วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รัฐประศาสนศาสตร์

รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration

รัฐประศาสนศาตร์ หรือ บริหารรัฐกิจ (Public Administration) เป็นการศึกษาที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการบริหาร (วิทยการจัดการ) นโยบายสาธารณะ และพฤติกรรมองค์การ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตคน เป็นนักบริหารในหน่วยงานของราชกาลและรัฐวิสาหกิจ
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการบริหารงานสาธารณะก็เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ (Efficiency)
ประสิทธิผล (Effectiveness)
และการประหยัด (Economy)
เพื่อให้เป้าหมายของหน่วยงานบรรลุผลในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม

วิวัฒนาการของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์
วิชาการบริหารรัฐกิจนั้นมีมานานแล้วตั้งแต่โบราณเมื่อมีการจัดองค์การทางการเมืองเป็นรัฐแต่ที่เป็นหลักวิชาการและมีผลงานเขียนที่เป็นหลักฐานนั้น อาจแบ่งเป็นยุคสมัย ต่าง 3 ยุคดังนี้
1. ยุคแรก คือ ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มมีการศึกษารัฐประศาสนศาตร์กันอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ของสหรัฐฯ ได้เขียนบทความที่มีชื่อเสียงในปี ค.ศ. 1887 เรื่อง The Study of Administration ซึ่งเป็นการเริ่มต้นแนวคิดการแยกการเมืองออกจากการบริหาร
2. ยุคที่สอง คือ ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยุคที่นักวิชาการทั่วไปหันมาให้ความสนใจในพฤติกรรมศาสตร์ จึงเรียกว่า ยุคของพฤติกรรมศาสตร์
3. ยุคที่สาม คือ ยุคร่วมสมัยในปัจจุบัน โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968 เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการรัฐประศาสนศาตร์แนวใหม่ ซึ่งเรียกว่า ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์
ก่อนจะถึงยุคพฤติกรรมศาสตร์นั้น ในยุโรปได้มีนักวิชาการที่เป็นผู้ให้กำเนิดวิชารัฐประศาสนศาตร์ในสายพฤติกรรมศาสตร์คือ แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ชาวเยอรมัน โดยเข้าได้เสนอผลงานที่อยู่ในความสนใจ คือ เรื่องการจัดองค์การขนาดใหญ่ในรูประบบราชการ
ในช่วงเดียวกันนี้ในสหรัฐฯ ก็ได้มีนักวิชาการวิศวกร คือ เฟรเดอริค เทเลอร์(Frederick Taylor) ได้เป็นผู้สนใจหลักเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่างและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการบริหารโดยถือหลักการแบ่งงานและการประสานงาน
ต่อมาในปี ค.ศ. 1933 Luther Gulick และ Lyndall Urwick ได้วางแนวการศึกษาการบริหารในรูปกระบวนการ และได้เสนอหลักการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพว่าจะต้องประกอบด้วยหลัก POSDCORB ซึ่งย่อมาจาก
P: Planning (การวางแผน)
O: Organizing (การจัดองค์การ)
S: Staffing (คณะผู้ร่วมงาน)
D: Directing (การสั่งการ)
CO: Coordinating (การประสานงาน)
R: Reporting (การทำรายงาน)
B: Budgeting (การทำงบประมาณ)

รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่
แนวความคิดของรัฐประศาสนศาตร์ในความหมายใหม่ มีดังนี้
1. เห็นว่านักบริหารเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานทั้ง 2 อย่าง คือ กำหนดนโยบาย และบริหารนโยบาย ดังนั้นเรื่องนโยบายและการบริหารจึงควรเป็นเรื่องต่อเนื่องกัน
2. จะต้องพยายามแสวงหาหนทางที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายและโครงสร้างต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้โดยมุ่งส่งเสริมวัตถุประสงค์ดังนี้
(1) การจัดการที่ดี
(2) มีประสิทธิภาพ
(3) ประหยัด
(4) มีความเป็นธรรมทางสังคม
3. มีแนวโน้มที่จะศึกษาทดลอง หรือสนับสนุนรูปแบบของการจัดองค์การราชการที่ได้มีการแก้ไขแนวคิดบางประการ เช่น การกระจายอำนาจ การขยายความรับผิดชอบ ฯลฯ
4. จะต้องพยายามแสวงหาหนทางที่จะใช้ในการบริหารนโยบาย เพื่อช่วยปรับปุรงคุณค่าหรือคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และต้องคำนึงถึงความสำคัญของระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมด้วย
5. พยายามที่จะให้มีการมุ่งมั่น ความสนใจไปที่ตัวปัญหา และพยายามพิจารณาทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้ในการเผชิญกับปัญหานั้นฯ โดยสถาบัน เช่น ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ฯลฯ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สามารถบรรลุถึงการแก้ปัญหาที่ใกล้เคียงความจริง
6. เน้นในส่วนที่เป็นราชการมากกกว่าการบริหารทั่วๆ ไปในการแก้ไขปัญหา

รัฐประศาสนศาตร์มีความเกี่ยวพันกับรัฐศาสตร์มาก บางครั้งกล่าวกันว่า รัฐศาสตร์เป็นเรื่องการเมือง และรัฐประศาสนศาตร์เป็นเรื่องการบริหาร
รัฐประศาสนศาตร์ได้มีวิวัฒนาการมามาก และในปัจจุบันนี้ให้ความสำคัญกับความยุติธรรมในสังคมมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น