วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความมั่นคง และกำลังอำนาจแห่งชาติ

ความมั่นคง และกำลังอำนาจแห่งชาติ

ความเป็นห่วงเรื่องความมั่นคงของชาติและการมีพละกำลังของประเทศเป็นเรื่องที่มีปรากฏทั่วไป โดยเกี่ยวโยงกับมโนทัศน์อื่นๆ[1]
ความมั่นคง หมายถึง การมีพลานามัย มีความสมบูรณ์ และสุขภาพจิตดีในตัวเอง ส่วนกำลังอำนาจหมายถึง การมีลักษณะแห่งความมั่นคงผสมกับการมีความเกี่ยวกันกับคนอื่นหรือชาติอื่นๆ โดยความมั่นคงจะเน้นสภาวะภายใน ส่วนกำลังอำนาจเน้นสภาวะภายนอก คือ มีการเปรียบเทียบกับชาติอื่น

มองในปัจจัย เชิงรูปธรรม และนามธรรม
ปัจจัยเชิงรูปธรรม ได้แก่ ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ทำเลที่ตั้ง ทรัพยากรธรรมชาติ กำลังทหาร ทรัพยากรมนุษย์
ปัจจัยเชิงนามธรรม ได้แก่ ขวัญกำลังใจ ความเลื่อมใสศรัทธา ศาสนา ศีลธรรม ความเป็นผู้นำ
รูปร่างลักษณะเขตแดนและสภาพที่เกี่ยวข้อง มี 5 ประการ ได้แก่
1. รูปร่างกะทัดรัด เช่น ฝรั่งเศส สเปน โรมาเนีย กัมพูชา ฯลฯ
2. รูปร่างยื่นหรือแฉกหรือด้ามกระทะ เช่น ไทย สหภาพพม่า ฯลฯ
3. รูปร่างเรียวยาว เช่น ชิลี สวีเดน นอร์เวย์ อิตาลี ฯลฯ
4. รูปร่างแยกเป็นส่วน ๆ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ฯลฯ
5. รูปร่างมีรอยแหว่งภายใน เช่น สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ฯลฯ

รูปร่างของประเทศ ที่นับว่าเหมาะสม คือมีรูปร่างที่กะทัดรัด เนื่องจากสาเหตุ 2 ประการ คือ
1.การติดต่อระหว่างส่วนต่างๆ ของประเทศกับบริเวนใจกลางจะมีระยะทางเท่าๆ กัน และบริเวนใจกลางของประเทศอยู่ลึก จากพรมแดนพอสมควร ทำให้เกิดผลดีในด้านการป้องกันทางยุทธศาสตร์
2.มีพรมแดนสั้นเมื่อเปรียบเทียบตามส่วนกับเนื้อที่ประเทศ ทำให้ลดปัญหาเกี่ยวกับพรมแดนได้มาก

ปัจจัยด้านกำลังคน การมีพลเมืองมากโดยไม่สมดุลกับคุณภาพ ย่อมเป็นเครื่องกีดกั้นไม่ให้ประเทศมีพละกำลังเข้มแข็ง
ปัจจัยเชิงทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติในระดับมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน แคนาดา มีทรัพยากรป่าไม้ [2]
ขวัญกำลังใจ (Morale) ชาติเปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์ แม้องค์ประกอบทางสรีระอ่อนแอแต่หากมีกำลังใจดีย่อมจะยืนหยัดได้นานกว่าที่ควรจะเป็น การที่คนในชาติมีผู้นำที่มีความสามารถและเหมาะสมกับสถานการณ์ สภาพที่เลวร้ายย่อมดีขึ้นอย่างแน่นอน[3]
เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ซึ่งมีความเป็นผู้นำในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้กล่าววาทศิลป์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด โดยเฉพาะในตอนที่ว่า “ทั้งชีวิตของข้าพเจ้าไม่มีอะไรจะอุทิศให้ เว้นแต่หยาดโลหิต สปิริตแรงกล้า น้ำอัสสุชลคลอเบ้าตา และเหงื่ออาสาชโลมกาย” นับว่าเป็นวาทศิลป์ที่เป็นเสมือนมนต์ขลัง จนสามารถปลุกเร้าใจคนอังกฤษให้มีขวัญกำลังใจดีและต่อสู้โดยไม่ยอมสยบให้กับกองทัพอันทรงพลังของฮิตเลอร์
หลังจากญี่ปุ่นได้ตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการเข้าฝ่ายเยอรมัน และญี่ปุ่นได้โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์(Peal Harbor) บนเกาะฮาไวของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ จึงจำเป็นต้องนำสหรัฐฯ เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนายพลดักลาส แมคอาร์เธอร์ ถูกส่งไปเป็นแม่ทัพยังสมรภูมิเอเชีย และแปซิฟิก ส่วนนายพลดไวท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ ถูกส่งไปเป็นแม่ทัพในสมรภูมิยุโรป

ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2488 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรภายใต้การนำของ “นายพลดไวท์ ดี.ไอเซนเฮาร์” แห่งสหรัฐฯ ได้เปิดยุทธการดีเดย์ (D-Day) ที่เมืองนอร์มังดี (Normandy) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ตรงข้ามช่องแคบอังกฤษจนได้รับชัยชนะและทำให้เยอรมันยอมแพ้ในเวลาต่อมา
ส่วนทางด้านเอเชียและแปซิฟิก “นายพลดักลาส แมคอาร์เธอร์” ก็ได้นำกองทัพเข้ายึดครองญี่ปุ่นโดยไม่มีการขัดขืนและวุ่นวาย ในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากสหรัฐฯ ได้ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา และนางาซากิของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488
แมคอาร์เธอร์ วีรบุรุษในมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุทธภูมิด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ได้เคยกล่าวคำว่า I’ll return (I shall return) หลังจากต้องถอยทัพกลับไปในสมรภูมิแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกที่ประเทศฟิลิปปินส์ ทั้งนี้เพราะการสู้รบในระยะแรกสู้กับกองทัพญี่ปุ่นไม่ได้

ภาวะผู้นำ
มีความสำคัญอย่างมาก แต่การจะกระทำอะไรให้ได้ผลนั้นจะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการเช่น การมีผู้นำระดับรอง ซึ่งมีความสามารถ และความสามารถในการ ที่เราเรียกว่า “หยั่ง” สถานการณ์และการวางแผน
ในนวนิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่อง “สามก๊ก” (The Three Kingdoms) “เล่าปี่” ต้องพนมมือไปทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะได้เดินทางไปกรอบขอร้อง และอ้อนวอนให้ปราชญ์จีนชื่อ “ขงเบ้ง” มาช่วยราชการเพื่อช่วยบ้านเมือง รวมทั้งในการเป็นเสนาธิการในการวางแผนรบกับโจโฉ
[1] เช่น การได้เอกราช (INdependence) การอยู่รอด (Survival) ความเป็นปึกแผ่น (Consolidation) และกำลังอำนาจแห่ง่ชาติ

[2] ทองคำสีเขียว (Green Gold)
[3] ยกตัวอย่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการตู้สู้ระหว่าง
(1) ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allies) ซึ่งได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ฯลฯ
(2) ฝ่ายอักษะ (Axis) ซึ่งได้แก่ เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น ฯลฯ
ในปี ค.ศ. 1940 (ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ) วินสตัน เซอร์ชิลล์ (Winston Churchill) ได้รับมอบหมายให้จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นบริหารประเทศอังกฤษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น