งสนับสนุนด้านพัฒนาบริการ โครงการ อพป. จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี ในการสำรวจวางแผนปฏิบัติการขยายการปฏิบัติและวัดโครงการ โดยใช้เงินงบประมาณเริ่มโครงการทดสอบในปี พ.ศ.2518 เพื่อฝึกด้านการรักษาความปลอดภัยตลอดจนการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง
วิธีปฏิบัติตามโครงการ ให้เจ้าหน้าที่ศึกษารายละเอียดโครงการ อพป. โดยมีส่วนกลางสนับสนุนจัดเอกสารคู่มือรักษาความปลอดภัย เตรียมพร้อมด้านกำลังคนและข้อมูลเมื่อได้รับการร้องขอจากส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนจะทำการสำรวจข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อกำหนดความเร่งด่วนของหมู่บ้านเบื้องตนที่จะจัดและฝึกอบรม อีกทั้งส่วนกลางจะรับผิดชอบ ในการจัดหาอาวุธให้ราษฎร ในชุดรักษาความปลอดภัย ตลอดจนด้านการพัฒนาเพื่อ พิจารณาปรับปรุงแก้ไขแล้วทำการขยายการฝึกระบบบริหารหมู่บ้านขึ้นในหมู่บ้านต่างๆ มีการจัดตั้งกลุ่มราษฎรที่อาสาสมัคร และได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นชุดบริหารหมู่บ้านทำหน้าที่บริหารงานโดยมีคณะกรรมการกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนา ประกอบด้วย หัวหน้าหมู่บ้าน รองหัวหน้า 2 คน และกรรมการอื่น ๆ 3 - 5 คน ทำหน้าที่เป็นสภาบริหารของหมู่บ้าน โดยผ่านคณะกรรมการบริหารหมู่บ้าน 6 คณะ คือ
1. คณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้านในด้านต่างๆ รวมทั้งแนะนำราษฎรให้มีความเข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยและในการปกครองท้องถิ่น
2. คณะกรรมการการปกครอง มีหน้าที่รักษาความสงบเรียกร้อย และเรียกประชุมเพื่อชี้แจงความเป็นไปของการปกครองตลอดจนปัญหาต่างๆ ในการบริหาร
3. คณะกรรมการป้องกัน มีหน้าที่จัดหน่วยกำลังคุ้มครองภายในหมู่บ้าน
4. คณะกรรมการคลัง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของหมู่บ้าน
5. คณะกรรมการอนามัย มีหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และการสาธารณสุขในหมู่บ้าน
6. คณะกรรมการการศึกษาและวัฒนธรรม มีหน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษา ตลอดจนกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ
สรุป โครงการ อพป. จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์ ในการรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงของชาติเป็นหลัก นอกจากนี้การประสานในการพัฒนาชาติ สร้างความมั่งคงด้านเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนการเมืองการปกครองในระดับพื้นฐาน และยังเป็นการส่งเสริมการปกครองและการพัฒนาท้องถิ่นที่สำคัญ อีกทั้งถือได้ว่าการจัดตั้งหมู่บ้านอาสาพัฒนาเป็นการจัดตั้งรูปการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษอีกด้วย




โครงการพัฒนาพลเมืองระบอบประชาธิปไตย (พพป)
1. วัตถุประสงค์ เพื่อทำให้ประชาชนทั่วประเทศมีความสนใจและเอาใจใส่กิจการบ้านเมืองยิ่งขึ้น ฝึกฝนให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐบาลได้มีความรู้ความชำนาญ ตลอดจนทัศนคติในการปฏิบัติตนและปฏิบัติงานเพื่อสนองความต้องการของชุมชน นอกจากนี้ก็เพื่อให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลมีความรู้ความเข้าใจ และมีความศรัทธาในหลักการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ทางการเมือง ในระบอบการปกครอง ซึ่งจะได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2. เงื่อนไขสำคัญทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีอำนาจในการปกครองตนเอง หมายถึง มีสิทธิและหน้าที่ทางการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ตลอดจนชุมชนหรือท้องถิ่นมีกำลังความสามารถที่จะช่วยตนเองได้
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน ต้องมีเวลาเพียงพอเพื่อการนำชี้แจงแก่ประชาชนทั่วประเทศให้ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ในการเมืองตลอดจนวิธีการเลือกตั้ง ซึ่งอย่างน้อยต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี นอกจากนี้ท้องถิ่นต้องมีเงิน คน วัสดุ และอำนาจในการบริหารงานเพียงพอ ต่อจากนี้ก็ดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รัฐบาล, เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และประชาชนให้ตระหนักในคุณค่าของการปกครองท้องถิ่น ในลักษณะที่ว่า เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน มีการประสานงานโครงการ ปฐมนิเทศกรรมการจังหวัดและสมาชิกสภาจังหวัดกับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เทคนิคส่วนจังหวัด เพื่อเริ่มโครงการตามโครงการเร่งรัดพัฒนาชนบทให้สอดคล้องกับความกับเป้าหมายตามโครงการพัฒนาพลเมืองระบอบประชาธิปไตย ขั้นต่อไปจะเริ่มดำเนินการฝึกอบรมปลัดจังหวัดและนายอำเภอตามโครงการฝึกอบรมโดยจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของโครงการ จากนั้นก็ทำการฝึกอบรมหัวหน้าส่วนราชการของอำเภอ ที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการเร่งรัดพัฒนาชนบท แล้วจึงเริ่มดำเนินการฝึกอบรมคณะกรรมการตำบลและสมาชิกสภาตำบล รวมทั้งผู้นำท้องถิ่นตามโครงการนี้
4. วิธีดำเนินงาน ดำเนินการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รัฐบาล เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และประชาชนโดยยึดถือเอาองค์การบริหารส่วนตำบลและสภาตำบลเป็นเป้าหมายแรก อีกทั้งจะได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ ขึ้น สำหรับท้องที่ที่เป็นเขตชุมชนหนาแน่นจะยึดถือเอาเทศบางหรือสุขาภิบาล เป็นเป้าหมายในการพัฒนา โดยการฝึกอบรมจะใช้การอภิปรายการทดลองให้ปฏิบัติ
5. ประสานงานระหว่างหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าของเรื่องในการดำเนินงานตามโครงการจึงจำเป็นต้องมีการประสานงานและรับความร่วมมือ จากหน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงศึกษาธิการในด้านการให้การศึกษาอบรมตามหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ, สำนักนายกรัฐมนตรีในด้านการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ตลอดจนด้านการจัดตั้งหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ในภูมิภาคให้เพียงพอตามมติคณะรัฐมนตรี, กระทรวงเกษตร ในด้านกสิกรรม ประมง ป่าไม้ ปศุสัตว์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการเร่งรัดชนบท, กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติในด้านพัฒนาที่ดิน การชลประทาน การสหกรณ์ กรมทางหลวงแผ่นดิน และการทางหลวงจังหวัด
6. การงบประมาณ จะได้ร่วมพิจารณาสำนักงานประมาณเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในด้านการดำเนินงาน โครงการ รวมทั้งงบประมาณเกี่ยวกับอัตราเงินเดือนของเจ้าหน้าที่
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการดำเนินโครงการ เช่น การฝึกอบรมในระดับสภาตำบลอาจได้แนวทางในการที่จะกำหนดรูปองค์การ อำนาจหน้าที่ รายได้ของหน่วยการปกครองท้องถิ่น นอกจากนี้ยังจะช่วยให้ด้านการประสานนโยบายดำเนินงานในส่วนภูมิภาคของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ให้แนบแน่นยิ่งขึ้น

หลักสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย สมควรที่จะได้พิจารณาถึงหลักสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเสียก่อน เพื่อที่จะได้ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนอย่างถูกต้อง โดยแยกออกเป็น 2 ประเด็น คือ
(1) ประชาชนมีสิทธิในการดำเนินนโยบายในการควบคุมการบริหารงาน ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น คือประชาชนมีสิทธิ์เลือกผู้แทนของตนเข้าไปร่วมพิจารณากำหนดนโยบายบริหารประเทศในรัฐสภา และมีสิทธิเลือกผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นรูปต่างๆ เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล ตำบล
(2) ประชาชนมีความสามารถที่จะปกครองตนเอง กล่าวคือ ประชาชนแต่ละคนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

โครงการต่างๆที่สนับสนุนงานนี้ ได้แก่
1. โครงการเข้าถึงประชาชน เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ที่มีข้าราชการอยู่ในส่วนภูมิภาคให้ความร่วมมือ อีกทั้งเป็นแนวปฏิบัติงานของข้าราชการในส่วนภูมิภาค มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมมิตรภาพระหว่างข้าราชการกับประชาชน ตลอดจนเพื่อป้องกันและตอบโต้การแทรกซึมบ่อนทำลายของคอมมิวนิสต์ โครงการนี้เป็นโครงการหลักระยะยาวของแต่ละจังหวัด มีความสัมพันธ์และส่งเสริมโครงการพัฒนาเมืองระบอบประชาธิปไตยคือช่วยรัฐบาลเป็นของประชาชนและเพื่อประชาชน โดยอาศัยพฤติกรรมและทัศนคติของข้าราชการที่มีต่อประชาชนเป็นเป้าหมายที่จะรับการพัฒนา อันมีการฝึกอบรมต่างๆ เป็นอุปกรณ์สำคัญ
2. โครงการเร่งรัดพัฒนาชนบท เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและให้กระทรวงมหาดไทยร่วมพิจารณาดำเนินตามข้อตกลงตามโครงการเร่งรัดพัฒนาชนบท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้บริเวณที่มีการถูกคุกคามจากคอมมิวนิสต์อยู่มากได้มีหน่วยงานที่จะดำเนินการได้อย่างเต็มที่การจัดหาน้ำ การสุขาภิบาล การอุตสาหกรรมชนบท ฯลฯ ทำให้ความต้องการอันแท้จริงของประชาชนได้รับการตอบสนองอย่างเต็มที่ และมีส่วนร่วมในการพิจารณาเสนอตลอดจนจัดลำดับความต้องการ จนมีความรู้สึกว่ามีส่วนเป็นเจ้าของและร่วมมีส่วนได้เสียกับรัฐบาล ซึ่งหน่วยงานนั้นได้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด โครงการนี้เป็นโครงการระยะยาวต่อเนื่องจึงมีความสัมพันธ์กับโครงการพัฒนาพลเมืองระบอบประชาธิปไตย คือ
- ทำให้มีความสามารถในการช่วยตนเองขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เพิ่มพูนขึ้นเพราะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่ถือได้ว่าเป็นสถาบันประชาธิปไตยที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
- ทำให้ฝ่ายบริการและฝ่ายนิติบัญญัติได้มีโอกาสพิจารณาจัดวางโครงการต่างๆ ให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น อีกทั้งเป็นโอกาสที่เหมาะที่สุดในการปรับปรุงให้เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคทั้งในระดับอำเภอและจังหวัดได้เปลี่ยนวิธีการและทัศนคติในการปฏิบัติงาน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เป็นประชาธิปไตยย่างแท้จริง และต้องทำการฝึกอบรมประชาชนในท้องถิ่นให้มีความเข้าใจ เห็นคุณค่า ตลอดจนให้ความร่วมมือกับทางราชการเป็นอย่างดี
3. โครงการฝึกอบรมข้าราชการส่วนภูมิภาคในระดับต่างๆ ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับโครงการพัฒนาพลเมืองระบอบประชาธิปไตย คือ ตรงกับมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบด้วยและความเห็นของสำนักนายกรัฐมนตรี จึงต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องทั่งที่สังกัดส่วนกลางตลอดส่วนภูมิภาคของกระทรวงมหาดไทย
4. การพัฒนาชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อความมั่นคงเป็นปึกแผ่นของหมู่บ้านและตำบลทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีส่วนร่วมในการปกครองร่วมกันอันเป็นพื้นฐานสำคัญของการปกครองท้องถิ่น
โดยที่การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาพลเมืองระบอบประชาธิปไตยเป็นงานสำคัญ และงานใหญ่มีขอบเขตและภาระในการดำเนินงานกว้างขวางจึงต้องได้รับการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ ในการวางโครงรูปของงาน อันประกอบไปด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ให้แน่ชัด มีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในด้านนี้โดยเฉพาะ และจะต้องมีขั้นตอนของการดำเนินงานเป็นไปโดยมีเหตุผล ซึ่งจะทำให้การลงมือปฏิบัติบรรลุผลสมความมุ่งหมายของรัฐบาล

โครงการพัฒนาชุมชน
การพัฒนาชุมชนเป็นวิธีการสร้างชุมชนให้เจริญโดยอาศัยกำลังความสามารถของประชาชน และความช่วยเหลือของรัฐบาลรวมกัน จึงประกอบด้วยหลักสำคัญ 2 ประการ คือ ความร่วมมือของประชาชน กับความช่วยเหลือของรัฐบาลหรือองค์การอื่นๆ สาเหตุที่ต้องมีการพัฒนาหมู่บ้านชนบทเพราะมีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 80% ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติ และมีปัญหาอันเป็นอุปสรรคต่อความเจริญของชาวชนบท ได้แก่ การผลิตให้ผลต่ำ, ขาดเครดิตและตลาด, ขาดน้ำดื่มและน้ำใช้ในการชลประทาน, ขาดถนน, ขาดอาหารและสุขภาพที่ดี, โอกาสที่จะหางานทำมีจำกัด, โอกาสที่จะศึกษาอมรมไม่ได้รับเพียงพอ, ความเป็นอยู่ของครอบครัวไม่ดี, สภาพหมู่บ้านไม่งดงามน่าดูและบ้านเรือนไม่เป็นระเบียบ, และองค์การในหมู่บ้านมีไม่เพียงพอ ดังนั้นการพัฒนาหมู่บ้านชนบทจึงเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ได้รวมเข้าเป็นสวนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ โดยมีกรรมวิธีเข้าถึงประชาชน 2 ประการ คือ
1. ใช้วิธีการให้การศึกษาด้วยเครื่องมือส่งเสริมความสนใจของประชาชน เช่น เครื่องโสตทัศนศึกษาได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์, ภาพโปสเตอร์ ฯลฯ
2. ทำงานกับกลุ่มประชาชนที่มีอยู่แล้วหรือจัดตังกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจ เช่น คณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน กลุ่มอาชีพ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาชุมชน คือ ความมุ่งหมายของการทำงานที่จะพยายามให้บรรลุถึงหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ในทางที่ดีกว่าเดิม ได้แก่ การปรับปรุงส่งเสริมการครองชีพของประชาชนในชนบทให้ดีขึ้น, ประชาชนได้ใช้ความสามารถของตนเองในการทำงาน และส่งเสริมให้ทำงานร่วมกันตามแบบประชาธิปไตย จนสามารถยกตำบลให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น เพื่อขจัดปัญหาต่างๆ เช่น ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความยากจนและความเจ็บป่วย เป็นต้น
นโยบาย มีดังนี้
1. กระตุ้นเตือนประชาชนให้มีความคิดริเริ่ม เกิดความต้องการในสิ่งที่จำเป็นต่อการครองชีพ และร่วมกันทำงานตามความสามารถของตน
2. ฝึกอบรมให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถในวิธีประกอบอาชีพแผนใหม่ และฝีมือในการทำงานประเภทต่างๆ
3. ทำงานกับกลุ่มประชาชนเพื่อให้เกิดพลังในการทำงาน และฝึกดำเนินงานตามแบบประชาธิปไตย
จุดหมายในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน มี 6 ประการ คือ
1. ส่งเสริมการผลิตให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
2. ส่งเสริมการสร้างสาธารณสมบัติ
3. ส่งเสริมการอนามัยและสุขาภิบาล
4. ส่งเสริมการศึกษา สันทนาการ และฝึกอบรมเยาวชน
5. ส่งเสริมวัฒนธรรมของหมู่บ้าน
6. ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

พัฒนาการ คือ เจ้าหน้าที่ที่ถูกส่งไปประจำตำบลต่างๆ ที่เปิดเป็นเขตพัฒนาอำเภอ ตำบลละ 1 คน เพื่อเป็นผู้ให้การศึกษา รวมกลุ่มคนทำงาน และเป็นผู้ประสานงานระหว่างประชากรกับทางราชการตลอดจนเป็นเจ้าหน้าที่หลักในการดำเนินงานในชุมชนชนบท
ขั้นตอนการดำเนินงานของพัฒนากร เริ่มงานโดยการสำรวจเบื้องต้นในตำบลที่รับผิดชอบ เป็นเวลา 4 เดือน เพื่อทราบความต้องการของประชาชนแล้วนำมาเป็นหลักในการวางโครงการ ทำให้ได้สถิติเบื้องต้นของเขตพัฒนาอำเภอเพื่อประเมินผล และเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพัฒนากรกับชาวบ้าน ต่อจากนั้นจึงให้ราษฎรเลือกตั้งคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้านเป็นสถาบันกลางในการพิจารณาพัฒนาหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 – 9 คน โดยร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาตำบลในการวางแผนพัฒนาชุมชนระยะยาว (5ปี) ในระดับตำบลซึ่งโครงการพัฒนาหมู่บ้านจะเสนอขึ้นมาโดย กพม. เป็นประจำทุกปี
ลักษณะหน้าที่และการทำงานของพัฒนากร ขอบเขตในการทำงานของพัฒนากรกว้างขวางกว่างานราชการธรรมดา พัฒนากรจะต้องใช้ชีวิตทั้งหมดหรือส่วนใหญ่อยู่กับหมู่บ้าน และงานก็เป็นงานที่แตกต่างจากงานอื่น คือเป็นงานที่ใช้ความรักความเมตตาเป็นที่ตั้ง จึงเป็นเจ้าหน้าที่ที่รัฐบาลอาจเรียกได้ว่าเป็นเพื่อนแท้ของชาวบ้าน อำนาจของพัฒนากรที่จะทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ได้แก่ ความรัก ความบริสุทธิ์ใจ เหตุผลและสติสัมปชัญญะในการครองชีวิตที่ชาวบ้านเข้าใจและเรียกร้อง ตลอดจนเป็นอำนาจของการชักจูงที่เกิดจากศรัทธาและความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างชาวบ้านกับตัวพัฒนากรเอง ซึ่งลักษณะอันเป็นอัจฉริยะยอดเยี่ยมของงานในหน้าที่พัฒนากรที่เห็นได้อย่างเด่นชัดมี 5 ประการ ดังนี้
1. พัฒนากรจะต้องเข้าไปอยู่ในหมู่บ้าน เป็นการเข้าไปอย่างสมาชิกคนหนึ่งของหมู่บ้านไปอยู่กับชาวบ้านโดยไม่ปฏิเสธความเป็นอยู่และความนึกคิดของชาวบ้าน สิ่งที่จะทำให้พัฒนากรผูกพันและทำงานอยู่กับชาบ้านได้โดยไม่รู้สึกท้องแท้และเบื่อหน่าย คือ “ความรักที่มีต่อชาวบ้านและรักชีวิตชนบท” ดังนั้น การเข้าไปอยู่ในหมู่บ้านของพัฒนากรต้องนำความรักของเขาไปด้วย โดยต้องรำลึกอยู่เสมอว่าที่ทำงาน ชีวิต ตลอดจนความสำเร็จในหน้าที่การทำงานไม่ได้อยู่ที่อำเภอหรือที่อื่นใด แต่อยู่ที่หมู่บ้านที่เขาได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ
2. พัฒนากรต้องเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ดี สิ่งแรกที่นักพัฒนากรควรกระทำเมื่อเข้าไปอยู่ในหมู่บ้าน คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาวบ้านหรือการเป็นนักประชาสัมพันธ์ภาคปฏิบัติที่ดี โดยการนำเอาทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์มาใช้ให้ได้ผลอย่างจริงจังในระดับหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังต้องเป็นนักรวมกลุ่มที่ดีทำให้รู้จักใช้พลังกลุ่มให้เป็นประโยชน์ และพยายามชักจูงให้สถาบันของกลุ่มชนที่มีอยู่แล้ว รวมรวมกันเพื่อให้เกิดความมุ่งหมาย ให้เกิดประโยชน์ หรือสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่าแก่กลุ่ม เช่น ความคิด ปัญญา วิธีการทำงานใหม่ๆ การปรับปรุงกิจกรรมของชีวิตด้านต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ความคิดริเริ่ม ตลอดจนสมรรถภาพในการทำงานร่วมกัน เป็นต้น
3. พัฒนากรมิใช่ผู้เชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะวิชา ถึงแม้ว่างานของพัฒนากรจะเป็นงานแบบงานอเนกประสงค์แต่ก็มิได้ทำงานซ้อนงาน โดยเฉพาะของกระทรวง ทบวง กรมนั้น พัฒนากรจะเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือเบื้องต้นที่ช่วยเหลือเบื้องต้นที่ร่วมกับชาวบ้าน ตอบปัญหาง่ายๆ แก่ชาวบ้านเป็นผู้นำนักวิชาการมาสู่ชาวบ้านเพื่อแก้ปัญหาของชาวบ้านให้สัมฤทธิ์ผล ดังนั้น จะเห็นได้ว่าพัฒนากรเป็นเพียงสื่อกลางที่จะเชื่อมโยงบริการทั้งหลายทั้งหมดของรัฐกับประชาชนให้เข้าถึงซึ่งกันและกัน
4. พัฒนากรต้องเป็นนักประสานงานที่ดี ในการประสานงานพัฒนากรจะต้องคำนึงถึงกาลเทศะและความพร้อมเพรียงของบริการทั้งสองฝ่าย อีกทั้ง จะต้องเข้าใจและเข้าถึงกลไกตลอดจนความละเอียดอ่อนแห่งความสัมพันธ์ของบุคคลและเจ้าหน้าที่ระดับสูง คือ ระดับอำเภอ จังหวัด และนักวิชาการบุคคลอื่นๆ อีกด้วย
5. พัฒนากรจะต้องเป็นนักสร้างผู้นำ เป็นหน้าที่ของพัฒนากรที่จะต้องค้นหาว่าในกลุ่มชาวบ้านนั้นมีผู้ใดควรจะเป็นผู้นำ ต่อจากนั้นเป็นผู้คอยให้กำลังใจตลอดจนเป็นผู้เสริมทักษะ แห่งการเป็นผู้นำให้แก่บุคคลนั้นๆ และทำหรือสร้างโอกาส และสถานการณ์ให้เขาได้แสดงบทบาทในการเป็นผู้นำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดหมายปลายทางของานพัฒนาชุมชนจะเพ่งเล็งไปถึงการพัฒนาบุคคล ถ้าสามารถสร้างผู้นำได้สำเร็จ ก็บรรลุวัตถุประสงค์และประโยชน์อื่นๆ ที่มุ่งหวังไว้ก็พรั่งพรูตามกันออกมา

หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ก.ร.ป. กลาง
หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่เป็นหน่วยที่จัดขึ้นโดยเฉพาะ สำหรับเคลื่อนที่ออกไปช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยรวมเจ้าหน้าที่จากระทรวง ทบวง กรม ต่าง ทั้งพลเรือน ตำรวจ และทหาร ทั้งนี้อยู่ในความควบคุม กำกับการ และประสานงานของกองอำนวยการกลาง กองอำนายการภาค และกองอำนายการเขต ภารกิจที่สำคัญคือ สำรวจความต้องการของประชาชน และสภาพท้องถิ่นเพื่อช่วยเหลือเฉพาะหน้าตามความต้องการนั้นๆ อย่างเต็มที่ตามความสามารถ เช่น การปรับปรุงพื้นถนนในหมู่บ้าน การเจาะน้ำบาดาล การสร้างทำนบกั้นน้ำ การจัดตั้งสถานีอนามัย เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดเจ้าหน้าที่รวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 80 นาย โดยธรรมดาชุดพัฒนาการเคลื่อนที่จะทำงานประมาณ 45 วัน เสร็จ ต่อจากนั้นจึงโอนให้ฝ่ายปกครอง คือ กระทรวงมหาดไทยรับช่วงต่อไปในการพัฒนาตามโครงการระยะยาว โดยได้วางรูปแบบไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ส่วนหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่จะถอนตัวกลับโยกย้ายเปลี่ยนที่ไปพัฒนาท้องถิ่นอื่นต่อไป