วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567
วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
พระพุทธศาสนากับประชาธิปไตย
1. แนวการวิจารณ์ (a critical approach) การจะวิจารณ์หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก จะต้องมีความรู้พื้นฐาน 4 ประเภท คือ 1.1 รู้บาลีพระไตรปิฎกดี (สพยญฺชนํ) เพื่อที่จะเป็นหลักในการตีความคำสอนให้ตรงกับความหมายดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า
1.2 รู้ความหมายพระไตรปิฎกดี (สาตฺถํ) คือ ต้องอ่านคำสอนที่ท่านแปลจากพระไตรปิฎกเป็นภาษาของตน เช่น พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นไทย พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำอธิบายที่เรียกว่า อรรถกถา
1.3 มีความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ดี โดยเฉพาะในแง่ ประยุกตวิทยา (Technology) อย่างน้อยที่สุดก็สามารถจับประเด็นหลักของวิทยาการนั้นๆ ได้ว่า ด้วยเรื่องอะไร สามารถนำมาเทียบเคียงสงเคราะห์กับพุทธธรรมได้ในแง่ใดบ้าง
1.4 มีจิตใจเปิดกว้าง (open mind) ตามแนวกาลามสูตร ที่ว่า อย่าเชื่อเพียงเพราะฟังตามกันมา ฯลฯ ผู้นี้เป็นครูของเรา สามารถจะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยจิตเยือกเย็น และตอบโต้ได้อย่างมั่นคง และด้วยเหตุด้วยผลจากการปฏิบัติของตนเอง
เมื่อมีความรู้พื้นฐานแล้วก็ต้องมีหลักในการวิจารณ์ดังนี้
1. ตั้งข้อสงสัย (ปุจฉา) ว่าสิ่งนั้น คืออะไร มาจากไหน เพื่ออะไร และโดยวิธีใด ตามหลักอริยสัจ
2. ค้นคว้าหาคำตอบตามแนว ธรรมวินัย คือ วิจัยธรรม เพราะธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านั้นมีคุณลักษณะหนึ่ง คือ เอหิ ปัสสิโก คือ เชิญมาดู (come and see) เชิญมาพิสูจน์ค้นคว้าทดลองปฏิบัติ อย่างน้อยที่สุด คือการรวบรวมข้อมูลอันเกี่ยวกับธรรมด้านนั้นๆ ว่ามีอยู่ที่ใดบ้าง มีคำอธิบายเดิมอย่างไร และจะนำมาตีความกับโลกยุคสมัยปัจจุบันได้อย่างไร
3. หาข้อสรุป หาข้อยุติที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น อย่าหาข้อสรุปที่มุ่งเอาแพ้เอาชนะอย่างเดียว อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอลคัททูปมสูตรว่า การศึกษาวิจารณ์นั้นมี 3 แบบ คือ 3.1 ศึกษาเพื่อข่มผู้อื่น เอาชนะผู้อื่น อย่างนี้เป็นศึกษาการวิจารณ์ที่เรียกว่า งูพิษ ทำให้เกิดการโทษแก่ตนเอง
3.2 ศึกษาวิจารณ์ เพื่อหาแนวทางให้เกิดการออกไปจากทุกข์ เพื่อให้เกิดการดับทุกข์ แนวธรรมสากัจฉา ก็อาศัยแนวนี้ จึงเกิดมงคลแก่ผู้สนทนาธรรม และทำให้พ้นทุกข์ได้ เป็น นิสสรณปริยัติ. 3.3 ศึกษาวิจารณ์ เพื่อเป็นตัวอย่างผู้อื่น เพื่อให้เกิดแนวคิดกระตุ้นแรงเร้าในการปฏิบัติธรรมแก่ศิษย์และรุ่นน้องๆ เรียกว่า แบบเรือนคลังภัณฑาคาริก ปริยัติ
ต่อไปนี้จะได้ตั้งประเด็นวิจารณ์เป็นข้อๆ ไปในเรื่องที่เห็นว่า สมควรแก่การวิจารณ์
2. หลักประชาธิปไตย
คำว่า "ประชาธิปไตย" หรือ "Democracy"เป็นคำที่ใช้มานานตั้งแต่สมัยกรีกโบราณรุ่งเรือง ซึ่งมุ่งแสดงถึงการปกครองที่ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการแสดงออก มีส่วนร่วมในการปกครองโดยเลือกผู้แทนเข้าไปนั่งในสภาบริหารและสภานิติบัญญัติ ผู้ให้คำนิยามแก่การปกครองแบบประชาธิปไตยที่กระชับและสั้น คือ ลิงคอล์น ที่ว่าประชาธิปไตย คือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชนหลักของประชาธิปไตย คือให้อำนาจแก่ประชาชน ทั้งทางนิติบัญญัติ บริหาร และด้านพิจารณาอรรถคดี ที่เรียกว่า ตุลาการ อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวถึงหลักของประชาธิปไตยว่า มี 5 หลักด้วยกันคือ
1. หลักเสรีภาพ (Liberty) ซึ่งต้องประกอบด้วย สิทธิ หน้าที่ อิสรภาพ และสมภาพ จะต้องอยู่ร่วมกัน
2. หลักความเสมอภาค (Equality) คือความเท่าเทียมกัน ในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐ
3. หลักเหตุผล (Rationality) การตัดสินความขัดแย้งด้วยเหตุผล
4. การตัดสินโดยเสียงข้างมาก (Majority) เสียงข้างน้อย ได้รับการคุ้มครอง (Majority rule, and minority right)
5. การผลัดเปลี่ยนกันหมุนเวียนดำรงตำแหน่ง (Rotation) ไม่ผูกขาดแต่คนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เพียงผู้เดียว.
3. แนวความคิดประชาธิปไตยในพระไตรปิฎก
3.1 แนวความคิดเรื่องประชาธิปไตยแนวพระวินัยปิฎก
จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อเป็นแนวในการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ แต่การบัญญัติวินัยนั้นก็ทรงบัญญัติเป็นพระสงฆ์มิได้บัญญัติตามลำพัง ต้องให้เกิดเรื่องก่อน แล้วประชุมสอบสวนแล้วบัญญัติพระวินัยท่ามกลางพระสงฆ์ ด้วยความเห็นชอบของพระสงฆ์ต่างพร้อมใจกันนำไปปฏิบัติ การทำกรรมต่างๆ ของสงฆ์ ยกเว้นอปโลกนกรรม ล้วนให้ทำเป็นการสงฆ์ทั้งสิ้น กล่าวคือ
ญัตติกรรม-ทำด้วยสงฆ์จตุวรรค คือ 4 รูปขึ้นไป เช่นการสวดปาติโมกข์
ญัตติทุติยกรรม-ทำด้วยสงฆ์ปัญจวรรคคือ 5 รูปขึ้นไป เช่น เรื่องกฐินญัตติจตุตถกรรม-ทำด้วยสงฆ์ ทสวรรค คือ ตั้งแต่ 10 รูปขึ้นไปยกเว้นในที่กันดาร เช่นการอุปสมบทการให้มานัตต์ การสวดอัพภาน ก็ต้องใช้สงฆ์ตั้งแต่ 21 รูปขึ้นไป จึงกล่าวได้ว่า
พระวินัย คือ รัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ
พระสงฆ์ คือ สมาชิกสภาผู้แทน
คุณสมบัติของพระสงฆ์ คือ คุณสมบัติของสมาชิก
อำนาจพระสงฆ์ คือ อำนาจอธิปไตย
อธิกรณ์สงฆ์ทั้ง 4 คือ
ก. วิวาทาธิกรณ์-การขัดแย้งกันเกี่ยวกับธรรมวินัย
ข. อนุวาทาธิกรณ์-การโจทก์กันด้วยอาบัติต่างๆ
ค. อาปัตตาธิกรณ์-การละเมิดอาบัติต่างๆ
ง. กิจจาธิกรณ์-กิจของสงฆ์ที่เกิดขึ้นที่จะพึงทำด้วยสงฆ์จำนวนต่างๆ
ต่างก็จะต้องระงับด้วยวิธีการที่เรียกว่า อธิกรณสมถะ 7 คือ
1. สัมมุขาวินัย ระงับต่อหน้าสงฆ์ต่อหน้าบุคคลต่อหน้าวัตถุ
2. สติวินัย การระงับด้วยการให้เกียรติแก่พระอรหันต์ ผู้มีสติสมบูรณ์
3. อมูฬหกวินัย การระงับเหตุด้วยการยกเว้นให้แก่ผู้ทำผิดในขณะที่เป็นบ้า คือได้หลงไปแล้ว
4. เยภุยยสิกา ระงับด้วยเสียงข้างมากลงมติ
5. ปฏิญญาตกรณะ ระงับด้วยการทำตามปฏิญญา
6. ตัสสปาปิยสิกากรรม ระงับด้วยการลงโทษศัตรูผู้ถูกสอบสวนแล้วพูดไม่อยู่กับร่องกับรอย ให้
การรับแล้วปฏิเสธ ปฏิเสธแล้วรับเป็นต้น
7. ติณวัตถารกวินัย ระงับด้วยการประนีประนอมทั้งสองฝ่าย ดุจเอาหญ้าทับสิ่งสกปรกไว้ไม่ให้มีกลิ่นทั้งอธิกรณ์และการระงับต้องทำเป็นการสงฆ์เป็นส่วนใหญ่ ดุจการตั้งกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ฉะนั้นจึงเป็นการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมและในการประชุมทำกรรมต่างๆ เป็นการสงฆ์นั้น ต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ จริงๆ ถ้ามีข้อข้องใจมีสิทธิ ยับยั้ง (Veto) ได้แม้เพียงเสียงเดียวสงฆ์ทั้งหมดก็ต้องฟังดังท้ายกรรมวาจาว่า "ยสฺสายสฺมโตขมติโส ตุณฺหสฺสยสฺส น ขมติ โส ภาเสยฺย"
"ถ้ากรรมนี้ ชอบใจต่อท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเงียบ ถ้าไม่ชอบใจต่อท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูดขึ้น"อนึ่งการทำกรรมอันใดก็ตาม พระวินัยจะต้องพร้อมเพรียงกัน ดังคำขึ้นต้น ของกรรมวาจาว่า"ยทิสงฺฆสฺสปตฺตกลฺลํ" ซึ่งแปลว่า "ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ พร้อมแล้ว... สงฆ์พึงทำ..." ดังนี้.นี้คือเนื้อความใน มหาขันธกะ มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 4
3.2 แนวความคิดเรื่องประชาธิปไตย ตามแนวพระสุตตันตปิฎก ซึ่งอาจนำมาเป็นประเด็นในการวิจารณ์ ได้ดังต่อไปนี้
1. หลักเสรีภาพทางความคิด พระพุทธเจ้าได้ให้โอกาสแก่ชาวกาลามะในการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ คำสอนของนักบวช ที่มาเผยแผ่คำสอนด้วยข้อความต่อไปนี้
"ดูกรกาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าเชื่อ เพียงเพราะ
· การฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
· การถือกันสืบๆ มา (มา ปรมฺปราย)
· ข่าวเล่าลือ (มา อิติกิราย)
· การอ้างตำรา (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
· การใช้ตรรกะ (มา ตกฺกเหตุ)
· การอนุมาน (มา นยเหตุ)
· การตรึกตรองตามอาการ (มา อาการปริวิตกฺเกน)
· เข้าได้กับทฤษฎีที่ตนคิดไว้ (มา ทิฏฺฐินิชฺฌานขนฺติยา)
· มองเห็นลักษณะว่าน่าเชื่อได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
· สมณะ นี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
ต่อเมื่อใดรู้เข้าใจ ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละ หรือ ถือปฏิบัติตามนั้น"
2. หลักความเสมอภาค ในพระธรรมวินัย จะเห็นได้จากหลักความอัศจรรย์ของพระธรรมวินัย 8 อย่างเปรียบเทียบกับความอัศจรรย์ของมหาสมุทร 8 อย่าง ดังนี้ 1. ธรรมวินัย หรือพระพุทธศาสนามีการศึกษาตามลำดับทำตามลำดับปฏิบัติตามลำดับ แทงตลอดอรหัตตมรรค ด้วยการทำต่อเนื่องดุจมหาสมุทรลุ่มลึกตามลำดับ 2. สาวกของพระพุทธเจ้าที่แท้ไม่ล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว แม้จะต้องสละชีวิตก็ยอม ดุจมหาสมุทรไม่ล้นฝั่ง 3. สงฆ์ ย่อมกันคนชั่วให้ห่างไกล ดุจทะเลซัดซากศพให้เข้าสู่ฝั่งฉะนั้น 4. วรรณะ 4 ออกบวชแล้วย่อมละซึ่งชื่อโคตร ในกาลก่อนถึงการนับว่าเป็นสมณศากยบุตร ดุจน้ำจากแม่น้ำทั้งหลาย เมื่อถึงมหาสมุทรแล้ว ก็เป็นน้ำมหาสมุทรอันเดียวกัน 5. แม้ฝนตก มหาสมุทรก็ไม่ปรากฏความพร่องและความเต็ม ฉันใด ภิกษุในธรรมวินัย ที่ดับกิเลสด้วยนิพพานธาตุ ย่อมไม่ทำนิพพานให้เต็ม 6. พระธรรมวินัย มีรสเดียว คือ วิมุตติรส-รสแห่งความหลุดพ้น ดุจมหาสมุทรมีรสเดียวคือ รสเค็ม (เอกรโส-โลณรโส, เอกรโส-วิมุตฺติรโส) 7. มหาสมุทรเต็มไปด้วยรัตนะนานาประการ ฉันใด พระธรรมวินัยก็มากด้วย ธรรมรัตนะ คือ สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, มรรค 8, ฉันนั้น8. มหาสมุทร เป็นที่อยู่ของสัตว์มีชีวิตใหญ่ๆ เช่น ปลาติมิติมังคลา ติปริมังคลา อสูร นาค คนธรรพ์ ฉันใด พระธรรมวินัยก็มีอริยบุคคล 4 และผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นอริยบุคคล 4 ฉันนั้น.เหตุนี้ จึงทำให้ภิกษุยินดียิ่งในธรรมวินัย.
3. หลักความเป็นพี่เป็นน้องกัน หรือ ภราดรภาพ คือ สหธรรมิก ผู้ปฏิบัติธรรมร่วมกัน ควรมีธรรมต่อไปนี้ก. สังคหวัตถุ 4 คือ แบ่งปัน, พุดไพเราะ, บำเพ็ญประโยชน์และวางตัวเคียงบ่าเคียงไหล่ ร่วมสุขร่วมทุกข์ ข. สาราณียธรรม 6 คือจะพูด จะทำ จะคิด ก็ประกอบด้วย เมตตาจิต แบ่งปันลาภกันอย่างทั่วถึง, มีศีลเสมอกันและมีทัศนะเสมอกัน. ค. หลักอปริหานิยธรรม 7 คือ- หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์- เมื่อประชุมก็พร้อมกันเข้าประชุม และพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม- ไม่ทำลายหลักการเดิม- เคารพผู้หลักผู้ใหญ่- คุ้มครองกุลสตรี มิให้ถูกข่มเหง- เคารพ เจดีย์ อนุสาวรีย์คนสำคัญของชาติ- ให้การคุ้มครองอารักขาสมณะชีพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในรัฐ 4. หลักการใช้อธิปไตย พระพุทธเจ้าทรงนิยม ธรรมาธิปไตย คือ เอาหลักการเป็นใหญ่ มิใช่ อัตตาธิปไตย เอาตนเป็นใหญ่ หรือ โลกาธิปไตย เอาโลกหรือพวกพ้องเป็นใหญ่ ดังพระองค์แสดงไว้อย่างชัดเจน"ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นมิใช่สภา"สัตบุรุษ คือ ผู้รู้จักเหตุผล-รู้จักคน รู้จักประมาณ-รู้จักกาล-รู้จักชุมชุม และรู้จักความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล จึงอาจกล่าวได้ว่า"พระธรรมวินัย ของพระพุทธเจ้าเป็นหลักการปกครองของพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ และเพื่อพระสงฆ์อันมีประโยชน์ 10 อย่าง เป็นเป้าหมาย คือ1. เพื่อหมู่คณะยอมรับว่าดี2. เพื่อให้หมู่คณะมีความผาสุก3. เพื่อข่มคนชั่ว4. เพื่อปกป้องคนดี5. เพื่อขจัดทุกข์ในปัจจุบัน6. เพื่อตัดทุกข์ในอนาคต7. เพื่อผู้ที่ยังไม่ศรัทธาได้มีความศรัทธา8. เพื่อรักษาจิตของคนที่ศรัทธาอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป9. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม คือ พระพุทธศาสนา10. เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย คือ หลักการอันดีงาม ของการอยู่ร่วมกันโดยสันติ อย่างที่เรียกว่า "มีสันติสุขในส่วนตน และสันติภาพในส่วนรวม" ฉะนี้แล
หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา Archived Posts from this Category ในสมัยข้าพเจ้าเป็นเด็กนักเรียนบ้านนอก หลังจากโรงเรียนเลิกหรือวันโรงเรียนหยุด ข้าพเจ้าจะช่วยบิดาเลี้ยงควายในท้องทุ่งนอกจากควายของบิดาข้าพเจ้าแล้วก็ยังมีของผู้อื่นในละแวกเดียวกันในท้องทุ่งจึงมีควายฝูงใหญ่พอสมควรทีเดียวควายทุกตัวมันจะแทะเล็มหญ้าไปอย่างเพลิดเพลินทุกตัวไม่เกะกะเกเรกัน ตลอดเวลาจนถึงยามเย็นมากแล้วจะมีบางตัวเข้าจับกลุ่มกันเพื่อเดินทางลงหนองน้ำแช่ตัวดื่มกินตามที่ต้องการ ขณะนั้นก็จะมีตัวอื่นๆอีกเดินตามกันไปทั้งหมดทุกตัวหยุดและเล็มหญ้าทันทีเพื่อลงหนองน้ำโดยพร้อมเพรียงกันจากนั้นสักพักใหญ่หลังจากแช่ตัวจนพอใจแล้ว กลุ่มแรกที่เดินลงก็จะเดินขึ้นจากหนองน้ำทุกตัวต่างก็ตามกันขึ้นด้วยอย่างมีระเบียบเช่นกันเวลานั้นข้าพเจ้าไม่ได้คิดอะไรถึงขณะนี้ พอจะนึกได้ว่าแม้สัตว์เดียรัจฉานทำไมจึงได้มีการแสดงออกเช่นนั้น ความจริงเป็นลักษณะของการปฏิบัติตามกันในความเห็นของหมู่มากถ้าหมู่มากเขาจะเอาอย่างไร ทุกๆหน่วยของสมาชิกในหมู่นั้นก็เห็นด้วยและทำอย่างนั้นนี่ไม่เฉพาะในหมู่ของควาย แม้สัตว์เดียรัจฉานอื่นก็เป็นได้ เช่น เป็ด ไก่นก ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันพฤติกรรมของสัตว์อย่างนั้นอาจสงเคราะห์ได้กับหลักประชาธิปไตยของมนุษย์ที่เรียกหากันอยู่ทุกวันนี้ก็ได้ส่วนในหมู่มนุษย์นั้นคำว่า “ประชาธิปไตย” มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นเองเพราะถือว่ามีมันสมองเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้นถ้าลักษณะของการแสดงออกก็ดี แนวความคิดก็ดีจะขัดแย้งกันบ้าง แต่เมื่อยอมรับให้ไปกันได้กับเสียงส่วนใหญ่แล้วก็เรียกกว่าการมีประชาธิปไตยว่าโดยความหมายก็คือ ถือความเป็นใหญ่ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งจะเป็นในหลักของการปกครองการบริหาร หรือการกระทำกิจกรรมร่วมกันประการใดก็ตามเช่นในหลักการบริหารประเทศรัฐธรรมนูญกำหนดว่าอำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทยคือ อำนาจในความเป็นใหญ่การกำหนดทิศทางวางแผนการบริหารประเทศเป็นของประชาชนชาวไทยทุกคน ในทางปฎิบัติเรายอมรับในการเลือกตัวแทนไปทำหน้าที่แทนในรัฐสภา เรียกว่าผู้แทนราษฎรการประชุมร่างกฎหมาย แก้ไข ยกเลิกกฎหมายก็ต้องกระทำกันตามความเห็นของเสียงส่วนใหญ่จากผู้แทนราษฎรนั้น นี่เรียกว่าหลักประชาธิปไตยของมนุษย์ส่วนจะผิดจะถูกอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป นอกจากนั้นประชาธิปไตยยังหมายถึงการมีอิสรเสรีในการพูด การเขียนและการกระทำอื่นๆภายในขอบเขตของกฎหมายด้วย ในโลกนี้มีประเทศที่มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยกันหลายประเทศทั้งที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแต่ในสังคมของคนที่ยังต่างความคิดกันอยู่การดำเนินการใดๆ แม้จะกระทำไปตามมติของส่วนใหญ่ซึ่งเป็นกติกาที่ตกลงกันไว้แล้วก็ตาม ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะการที่คนไม่เข้าใจหลักประชาธิปไตยประการหนึ่งหรือเข้าใจแต่ไม่อยากจะยอมรับกติกาประการหนึ่ง หลักประชาธิปไตยของสังคมมนุษย์ในโลกจึงหาจุดแน่นอนไม่ได้ทั้งอาจมีปัญหาตลอดกาลก็เป็นได้ ในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าแสดงไว้ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัญณาสก์ หมวด 50 สูตรที่ 1 วรรค 4 ชื่อ เทวทูตวรรค ทรงแสดงอธิปไตย คือความเป็นใหญ่ไว้เป็น 3 ประการคือ 1. อัตตธิปไตย คือการปรารภตนเป็นใหญ่อำนาจอยู่ในคนๆเดียว ซึ่งเป็นได้ทั้งระบบกษัตราธิปไตยหรือระบบเผด็จการ การปกครองในระบบอัตตาธิปไตยนี้จะนับว่าเป็นระบบที่ไม่ดีเสียทีเดียวก็ไม่ได้แต่อาจจะเป็นการปกครองที่ดีที่สุดแบบหนึ่งด้วยเพราะการมีอำนาจสิทธิ์ขาดในคนๆเดียว อาจทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองไปรวดเร็วก็ได้หรืออาจจะทำให้บ้านเมืองหายนะเร็วก็ได้เหมือนกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าก็เคยปกครองในแบบอัตตาธิปไตยหรือเอกาธิปไตยเหมือนกัน ในสมัยที่พระองค์ทรงประกาศศาสนาใหม่ๆ ถ้าจะเปรียบเทียบแล้วก็เหมือนพระพุทธเจ้าเป็นเผด็จการเพราะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่พระองค์เพียงองค์เดียว เช่นการจะให้กุลบุตรคนใดคนหนึ่งมาบวชในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ก็จะตรัสเพียงสองคำว่า เอหิภิกขุ อุปสมปทา เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด ก็เป็นพระแล้วไม่ต้องทำพิธีอะไรมากมาย แต่เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้อยู่เหนือโลกไม่ใช่อยู่ในอำนาจของโลกีย์วิสัยแล้ว ฉะนั้นแม้การปกครองแบบอัตตธิปไตยก็เป็นการปกครองที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ เป็นการเริ่มต้นที่พระองค์จะทรงปฎิวัติหรือปฎิรูปสังคมจึงจำเป็นต้องวางรากฐานให้มั่นคงก่อน ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะต้องได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีใจบริสุทธิ์จริงๆเข้ามาช่วยทำจึงจะทำให้การปกครองของสังคมนั้นๆ เป็นไปอย่างมีขั้นตอนปราศจากปัญหาใดๆ
2. โลกาธิปไตย การปรารถโลกเป็นใหญ่เป็นการปกครองที่ยึดเสียงของคนหมู่มากเป็นใหญ่แล้วแต่สังคมจะไปทางไหนยังไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลว่าจะดีหรือไม่ดีถ้าส่วนใหญ่ว่าอย่างไรก็เอาอย่างนั้น การปกครองลักษณะนี้จัดเข้ากันได้กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ชาวโลกกำหนดให้เป็นการปกครองระบบหนึ่งเหมือนกันคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เน้นหนักไปในทางประชาธิปไตย คือหลักประชาธิปไตยมีความสอดคล้องกับหลักของพระพุทธศาสนาหลายประการแต่อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่าพระพุทธองค์ทรงอยู่เหนือโลกนอกอำนาจของโลกีย์วิสัย ระบบโลกาธิปไตยหรือหลักประชาธิปไตยของพระพุทธศาสนาจึงเป็นไปด้วยเหตุผลและคำนึงถึงสิ่งที่ถูกต้องประการเดียว ผิดกับหลักประชาธิปไตยของชาวโลกดังที่กล่าวในข้อ 1 ว่า อัตตาธิปไตย พระองค์ทรงเป็นเผด็จการในระยะแรกเมื่อปูฐานของศาสนาเพื่อการเผยแผ่อย่างมีประสิทธิภาพแล้วพระองค์ก็ทรงอนุญาตให้พระอรหันต์สาวกทั้งหลายอุปสมบทแก่กุลบุตรได้โดยไม่ต้องนำไปเฝ้าพระองค์ การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่าแบบ”ติสรณคมณูปสมปทา”การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกเป็นคล้ายแบบคณาธิปไตยคือกล่าวคำนึงถึงพระรัตนตรัยต่อพระอรหันต์สาวกที่พระพุทธองค์ได้ทรงมอบหมายแล้วก็เป็นภิกษุได้ต่อเมื่อมีพระสงฆ์เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าการปกครองแบบนั้นเป็นการดีเฉพาะบางยุคบางสมัยเท่านั้น ไม่ดีตลอดไปเพราะหากว่าบุคคลที่มามีอำนาจต่อไปไม่มีศีลธรรมการปกครองก็จะล้มเหลว ฉะนั้นต่อมาพระพุทธองค์จึงได้มอบหมายให้คณะสงฆ์เป็นใหญ่ในการปกครองจนกระทั่งการปกครองในระยะหลังในการอุปสมบทหรือการรับกุลบุตรเข้าสู่หมู่คณะจึงกระทำโดยวิธี “ญัตติจตุถกรรมวาจา” เช่นการบวชอยู่ในปัจจุบันนี้โดยมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ หมายถึงการประชุมสงฆ์ในการทำสังฆกรรมใดๆก็ตามต้องเป็นโดยเสียงส่วนใหญ่ของหมู่คณะอย่างเอกฉันท์ นี่เป็นหลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
3. ธรรมาธิปไตย การปรารภธรรมคือเหตุผล ความถูกต้อง ความดี ความงามเป็นใหญ่ ฉะนั้นระบบโลกาธิปไตยหรือประชาธิปไตยดังที่กล่าวข้างต้นจะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์จะต้องมีความเคารพในธรรม ความถูกต้องและเหตุผล พระพุทธองค์ทรงยกย่องธรรมาธิปไตยว่าเป็นเลิศ หมู่คณะของสงฆ์ที่เป็นใหญ่ในการปกครองดูแลจึงต้องเป็นคณะสงฆ์ที่มีหลักของธรรมาธิปไตย คือยึดเหตุผล ความถูกต้องและความดีงามเป็นหลักด้วยกล่าวโดยใจความก็คือหลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนาจะต้องอาศัยหลักของธรรมาธิปไตยเป็นเครื่องประกอบด้วยแต่ธรรมาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้โดยสมบูรณ์ก็ต้องประกอบด้วยรากฐานที่สำคัญดังนี้
3.1 ความเสมอภาค พุทธศาสนาถือว่ามนุษย์ทุกคนมีสภาพเป็นเวไนยสัตว์ คือสอนได้ เรียนได้ ปรับปรุงตนเองได้ มนุษย์จึงมีสภาพเท่าเทียมกันไม่ว่ายากจน มั่งมีผู้ดี ไพร่ สูง ต่ำ ดำ ขาวทุกคนมีโอกาสบรรลุธรรมขั้นสูงถึงความพ้นทุกข์ได้ หากใช้ความเพียรปฎิบัติโดยถูกต้องและปฎิบัติตามคำสั่งสอนดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้โดยย่อว่า “กุลบุตรจากสกุลกษัตริย์หรือพราหมณ์หรือแพศย์หรือศูทรก็ตาม ได้อาศัยธรรมและวินัยอันตถาคตประกาศแล้วย่อมประสบความสำเร็จและนำตนให้ออกจากทุกข์ได้” หรือแม้ในหลักเกณฑ์การมีเครื่องนุ่งห่มภิกษุเก่าหรือภิกษุผู้มาใหม่จะแก่พรรษาหรืออ่อนพรรษากว่ากันก็มีความเสมอภาคคือ มีผ้ากาสาวพัสตร์ที่เหมือนกันหมด
3.2 ความมีเสรีภาพ พระองค์ทรงสั่งสอนและทรงส่งเสริมให้มนุษย์มีสิทธิเท่าเทียมกันให้เลิกระบบทาสไม่มีการซื้อขายมนุษย์ห้ามภิกษุมีทาสไว้รับใช้ ที่สุดทรงสอนให้เลิกทาสภายในได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง และให้มีเสรีภาพในการประพฤติปฎิบัติให้ถูกต้องตามหลักคำสอนโดยที่ไม่ได้กำหนดโทษให้ปรากฏในทางวัตถุหรือทางร่างกายแต่ได้กำหนดให้ได้รับผลทางจิตใจในการที่จะควบคุมตักเตือนตนเอง หากประพฤติปฎิบัตินอกลู่นอกทางจากคำสั่งสอน ก็จะได้รับโทษที่ให้ผลเป็นทุกข์ทางใจของตนเองที่เรียกว่า “อาบัติ” เราจึงเห็นกันว่าพระภิกษุทั่วๆไปในสายตาของชาวบ้านจะมองไม่ออกว่าองค์ใดได้ประพฤติผิดล่วงธรรม ล่วงวินัยไปแล้วอย่างใดบ้างนั่นเป็นลักษณะเสรีภาพในการควบคุมตนเองให้อยู่กับการประพฤติปฎิบัติต่อคำสั่งสอนที่ถูกต้องต่อไป
3.3 ความมีศีลและวินัย พระพุทธศาสนายืนยาวมากว่า 2,000 ปี ก็เพราะพระสงฆ์มีวินัย พระพุทธองค์ทรงปกครองสงฆ์ด้วยธรรมาธิปไตยคือให้พระสงฆ์มีวินัย เมื่อพระสงฆ์มีวินัยก็สามารถปกครองตนเองได้ดีมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในตัวเองเพราะประชาธิปไตยจะมีโดยสมบูรณ์ต่อเมื่อทุกคนได้รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง รับผิดชอบตนเอง เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่นไม่ล่วงเกินก้าวก่ายกันเพราะพระสงฆ์อาจจะต้องไปอยู่ป่าองค์เดียว อยู่ถ้ำองค์เดียวหรือจาริกไปองค์เดียว จึงต้องมีศีล มีวินัย คุ้มครองดูแลตนเองหรือถ้าจะเข้าสู่หมู่คณะก็จะต้องรักษากาย วาจา ใจ ที่จะประพฤติปฎิบัติต่อกันอย่างไร ต่ออุปัชฌาย์อย่างไร ต่อที่ประชุมอย่างไร วินัยที่กำหนดให้เคารพต่อกันระหว่างผู้มีพรรษาแก่อ่อนกว่ากันไม่ว่าชาติตระกูลจะเป็นอย่างไร พระสงฆ์ต้องเคารพต่อพระธรรมความถูกต้องเป็นใหญ่ในการที่จะยอมรับกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันเพราะถ้าสังคมใดไม่เคารพต่อกฎหมายกติกาสังคมแล้วย่อมวุ่นวายเดือดร้อน เมื่อตรากฎหมายขึ้นมาอย่างไรก็ต้องเคารพต่อกฎหมาย ปฎิบัติตามกฎหมายนั้น รู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ของตนไม่ก้าวก่ายกันมีหน้าที่อย่างไรก็ปฎิบัติไปอย่างนั้น มีสิทธิอย่างไรก็ควรจะใช้สิทธิอย่างนั้นภายในขอบเขตของกฎเกณฑ์ วินัยจึงเป็นรากฐานของประชาธิปไตย พระพุทธศาสนาได้วางหลักของวินัยที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ดังกล่าวนั้น
3.4 ความถูกต้อง-ถูกใจ ในพระพุทธศาสนาพระพุทธองค์ทรงถือความถูกต้องเป็นใหญ่มิได้ถือความถูกใจ เพราะถูกต้องกับถูกใจนั้นเป็นคนละเรื่องกัน บางครั้งบางเรื่องอาจเป็นไปอย่างถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ บางครั้งถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง จึงต้องถือความถูกต้องไว้เป็นหลักเพราะความถูกต้องนั้นเป็นเรื่องของธรรม ของส่วนรวม แต่ความถูกใจนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวเรื่องความเห็นแก่ตัวประชาธิปไตยนั้นเป็นหลักของการคำนึงถึงความผาสุกของส่วนรวม พระพุทธองค์ตรัสว่า “ปชาสุขํ มหตตมํ” ความผาสุกของประชาชนเป็นเลิศอย่างยิ่งในการใช้ความถูกต้องของพระพุทธเจ้านั้น ดังเช่นในคราวหนึ่งพระภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลถามพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องโลกนี้ โลกหน้า มีหรือไม่ สรีระนี้กับสรีระหน้าอันเดียวกันหรือไม่คนเราตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ให้พระพุทธเจ้าทรงตอบ ถ้าไม่ทรงตอบจะขอลาสึกไม่บวชอยู่ต่อไป พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์เป็นเรื่องไม่ถูกต้องตามธรรมคำสั่งสอนแต่ถูกใจของผู้ถาม พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์ให้และตรัสแก่ภิกษุนั้นว่า เธอจะสึกหรือจะอยู่ก็เป็นเรื่องของเธอ อนาคตไม่ได้ตั้งเงื่อนไขที่จะตอบปัญหานี้ให้เป็นความสมัครใจของผู้บวชในศาสนานี้นี่เป็นเรื่องของประชาธิปไตยที่จะต้องใช้ความคิดไปในทางที่ถูกต้องอย่าถือความถูกใจของตนมาเป็นใหญ่
3.5 ความมีเหตุผล คำสอนของพระองค์ทรงแนะให้ใช้ปัญญาใคร่ครวญหาเหตุผลเช่น ในกาลามสูตรทรงสอนไม่ให้เชื่อโดยอาการ 10 อย่าง แต่ให้เชื่อโดยการพิจารณาคิดค้นหาเหตุผลและนำไปปฎิบัติในธรรมที่ได้ยินได้ฟังนั้นๆ เรื่องนี้ทรงสรรเสริญพระสารีบุตรเป็นตัวอย่าง
การที่พระพุทธศาสนาสอนให้ใช้เหตุผลก็เพื่อให้คนพ้นจากความโง่งมงายเชื่อในสิ่งที่ไม่ใช่สารประโยชน์ที่จะนำตนเองให้ออกจากทุกข์จึงได้สอนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็นจริงไม่สอนให้เชื่อในเรื่องฤกษ์ยามหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก ที่จะมาบันดาลให้เราได้รับความเจริญหรือความเสื่อมได้นอกจากตัวของตัวเอง สอนให้รู้จักความจริงในเรื่องความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพันที่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เนื่องจากการยึดถือในขันธ์ 5 สอนให้พึ่งตนเอง ไม่พาชีวิตไปผูกพันไว้กับสิ่งอื่น ให้เสริมสร้างคุณธรรมในตน ให้ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นไปจนเป็นเทวดา เป็นพรหมในชาตินี้ด้วยคุณธรรมไม่ใช่เป็นเทวดาหรือพรหมเมื่อตายแล้วสอนให้เชื่อในเรื่องของกรรมว่าด้วยการกระทำเป็นเหตุ ย่อมมีผลได้รับจากการกระทำนั้น ซึ่งตนเองเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่”พรหมลิขิต”สอนให้ใช้ปัญญาคิดค้นในสิ่งที่ถูกที่ควรอย่างมีอิสรเสรี มีเหตุผลตลอดเวลาจากรากฐานของธรรมาธิปไตยที่เป็นเครื่องประกอบของหลักประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ของพระพุทธศาสนาดังกล่าวนั้นพระพุทธศาสนาจึงเป็นสถาบันที่มีการใช้หลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงไม่มีปัญหาอันใด แต่ในสังคมของชาวโลกเหตุที่ประชาธิปไตยยังมีปัญหาไม่ดำเนินไปอย่างราบรื่นเรียบร้อยก็เพราะเป็นการใช้หลักประชาธิปไตยที่ปราศจากหลักของธรรมาธิปไตยดังได้กล่าวมาด้วยประการฉะนี้
ในสมัยข้าพเจ้าเป็นเด็กนักเรียนบ้านนอก หลังจากโรงเรียนเลิกหรือวันโรงเรียนหยุด ข้าพเจ้าจะช่วยบิดาเลี้ยงควายในท้องทุ่งนอกจากควายของบิดาข้าพเจ้าแล้วก็ยังมีของผู้อื่นในละแวกเดียวกันในท้องทุ่งจึงมีควายฝูงใหญ่พอสมควรทีเดียวควายทุกตัวมันจะแทะเล็มหญ้าไปอย่างเพลิดเพลินทุกตัวไม่เกะกะเกเรกัน ตลอดเวลาจนถึงยามเย็นมากแล้วจะมีบางตัวเข้าจับกลุ่มกันเพื่อเดินทางลงหนองน้ำแช่ตัวดื่มกินตามที่ต้องการ ขณะนั้นก็จะมีตัวอื่นๆอีกเดินตามกันไปทั้งหมดทุกตัวหยุดและเล็มหญ้าทันทีเพื่อลงหนองน้ำโดยพร้อมเพรียงกันจากนั้นสักพักใหญ่หลังจากแช่ตัวจนพอใจแล้ว กลุ่มแรกที่เดินลงก็จะเดินขึ้นจากหนองน้ำทุกตัวต่างก็ตามกันขึ้นด้วยอย่างมีระเบียบเช่นกันเวลานั้นข้าพเจ้าไม่ได้คิดอะไรถึงขณะนี้ พอจะนึกได้ว่าแม้สัตว์เดียรัจฉานทำไมจึงได้มีการแสดงออกเช่นนั้น ความจริงเป็นลักษณะของการปฎิบัติตามกันในความเห็นของหมู่มากถ้าหมู่มากเขาจะเอาอย่างไร ทุกๆหน่วยของสมาชิกในหมู่นั้นก็เห็นด้วยและทำอย่างนั้นนี่ไม่เฉพาะในหมู่ของควาย แม้สัตว์เดียรัจฉานอื่นก็เป็นได้ เช่น เป็ด ไก่นก ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันพฤติกรรมของสัตว์อย่างนั้นอาจสงเคราะห์ได้กับหลักประชาธิปไตยของมนุษย์ที่เรียกหากันอยู่ทุกวันนี้ก็ได้ส่วนในหมู่มนุษย์นั้นคำว่า “ประชาธิปไตย” มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นเองเพราะถือว่ามีมันสมองเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้นถ้าลักษณะของการแสดงออกก็ดี แนวความคิดก็ดีจะขัดแย้งกันบ้าง แต่เมื่อยอมรับให้ไปกันได้กับเสียงส่วนใหญ่แล้วก็เรียกกว่าการมีประชาธิปไตยว่าโดยความหมายก็คือ ถือความเป็นใหญ่ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งจะเป็นในหลักของการปกครองการบริหาร หรือการกระทำกิจกรรมร่วมกันประการใดก็ตามเช่นในหลักการบริหารประเทศรัฐธรรมนูญกำหนดว่าอำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทยคือ อำนาจในความเป็นใหญ่การกำหนดทิศทางวางแผนการบริหารประเทศเป็นของประชาชนชาวไทยทุกคน ในทางปฎิบัติเรายอมรับในการเลือกตัวแทนไปทำหน้าที่แทนในรัฐสภา เรียกว่าผู้แทนราษฎรการประชุมร่างกฎหมาย แก้ไข ยกเลิกกฎหมายก็ต้องกระทำกันตามความเห็นของเสียงส่วนใหญ่จากผู้แทนราษฎรนั้น นี่เรียกว่าหลักประชาธิปไตยของมนุษย์ส่วนจะผิดจะถูกอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป นอกจากนั้นประชาธิปไตยยังหมายถึงการมีอิสรเสรีในการพูด การเขียนและการกระทำอื่นๆภายในขอบเขตของกฎหมายด้วยในโลกนี้มีประเทศที่มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยกันหลายประเทศทั้งที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแต่ในสังคมของคนที่ยังต่างความคิดกันอยู่การดำเนินการใดๆ แม้จะกระทำไปตามมติของส่วนใหญ่ซึ่งเป็นกติกาที่ตกลงกันไว้แล้วก็ตาม ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะการที่คนไม่เข้าใจหลักประชาธิปไตยประการหนึ่งหรือเข้าใจแต่ไม่อยากจะยอมรับกติกาประการหนึ่ง หลักประชาธิปไตยของสังคมมนุษย์ในโลกจึงหาจุดแน่นอนไม่ได้ทั้งอาจมีปัญหาตลอดกาลก็เป็นได้ในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าแสดงไว้ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัญณาสก์ หมวด 50 สูตรที่ 1 วรรค 4 ชื่อ เทวทูตวรรค ทรงแสดงอธิปไตย คือความเป็นใหญ่ไว้เป็น 3 ประการคือ
1. อัตตธิปไตย คือการปรารภตนเป็นใหญ่อำนาจอยู่ในคนๆเดียว ซึ่งเป็นได้ทั้งระบบกษัตราธิปไตยหรือระบบเผด็จการ การปกครองในระบบ อัตตาธิปไตยนี้จะนับว่าเป็นระบบที่ไม่ดีเสียทีเดียวก็ไม่ได้แต่อาจจะเป็นการปกครองที่ดีที่สุดแบบหนึ่งด้วยเพราะการมีอำนาจสิทธิ์ขาดในคนๆเดียว อาจทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองไปรวดเร็วก็ได้หรืออาจจะทำให้บ้านเมืองหายนะเร็วก็ได้เหมือนกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าก็เคยปกครองในแบบอัตตาธิปไตยหรือเอกาธิปไตยเหมือนกัน ในสมัยที่พระองค์ทรงประกาศศาสนาใหม่ๆ ถ้าจะเปรียบเทียบแล้วก็เหมือนพระพุทธเจ้าเป็นเผด็จการเพราะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่พระองค์เพียงองค์เดียว เช่นการจะให้กุลบุตรคนใดคนหนึ่งมาบวชในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ก็จะตรัสเพียงสองคำว่า เอหิภิกขุ อุปสมปทา เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด ก็เป็นพระแล้วไม่ต้องทำพิธีอะไรมากมาย แต่เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้อยู่เหนือโลกไม่ใช่อยู่ในอำนาจของโลกีย์วิสัยแล้ว ฉะนั้นแม้การปกครองแบบอัตตธิปไตยก็เป็นการปกครองที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ เป็นการเริ่มต้นที่พระองค์จะทรงปฎิวัติหรือปฎิรูปสังคมจึงจำเป็นต้องวางรากฐานให้มั่นคงก่อน ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะต้องได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีใจบริสุทธิ์จริงๆเข้ามาช่วยทำจึงจะทำให้การปกครองของสังคมนั้นๆ เป็นไปอย่างมีขั้นตอนปราศจากปัญหาใดๆ
2. โลกาธิปไตย การปรารถโลกเป็นใหญ่เป็นการปกครองที่ยึดเสียงของคนหมู่มากเป็นใหญ่แล้วแต่สังคมจะไปทางไหนยังไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลว่าจะดีหรือไม่ดีถ้าส่วนใหญ่ว่าอย่างไรก็เอาอย่างนั้น การปกครองลักษณะนี้จัดเข้ากันได้กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ชาวโลกกำหนดให้เป็นการปกครองระบบหนึ่งเหมือนกันคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เน้นหนักไปในทางประชาธิปไตย คือหลักประชาธิปไตยมีความสอดคล้องกับหลักของพระพุทธศาสนาหลายประการแต่อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่าพระพุทธองค์ทรงอยู่เหนือโลกนอกอำนาจของโลกียวิสัย ระบบโลกาธิปไตยหรือหลักประชาธิปไตยของพระพุทธศาสนาจึงเป็นไปด้วยเหตุผลและคำนึงถึงสิ่งที่ถูกต้องประการเดียว ผิดกับหลักประชาธิปไตยของชาวโลกดังที่กล่าวในข้อ 1 ว่า อัตตาธิปไตย พระองค์ทรงเป็นเผด็จการในระยะแรกเมื่อปูฐานของศาสนาเพื่อการเผยแผ่อย่างมีประสิทธิภาพแล้วพระองค์ก็ทรงอนุญาตให้พระอรหันต์สาวกทั้งหลายอุปสมบทแก่กุลบุตรได้โดยไม่ต้องนำไปเฝ้าพระองค์ การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่าแบบ”ติสรณคมณูปสมปทา”การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกเป็นคล้ายแบบคณาธิปไตยคือกล่าวคำนึงถึงพระรัตนตรัยต่อพระอรหันต์สาวกที่พระพุทธองค์ได้ทรงมอบหมายแล้วก็เป็นภิกษุได้ต่อเมื่อมีพระสงฆ์เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าการปกครองแบบนั้นเป็นการดีเฉพาะบางยุคบางสมัยเท่านั้น ไม่ดีตลอดไปเพราะหากว่าบุคคลที่มามีอำนาจต่อไปไม่มีศีลธรรมการปกครองก็จะล้มเหลว ฉะนั้นต่อมาพระพุทธองค์จึงได้มอบหมายให้คณะสงฆ์เป็นใหญ่ในการปกครองจนกระทั่งการปกครองในระยะหลังในการอุปสมบทหรือการรับกุลบุตรเข้าสู่หมู่คณะจึงกระทำโดยวิธี “ญัตติจตุถกรรมวาจา” เช่นการบวชอยู่ในปัจจุบันนี้โดยมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ หมายถึงการประชุมสงฆ์ในการทำสังฆกรรมใดๆก็ตามต้องเป็นโดยเสียงส่วนใหญ่ของหมู่คณะอย่างเอกฉันท์ นี่เป็นหลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา 3. ธรรมมาธิปไตย การปรารภธรรมคือเหตุผล ความถูกต้อง ความดี ความงามเป็นใหญ่ ฉะนั้นระบบโลกาธิปไตยหรือประชาธิปไตยดังที่กล่าวข้างต้นจะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์จะต้องมีความเคารพในธรรม ความถูกต้องและเหตุผล พระพุทธองค์ทรงยกย่องธรรมาธิปไตยว่าเป็นเลิศ หมู่คณะของสงฆ์ที่เป็นใหญ่ในการปกครองดูแลจึงต้องเป็นคณะสงฆ์ที่มีหลักของธรรมธิปไตย คือยึดเหตุผล ความถูกต้องและความดีงามเป็นหลักด้วย กล่าวโดยใจความก็คือหลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนาจะต้องอาศัยหลักของธรรมธิปไตยเป็นเครื่องประกอบด้วยแต่ธรรมาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้โดยสมบูรณ์ก็ต้องประกอบด้วยรากฐานที่สำคัญดังนี้ 3.1 ความเสมอภาค พุทธศาสนาถือว่ามนุษย์ทุกคนมีสภาพเป็นเวไนยสัตว์ คือสอนได้ เรียนได้ ปรับปรุงตนเองได้ มนุษย์จึงมีสภาพเท่าเทียมกันไม่ว่ายากจน มั่งมีผู้ดี ไพร่ สูง ต่ำ ดำ ขาวทุกคนมีโอกาสบรรลุธรรมขั้นสูงถึงความพ้นทุกข์ได้ หากใช้ความเพียรปฎิบัติโดยถูกต้องและปฎิบัติตามคำสั่งสอนดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้โดยย่อว่า “กุลบุตรจากสกุลกษัตริย์หรือพราหมณ์หรือแพศย์หรือศูทรก็ตาม ได้อาศัยธรรมและวินัยอันตถาคตประกาศแล้วย่อมประสบความสำเร็จและนำตนให้ออกจากทุกข์ได้” หรือแม้ในหลักเกณฑ์การมีเครื่องนุ่งห่มภิกษุเก่าหรือภิกษุผู้มาใหม่จะแก่พรรษาหรืออ่อนพรรษากว่ากันก็มีความเสมอภาคคือ มีผ้ากาสาวพัสตร์ที่เหมือนกันหมด 3.2 ความมีเสรีภาพ พระองค์ทรงสั่งสอนและทรงส่งเสริมให้มนุษย์มีสิทธิเท่าเทียมกันให้เลิกระบบทาสไม่มีการซื้อขายมนุษย์ห้ามภิกษุมีทาสไว้รับใช้ ที่สุดทรงสอนให้เลิกทาสภายในได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง และให้มีเสรีภาพในการประพฤติปฎิบัติให้ถูกต้องตามหลักคำสอนโดยที่ไม่ได้กำหนดโทษให้ปรากฏในทางวัตถุหรือทางร่างกายแต่ได้กำหนดให้ได้รับผลทางจิตใจในการที่จะควบคุมตักเตือนตนเอง หากประพฤติปฎิบัตินอกลู่นอกทางจากคำสั่งสอน ก็จะได้รับโทษที่ให้ผลเป็นทุกข์ทางใจของตนเองที่เรียกว่า “อาบัติ” เราจึงเห็นกันว่าพระภิกษุทั่วๆไปในสายตาของชาวบ้านจะมองไม่ออกว่าองค์ใดได้ประพฤติผิดล่วงธรรม ล่วงวินัยไปแล้วอย่างใดบ้างนั่นเป็นลักษณะเสรีภาพในการควบคุมตนเองให้อยู่กับการประพฤติปฎิบัติต่อคำสั่งสอนที่ถูกต้องต่อไป 3.3 ความมีศีลและวินัย พระพุทธศาสนายืนยาวมากว่า 2,000 ปี ก็เพราะพระสงฆ์มีวินัย พระพุทธองค์ทรงปกครองสงฆ์ด้วยธรรมาธิปไตยคือให้พระสงฆ์มีวินัย เมื่อพระสงฆ์มีวินัยก็สามารถปกครองตนเองได้ดีมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในตัวเองเพราะประชาธิปไตยจะมีโดยสมบูรณ์ต่อเมื่อทุกคนได้รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง รับผิดชอบตนเอง เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่นไม่ล่วงเกินก้าวก่ายกันเพราะพระสงฆ์อาจจะต้องไปอยู่ป่าองค์เดียว อยู่ถ้ำองค์เดียวหรือจาริกไปองค์เดียว จึงต้องมีศีล มีวินัย คุ้มครองดูแลตนเองหรือถ้าจะเข้าสู่หมู่คณะก็จะต้องรักษากาย วาจา ใจ ที่จะประพฤติปฎิบัติต่อกันอย่างไร ต่ออุปัชฌาย์อย่างไร ต่อที่ประชุมอย่างไร วินัยที่กำหนดให้เคารพต่อกันระหว่างผู้มีพรรษาแก่อ่อนกว่ากันไม่ว่าชาติตระกูลจะเป็นอย่างไร พระสงฆ์ต้องเคารพต่อพระธรรมความถูกต้องเป็นใหญ่ในการที่จะยอมรับกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันเพราะถ้าสังคมใดไม่เคารพต่อกฎหมายกติกาสังคมแล้วย่อมวุ่นวายเดือดร้อน เมื่อตรากฎหมายขึ้นมาอย่างไรก็ต้องเคารพต่อกฎหมาย ปฎิบัติตามกฎหมายนั้น รู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ของตนไม่ก้าวก่ายกันมีหน้าที่อย่างไรก็ปฎิบัติไปอย่างนั้น มีสิทธิอย่างไรก็ควรจะใช้สิทธิอย่างนั้นภายในขอบเขตของกฎเกณฑ์ วินัยจึงเป็นรากฐานของประชาธิปไตย พระพุทธศาสนาได้วางหลักของวินัยที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ดังกล่าวนั้น 3.4 ความถูกต้อง-ถูกใจ ในพระพุทธศาสนาพระพุทธองค์ทรงถือความถูกต้องเป็นใหญ่มิได้ถือความถูกใจ เพราะถูกต้องกับถูกใจนั้นเป็นคนละเรื่องกัน บางครั้งบางเรื่องอาจเป็นไปอย่างถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ บางครั้งถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง จึงต้องถือความถูกต้องไว้เป็นหลักเพราะความถูกต้องนั้นเป็นเรื่องของธรรม ของส่วนรวม แต่ความถูกใจนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวเรื่องความเห็นแก่ตัวประชาธิปไตยนั้นเป็นหลักของการคำนึงถึงความผาสุกของส่วนรวม พระพุทธองค์ตรัสว่า “ปชาสุขํ มหตตมํ” ความผาสุกของประชาชนเป็นเลิศอย่างยิ่งในการใช้ความถูกต้องของพระพุทธเจ้านั้น ดังเช่นในคราวหนึ่งพระภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลถามพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องโลกนี้ โลกหน้า มีหรือไม่ สรีระนี้กับสรีระหน้าอันเดียวกันหรือไม่คนเราตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ให้พระพุทธเจ้าทรงตอบ ถ้าไม่ทรงตอบจะขอลาสึกไม่บวชอยู่ต่อไป พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์เป็นเรื่องไม่ถูกต้องตามธรรมคำสั่งสอนแต่ถูกใจของผู้ถาม พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์ให้และตรัสแก่ภิกษุนั้นว่า เธอจะสึกหรือจะอยู่ก็เป็นเรื่องของเธอ อนาคตไม่ได้ตั้งเงื่อนไขที่จะตอบปัญหานี้ให้เป็นความสมัครใจของผู้บวชในศาสนานี้นี่เป็นเรื่องของประชาธิปไตยที่จะต้องใช้ความคิดไปในทางที่ถูกต้องอย่าถือความถูกใจของตนมาเป็นใหญ่ 3.5 ความมีเหตุผล คำสอนของพระองค์ทรงแนะให้ใช้ปัญญาใคร่ครวญหาเหตุผลเช่น ในกาลามสูตรทรงสอนไม่ให้เชื่อโดยอาการ 10 อย่าง แต่ให้เชื่อโดยการพิจารณาคิดค้นหาเหตุผลและนำไปปฎิบัติในธรรมที่ได้ยินได้ฟังนั้นๆ เรื่องนี้ทรงสรรเสริญพระสารีบุตรเป็นตัวอย่างการที่พระพุทธศาสนาสอนให้ใช้เหตุผลก็เพื่อให้คนพ้นจากความโง่งมงายเชื่อในสิ่งที่ไม่ใช่สารประโยชน์ที่จะนำตนเองให้ออกจากทุกข์จึงได้สอนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็นจริงไม่สอนให้เชื่อในเรื่องฤกษ์ยามหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก ที่จะมาบันดาลให้เราได้รับความเจริญหรือความเสื่อมได้นอกจากตัวของตัวเอง สอนให้รู้จักความจริงในเรื่องความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพันที่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เนื่องจากการยึดถือในขันธ์ 5 สอนให้พึ่งตนเอง ไม่พาชีวิตไปผูกพันไว้กับสิ่งอื่น ให้เสริมสร้างคุณธรรมในตน ให้ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นไปจนเป็นเทวดา เป็นพรหมในชาตินี้ด้วยคุณธรรมไม่ใช่เป็นเทวดาหรือพรหมเมื่อตายแล้วสอนให้เชื่อในเรื่องของกรรมว่าด้วยการกระทำเป็นเหตุ ย่อมมีผลได้รับจากการกระทำนั้น ซึ่งตนเองเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่”พรหมลิขิต”สอนให้ใช้ปัญญาคิดค้นในสิ่งที่ถูกที่ควรอย่างมีอิสรเสรี มีเหตุผลตลอดเวลา
จากรากฐานของธรรมาธิปไตยที่เป็นเครื่องประกอบของหลักประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ของพระพุทธศาสนาดังกล่าวนั้นพระพุทธศาสนาจึงเป็นสถาบันที่มีการใช้หลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงไม่มีปัญหาอันใด แต่ในสังคมของชาวโลกเหตุที่ประชาธิปไตยยังมีปัญหาไม่ดำเนินไปอย่างราบรื่นเรียบร้อยก็เพราะเป็นการใช้หลักประชาธิปไตยที่ปราศจากหลักของธรรมาธิปไตยดังได้กล่าวมาด้วยประการฉะนี้
1.2 รู้ความหมายพระไตรปิฎกดี (สาตฺถํ) คือ ต้องอ่านคำสอนที่ท่านแปลจากพระไตรปิฎกเป็นภาษาของตน เช่น พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นไทย พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำอธิบายที่เรียกว่า อรรถกถา
1.3 มีความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ดี โดยเฉพาะในแง่ ประยุกตวิทยา (Technology) อย่างน้อยที่สุดก็สามารถจับประเด็นหลักของวิทยาการนั้นๆ ได้ว่า ด้วยเรื่องอะไร สามารถนำมาเทียบเคียงสงเคราะห์กับพุทธธรรมได้ในแง่ใดบ้าง
1.4 มีจิตใจเปิดกว้าง (open mind) ตามแนวกาลามสูตร ที่ว่า อย่าเชื่อเพียงเพราะฟังตามกันมา ฯลฯ ผู้นี้เป็นครูของเรา สามารถจะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยจิตเยือกเย็น และตอบโต้ได้อย่างมั่นคง และด้วยเหตุด้วยผลจากการปฏิบัติของตนเอง
เมื่อมีความรู้พื้นฐานแล้วก็ต้องมีหลักในการวิจารณ์ดังนี้
1. ตั้งข้อสงสัย (ปุจฉา) ว่าสิ่งนั้น คืออะไร มาจากไหน เพื่ออะไร และโดยวิธีใด ตามหลักอริยสัจ
2. ค้นคว้าหาคำตอบตามแนว ธรรมวินัย คือ วิจัยธรรม เพราะธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านั้นมีคุณลักษณะหนึ่ง คือ เอหิ ปัสสิโก คือ เชิญมาดู (come and see) เชิญมาพิสูจน์ค้นคว้าทดลองปฏิบัติ อย่างน้อยที่สุด คือการรวบรวมข้อมูลอันเกี่ยวกับธรรมด้านนั้นๆ ว่ามีอยู่ที่ใดบ้าง มีคำอธิบายเดิมอย่างไร และจะนำมาตีความกับโลกยุคสมัยปัจจุบันได้อย่างไร
3. หาข้อสรุป หาข้อยุติที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น อย่าหาข้อสรุปที่มุ่งเอาแพ้เอาชนะอย่างเดียว อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอลคัททูปมสูตรว่า การศึกษาวิจารณ์นั้นมี 3 แบบ คือ 3.1 ศึกษาเพื่อข่มผู้อื่น เอาชนะผู้อื่น อย่างนี้เป็นศึกษาการวิจารณ์ที่เรียกว่า งูพิษ ทำให้เกิดการโทษแก่ตนเอง
3.2 ศึกษาวิจารณ์ เพื่อหาแนวทางให้เกิดการออกไปจากทุกข์ เพื่อให้เกิดการดับทุกข์ แนวธรรมสากัจฉา ก็อาศัยแนวนี้ จึงเกิดมงคลแก่ผู้สนทนาธรรม และทำให้พ้นทุกข์ได้ เป็น นิสสรณปริยัติ. 3.3 ศึกษาวิจารณ์ เพื่อเป็นตัวอย่างผู้อื่น เพื่อให้เกิดแนวคิดกระตุ้นแรงเร้าในการปฏิบัติธรรมแก่ศิษย์และรุ่นน้องๆ เรียกว่า แบบเรือนคลังภัณฑาคาริก ปริยัติ
ต่อไปนี้จะได้ตั้งประเด็นวิจารณ์เป็นข้อๆ ไปในเรื่องที่เห็นว่า สมควรแก่การวิจารณ์
2. หลักประชาธิปไตย
คำว่า "ประชาธิปไตย" หรือ "Democracy"เป็นคำที่ใช้มานานตั้งแต่สมัยกรีกโบราณรุ่งเรือง ซึ่งมุ่งแสดงถึงการปกครองที่ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการแสดงออก มีส่วนร่วมในการปกครองโดยเลือกผู้แทนเข้าไปนั่งในสภาบริหารและสภานิติบัญญัติ ผู้ให้คำนิยามแก่การปกครองแบบประชาธิปไตยที่กระชับและสั้น คือ ลิงคอล์น ที่ว่าประชาธิปไตย คือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชนหลักของประชาธิปไตย คือให้อำนาจแก่ประชาชน ทั้งทางนิติบัญญัติ บริหาร และด้านพิจารณาอรรถคดี ที่เรียกว่า ตุลาการ อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวถึงหลักของประชาธิปไตยว่า มี 5 หลักด้วยกันคือ
1. หลักเสรีภาพ (Liberty) ซึ่งต้องประกอบด้วย สิทธิ หน้าที่ อิสรภาพ และสมภาพ จะต้องอยู่ร่วมกัน
2. หลักความเสมอภาค (Equality) คือความเท่าเทียมกัน ในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐ
3. หลักเหตุผล (Rationality) การตัดสินความขัดแย้งด้วยเหตุผล
4. การตัดสินโดยเสียงข้างมาก (Majority) เสียงข้างน้อย ได้รับการคุ้มครอง (Majority rule, and minority right)
5. การผลัดเปลี่ยนกันหมุนเวียนดำรงตำแหน่ง (Rotation) ไม่ผูกขาดแต่คนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เพียงผู้เดียว.
3. แนวความคิดประชาธิปไตยในพระไตรปิฎก
3.1 แนวความคิดเรื่องประชาธิปไตยแนวพระวินัยปิฎก
จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อเป็นแนวในการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ แต่การบัญญัติวินัยนั้นก็ทรงบัญญัติเป็นพระสงฆ์มิได้บัญญัติตามลำพัง ต้องให้เกิดเรื่องก่อน แล้วประชุมสอบสวนแล้วบัญญัติพระวินัยท่ามกลางพระสงฆ์ ด้วยความเห็นชอบของพระสงฆ์ต่างพร้อมใจกันนำไปปฏิบัติ การทำกรรมต่างๆ ของสงฆ์ ยกเว้นอปโลกนกรรม ล้วนให้ทำเป็นการสงฆ์ทั้งสิ้น กล่าวคือ
ญัตติกรรม-ทำด้วยสงฆ์จตุวรรค คือ 4 รูปขึ้นไป เช่นการสวดปาติโมกข์
ญัตติทุติยกรรม-ทำด้วยสงฆ์ปัญจวรรคคือ 5 รูปขึ้นไป เช่น เรื่องกฐินญัตติจตุตถกรรม-ทำด้วยสงฆ์ ทสวรรค คือ ตั้งแต่ 10 รูปขึ้นไปยกเว้นในที่กันดาร เช่นการอุปสมบทการให้มานัตต์ การสวดอัพภาน ก็ต้องใช้สงฆ์ตั้งแต่ 21 รูปขึ้นไป จึงกล่าวได้ว่า
พระวินัย คือ รัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ
พระสงฆ์ คือ สมาชิกสภาผู้แทน
คุณสมบัติของพระสงฆ์ คือ คุณสมบัติของสมาชิก
อำนาจพระสงฆ์ คือ อำนาจอธิปไตย
อธิกรณ์สงฆ์ทั้ง 4 คือ
ก. วิวาทาธิกรณ์-การขัดแย้งกันเกี่ยวกับธรรมวินัย
ข. อนุวาทาธิกรณ์-การโจทก์กันด้วยอาบัติต่างๆ
ค. อาปัตตาธิกรณ์-การละเมิดอาบัติต่างๆ
ง. กิจจาธิกรณ์-กิจของสงฆ์ที่เกิดขึ้นที่จะพึงทำด้วยสงฆ์จำนวนต่างๆ
ต่างก็จะต้องระงับด้วยวิธีการที่เรียกว่า อธิกรณสมถะ 7 คือ
1. สัมมุขาวินัย ระงับต่อหน้าสงฆ์ต่อหน้าบุคคลต่อหน้าวัตถุ
2. สติวินัย การระงับด้วยการให้เกียรติแก่พระอรหันต์ ผู้มีสติสมบูรณ์
3. อมูฬหกวินัย การระงับเหตุด้วยการยกเว้นให้แก่ผู้ทำผิดในขณะที่เป็นบ้า คือได้หลงไปแล้ว
4. เยภุยยสิกา ระงับด้วยเสียงข้างมากลงมติ
5. ปฏิญญาตกรณะ ระงับด้วยการทำตามปฏิญญา
6. ตัสสปาปิยสิกากรรม ระงับด้วยการลงโทษศัตรูผู้ถูกสอบสวนแล้วพูดไม่อยู่กับร่องกับรอย ให้
การรับแล้วปฏิเสธ ปฏิเสธแล้วรับเป็นต้น
7. ติณวัตถารกวินัย ระงับด้วยการประนีประนอมทั้งสองฝ่าย ดุจเอาหญ้าทับสิ่งสกปรกไว้ไม่ให้มีกลิ่นทั้งอธิกรณ์และการระงับต้องทำเป็นการสงฆ์เป็นส่วนใหญ่ ดุจการตั้งกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ฉะนั้นจึงเป็นการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมและในการประชุมทำกรรมต่างๆ เป็นการสงฆ์นั้น ต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ จริงๆ ถ้ามีข้อข้องใจมีสิทธิ ยับยั้ง (Veto) ได้แม้เพียงเสียงเดียวสงฆ์ทั้งหมดก็ต้องฟังดังท้ายกรรมวาจาว่า "ยสฺสายสฺมโตขมติโส ตุณฺหสฺสยสฺส น ขมติ โส ภาเสยฺย"
"ถ้ากรรมนี้ ชอบใจต่อท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเงียบ ถ้าไม่ชอบใจต่อท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูดขึ้น"อนึ่งการทำกรรมอันใดก็ตาม พระวินัยจะต้องพร้อมเพรียงกัน ดังคำขึ้นต้น ของกรรมวาจาว่า"ยทิสงฺฆสฺสปตฺตกลฺลํ" ซึ่งแปลว่า "ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ พร้อมแล้ว... สงฆ์พึงทำ..." ดังนี้.นี้คือเนื้อความใน มหาขันธกะ มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 4
3.2 แนวความคิดเรื่องประชาธิปไตย ตามแนวพระสุตตันตปิฎก ซึ่งอาจนำมาเป็นประเด็นในการวิจารณ์ ได้ดังต่อไปนี้
1. หลักเสรีภาพทางความคิด พระพุทธเจ้าได้ให้โอกาสแก่ชาวกาลามะในการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ คำสอนของนักบวช ที่มาเผยแผ่คำสอนด้วยข้อความต่อไปนี้
"ดูกรกาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าเชื่อ เพียงเพราะ
· การฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
· การถือกันสืบๆ มา (มา ปรมฺปราย)
· ข่าวเล่าลือ (มา อิติกิราย)
· การอ้างตำรา (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
· การใช้ตรรกะ (มา ตกฺกเหตุ)
· การอนุมาน (มา นยเหตุ)
· การตรึกตรองตามอาการ (มา อาการปริวิตกฺเกน)
· เข้าได้กับทฤษฎีที่ตนคิดไว้ (มา ทิฏฺฐินิชฺฌานขนฺติยา)
· มองเห็นลักษณะว่าน่าเชื่อได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
· สมณะ นี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
ต่อเมื่อใดรู้เข้าใจ ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละ หรือ ถือปฏิบัติตามนั้น"
2. หลักความเสมอภาค ในพระธรรมวินัย จะเห็นได้จากหลักความอัศจรรย์ของพระธรรมวินัย 8 อย่างเปรียบเทียบกับความอัศจรรย์ของมหาสมุทร 8 อย่าง ดังนี้ 1. ธรรมวินัย หรือพระพุทธศาสนามีการศึกษาตามลำดับทำตามลำดับปฏิบัติตามลำดับ แทงตลอดอรหัตตมรรค ด้วยการทำต่อเนื่องดุจมหาสมุทรลุ่มลึกตามลำดับ 2. สาวกของพระพุทธเจ้าที่แท้ไม่ล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว แม้จะต้องสละชีวิตก็ยอม ดุจมหาสมุทรไม่ล้นฝั่ง 3. สงฆ์ ย่อมกันคนชั่วให้ห่างไกล ดุจทะเลซัดซากศพให้เข้าสู่ฝั่งฉะนั้น 4. วรรณะ 4 ออกบวชแล้วย่อมละซึ่งชื่อโคตร ในกาลก่อนถึงการนับว่าเป็นสมณศากยบุตร ดุจน้ำจากแม่น้ำทั้งหลาย เมื่อถึงมหาสมุทรแล้ว ก็เป็นน้ำมหาสมุทรอันเดียวกัน 5. แม้ฝนตก มหาสมุทรก็ไม่ปรากฏความพร่องและความเต็ม ฉันใด ภิกษุในธรรมวินัย ที่ดับกิเลสด้วยนิพพานธาตุ ย่อมไม่ทำนิพพานให้เต็ม 6. พระธรรมวินัย มีรสเดียว คือ วิมุตติรส-รสแห่งความหลุดพ้น ดุจมหาสมุทรมีรสเดียวคือ รสเค็ม (เอกรโส-โลณรโส, เอกรโส-วิมุตฺติรโส) 7. มหาสมุทรเต็มไปด้วยรัตนะนานาประการ ฉันใด พระธรรมวินัยก็มากด้วย ธรรมรัตนะ คือ สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, มรรค 8, ฉันนั้น8. มหาสมุทร เป็นที่อยู่ของสัตว์มีชีวิตใหญ่ๆ เช่น ปลาติมิติมังคลา ติปริมังคลา อสูร นาค คนธรรพ์ ฉันใด พระธรรมวินัยก็มีอริยบุคคล 4 และผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นอริยบุคคล 4 ฉันนั้น.เหตุนี้ จึงทำให้ภิกษุยินดียิ่งในธรรมวินัย.
3. หลักความเป็นพี่เป็นน้องกัน หรือ ภราดรภาพ คือ สหธรรมิก ผู้ปฏิบัติธรรมร่วมกัน ควรมีธรรมต่อไปนี้ก. สังคหวัตถุ 4 คือ แบ่งปัน, พุดไพเราะ, บำเพ็ญประโยชน์และวางตัวเคียงบ่าเคียงไหล่ ร่วมสุขร่วมทุกข์ ข. สาราณียธรรม 6 คือจะพูด จะทำ จะคิด ก็ประกอบด้วย เมตตาจิต แบ่งปันลาภกันอย่างทั่วถึง, มีศีลเสมอกันและมีทัศนะเสมอกัน. ค. หลักอปริหานิยธรรม 7 คือ- หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์- เมื่อประชุมก็พร้อมกันเข้าประชุม และพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม- ไม่ทำลายหลักการเดิม- เคารพผู้หลักผู้ใหญ่- คุ้มครองกุลสตรี มิให้ถูกข่มเหง- เคารพ เจดีย์ อนุสาวรีย์คนสำคัญของชาติ- ให้การคุ้มครองอารักขาสมณะชีพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในรัฐ 4. หลักการใช้อธิปไตย พระพุทธเจ้าทรงนิยม ธรรมาธิปไตย คือ เอาหลักการเป็นใหญ่ มิใช่ อัตตาธิปไตย เอาตนเป็นใหญ่ หรือ โลกาธิปไตย เอาโลกหรือพวกพ้องเป็นใหญ่ ดังพระองค์แสดงไว้อย่างชัดเจน"ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นมิใช่สภา"สัตบุรุษ คือ ผู้รู้จักเหตุผล-รู้จักคน รู้จักประมาณ-รู้จักกาล-รู้จักชุมชุม และรู้จักความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล จึงอาจกล่าวได้ว่า"พระธรรมวินัย ของพระพุทธเจ้าเป็นหลักการปกครองของพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ และเพื่อพระสงฆ์อันมีประโยชน์ 10 อย่าง เป็นเป้าหมาย คือ1. เพื่อหมู่คณะยอมรับว่าดี2. เพื่อให้หมู่คณะมีความผาสุก3. เพื่อข่มคนชั่ว4. เพื่อปกป้องคนดี5. เพื่อขจัดทุกข์ในปัจจุบัน6. เพื่อตัดทุกข์ในอนาคต7. เพื่อผู้ที่ยังไม่ศรัทธาได้มีความศรัทธา8. เพื่อรักษาจิตของคนที่ศรัทธาอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป9. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม คือ พระพุทธศาสนา10. เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย คือ หลักการอันดีงาม ของการอยู่ร่วมกันโดยสันติ อย่างที่เรียกว่า "มีสันติสุขในส่วนตน และสันติภาพในส่วนรวม" ฉะนี้แล
หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา Archived Posts from this Category ในสมัยข้าพเจ้าเป็นเด็กนักเรียนบ้านนอก หลังจากโรงเรียนเลิกหรือวันโรงเรียนหยุด ข้าพเจ้าจะช่วยบิดาเลี้ยงควายในท้องทุ่งนอกจากควายของบิดาข้าพเจ้าแล้วก็ยังมีของผู้อื่นในละแวกเดียวกันในท้องทุ่งจึงมีควายฝูงใหญ่พอสมควรทีเดียวควายทุกตัวมันจะแทะเล็มหญ้าไปอย่างเพลิดเพลินทุกตัวไม่เกะกะเกเรกัน ตลอดเวลาจนถึงยามเย็นมากแล้วจะมีบางตัวเข้าจับกลุ่มกันเพื่อเดินทางลงหนองน้ำแช่ตัวดื่มกินตามที่ต้องการ ขณะนั้นก็จะมีตัวอื่นๆอีกเดินตามกันไปทั้งหมดทุกตัวหยุดและเล็มหญ้าทันทีเพื่อลงหนองน้ำโดยพร้อมเพรียงกันจากนั้นสักพักใหญ่หลังจากแช่ตัวจนพอใจแล้ว กลุ่มแรกที่เดินลงก็จะเดินขึ้นจากหนองน้ำทุกตัวต่างก็ตามกันขึ้นด้วยอย่างมีระเบียบเช่นกันเวลานั้นข้าพเจ้าไม่ได้คิดอะไรถึงขณะนี้ พอจะนึกได้ว่าแม้สัตว์เดียรัจฉานทำไมจึงได้มีการแสดงออกเช่นนั้น ความจริงเป็นลักษณะของการปฏิบัติตามกันในความเห็นของหมู่มากถ้าหมู่มากเขาจะเอาอย่างไร ทุกๆหน่วยของสมาชิกในหมู่นั้นก็เห็นด้วยและทำอย่างนั้นนี่ไม่เฉพาะในหมู่ของควาย แม้สัตว์เดียรัจฉานอื่นก็เป็นได้ เช่น เป็ด ไก่นก ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันพฤติกรรมของสัตว์อย่างนั้นอาจสงเคราะห์ได้กับหลักประชาธิปไตยของมนุษย์ที่เรียกหากันอยู่ทุกวันนี้ก็ได้ส่วนในหมู่มนุษย์นั้นคำว่า “ประชาธิปไตย” มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นเองเพราะถือว่ามีมันสมองเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้นถ้าลักษณะของการแสดงออกก็ดี แนวความคิดก็ดีจะขัดแย้งกันบ้าง แต่เมื่อยอมรับให้ไปกันได้กับเสียงส่วนใหญ่แล้วก็เรียกกว่าการมีประชาธิปไตยว่าโดยความหมายก็คือ ถือความเป็นใหญ่ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งจะเป็นในหลักของการปกครองการบริหาร หรือการกระทำกิจกรรมร่วมกันประการใดก็ตามเช่นในหลักการบริหารประเทศรัฐธรรมนูญกำหนดว่าอำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทยคือ อำนาจในความเป็นใหญ่การกำหนดทิศทางวางแผนการบริหารประเทศเป็นของประชาชนชาวไทยทุกคน ในทางปฎิบัติเรายอมรับในการเลือกตัวแทนไปทำหน้าที่แทนในรัฐสภา เรียกว่าผู้แทนราษฎรการประชุมร่างกฎหมาย แก้ไข ยกเลิกกฎหมายก็ต้องกระทำกันตามความเห็นของเสียงส่วนใหญ่จากผู้แทนราษฎรนั้น นี่เรียกว่าหลักประชาธิปไตยของมนุษย์ส่วนจะผิดจะถูกอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป นอกจากนั้นประชาธิปไตยยังหมายถึงการมีอิสรเสรีในการพูด การเขียนและการกระทำอื่นๆภายในขอบเขตของกฎหมายด้วย ในโลกนี้มีประเทศที่มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยกันหลายประเทศทั้งที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแต่ในสังคมของคนที่ยังต่างความคิดกันอยู่การดำเนินการใดๆ แม้จะกระทำไปตามมติของส่วนใหญ่ซึ่งเป็นกติกาที่ตกลงกันไว้แล้วก็ตาม ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะการที่คนไม่เข้าใจหลักประชาธิปไตยประการหนึ่งหรือเข้าใจแต่ไม่อยากจะยอมรับกติกาประการหนึ่ง หลักประชาธิปไตยของสังคมมนุษย์ในโลกจึงหาจุดแน่นอนไม่ได้ทั้งอาจมีปัญหาตลอดกาลก็เป็นได้ ในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าแสดงไว้ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัญณาสก์ หมวด 50 สูตรที่ 1 วรรค 4 ชื่อ เทวทูตวรรค ทรงแสดงอธิปไตย คือความเป็นใหญ่ไว้เป็น 3 ประการคือ 1. อัตตธิปไตย คือการปรารภตนเป็นใหญ่อำนาจอยู่ในคนๆเดียว ซึ่งเป็นได้ทั้งระบบกษัตราธิปไตยหรือระบบเผด็จการ การปกครองในระบบอัตตาธิปไตยนี้จะนับว่าเป็นระบบที่ไม่ดีเสียทีเดียวก็ไม่ได้แต่อาจจะเป็นการปกครองที่ดีที่สุดแบบหนึ่งด้วยเพราะการมีอำนาจสิทธิ์ขาดในคนๆเดียว อาจทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองไปรวดเร็วก็ได้หรืออาจจะทำให้บ้านเมืองหายนะเร็วก็ได้เหมือนกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าก็เคยปกครองในแบบอัตตาธิปไตยหรือเอกาธิปไตยเหมือนกัน ในสมัยที่พระองค์ทรงประกาศศาสนาใหม่ๆ ถ้าจะเปรียบเทียบแล้วก็เหมือนพระพุทธเจ้าเป็นเผด็จการเพราะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่พระองค์เพียงองค์เดียว เช่นการจะให้กุลบุตรคนใดคนหนึ่งมาบวชในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ก็จะตรัสเพียงสองคำว่า เอหิภิกขุ อุปสมปทา เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด ก็เป็นพระแล้วไม่ต้องทำพิธีอะไรมากมาย แต่เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้อยู่เหนือโลกไม่ใช่อยู่ในอำนาจของโลกีย์วิสัยแล้ว ฉะนั้นแม้การปกครองแบบอัตตธิปไตยก็เป็นการปกครองที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ เป็นการเริ่มต้นที่พระองค์จะทรงปฎิวัติหรือปฎิรูปสังคมจึงจำเป็นต้องวางรากฐานให้มั่นคงก่อน ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะต้องได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีใจบริสุทธิ์จริงๆเข้ามาช่วยทำจึงจะทำให้การปกครองของสังคมนั้นๆ เป็นไปอย่างมีขั้นตอนปราศจากปัญหาใดๆ
2. โลกาธิปไตย การปรารถโลกเป็นใหญ่เป็นการปกครองที่ยึดเสียงของคนหมู่มากเป็นใหญ่แล้วแต่สังคมจะไปทางไหนยังไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลว่าจะดีหรือไม่ดีถ้าส่วนใหญ่ว่าอย่างไรก็เอาอย่างนั้น การปกครองลักษณะนี้จัดเข้ากันได้กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ชาวโลกกำหนดให้เป็นการปกครองระบบหนึ่งเหมือนกันคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เน้นหนักไปในทางประชาธิปไตย คือหลักประชาธิปไตยมีความสอดคล้องกับหลักของพระพุทธศาสนาหลายประการแต่อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่าพระพุทธองค์ทรงอยู่เหนือโลกนอกอำนาจของโลกีย์วิสัย ระบบโลกาธิปไตยหรือหลักประชาธิปไตยของพระพุทธศาสนาจึงเป็นไปด้วยเหตุผลและคำนึงถึงสิ่งที่ถูกต้องประการเดียว ผิดกับหลักประชาธิปไตยของชาวโลกดังที่กล่าวในข้อ 1 ว่า อัตตาธิปไตย พระองค์ทรงเป็นเผด็จการในระยะแรกเมื่อปูฐานของศาสนาเพื่อการเผยแผ่อย่างมีประสิทธิภาพแล้วพระองค์ก็ทรงอนุญาตให้พระอรหันต์สาวกทั้งหลายอุปสมบทแก่กุลบุตรได้โดยไม่ต้องนำไปเฝ้าพระองค์ การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่าแบบ”ติสรณคมณูปสมปทา”การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกเป็นคล้ายแบบคณาธิปไตยคือกล่าวคำนึงถึงพระรัตนตรัยต่อพระอรหันต์สาวกที่พระพุทธองค์ได้ทรงมอบหมายแล้วก็เป็นภิกษุได้ต่อเมื่อมีพระสงฆ์เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าการปกครองแบบนั้นเป็นการดีเฉพาะบางยุคบางสมัยเท่านั้น ไม่ดีตลอดไปเพราะหากว่าบุคคลที่มามีอำนาจต่อไปไม่มีศีลธรรมการปกครองก็จะล้มเหลว ฉะนั้นต่อมาพระพุทธองค์จึงได้มอบหมายให้คณะสงฆ์เป็นใหญ่ในการปกครองจนกระทั่งการปกครองในระยะหลังในการอุปสมบทหรือการรับกุลบุตรเข้าสู่หมู่คณะจึงกระทำโดยวิธี “ญัตติจตุถกรรมวาจา” เช่นการบวชอยู่ในปัจจุบันนี้โดยมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ หมายถึงการประชุมสงฆ์ในการทำสังฆกรรมใดๆก็ตามต้องเป็นโดยเสียงส่วนใหญ่ของหมู่คณะอย่างเอกฉันท์ นี่เป็นหลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
3. ธรรมาธิปไตย การปรารภธรรมคือเหตุผล ความถูกต้อง ความดี ความงามเป็นใหญ่ ฉะนั้นระบบโลกาธิปไตยหรือประชาธิปไตยดังที่กล่าวข้างต้นจะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์จะต้องมีความเคารพในธรรม ความถูกต้องและเหตุผล พระพุทธองค์ทรงยกย่องธรรมาธิปไตยว่าเป็นเลิศ หมู่คณะของสงฆ์ที่เป็นใหญ่ในการปกครองดูแลจึงต้องเป็นคณะสงฆ์ที่มีหลักของธรรมาธิปไตย คือยึดเหตุผล ความถูกต้องและความดีงามเป็นหลักด้วยกล่าวโดยใจความก็คือหลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนาจะต้องอาศัยหลักของธรรมาธิปไตยเป็นเครื่องประกอบด้วยแต่ธรรมาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้โดยสมบูรณ์ก็ต้องประกอบด้วยรากฐานที่สำคัญดังนี้
3.1 ความเสมอภาค พุทธศาสนาถือว่ามนุษย์ทุกคนมีสภาพเป็นเวไนยสัตว์ คือสอนได้ เรียนได้ ปรับปรุงตนเองได้ มนุษย์จึงมีสภาพเท่าเทียมกันไม่ว่ายากจน มั่งมีผู้ดี ไพร่ สูง ต่ำ ดำ ขาวทุกคนมีโอกาสบรรลุธรรมขั้นสูงถึงความพ้นทุกข์ได้ หากใช้ความเพียรปฎิบัติโดยถูกต้องและปฎิบัติตามคำสั่งสอนดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้โดยย่อว่า “กุลบุตรจากสกุลกษัตริย์หรือพราหมณ์หรือแพศย์หรือศูทรก็ตาม ได้อาศัยธรรมและวินัยอันตถาคตประกาศแล้วย่อมประสบความสำเร็จและนำตนให้ออกจากทุกข์ได้” หรือแม้ในหลักเกณฑ์การมีเครื่องนุ่งห่มภิกษุเก่าหรือภิกษุผู้มาใหม่จะแก่พรรษาหรืออ่อนพรรษากว่ากันก็มีความเสมอภาคคือ มีผ้ากาสาวพัสตร์ที่เหมือนกันหมด
3.2 ความมีเสรีภาพ พระองค์ทรงสั่งสอนและทรงส่งเสริมให้มนุษย์มีสิทธิเท่าเทียมกันให้เลิกระบบทาสไม่มีการซื้อขายมนุษย์ห้ามภิกษุมีทาสไว้รับใช้ ที่สุดทรงสอนให้เลิกทาสภายในได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง และให้มีเสรีภาพในการประพฤติปฎิบัติให้ถูกต้องตามหลักคำสอนโดยที่ไม่ได้กำหนดโทษให้ปรากฏในทางวัตถุหรือทางร่างกายแต่ได้กำหนดให้ได้รับผลทางจิตใจในการที่จะควบคุมตักเตือนตนเอง หากประพฤติปฎิบัตินอกลู่นอกทางจากคำสั่งสอน ก็จะได้รับโทษที่ให้ผลเป็นทุกข์ทางใจของตนเองที่เรียกว่า “อาบัติ” เราจึงเห็นกันว่าพระภิกษุทั่วๆไปในสายตาของชาวบ้านจะมองไม่ออกว่าองค์ใดได้ประพฤติผิดล่วงธรรม ล่วงวินัยไปแล้วอย่างใดบ้างนั่นเป็นลักษณะเสรีภาพในการควบคุมตนเองให้อยู่กับการประพฤติปฎิบัติต่อคำสั่งสอนที่ถูกต้องต่อไป
3.3 ความมีศีลและวินัย พระพุทธศาสนายืนยาวมากว่า 2,000 ปี ก็เพราะพระสงฆ์มีวินัย พระพุทธองค์ทรงปกครองสงฆ์ด้วยธรรมาธิปไตยคือให้พระสงฆ์มีวินัย เมื่อพระสงฆ์มีวินัยก็สามารถปกครองตนเองได้ดีมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในตัวเองเพราะประชาธิปไตยจะมีโดยสมบูรณ์ต่อเมื่อทุกคนได้รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง รับผิดชอบตนเอง เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่นไม่ล่วงเกินก้าวก่ายกันเพราะพระสงฆ์อาจจะต้องไปอยู่ป่าองค์เดียว อยู่ถ้ำองค์เดียวหรือจาริกไปองค์เดียว จึงต้องมีศีล มีวินัย คุ้มครองดูแลตนเองหรือถ้าจะเข้าสู่หมู่คณะก็จะต้องรักษากาย วาจา ใจ ที่จะประพฤติปฎิบัติต่อกันอย่างไร ต่ออุปัชฌาย์อย่างไร ต่อที่ประชุมอย่างไร วินัยที่กำหนดให้เคารพต่อกันระหว่างผู้มีพรรษาแก่อ่อนกว่ากันไม่ว่าชาติตระกูลจะเป็นอย่างไร พระสงฆ์ต้องเคารพต่อพระธรรมความถูกต้องเป็นใหญ่ในการที่จะยอมรับกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันเพราะถ้าสังคมใดไม่เคารพต่อกฎหมายกติกาสังคมแล้วย่อมวุ่นวายเดือดร้อน เมื่อตรากฎหมายขึ้นมาอย่างไรก็ต้องเคารพต่อกฎหมาย ปฎิบัติตามกฎหมายนั้น รู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ของตนไม่ก้าวก่ายกันมีหน้าที่อย่างไรก็ปฎิบัติไปอย่างนั้น มีสิทธิอย่างไรก็ควรจะใช้สิทธิอย่างนั้นภายในขอบเขตของกฎเกณฑ์ วินัยจึงเป็นรากฐานของประชาธิปไตย พระพุทธศาสนาได้วางหลักของวินัยที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ดังกล่าวนั้น
3.4 ความถูกต้อง-ถูกใจ ในพระพุทธศาสนาพระพุทธองค์ทรงถือความถูกต้องเป็นใหญ่มิได้ถือความถูกใจ เพราะถูกต้องกับถูกใจนั้นเป็นคนละเรื่องกัน บางครั้งบางเรื่องอาจเป็นไปอย่างถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ บางครั้งถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง จึงต้องถือความถูกต้องไว้เป็นหลักเพราะความถูกต้องนั้นเป็นเรื่องของธรรม ของส่วนรวม แต่ความถูกใจนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวเรื่องความเห็นแก่ตัวประชาธิปไตยนั้นเป็นหลักของการคำนึงถึงความผาสุกของส่วนรวม พระพุทธองค์ตรัสว่า “ปชาสุขํ มหตตมํ” ความผาสุกของประชาชนเป็นเลิศอย่างยิ่งในการใช้ความถูกต้องของพระพุทธเจ้านั้น ดังเช่นในคราวหนึ่งพระภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลถามพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องโลกนี้ โลกหน้า มีหรือไม่ สรีระนี้กับสรีระหน้าอันเดียวกันหรือไม่คนเราตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ให้พระพุทธเจ้าทรงตอบ ถ้าไม่ทรงตอบจะขอลาสึกไม่บวชอยู่ต่อไป พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์เป็นเรื่องไม่ถูกต้องตามธรรมคำสั่งสอนแต่ถูกใจของผู้ถาม พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์ให้และตรัสแก่ภิกษุนั้นว่า เธอจะสึกหรือจะอยู่ก็เป็นเรื่องของเธอ อนาคตไม่ได้ตั้งเงื่อนไขที่จะตอบปัญหานี้ให้เป็นความสมัครใจของผู้บวชในศาสนานี้นี่เป็นเรื่องของประชาธิปไตยที่จะต้องใช้ความคิดไปในทางที่ถูกต้องอย่าถือความถูกใจของตนมาเป็นใหญ่
3.5 ความมีเหตุผล คำสอนของพระองค์ทรงแนะให้ใช้ปัญญาใคร่ครวญหาเหตุผลเช่น ในกาลามสูตรทรงสอนไม่ให้เชื่อโดยอาการ 10 อย่าง แต่ให้เชื่อโดยการพิจารณาคิดค้นหาเหตุผลและนำไปปฎิบัติในธรรมที่ได้ยินได้ฟังนั้นๆ เรื่องนี้ทรงสรรเสริญพระสารีบุตรเป็นตัวอย่าง
การที่พระพุทธศาสนาสอนให้ใช้เหตุผลก็เพื่อให้คนพ้นจากความโง่งมงายเชื่อในสิ่งที่ไม่ใช่สารประโยชน์ที่จะนำตนเองให้ออกจากทุกข์จึงได้สอนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็นจริงไม่สอนให้เชื่อในเรื่องฤกษ์ยามหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก ที่จะมาบันดาลให้เราได้รับความเจริญหรือความเสื่อมได้นอกจากตัวของตัวเอง สอนให้รู้จักความจริงในเรื่องความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพันที่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เนื่องจากการยึดถือในขันธ์ 5 สอนให้พึ่งตนเอง ไม่พาชีวิตไปผูกพันไว้กับสิ่งอื่น ให้เสริมสร้างคุณธรรมในตน ให้ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นไปจนเป็นเทวดา เป็นพรหมในชาตินี้ด้วยคุณธรรมไม่ใช่เป็นเทวดาหรือพรหมเมื่อตายแล้วสอนให้เชื่อในเรื่องของกรรมว่าด้วยการกระทำเป็นเหตุ ย่อมมีผลได้รับจากการกระทำนั้น ซึ่งตนเองเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่”พรหมลิขิต”สอนให้ใช้ปัญญาคิดค้นในสิ่งที่ถูกที่ควรอย่างมีอิสรเสรี มีเหตุผลตลอดเวลาจากรากฐานของธรรมาธิปไตยที่เป็นเครื่องประกอบของหลักประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ของพระพุทธศาสนาดังกล่าวนั้นพระพุทธศาสนาจึงเป็นสถาบันที่มีการใช้หลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงไม่มีปัญหาอันใด แต่ในสังคมของชาวโลกเหตุที่ประชาธิปไตยยังมีปัญหาไม่ดำเนินไปอย่างราบรื่นเรียบร้อยก็เพราะเป็นการใช้หลักประชาธิปไตยที่ปราศจากหลักของธรรมาธิปไตยดังได้กล่าวมาด้วยประการฉะนี้
ในสมัยข้าพเจ้าเป็นเด็กนักเรียนบ้านนอก หลังจากโรงเรียนเลิกหรือวันโรงเรียนหยุด ข้าพเจ้าจะช่วยบิดาเลี้ยงควายในท้องทุ่งนอกจากควายของบิดาข้าพเจ้าแล้วก็ยังมีของผู้อื่นในละแวกเดียวกันในท้องทุ่งจึงมีควายฝูงใหญ่พอสมควรทีเดียวควายทุกตัวมันจะแทะเล็มหญ้าไปอย่างเพลิดเพลินทุกตัวไม่เกะกะเกเรกัน ตลอดเวลาจนถึงยามเย็นมากแล้วจะมีบางตัวเข้าจับกลุ่มกันเพื่อเดินทางลงหนองน้ำแช่ตัวดื่มกินตามที่ต้องการ ขณะนั้นก็จะมีตัวอื่นๆอีกเดินตามกันไปทั้งหมดทุกตัวหยุดและเล็มหญ้าทันทีเพื่อลงหนองน้ำโดยพร้อมเพรียงกันจากนั้นสักพักใหญ่หลังจากแช่ตัวจนพอใจแล้ว กลุ่มแรกที่เดินลงก็จะเดินขึ้นจากหนองน้ำทุกตัวต่างก็ตามกันขึ้นด้วยอย่างมีระเบียบเช่นกันเวลานั้นข้าพเจ้าไม่ได้คิดอะไรถึงขณะนี้ พอจะนึกได้ว่าแม้สัตว์เดียรัจฉานทำไมจึงได้มีการแสดงออกเช่นนั้น ความจริงเป็นลักษณะของการปฎิบัติตามกันในความเห็นของหมู่มากถ้าหมู่มากเขาจะเอาอย่างไร ทุกๆหน่วยของสมาชิกในหมู่นั้นก็เห็นด้วยและทำอย่างนั้นนี่ไม่เฉพาะในหมู่ของควาย แม้สัตว์เดียรัจฉานอื่นก็เป็นได้ เช่น เป็ด ไก่นก ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันพฤติกรรมของสัตว์อย่างนั้นอาจสงเคราะห์ได้กับหลักประชาธิปไตยของมนุษย์ที่เรียกหากันอยู่ทุกวันนี้ก็ได้ส่วนในหมู่มนุษย์นั้นคำว่า “ประชาธิปไตย” มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นเองเพราะถือว่ามีมันสมองเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้นถ้าลักษณะของการแสดงออกก็ดี แนวความคิดก็ดีจะขัดแย้งกันบ้าง แต่เมื่อยอมรับให้ไปกันได้กับเสียงส่วนใหญ่แล้วก็เรียกกว่าการมีประชาธิปไตยว่าโดยความหมายก็คือ ถือความเป็นใหญ่ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งจะเป็นในหลักของการปกครองการบริหาร หรือการกระทำกิจกรรมร่วมกันประการใดก็ตามเช่นในหลักการบริหารประเทศรัฐธรรมนูญกำหนดว่าอำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทยคือ อำนาจในความเป็นใหญ่การกำหนดทิศทางวางแผนการบริหารประเทศเป็นของประชาชนชาวไทยทุกคน ในทางปฎิบัติเรายอมรับในการเลือกตัวแทนไปทำหน้าที่แทนในรัฐสภา เรียกว่าผู้แทนราษฎรการประชุมร่างกฎหมาย แก้ไข ยกเลิกกฎหมายก็ต้องกระทำกันตามความเห็นของเสียงส่วนใหญ่จากผู้แทนราษฎรนั้น นี่เรียกว่าหลักประชาธิปไตยของมนุษย์ส่วนจะผิดจะถูกอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป นอกจากนั้นประชาธิปไตยยังหมายถึงการมีอิสรเสรีในการพูด การเขียนและการกระทำอื่นๆภายในขอบเขตของกฎหมายด้วยในโลกนี้มีประเทศที่มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยกันหลายประเทศทั้งที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแต่ในสังคมของคนที่ยังต่างความคิดกันอยู่การดำเนินการใดๆ แม้จะกระทำไปตามมติของส่วนใหญ่ซึ่งเป็นกติกาที่ตกลงกันไว้แล้วก็ตาม ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะการที่คนไม่เข้าใจหลักประชาธิปไตยประการหนึ่งหรือเข้าใจแต่ไม่อยากจะยอมรับกติกาประการหนึ่ง หลักประชาธิปไตยของสังคมมนุษย์ในโลกจึงหาจุดแน่นอนไม่ได้ทั้งอาจมีปัญหาตลอดกาลก็เป็นได้ในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าแสดงไว้ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัญณาสก์ หมวด 50 สูตรที่ 1 วรรค 4 ชื่อ เทวทูตวรรค ทรงแสดงอธิปไตย คือความเป็นใหญ่ไว้เป็น 3 ประการคือ
1. อัตตธิปไตย คือการปรารภตนเป็นใหญ่อำนาจอยู่ในคนๆเดียว ซึ่งเป็นได้ทั้งระบบกษัตราธิปไตยหรือระบบเผด็จการ การปกครองในระบบ อัตตาธิปไตยนี้จะนับว่าเป็นระบบที่ไม่ดีเสียทีเดียวก็ไม่ได้แต่อาจจะเป็นการปกครองที่ดีที่สุดแบบหนึ่งด้วยเพราะการมีอำนาจสิทธิ์ขาดในคนๆเดียว อาจทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองไปรวดเร็วก็ได้หรืออาจจะทำให้บ้านเมืองหายนะเร็วก็ได้เหมือนกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าก็เคยปกครองในแบบอัตตาธิปไตยหรือเอกาธิปไตยเหมือนกัน ในสมัยที่พระองค์ทรงประกาศศาสนาใหม่ๆ ถ้าจะเปรียบเทียบแล้วก็เหมือนพระพุทธเจ้าเป็นเผด็จการเพราะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่พระองค์เพียงองค์เดียว เช่นการจะให้กุลบุตรคนใดคนหนึ่งมาบวชในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ก็จะตรัสเพียงสองคำว่า เอหิภิกขุ อุปสมปทา เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด ก็เป็นพระแล้วไม่ต้องทำพิธีอะไรมากมาย แต่เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้อยู่เหนือโลกไม่ใช่อยู่ในอำนาจของโลกีย์วิสัยแล้ว ฉะนั้นแม้การปกครองแบบอัตตธิปไตยก็เป็นการปกครองที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ เป็นการเริ่มต้นที่พระองค์จะทรงปฎิวัติหรือปฎิรูปสังคมจึงจำเป็นต้องวางรากฐานให้มั่นคงก่อน ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะต้องได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีใจบริสุทธิ์จริงๆเข้ามาช่วยทำจึงจะทำให้การปกครองของสังคมนั้นๆ เป็นไปอย่างมีขั้นตอนปราศจากปัญหาใดๆ
2. โลกาธิปไตย การปรารถโลกเป็นใหญ่เป็นการปกครองที่ยึดเสียงของคนหมู่มากเป็นใหญ่แล้วแต่สังคมจะไปทางไหนยังไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลว่าจะดีหรือไม่ดีถ้าส่วนใหญ่ว่าอย่างไรก็เอาอย่างนั้น การปกครองลักษณะนี้จัดเข้ากันได้กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ชาวโลกกำหนดให้เป็นการปกครองระบบหนึ่งเหมือนกันคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เน้นหนักไปในทางประชาธิปไตย คือหลักประชาธิปไตยมีความสอดคล้องกับหลักของพระพุทธศาสนาหลายประการแต่อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่าพระพุทธองค์ทรงอยู่เหนือโลกนอกอำนาจของโลกียวิสัย ระบบโลกาธิปไตยหรือหลักประชาธิปไตยของพระพุทธศาสนาจึงเป็นไปด้วยเหตุผลและคำนึงถึงสิ่งที่ถูกต้องประการเดียว ผิดกับหลักประชาธิปไตยของชาวโลกดังที่กล่าวในข้อ 1 ว่า อัตตาธิปไตย พระองค์ทรงเป็นเผด็จการในระยะแรกเมื่อปูฐานของศาสนาเพื่อการเผยแผ่อย่างมีประสิทธิภาพแล้วพระองค์ก็ทรงอนุญาตให้พระอรหันต์สาวกทั้งหลายอุปสมบทแก่กุลบุตรได้โดยไม่ต้องนำไปเฝ้าพระองค์ การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่าแบบ”ติสรณคมณูปสมปทา”การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกเป็นคล้ายแบบคณาธิปไตยคือกล่าวคำนึงถึงพระรัตนตรัยต่อพระอรหันต์สาวกที่พระพุทธองค์ได้ทรงมอบหมายแล้วก็เป็นภิกษุได้ต่อเมื่อมีพระสงฆ์เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าการปกครองแบบนั้นเป็นการดีเฉพาะบางยุคบางสมัยเท่านั้น ไม่ดีตลอดไปเพราะหากว่าบุคคลที่มามีอำนาจต่อไปไม่มีศีลธรรมการปกครองก็จะล้มเหลว ฉะนั้นต่อมาพระพุทธองค์จึงได้มอบหมายให้คณะสงฆ์เป็นใหญ่ในการปกครองจนกระทั่งการปกครองในระยะหลังในการอุปสมบทหรือการรับกุลบุตรเข้าสู่หมู่คณะจึงกระทำโดยวิธี “ญัตติจตุถกรรมวาจา” เช่นการบวชอยู่ในปัจจุบันนี้โดยมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ หมายถึงการประชุมสงฆ์ในการทำสังฆกรรมใดๆก็ตามต้องเป็นโดยเสียงส่วนใหญ่ของหมู่คณะอย่างเอกฉันท์ นี่เป็นหลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา 3. ธรรมมาธิปไตย การปรารภธรรมคือเหตุผล ความถูกต้อง ความดี ความงามเป็นใหญ่ ฉะนั้นระบบโลกาธิปไตยหรือประชาธิปไตยดังที่กล่าวข้างต้นจะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์จะต้องมีความเคารพในธรรม ความถูกต้องและเหตุผล พระพุทธองค์ทรงยกย่องธรรมาธิปไตยว่าเป็นเลิศ หมู่คณะของสงฆ์ที่เป็นใหญ่ในการปกครองดูแลจึงต้องเป็นคณะสงฆ์ที่มีหลักของธรรมธิปไตย คือยึดเหตุผล ความถูกต้องและความดีงามเป็นหลักด้วย กล่าวโดยใจความก็คือหลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนาจะต้องอาศัยหลักของธรรมธิปไตยเป็นเครื่องประกอบด้วยแต่ธรรมาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้โดยสมบูรณ์ก็ต้องประกอบด้วยรากฐานที่สำคัญดังนี้ 3.1 ความเสมอภาค พุทธศาสนาถือว่ามนุษย์ทุกคนมีสภาพเป็นเวไนยสัตว์ คือสอนได้ เรียนได้ ปรับปรุงตนเองได้ มนุษย์จึงมีสภาพเท่าเทียมกันไม่ว่ายากจน มั่งมีผู้ดี ไพร่ สูง ต่ำ ดำ ขาวทุกคนมีโอกาสบรรลุธรรมขั้นสูงถึงความพ้นทุกข์ได้ หากใช้ความเพียรปฎิบัติโดยถูกต้องและปฎิบัติตามคำสั่งสอนดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้โดยย่อว่า “กุลบุตรจากสกุลกษัตริย์หรือพราหมณ์หรือแพศย์หรือศูทรก็ตาม ได้อาศัยธรรมและวินัยอันตถาคตประกาศแล้วย่อมประสบความสำเร็จและนำตนให้ออกจากทุกข์ได้” หรือแม้ในหลักเกณฑ์การมีเครื่องนุ่งห่มภิกษุเก่าหรือภิกษุผู้มาใหม่จะแก่พรรษาหรืออ่อนพรรษากว่ากันก็มีความเสมอภาคคือ มีผ้ากาสาวพัสตร์ที่เหมือนกันหมด 3.2 ความมีเสรีภาพ พระองค์ทรงสั่งสอนและทรงส่งเสริมให้มนุษย์มีสิทธิเท่าเทียมกันให้เลิกระบบทาสไม่มีการซื้อขายมนุษย์ห้ามภิกษุมีทาสไว้รับใช้ ที่สุดทรงสอนให้เลิกทาสภายในได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง และให้มีเสรีภาพในการประพฤติปฎิบัติให้ถูกต้องตามหลักคำสอนโดยที่ไม่ได้กำหนดโทษให้ปรากฏในทางวัตถุหรือทางร่างกายแต่ได้กำหนดให้ได้รับผลทางจิตใจในการที่จะควบคุมตักเตือนตนเอง หากประพฤติปฎิบัตินอกลู่นอกทางจากคำสั่งสอน ก็จะได้รับโทษที่ให้ผลเป็นทุกข์ทางใจของตนเองที่เรียกว่า “อาบัติ” เราจึงเห็นกันว่าพระภิกษุทั่วๆไปในสายตาของชาวบ้านจะมองไม่ออกว่าองค์ใดได้ประพฤติผิดล่วงธรรม ล่วงวินัยไปแล้วอย่างใดบ้างนั่นเป็นลักษณะเสรีภาพในการควบคุมตนเองให้อยู่กับการประพฤติปฎิบัติต่อคำสั่งสอนที่ถูกต้องต่อไป 3.3 ความมีศีลและวินัย พระพุทธศาสนายืนยาวมากว่า 2,000 ปี ก็เพราะพระสงฆ์มีวินัย พระพุทธองค์ทรงปกครองสงฆ์ด้วยธรรมาธิปไตยคือให้พระสงฆ์มีวินัย เมื่อพระสงฆ์มีวินัยก็สามารถปกครองตนเองได้ดีมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในตัวเองเพราะประชาธิปไตยจะมีโดยสมบูรณ์ต่อเมื่อทุกคนได้รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง รับผิดชอบตนเอง เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่นไม่ล่วงเกินก้าวก่ายกันเพราะพระสงฆ์อาจจะต้องไปอยู่ป่าองค์เดียว อยู่ถ้ำองค์เดียวหรือจาริกไปองค์เดียว จึงต้องมีศีล มีวินัย คุ้มครองดูแลตนเองหรือถ้าจะเข้าสู่หมู่คณะก็จะต้องรักษากาย วาจา ใจ ที่จะประพฤติปฎิบัติต่อกันอย่างไร ต่ออุปัชฌาย์อย่างไร ต่อที่ประชุมอย่างไร วินัยที่กำหนดให้เคารพต่อกันระหว่างผู้มีพรรษาแก่อ่อนกว่ากันไม่ว่าชาติตระกูลจะเป็นอย่างไร พระสงฆ์ต้องเคารพต่อพระธรรมความถูกต้องเป็นใหญ่ในการที่จะยอมรับกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันเพราะถ้าสังคมใดไม่เคารพต่อกฎหมายกติกาสังคมแล้วย่อมวุ่นวายเดือดร้อน เมื่อตรากฎหมายขึ้นมาอย่างไรก็ต้องเคารพต่อกฎหมาย ปฎิบัติตามกฎหมายนั้น รู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ของตนไม่ก้าวก่ายกันมีหน้าที่อย่างไรก็ปฎิบัติไปอย่างนั้น มีสิทธิอย่างไรก็ควรจะใช้สิทธิอย่างนั้นภายในขอบเขตของกฎเกณฑ์ วินัยจึงเป็นรากฐานของประชาธิปไตย พระพุทธศาสนาได้วางหลักของวินัยที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ดังกล่าวนั้น 3.4 ความถูกต้อง-ถูกใจ ในพระพุทธศาสนาพระพุทธองค์ทรงถือความถูกต้องเป็นใหญ่มิได้ถือความถูกใจ เพราะถูกต้องกับถูกใจนั้นเป็นคนละเรื่องกัน บางครั้งบางเรื่องอาจเป็นไปอย่างถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ บางครั้งถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง จึงต้องถือความถูกต้องไว้เป็นหลักเพราะความถูกต้องนั้นเป็นเรื่องของธรรม ของส่วนรวม แต่ความถูกใจนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวเรื่องความเห็นแก่ตัวประชาธิปไตยนั้นเป็นหลักของการคำนึงถึงความผาสุกของส่วนรวม พระพุทธองค์ตรัสว่า “ปชาสุขํ มหตตมํ” ความผาสุกของประชาชนเป็นเลิศอย่างยิ่งในการใช้ความถูกต้องของพระพุทธเจ้านั้น ดังเช่นในคราวหนึ่งพระภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลถามพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องโลกนี้ โลกหน้า มีหรือไม่ สรีระนี้กับสรีระหน้าอันเดียวกันหรือไม่คนเราตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ให้พระพุทธเจ้าทรงตอบ ถ้าไม่ทรงตอบจะขอลาสึกไม่บวชอยู่ต่อไป พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์เป็นเรื่องไม่ถูกต้องตามธรรมคำสั่งสอนแต่ถูกใจของผู้ถาม พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์ให้และตรัสแก่ภิกษุนั้นว่า เธอจะสึกหรือจะอยู่ก็เป็นเรื่องของเธอ อนาคตไม่ได้ตั้งเงื่อนไขที่จะตอบปัญหานี้ให้เป็นความสมัครใจของผู้บวชในศาสนานี้นี่เป็นเรื่องของประชาธิปไตยที่จะต้องใช้ความคิดไปในทางที่ถูกต้องอย่าถือความถูกใจของตนมาเป็นใหญ่ 3.5 ความมีเหตุผล คำสอนของพระองค์ทรงแนะให้ใช้ปัญญาใคร่ครวญหาเหตุผลเช่น ในกาลามสูตรทรงสอนไม่ให้เชื่อโดยอาการ 10 อย่าง แต่ให้เชื่อโดยการพิจารณาคิดค้นหาเหตุผลและนำไปปฎิบัติในธรรมที่ได้ยินได้ฟังนั้นๆ เรื่องนี้ทรงสรรเสริญพระสารีบุตรเป็นตัวอย่างการที่พระพุทธศาสนาสอนให้ใช้เหตุผลก็เพื่อให้คนพ้นจากความโง่งมงายเชื่อในสิ่งที่ไม่ใช่สารประโยชน์ที่จะนำตนเองให้ออกจากทุกข์จึงได้สอนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็นจริงไม่สอนให้เชื่อในเรื่องฤกษ์ยามหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก ที่จะมาบันดาลให้เราได้รับความเจริญหรือความเสื่อมได้นอกจากตัวของตัวเอง สอนให้รู้จักความจริงในเรื่องความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพันที่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เนื่องจากการยึดถือในขันธ์ 5 สอนให้พึ่งตนเอง ไม่พาชีวิตไปผูกพันไว้กับสิ่งอื่น ให้เสริมสร้างคุณธรรมในตน ให้ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นไปจนเป็นเทวดา เป็นพรหมในชาตินี้ด้วยคุณธรรมไม่ใช่เป็นเทวดาหรือพรหมเมื่อตายแล้วสอนให้เชื่อในเรื่องของกรรมว่าด้วยการกระทำเป็นเหตุ ย่อมมีผลได้รับจากการกระทำนั้น ซึ่งตนเองเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่”พรหมลิขิต”สอนให้ใช้ปัญญาคิดค้นในสิ่งที่ถูกที่ควรอย่างมีอิสรเสรี มีเหตุผลตลอดเวลา
จากรากฐานของธรรมาธิปไตยที่เป็นเครื่องประกอบของหลักประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ของพระพุทธศาสนาดังกล่าวนั้นพระพุทธศาสนาจึงเป็นสถาบันที่มีการใช้หลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงไม่มีปัญหาอันใด แต่ในสังคมของชาวโลกเหตุที่ประชาธิปไตยยังมีปัญหาไม่ดำเนินไปอย่างราบรื่นเรียบร้อยก็เพราะเป็นการใช้หลักประชาธิปไตยที่ปราศจากหลักของธรรมาธิปไตยดังได้กล่าวมาด้วยประการฉะนี้
หลักประชาธิปไตยทั่วไปในพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาธิปไตยมาตั้งแต่เริ่มแรก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงมอบให้พระสงฆ์เป็นใหญ่ในกิจการทั้งปวงเสียอีกลักษณะ ที่เป็นประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนามีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด พระธรรม คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระวินัยคือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเมื่อรวมกัน เรียกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งมีความสำคัญขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานเพียงเล็กน้อย
2. มีการกำหนดลักษณะของศาสนาไว้เรียบร้อย ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ลักษณะของพระพุทธศาสนาคือสายกลาง ไม่ซ้ายสุด ไม่ขวาสุด ทางสายกลางนี้เป็นครรลอง อาจปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดก็ได้ โดยใช้สิทธิในการแสวงหาอดิเรกลาภตามที่ทรงอนุญาตไว้ ในสมัยต่อมา เรียกแนวกลางๆ ของพระพุทธศาสนาว่า วิภัชชวาที คือศาสนาที่กล่าวจำแนกแจกแจง ตามความเป็นจริงบางอย่างกล่าวยืนยันโดยส่วนเดียวได้ บางอย่างกล่าวจำแนกแจกแจงเป็นกรณี ๆ ไป
3. พระพุทธศาสนา มีความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย บุคคลที่เป็นวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมาแต่เดิม รวมทั้งคนวรรณะต่ำกว่านั้น เช่นพวกจัณฑาล พวกปุกกุสะคนเก็บขยะ และพวกทาส เมื่อเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว มีความเท่าเทียมกัน คือปฏิบัติตามสิกขาบทเท่ากัน และเคารพกันตามลำดับอาวุโส คือผู้อุปสมบทภายหลังเคารพผู้อุปสมบทก่อน
4. พระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย เช่นในฐานะภิกษุเจ้าถิ่น จะมีสิทธิได้รับของแจกก่อนภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันมีสิทธิได้รับของแจกตามลำดับพรรษา มีสิทธิรับกฐิน และได้รับอานิสงส์กฐินในการแสวงหาจีวรตลอด 4 เดือนฤดูหนาวเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ จะอยู่จำพรรษาวัดใดก็ได้เลือกปฏิบัติกรรมฐานข้อใด ถือธุดงควัตรข้อใดก็ได้ทั้งสิ้น
5. มีการแบ่งอำนาจ พระเถระผู้ใหญ่ทำหน้าที่บริหารปกครองหมู่คณะ การบัญญัติพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง เช่นมีภิกษุผู้ทำผิดมาสอบสวนแล้วจึงทรงบัญญัติพระวินัย ส่วนการตัดสินคดีตามพระวินัยทรงบัญญัติแล้วเป็นหน้าที่ของพระวินัยธรรมซึ่งเท่ากับศาล
6. พระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือ ใช้เสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียกว่า วิธีเยภุยยสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี
หลักประชาธิปไตยในการที่พระพุทธเจ้าทรงมอบความเป็นใหญ่แก่สงฆ์
การมอบความเป็นใหญ่แก่สงฆ์มีลักษณะตรงกับหลักประชาธิปไตยหลายประการ ส่วนมากเป็นเรื่องสังฆกรรม คือการประชุมกันทำกิจสงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ การทำสังฆกรรมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ประการ ถ้าทำผิดพลาดประการใดประการหนึ่ง จะทำให้สังฆกรรมนั้นเสียไป ใช้ไม่ได้ ไม่มีผล คือเป็นโมฆะ ส่วนสำคัญ 5 ประการมีดังนี้คือ
1 จำนวนสงฆ์อย่างต่ำที่เข้าประชุม การกำหนดจำนวนสงฆ์ผู้เข้าประชุมอย่างต่ำว่าจะทำสังฆกรรมอย่างใดได้บ้างมี 5 ประเภท คือ
-- ภิกษุ 4 รูปเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้เกือบทุกชนิด เว้นแต่ การอุปสมบทหรือการบวชพระ การปวารณาหรือ พิธีกรรมในวันออกพรรษาที่ทรงอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน และการสวดอัพภาน หรือการเพิกถอนอาบัติหนักของภิกษุบางรูป
--- ภิกษุ 5 รูป เข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค สามารถทำสังฆกรรมที่สงฆ์จตุรวรรค ทำได้ทั้งหมด และยังเพิ่มการปวารณา การอุปสมบทในชนบทชายแดนได้อีกด้วย -- ภิกษุ 10 รูป เข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค สามารถทำสังฆกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำได้ทั้งหมด และยังเพิ่มการอุปสมบทในมัชฌิชนบท คือ ในภาคกลางของอินเดียได้อีกด้วย --- ภิกษุ 20 รูปเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้ทุกชนิด รวมทั้งสวดอัพภาน เพิกถอนอาบัติหนักด้วย
--- ภิกษุกว่า 20 รูปเข้าประชุม เรียกว่า อติเรกวีสติวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้ทุกชนิด สำหรับประเพณีไทย นิยมนิมนต์ภิกษุเข้าประชุมให้เกินจำนวนอย่างต่ำของการทำสังฆกรรมนั้นๆ เสมอ เพื่อให้ถูกต้องอย่างไม่มีโอกาสผิดพลาดในเรื่องจำนวนสงฆ์
2 สถานที่ประชุมของสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรม เรียกว่า สีมา แปลว่า เขตแดน สีมา หมายถึงพื้นดิน ไม่ใช่อาคาร อาคารจะสร้างเป็นรูปทรงอย่างไรหรือไม่มีอาคารเลยก็ได้ สีมามี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ พัทธสีมา สีมาที่ผูกแล้ว และอพัทธสีมา สีมาที่ไม่ต้องผูก พัทธสีมามีหลายชนิด จะกล่าวเฉพาะวิสุงคามสีมา แปลว่าสีมาในหมู่บ้าน ซึ่งแยกออกต่างหากจากอาณาเขตของประเทศ การขอวิสุงคามสีมาต้องขอจากประมุขของรัฐ ในประเทศไทยขอพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในประเทศมาเลเซีย ขอพระราชทานจากพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ในประเทศสหรัฐอเมริกา ขอจากผู้ว่าการมลรัฐที่วัดตั้งอยู่ ไม่ใช่ขอจากประธานาธิบดี เพราะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อขอแล้วต้องทำพิธีถอนสีมาในบริเวณนั้น ซึ่งอาจเคยเป็นวัด ผูกพัทธสีมามาแล้วในสมัยโบราณก็ได้ แล้วทำพิธีผูกพัทธสีมา สีมาซึ่งทำสังฆกรรมผูกแล้วนี้จะคงอยู่ตลอดไปจนกว่าโลกนี้แตกสลาย กลายเป็นธุลีคอสมิค ยกเว้น จะทำพิธีถอนสีมาเสีย อพัทธสีมา มีมากมายหลายชนิดเช่นเดียวกัน จะกล่าวเฉพาะสีมาน้ำ หรือเรียกว่า อุทกุกเขปสีมา แปลว่า สีมาชั่ววักน้ำสาด สีมาชนิดนี้ไม่ต้องผูกแต่สร้างอาคาร หรืออยู่ในเรือแพ ภายในหนองบึง แม่น้ำ ทะเล ซึ่งมีน้ำขังตลอดปี และอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 2 ชั่ววักน้ำสาดของบุรุษผู้มีกำลังปานกลาง สีมาน้ำนี้ใช้ทำสังฆกรรมได้เหมือนวิสุงคามสีมาเช่นกัน ส่วนมากนิยมทำกันในวัดหรือสำนักสงฆ์ที่ยังไม่ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา การกำหนดสีมาขึ้นนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ใครเข้ามายุ่งเกี่ยว ทำให้สังฆกรรมเสียไป หรือมีเจตนามาทำลายสงฆ์ทราบ ผู้ประกาศมีรูปเดียวหรือ 2 รูป ก็ได้ เรียกว่า พระคู่สังฆกรรมโดยตรง เพราะภายในสีมานั้น สงฆ์มีอำนาจสิทธิขาด ใครจะอ้างเป็นเจ้าของไม่ได้
3 การประกาศเรื่องที่ประชุม และการประกาศขอความเห็นชอบ สงฆ์จะประชุมกันทำสังฆกรรมเรื่องอะไรก็ตาม จะต้องมีการประกาศเรื่องนั้นให้สงฆ์ทราบ ผู้ประกาศมีรูปเดียวหรือ 2 รูป ก็ได้ เรียกว่า พระคู่สวดหรือพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อประกาศให้ทราบแล้ว ยังมีการประกาศขอความเห็นชอบจากสงฆ์อีก ถ้าเป็นเรื่องไม่สำคัญนัก มีการประกาศให้ทราบ 1 ครั้ง และประกาศขอความเห็นชอบอีก 1 ครั้งเรียกว่า ญัตติทุติยกรรม เช่น การประกาศมอบผ้ากฐินแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง การแต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ต่างๆ ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมาก มีการประกาศให้ทราบ 1 ครั้ง และประกาศขอความเห็นอีก 3 ครั้ง รวมเป็น 4 ครั้ง เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม เช่นการให้อุปสมบท การลงโทษภิกษุผู้ประพฤติมิชอบ 7 อย่าง มีตัชชนียกรรม (การตำหนิโทษ) เป็นต้น การยกโทษเมื่อภิกษุนั้นประพฤติตนดีแล้วและการแต่งตั้งภิกษุให้เป็นผู้สอนภิกษุณี เป็นต้น
4 สิทธิของภิกษุผู้เข้าประชุม ภิกษุผู้เข้าร่วมประชุมทำสังฆกรรมทุกรูปมีสิทธิแสดงความคิดเห็นทั้งในทางเห็นด้วยและในทางคัดค้าน ตามปกติเมื่อภิกษุผู้ประกาศ หรือพระคู่สวดถามความคิดเห็นของที่ประชุม ถ้าเห็นด้วย ให้ใช้วิธีนิ่ง ถ้าไม่เห็นด้วยให้คัดค้านขึ้น จะต้องมีการทำความเข้าใจกันจนกว่าจะยอมเห็นด้วย ถ้าภิกษุผู้คัดค้าน ยังคงยืนกรานไม่เห็นด้วย การทำสังฆกรรมนั้นๆ เช่น การอุปสมบท หรือการมอบผ้ากฐินย่อมไม่สมบูรณ์ จึงเห็นได้ว่า มติของที่ประชุมต้องเป็นเอกฉันท์คือเห็นพร้อมกันทุกรูป
5 มติที่ประชุม การทำสังฆกรรมทั้งหมด มติของที่ประชุมต้องเป็นเอกฉันท์ คือเป็นที่ยอมรับของภิกษุทุกรูป ทั้งนี้เพราะในสังฆมณฑลนั้น ภิกษุทั้งหลายต้องอยู่ร่วมกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน กล่าวคือมีศีลและมีความเห็นเหมือน ๆ กัน จึงจะมีความสามัคคี สืบต่อพระพุทธศาสนาได้อย่างถาวร แต่ในบางกรณี เมื่อภิกษุมีความเห็นแตกต่างกันเป็นสองฝ่ายและมีจำนวนมากด้วยกันต้องหาวิธีระงับโดยวิธีจับฉลาก หรือการลงคะแนนเพื่อดูว่าฝ่ายไหนได้เสียงข้างมาก ก็ตัดสินไปตามเสียงข้างมากนั้น วิธีนี้เรียกว่า เยภุยยสิกา การถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ ตามหลักประชาธิปไตยทั่วไป ซึ่งแสดงว่า มติที่ประชุมไม่ได้ใช้มติเอกฉันท์เสมอไป
ลักษณะอื่นๆ ที่แสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
1 พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุศึกษาพระพุทธศาสนาด้วยภาษาใด ๆ ก็ได้ คือศึกษาด้วยภาษาที่ตนเองรู้ดีที่สุด ไม่ให้ผูกขาดศึกษาด้วยภาษาเดียว เหมือนศาสนาพราหมณ์ที่ต้องศึกษาด้วยภาษาสันสกฤตเพียงภาษาเดียว แต่การที่คณะสงฆ์ไทยใช้ภาษาบาลีเป็นหลัก ก็เพื่อสอบทานความถูกต้องในกรณีที่มีความสงสัยเท่านั้น ส่วนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะใช้ภาษาท้องถิ่นใด ๆ ก็ได้2 พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ปฏิบัติคล้อยตามกฎหมายของประเทศที่ตนอาศัยอยู่ การปฏิบัติใด ๆ ที่ไม่มีห้ามไว้ในศีลของภิกษุแต่ผิดกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ภิกษุก็กระทำไม่ได้ ข้อนี้ทำให้ภิกษุสามารถอยู่ได้ในทุกประเทศโดยไม่มีความขัดแย้งกับรัฐบาล และประชาชนของประเทศนั้น ๆ
3 ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ว่าถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบทเล็กน้อย(คือ เลิกศีลข้อเล็กน้อย) เสียก็ได้ พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทตกลงกันไม่ได้ว่า ข้อใดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย จึงมีมติไม่ให้ถอนสิกขาบทใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนพระสงฆ์ฝ่ายมหายานมีมติให้ถอนสิกขาบทที่เห็นว่าเล็กน้อยได้ เมื่อกาลเวลาล่วงไปก็ยิ่งถอนมากขึ้นทุกที การปฏิบัติระหว่างพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทกับฝ่ายมหายานจึงแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น
ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ต้องถือหลักธรรมาธิปไตย
ธรรมาธิปไตย หมายถึง การถือธรรมเป็นใหญ่ คนในสังคมประชาธิปไตยจะต้องเป็นธรรมาธิปไตย นั่นคือไม่ตกอยู่ในอำนาจของโลภะ โทสะ โมหะ หรือ ตัณหา มานะ ทิฐิ ตัณหา คือ ความอยากได้อยากเอาสิ่งต่าง ๆ มาเป็นของตัวเอง ต้องการผลประโยชน์และสิ่งบำรุงบำเรอปรนเปรอตน ไม่ยอมเสียสละเพื่อใคร (ใฝ่เสพ ใฝ่บริโภค)
มานะ คือ ความอยากให้ตัวเองยิ่งใหญ่ ต้องการอำนาจ ความเด่นดัง ความสำคัญหรือการครอบงำเหนือผู้อื่น ไม่ยอมใคร (ใฝ่อำนาจ ใฝ่อิทธิพล)
ทิฐิ คือ ความยึดถือเอาแต่ความเห็นของตัว ต้องการให้เขารับเอาความเห็นของตน ยึดติดถือรั้นในความเชื่อ ลัทธิ อุดมการณ์ของตน จนสำคัญเหนือกว่าความจริง ไม่ยอมรับฟังใคร (คลั่งลัทธินิยม อุดมการณ์คับแคบ) การถือธรรมเป็นใหญ่จะต้องอาศัยปัญญาเป็นตัวนำเข้าสู่ธรรม ดังนั้น ธรรมที่จะต้องถือหรือเคารพยึดเป็นหลักเป็นมาตรฐาน แบ่งได้เป็น 2 ระดับคือ
ขั้นต้น ได้แก่ หลักการ กฎเกณฑ์ กติกาต่าง ๆ อันชอบธรรม ที่ได้ตกลงกันวางไว้ เช่น รัฐธรรมนูญ หลักศีลธรรม เป็นต้น
ขั้นสูง ได้แก่ ความจริง ความถูกต้องดีงาม และประโยชน์สุข
หลักสาราณียธรรม
หลักสาราณียธรรมเป็นหลักการใหญ่ที่ก่อให้เกิดเอกภาพหรือภราดรภาพ หลักสาราณียธรรม แปลว่าธรรมเป็นเครื่องระลึกถึงกัน เป็นหลักการที่จะทำให้เกิดความประสานพร้อมเพียงสามัคคีและผนึกร่วมกันเป็น เอกภาพ
หลักธรรมนี้มีสาระสำคัญที่สอนว่า สังคมประชาธิปไตยจะต้องมีเครื่องผูกพันคนให้มีความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกัน เพราะการที่แต่ละคนจะอยู่ได้ด้วยดีและเอาศักยภาพของตนมาร่วมสร้างสรรค์สังคม ประชาธิปไตยได้นั้นคนเหล่านั้นจะต้องมีความสามัคคีรู้จักร่วมมือกันและอยู่ ร่วมกันด้วยดี การร่วมมือกันและอยู่ร่วมกันด้วยดีนั้นมีลักษณะการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งเน้นความมีเมตตาปรารถนาดีหวังประโยชน์สุขต่อกันอันจะโยงไปหาหลักการพื้น ฐานคือการที่คนเราจะต้องใช้ปัญญา คือ จะต้องใช้ปัญญานั้นบนพื้นฐานของเมตตา หมายความว่าใช้ปัญญาโดยมีเมตตาประกอบ หลักของความเป็นเอกภาพที่เรียกว่า สาราณียธรรม มี 6 ประการคือ
1. เมตตากายกรรม คือ จะทำอะไรก็ทำต่อกันด้วยเมตตา หมายความว่าทำด้วยความรัก ด้วยไมตรีด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีความช่วยเหลือกัน มีการร่วมมือกัน มีความพร้อมที่จะประสานงานกัน
2. เมตตาวจีกรรม คือ จะพูดอะไรก็พูดด้วยเมตตา โดยเจรจากันด้วยเหตุผล โดยใช้ปัญญา ไม่ใช้โทสะเป็นตัวนำฉะนั้นต้อพูดด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีจิตสำนึกในผลประโยชน์สุขร่วมกัน ต้องการสร้างสรรค์
3. เมตตามโนกรรม คือ จะคิดอะไรก็คิดต่อกันด้วยเมตตา นั่นคือ การมีความหวังดีต่อกัน ปรารถนาดีต่อกันโดยการคิดพิจารณาวินิจฉัย คิดวางแผนต่าง ๆ โดยมุ่งทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน สร้างสรรค์สังคมและมีไมตรีต่อกันอย่างแท้จริง
4. สาธารณโภคี หมายถึง การมีกินมีใช้ร่วมกัน หรือมีการแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันหรือการมุ่งช่วยเหลือและบำเพ็ญ ประโยชน์ต่อสาธารณะโดยการไม่เห็นแก่ตัว เป็นต้น
5. สีลสามัญญตา หมายถึง มีศีลเสมอกัน คือมีความประพฤติดี รักษาระเบียบวินัย รักษากฎกติกาของสังคม มีความสุจริตกายวาจาที่เสมอกัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม6. ทิฐิสามัญญตา หมายถึง มีทิฐิ มีความเห็น มีความเชื่อมั่น ยึดถือในหลักการอุดมการณ์และอุดมคติร่วมกันหรือสอดคล้องกันคนในสังคม ประชาธิปไตยจะต้องมีความเห็นความเข้าใจและความเชื่อมั่นในหลักการ ประชาธิปไตยร่วมกัน เช่น การยอมรับระบอบประชาธิปไตย การเข้าใจเรื่องสิทธิและหน้าที่ การเข้าใจเรื่องเสรีภาพ ภราดรภาพหรือเอกภาพ เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป พระพุทธเจ้าทรงสอนสำหรับพระสงฆ์ก่อน ว่าพระสงฆ์จะต้องอยู่ด้วยหลัก 6 ประการนี้ ถ้าอยู่ด้วยหลัก 6 ประการแล้วแต่ละคนที่เป็นสมาชิกของสังคมก็จะระลึกถึงกัน มีน้ำใจประสานกลมกลืนพร้อมที่จะร่วมมือกัน เพราะตั้งแต่ทางกายเราก็มีเมตตาต่อกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยเมตตาช่วยเหลือเอาธุระต่อกัน ทางวาจาเราก็พูดด้วยน้ำใจรักกัน ในจิตใจเราก็คิดปรารถนาดีต่อกัน ในการอยู่ร่วมกันมีของอะไร หรือได้รับสิ่งใดมาก็มาแบ่งปันกัน ในการรักษาสถานภาพของสังคมเราก็รักษาระเบียบวินัย มีศีลเสมอกัน ไม่เบียดเบียนก่อความเดือดร้อนแก่กัน และปฏิบัติตามกฎกติกาของส่วนรวม เราก็มีความเชื่อมั่นยึดถือและเข้าใจหลักการสำคัญของประชาธิปไตยร่วมกัน ตลอดจนเข้าใจร่วมกันในความจริงที่เป็นธรรมชาติของโลกและชีวิตที่จะรองรับความเป็นมนุษย์ของเราไว้ด้วยกัน เพียงเท่านี้ก็อยู่เป็นสุขและพัฒนาได้ดีแน่ บนฐานแห่งความสัมพันธ์ที่ดีงามมั่นคง โดยที่แต่ละคนก็มีความระลึกถึงกันมีน้ำใจประสานร่วมมือต่อกัน สังคมก็ยึดเหนี่ยวเกาะกุมกันอยู่ให้เกิดภาวะที่เรียกว่า เอกภาพ
1. พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด พระธรรม คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระวินัยคือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเมื่อรวมกัน เรียกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งมีความสำคัญขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานเพียงเล็กน้อย
2. มีการกำหนดลักษณะของศาสนาไว้เรียบร้อย ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ลักษณะของพระพุทธศาสนาคือสายกลาง ไม่ซ้ายสุด ไม่ขวาสุด ทางสายกลางนี้เป็นครรลอง อาจปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดก็ได้ โดยใช้สิทธิในการแสวงหาอดิเรกลาภตามที่ทรงอนุญาตไว้ ในสมัยต่อมา เรียกแนวกลางๆ ของพระพุทธศาสนาว่า วิภัชชวาที คือศาสนาที่กล่าวจำแนกแจกแจง ตามความเป็นจริงบางอย่างกล่าวยืนยันโดยส่วนเดียวได้ บางอย่างกล่าวจำแนกแจกแจงเป็นกรณี ๆ ไป
3. พระพุทธศาสนา มีความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย บุคคลที่เป็นวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมาแต่เดิม รวมทั้งคนวรรณะต่ำกว่านั้น เช่นพวกจัณฑาล พวกปุกกุสะคนเก็บขยะ และพวกทาส เมื่อเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว มีความเท่าเทียมกัน คือปฏิบัติตามสิกขาบทเท่ากัน และเคารพกันตามลำดับอาวุโส คือผู้อุปสมบทภายหลังเคารพผู้อุปสมบทก่อน
4. พระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย เช่นในฐานะภิกษุเจ้าถิ่น จะมีสิทธิได้รับของแจกก่อนภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันมีสิทธิได้รับของแจกตามลำดับพรรษา มีสิทธิรับกฐิน และได้รับอานิสงส์กฐินในการแสวงหาจีวรตลอด 4 เดือนฤดูหนาวเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ จะอยู่จำพรรษาวัดใดก็ได้เลือกปฏิบัติกรรมฐานข้อใด ถือธุดงควัตรข้อใดก็ได้ทั้งสิ้น
5. มีการแบ่งอำนาจ พระเถระผู้ใหญ่ทำหน้าที่บริหารปกครองหมู่คณะ การบัญญัติพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง เช่นมีภิกษุผู้ทำผิดมาสอบสวนแล้วจึงทรงบัญญัติพระวินัย ส่วนการตัดสินคดีตามพระวินัยทรงบัญญัติแล้วเป็นหน้าที่ของพระวินัยธรรมซึ่งเท่ากับศาล
6. พระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือ ใช้เสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียกว่า วิธีเยภุยยสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี
หลักประชาธิปไตยในการที่พระพุทธเจ้าทรงมอบความเป็นใหญ่แก่สงฆ์
การมอบความเป็นใหญ่แก่สงฆ์มีลักษณะตรงกับหลักประชาธิปไตยหลายประการ ส่วนมากเป็นเรื่องสังฆกรรม คือการประชุมกันทำกิจสงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ การทำสังฆกรรมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ประการ ถ้าทำผิดพลาดประการใดประการหนึ่ง จะทำให้สังฆกรรมนั้นเสียไป ใช้ไม่ได้ ไม่มีผล คือเป็นโมฆะ ส่วนสำคัญ 5 ประการมีดังนี้คือ
1 จำนวนสงฆ์อย่างต่ำที่เข้าประชุม การกำหนดจำนวนสงฆ์ผู้เข้าประชุมอย่างต่ำว่าจะทำสังฆกรรมอย่างใดได้บ้างมี 5 ประเภท คือ
-- ภิกษุ 4 รูปเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้เกือบทุกชนิด เว้นแต่ การอุปสมบทหรือการบวชพระ การปวารณาหรือ พิธีกรรมในวันออกพรรษาที่ทรงอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน และการสวดอัพภาน หรือการเพิกถอนอาบัติหนักของภิกษุบางรูป
--- ภิกษุ 5 รูป เข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค สามารถทำสังฆกรรมที่สงฆ์จตุรวรรค ทำได้ทั้งหมด และยังเพิ่มการปวารณา การอุปสมบทในชนบทชายแดนได้อีกด้วย -- ภิกษุ 10 รูป เข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค สามารถทำสังฆกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำได้ทั้งหมด และยังเพิ่มการอุปสมบทในมัชฌิชนบท คือ ในภาคกลางของอินเดียได้อีกด้วย --- ภิกษุ 20 รูปเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้ทุกชนิด รวมทั้งสวดอัพภาน เพิกถอนอาบัติหนักด้วย
--- ภิกษุกว่า 20 รูปเข้าประชุม เรียกว่า อติเรกวีสติวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้ทุกชนิด สำหรับประเพณีไทย นิยมนิมนต์ภิกษุเข้าประชุมให้เกินจำนวนอย่างต่ำของการทำสังฆกรรมนั้นๆ เสมอ เพื่อให้ถูกต้องอย่างไม่มีโอกาสผิดพลาดในเรื่องจำนวนสงฆ์
2 สถานที่ประชุมของสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรม เรียกว่า สีมา แปลว่า เขตแดน สีมา หมายถึงพื้นดิน ไม่ใช่อาคาร อาคารจะสร้างเป็นรูปทรงอย่างไรหรือไม่มีอาคารเลยก็ได้ สีมามี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ พัทธสีมา สีมาที่ผูกแล้ว และอพัทธสีมา สีมาที่ไม่ต้องผูก พัทธสีมามีหลายชนิด จะกล่าวเฉพาะวิสุงคามสีมา แปลว่าสีมาในหมู่บ้าน ซึ่งแยกออกต่างหากจากอาณาเขตของประเทศ การขอวิสุงคามสีมาต้องขอจากประมุขของรัฐ ในประเทศไทยขอพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในประเทศมาเลเซีย ขอพระราชทานจากพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ในประเทศสหรัฐอเมริกา ขอจากผู้ว่าการมลรัฐที่วัดตั้งอยู่ ไม่ใช่ขอจากประธานาธิบดี เพราะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อขอแล้วต้องทำพิธีถอนสีมาในบริเวณนั้น ซึ่งอาจเคยเป็นวัด ผูกพัทธสีมามาแล้วในสมัยโบราณก็ได้ แล้วทำพิธีผูกพัทธสีมา สีมาซึ่งทำสังฆกรรมผูกแล้วนี้จะคงอยู่ตลอดไปจนกว่าโลกนี้แตกสลาย กลายเป็นธุลีคอสมิค ยกเว้น จะทำพิธีถอนสีมาเสีย อพัทธสีมา มีมากมายหลายชนิดเช่นเดียวกัน จะกล่าวเฉพาะสีมาน้ำ หรือเรียกว่า อุทกุกเขปสีมา แปลว่า สีมาชั่ววักน้ำสาด สีมาชนิดนี้ไม่ต้องผูกแต่สร้างอาคาร หรืออยู่ในเรือแพ ภายในหนองบึง แม่น้ำ ทะเล ซึ่งมีน้ำขังตลอดปี และอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 2 ชั่ววักน้ำสาดของบุรุษผู้มีกำลังปานกลาง สีมาน้ำนี้ใช้ทำสังฆกรรมได้เหมือนวิสุงคามสีมาเช่นกัน ส่วนมากนิยมทำกันในวัดหรือสำนักสงฆ์ที่ยังไม่ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา การกำหนดสีมาขึ้นนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ใครเข้ามายุ่งเกี่ยว ทำให้สังฆกรรมเสียไป หรือมีเจตนามาทำลายสงฆ์ทราบ ผู้ประกาศมีรูปเดียวหรือ 2 รูป ก็ได้ เรียกว่า พระคู่สังฆกรรมโดยตรง เพราะภายในสีมานั้น สงฆ์มีอำนาจสิทธิขาด ใครจะอ้างเป็นเจ้าของไม่ได้
3 การประกาศเรื่องที่ประชุม และการประกาศขอความเห็นชอบ สงฆ์จะประชุมกันทำสังฆกรรมเรื่องอะไรก็ตาม จะต้องมีการประกาศเรื่องนั้นให้สงฆ์ทราบ ผู้ประกาศมีรูปเดียวหรือ 2 รูป ก็ได้ เรียกว่า พระคู่สวดหรือพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อประกาศให้ทราบแล้ว ยังมีการประกาศขอความเห็นชอบจากสงฆ์อีก ถ้าเป็นเรื่องไม่สำคัญนัก มีการประกาศให้ทราบ 1 ครั้ง และประกาศขอความเห็นชอบอีก 1 ครั้งเรียกว่า ญัตติทุติยกรรม เช่น การประกาศมอบผ้ากฐินแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง การแต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ต่างๆ ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมาก มีการประกาศให้ทราบ 1 ครั้ง และประกาศขอความเห็นอีก 3 ครั้ง รวมเป็น 4 ครั้ง เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม เช่นการให้อุปสมบท การลงโทษภิกษุผู้ประพฤติมิชอบ 7 อย่าง มีตัชชนียกรรม (การตำหนิโทษ) เป็นต้น การยกโทษเมื่อภิกษุนั้นประพฤติตนดีแล้วและการแต่งตั้งภิกษุให้เป็นผู้สอนภิกษุณี เป็นต้น
4 สิทธิของภิกษุผู้เข้าประชุม ภิกษุผู้เข้าร่วมประชุมทำสังฆกรรมทุกรูปมีสิทธิแสดงความคิดเห็นทั้งในทางเห็นด้วยและในทางคัดค้าน ตามปกติเมื่อภิกษุผู้ประกาศ หรือพระคู่สวดถามความคิดเห็นของที่ประชุม ถ้าเห็นด้วย ให้ใช้วิธีนิ่ง ถ้าไม่เห็นด้วยให้คัดค้านขึ้น จะต้องมีการทำความเข้าใจกันจนกว่าจะยอมเห็นด้วย ถ้าภิกษุผู้คัดค้าน ยังคงยืนกรานไม่เห็นด้วย การทำสังฆกรรมนั้นๆ เช่น การอุปสมบท หรือการมอบผ้ากฐินย่อมไม่สมบูรณ์ จึงเห็นได้ว่า มติของที่ประชุมต้องเป็นเอกฉันท์คือเห็นพร้อมกันทุกรูป
5 มติที่ประชุม การทำสังฆกรรมทั้งหมด มติของที่ประชุมต้องเป็นเอกฉันท์ คือเป็นที่ยอมรับของภิกษุทุกรูป ทั้งนี้เพราะในสังฆมณฑลนั้น ภิกษุทั้งหลายต้องอยู่ร่วมกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน กล่าวคือมีศีลและมีความเห็นเหมือน ๆ กัน จึงจะมีความสามัคคี สืบต่อพระพุทธศาสนาได้อย่างถาวร แต่ในบางกรณี เมื่อภิกษุมีความเห็นแตกต่างกันเป็นสองฝ่ายและมีจำนวนมากด้วยกันต้องหาวิธีระงับโดยวิธีจับฉลาก หรือการลงคะแนนเพื่อดูว่าฝ่ายไหนได้เสียงข้างมาก ก็ตัดสินไปตามเสียงข้างมากนั้น วิธีนี้เรียกว่า เยภุยยสิกา การถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ ตามหลักประชาธิปไตยทั่วไป ซึ่งแสดงว่า มติที่ประชุมไม่ได้ใช้มติเอกฉันท์เสมอไป
ลักษณะอื่นๆ ที่แสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
1 พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุศึกษาพระพุทธศาสนาด้วยภาษาใด ๆ ก็ได้ คือศึกษาด้วยภาษาที่ตนเองรู้ดีที่สุด ไม่ให้ผูกขาดศึกษาด้วยภาษาเดียว เหมือนศาสนาพราหมณ์ที่ต้องศึกษาด้วยภาษาสันสกฤตเพียงภาษาเดียว แต่การที่คณะสงฆ์ไทยใช้ภาษาบาลีเป็นหลัก ก็เพื่อสอบทานความถูกต้องในกรณีที่มีความสงสัยเท่านั้น ส่วนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะใช้ภาษาท้องถิ่นใด ๆ ก็ได้2 พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ปฏิบัติคล้อยตามกฎหมายของประเทศที่ตนอาศัยอยู่ การปฏิบัติใด ๆ ที่ไม่มีห้ามไว้ในศีลของภิกษุแต่ผิดกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ภิกษุก็กระทำไม่ได้ ข้อนี้ทำให้ภิกษุสามารถอยู่ได้ในทุกประเทศโดยไม่มีความขัดแย้งกับรัฐบาล และประชาชนของประเทศนั้น ๆ
3 ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ว่าถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบทเล็กน้อย(คือ เลิกศีลข้อเล็กน้อย) เสียก็ได้ พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทตกลงกันไม่ได้ว่า ข้อใดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย จึงมีมติไม่ให้ถอนสิกขาบทใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนพระสงฆ์ฝ่ายมหายานมีมติให้ถอนสิกขาบทที่เห็นว่าเล็กน้อยได้ เมื่อกาลเวลาล่วงไปก็ยิ่งถอนมากขึ้นทุกที การปฏิบัติระหว่างพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทกับฝ่ายมหายานจึงแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น
ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ต้องถือหลักธรรมาธิปไตย
ธรรมาธิปไตย หมายถึง การถือธรรมเป็นใหญ่ คนในสังคมประชาธิปไตยจะต้องเป็นธรรมาธิปไตย นั่นคือไม่ตกอยู่ในอำนาจของโลภะ โทสะ โมหะ หรือ ตัณหา มานะ ทิฐิ ตัณหา คือ ความอยากได้อยากเอาสิ่งต่าง ๆ มาเป็นของตัวเอง ต้องการผลประโยชน์และสิ่งบำรุงบำเรอปรนเปรอตน ไม่ยอมเสียสละเพื่อใคร (ใฝ่เสพ ใฝ่บริโภค)
มานะ คือ ความอยากให้ตัวเองยิ่งใหญ่ ต้องการอำนาจ ความเด่นดัง ความสำคัญหรือการครอบงำเหนือผู้อื่น ไม่ยอมใคร (ใฝ่อำนาจ ใฝ่อิทธิพล)
ทิฐิ คือ ความยึดถือเอาแต่ความเห็นของตัว ต้องการให้เขารับเอาความเห็นของตน ยึดติดถือรั้นในความเชื่อ ลัทธิ อุดมการณ์ของตน จนสำคัญเหนือกว่าความจริง ไม่ยอมรับฟังใคร (คลั่งลัทธินิยม อุดมการณ์คับแคบ) การถือธรรมเป็นใหญ่จะต้องอาศัยปัญญาเป็นตัวนำเข้าสู่ธรรม ดังนั้น ธรรมที่จะต้องถือหรือเคารพยึดเป็นหลักเป็นมาตรฐาน แบ่งได้เป็น 2 ระดับคือ
ขั้นต้น ได้แก่ หลักการ กฎเกณฑ์ กติกาต่าง ๆ อันชอบธรรม ที่ได้ตกลงกันวางไว้ เช่น รัฐธรรมนูญ หลักศีลธรรม เป็นต้น
ขั้นสูง ได้แก่ ความจริง ความถูกต้องดีงาม และประโยชน์สุข
หลักสาราณียธรรม
หลักสาราณียธรรมเป็นหลักการใหญ่ที่ก่อให้เกิดเอกภาพหรือภราดรภาพ หลักสาราณียธรรม แปลว่าธรรมเป็นเครื่องระลึกถึงกัน เป็นหลักการที่จะทำให้เกิดความประสานพร้อมเพียงสามัคคีและผนึกร่วมกันเป็น เอกภาพ
หลักธรรมนี้มีสาระสำคัญที่สอนว่า สังคมประชาธิปไตยจะต้องมีเครื่องผูกพันคนให้มีความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกัน เพราะการที่แต่ละคนจะอยู่ได้ด้วยดีและเอาศักยภาพของตนมาร่วมสร้างสรรค์สังคม ประชาธิปไตยได้นั้นคนเหล่านั้นจะต้องมีความสามัคคีรู้จักร่วมมือกันและอยู่ ร่วมกันด้วยดี การร่วมมือกันและอยู่ร่วมกันด้วยดีนั้นมีลักษณะการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งเน้นความมีเมตตาปรารถนาดีหวังประโยชน์สุขต่อกันอันจะโยงไปหาหลักการพื้น ฐานคือการที่คนเราจะต้องใช้ปัญญา คือ จะต้องใช้ปัญญานั้นบนพื้นฐานของเมตตา หมายความว่าใช้ปัญญาโดยมีเมตตาประกอบ หลักของความเป็นเอกภาพที่เรียกว่า สาราณียธรรม มี 6 ประการคือ
1. เมตตากายกรรม คือ จะทำอะไรก็ทำต่อกันด้วยเมตตา หมายความว่าทำด้วยความรัก ด้วยไมตรีด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีความช่วยเหลือกัน มีการร่วมมือกัน มีความพร้อมที่จะประสานงานกัน
2. เมตตาวจีกรรม คือ จะพูดอะไรก็พูดด้วยเมตตา โดยเจรจากันด้วยเหตุผล โดยใช้ปัญญา ไม่ใช้โทสะเป็นตัวนำฉะนั้นต้อพูดด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีจิตสำนึกในผลประโยชน์สุขร่วมกัน ต้องการสร้างสรรค์
3. เมตตามโนกรรม คือ จะคิดอะไรก็คิดต่อกันด้วยเมตตา นั่นคือ การมีความหวังดีต่อกัน ปรารถนาดีต่อกันโดยการคิดพิจารณาวินิจฉัย คิดวางแผนต่าง ๆ โดยมุ่งทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน สร้างสรรค์สังคมและมีไมตรีต่อกันอย่างแท้จริง
4. สาธารณโภคี หมายถึง การมีกินมีใช้ร่วมกัน หรือมีการแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันหรือการมุ่งช่วยเหลือและบำเพ็ญ ประโยชน์ต่อสาธารณะโดยการไม่เห็นแก่ตัว เป็นต้น
5. สีลสามัญญตา หมายถึง มีศีลเสมอกัน คือมีความประพฤติดี รักษาระเบียบวินัย รักษากฎกติกาของสังคม มีความสุจริตกายวาจาที่เสมอกัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม6. ทิฐิสามัญญตา หมายถึง มีทิฐิ มีความเห็น มีความเชื่อมั่น ยึดถือในหลักการอุดมการณ์และอุดมคติร่วมกันหรือสอดคล้องกันคนในสังคม ประชาธิปไตยจะต้องมีความเห็นความเข้าใจและความเชื่อมั่นในหลักการ ประชาธิปไตยร่วมกัน เช่น การยอมรับระบอบประชาธิปไตย การเข้าใจเรื่องสิทธิและหน้าที่ การเข้าใจเรื่องเสรีภาพ ภราดรภาพหรือเอกภาพ เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป พระพุทธเจ้าทรงสอนสำหรับพระสงฆ์ก่อน ว่าพระสงฆ์จะต้องอยู่ด้วยหลัก 6 ประการนี้ ถ้าอยู่ด้วยหลัก 6 ประการแล้วแต่ละคนที่เป็นสมาชิกของสังคมก็จะระลึกถึงกัน มีน้ำใจประสานกลมกลืนพร้อมที่จะร่วมมือกัน เพราะตั้งแต่ทางกายเราก็มีเมตตาต่อกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยเมตตาช่วยเหลือเอาธุระต่อกัน ทางวาจาเราก็พูดด้วยน้ำใจรักกัน ในจิตใจเราก็คิดปรารถนาดีต่อกัน ในการอยู่ร่วมกันมีของอะไร หรือได้รับสิ่งใดมาก็มาแบ่งปันกัน ในการรักษาสถานภาพของสังคมเราก็รักษาระเบียบวินัย มีศีลเสมอกัน ไม่เบียดเบียนก่อความเดือดร้อนแก่กัน และปฏิบัติตามกฎกติกาของส่วนรวม เราก็มีความเชื่อมั่นยึดถือและเข้าใจหลักการสำคัญของประชาธิปไตยร่วมกัน ตลอดจนเข้าใจร่วมกันในความจริงที่เป็นธรรมชาติของโลกและชีวิตที่จะรองรับความเป็นมนุษย์ของเราไว้ด้วยกัน เพียงเท่านี้ก็อยู่เป็นสุขและพัฒนาได้ดีแน่ บนฐานแห่งความสัมพันธ์ที่ดีงามมั่นคง โดยที่แต่ละคนก็มีความระลึกถึงกันมีน้ำใจประสานร่วมมือต่อกัน สังคมก็ยึดเหนี่ยวเกาะกุมกันอยู่ให้เกิดภาวะที่เรียกว่า เอกภาพ
พระพุทธศาสนากับประชาธิปไตย
พระพุทธศาสนากับประชาธิปไตย
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาธิปไตยมาตั้งแต่เริ่มแรก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงมอบให้พระสงฆ์เป็นใหญ่ในกิจการทั้งปวงเสียอีกลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนามีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด พระธรรม คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระวินัยคือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเมื่อรวมกัน เรียกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งมีความสำคัญขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานเพียงเล็กน้อย
2. มีการกำหนดลักษณะของศาสนาไว้เรียบร้อย ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ลักษณะของพระพุทธศาสนาคือสายกลาง ไม่ซ้ายสุด ไม่ขวาสุด ทางสายกลางนี้เป็นครรลอง อาจปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดก็ได้ โดยใช้สิทธิในการแสวงหาอดิเรกลาภตามที่ทรงอนุญาตไว้ ในสมัยต่อมา เรียกแนวกลางๆ ของพระพุทธศาสนาว่า วิภัชชวาที คือศาสนาที่กล่าวจำแนกแจกแจง ตามความเป็นจริงบางอย่างกล่าวยืนยันโดยส่วนเดียวได้ บางอย่างกล่าวจำแนกแจกแจงเป็นกรณี ๆ ไป
3. พระพุทธศาสนา มีความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย บุคคลที่เป็นวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมาแต่เดิม รวมทั้งคนวรรณะต่ำกว่านั้น เช่นพวกจัณฑาล พวกปุกกุสะคนเก็บขยะ และพวกทาส เมื่อเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว มีความเท่าเทียมกัน คือปฏิบัติตามสิกขาบทเท่ากัน และเคารพกันตามลำดับอาวุโส คือผู้อุปสมบทภายหลังเคารพผู้อุปสมบทก่อน
4. พระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย เช่นในฐานะภิกษุเจ้าถิ่น จะมีสิทธิได้รับของแจกก่อนภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันมีสิทธิได้รับของแจกตามลำดับพรรษา มีสิทธิรับกฐิน และได้รับอานิสงส์กฐินในการแสวงหาจีวรตลอด 4 เดือนฤดูหนาวเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ จะอยู่จำพรรษาวัดใดก็ได้เลือกปฏิบัติกรรมฐานข้อใด ถือธุดงควัตรข้อใดก็ได้ทั้งสิ้น
5. มีการแบ่งอำนาจ พระเถระผู้ใหญ่ทำหน้าที่บริหารปกครองหมู่คณะ การบัญญัติพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง เช่นมีภิกษุผู้ทำผิดมาสอบสวนแล้วจึงทรงบัญญัติพระวินัย ส่วนการตัดสินคดีตามพระวินัยทรงบัญญัติแล้วเป็นหน้าที่ของพระวินัยธรรมซึ่งเท่ากับศาล 6. พระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือ ใช้เสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียกว่า วิธีเยภุยยสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาธิปไตยมาตั้งแต่เริ่มแรก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงมอบให้พระสงฆ์เป็นใหญ่ในกิจการทั้งปวงเสียอีกลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนามีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด พระธรรม คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระวินัยคือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเมื่อรวมกัน เรียกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งมีความสำคัญขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานเพียงเล็กน้อย
2. มีการกำหนดลักษณะของศาสนาไว้เรียบร้อย ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ลักษณะของพระพุทธศาสนาคือสายกลาง ไม่ซ้ายสุด ไม่ขวาสุด ทางสายกลางนี้เป็นครรลอง อาจปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดก็ได้ โดยใช้สิทธิในการแสวงหาอดิเรกลาภตามที่ทรงอนุญาตไว้ ในสมัยต่อมา เรียกแนวกลางๆ ของพระพุทธศาสนาว่า วิภัชชวาที คือศาสนาที่กล่าวจำแนกแจกแจง ตามความเป็นจริงบางอย่างกล่าวยืนยันโดยส่วนเดียวได้ บางอย่างกล่าวจำแนกแจกแจงเป็นกรณี ๆ ไป
3. พระพุทธศาสนา มีความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย บุคคลที่เป็นวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมาแต่เดิม รวมทั้งคนวรรณะต่ำกว่านั้น เช่นพวกจัณฑาล พวกปุกกุสะคนเก็บขยะ และพวกทาส เมื่อเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว มีความเท่าเทียมกัน คือปฏิบัติตามสิกขาบทเท่ากัน และเคารพกันตามลำดับอาวุโส คือผู้อุปสมบทภายหลังเคารพผู้อุปสมบทก่อน
4. พระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย เช่นในฐานะภิกษุเจ้าถิ่น จะมีสิทธิได้รับของแจกก่อนภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันมีสิทธิได้รับของแจกตามลำดับพรรษา มีสิทธิรับกฐิน และได้รับอานิสงส์กฐินในการแสวงหาจีวรตลอด 4 เดือนฤดูหนาวเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ จะอยู่จำพรรษาวัดใดก็ได้เลือกปฏิบัติกรรมฐานข้อใด ถือธุดงควัตรข้อใดก็ได้ทั้งสิ้น
5. มีการแบ่งอำนาจ พระเถระผู้ใหญ่ทำหน้าที่บริหารปกครองหมู่คณะ การบัญญัติพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง เช่นมีภิกษุผู้ทำผิดมาสอบสวนแล้วจึงทรงบัญญัติพระวินัย ส่วนการตัดสินคดีตามพระวินัยทรงบัญญัติแล้วเป็นหน้าที่ของพระวินัยธรรมซึ่งเท่ากับศาล 6. พระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือ ใช้เสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียกว่า วิธีเยภุยยสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี
วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554
การจัดกลุ่ม ของเหตุการณ์
สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช (พ.ศ.1893-2475)สมัยกรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาสถาปนา เมื่อปี พ.ศ.1893 โดยพระเจ้าอู่ทอง(พระรามาธิบดีที่ 1) สมัยกรุงศรีอยุธยามีการปกครองแบบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราช โดยสมบูรณ์แบบ คืออำนาจอยู่ที่กษัตริย์เพียงพระองค์เดียว โดยเชื่อถือตามคติพราหมณ์ตามแบบพวกเขมรว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอำนาจจากสวรรค์ ฐานะของกษัตริย์จึงเป็น “สมมติเทพ” ทรงมีอำนาจที่จะกำหนดชะตาชีวิตของใครก็ได้จึงเรียกระบบการปกครองนี้ว่า “ระบบเทวสิทธิ์”(Divine Right) ลักษณะการปกครองเป็นแบบนายปกครองบ่าว หรือ “เจ้าปกครองไพร่ ฐานะของกษัตริย์กับประชาชนจึงห่างไกลกัน ข้าราชบริพารเป็นสื่อกลางระหว่างกษัตริย์ และประชาชน จึงเกิดเป็นระบบเจ้าขุนมูลนาย หรือศักดินาขึ้นระบบเจ้าขุนมูลนายหรือศักดินาเกิดขึ้นเพราะกรุงศรีอยุธยาอยู่ในสภาวะสงครามตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องให้พลเมืองทุกคนอยู่ในสังกัดของเจ้าขุนมูลนายเพื่อว่าเมื่อมีศึกสงครามพระมหากษัตริย์จะได้สั่งการ ให้เจ้าขุนมูลนายเกณฑ์ไพร่พลมาช่วยทำสงครามป้องกันบ้านเมืองได้
พระเจ้าอู่ทอง(พระรามาธิบดีที่ 1) ทรงวางระบบการปกครองดังนี้ ส่วนกลางเป็นแบบจตุสดมภ์ โดยมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ดูแลกิจกรรมหลัก 4 ประการของการบริหารราชการแผ่นดิน มีการแบ่งหัวเมือง 3 ระดับ คือ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช
สมัยพระบรมไตรโลกนาถ - สมัยรัชกาลที่ 4
ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031)มีการปรับปรุงระบบบริหารใหม่โดยแยกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือนหัวหน้าฝ่ายพลเรือน เรียกว่า“สมุหนายก” รับผิดชอบด้านการบริหารพลเรือนเกี่ยวกับ เมือง วัง คลัง นา หัวหน้าฝ่ายทหาร เรียกว่า “สมุหกลาโหม” รับผิดชอบด้านการทหารและป้องกันประเทศ เช่น กรมช้าง กรมม้า กรมทหารราบ ส่วนในด้านภูมิภาคได้มีการปฏิรูปการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง คือ เมืองหลวง มากขึ้นขยายเขตหัวเมืองชั้นในให้กว้างขวางขึ้น หัวเมืองชั้นนอกให้เรียกเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลักษณะความสำคัญและขนาดของพื้นที่
และส่งพระราชวงศ์ หรือขุนนางไปดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ เมืองประเทศราชยังคงให้ปกครองตนเอง และส่งบรรณาการ 3 ปีต่อครั้ง ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา(สมัยพระเพทราชา) จึงมีการปรับปรุงระบบการปกครองอีกครั้งหนึ่ง โดยแยกหัวเมืองนอกเขตราชธานีเป็น 2 ภาค หัวเมืองภาคเหนือให้สมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน หัวเมืองภาคใต้ให้สมุหกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบดูแล ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนเช่นกัน ในด้านการปกครอง มีการปรับปรุงหัวเมืองภูมิภาค 3 ส่วน คือ หัวเมืองฝ่ายเหนือ สังกัดสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายใต้ สังกัดสมุหกลาโหม หัวเมืองชายทะเลตะวันออก และเมืองท่าสังกัดกรมท่า ในสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบอยุธยาตอนปลายแต่บทบาทกษัตริย์ในฐานะสมมติเทพเริ่มค่อย ๆลดความสำคัญลง โดยเฉพาะรัชกาลที่ 4 ทรงดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการทั้งหลาย จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นเหมือนสมัยสุโขทัย
สมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2411 - 2475)
สมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ เรียกว่า “การปฏิรูปการปกครอง”อันนำมาซึ่งความเจริญอย่างมากมายในปัจจุบัน การปฏิรูปการปกครองที่สำคัญ ได้แก่
1)การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และจตุสดมภ์แล้วแบ่งส่วนราชการเป็น 12 กระทรวง มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าราชการกระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสัดส่วนแน่นอน ไม่ก้าวก่ายกันเหมือนแต่ก่อน เช่นกระทรวงมหาดไทยดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว กระทรวงกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ตะวันออกแหลมมลายู กระทรวงการต่างประเทศดูแลในเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศ กระทรวงนครบาล รับผิดชอบด้านความสงบเรียบร้อยภายในเมืองหลวงกระทรวงพระคลังมหาสมบัติดูแลในการจัดเก็บภาษีและหาเงินเข้าท้องพระคลังเป็นต้น
2)การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค ยกเลิกระบบเมืองเอก โท ตรี แต่ให้รวมหัวเมืองภาคเหนือ ภาคใต้และเมืองท่าตั้งเป็น “มณฑล”ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยมี สมุหเทศาภิบาล หรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล แต่ละมณฑลประกอบด้วยเมือง มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ปกครอง แต่ละเมืองยังแบ่งเป็นอำเภอมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง แต่ละอำเภอแบ่งเป็นตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน กำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองตำบลและหมู่บ้าน 3)การปกครองส่วนท้องถิ่น รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นประโยชน์ที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง“สุขาภิบาล” ซึ่งลักษณะคล้ายเทศบาลในปัจจุบัน สุขาภิบาลแห่งแรกคือสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลท่าฉลอม (จังหวัดสมุทรสาคร) เป็นสุขาภิบาลหัวเมือง เป็นการทดลองรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปรากฏว่าการดำเนินงานของสุขาภิบาลทั้ง 2 แห่งได้ผลดียิ่งจึงได้ตราเป็นพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2458 แบ่งสุขาภิบาลเป็น 2 แบบ คือ สุขาภิบาลเมือง และตำบล เพื่อขยายกิจการสุขาภิบาล ให้แพร่หลายไปยังท้องถิ่นอื่น ๆการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการวางรากฐานการปกครองในสมัยต่อมา มีการแก้ไขปรับปรุงบางส่วนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศมีระบบการบริหารที่ทันสมัย มีเอกภาพและมั่นคง
สมัยประชาธิปไตย (พ.ศ.2475-2535) สมัยรัชกาลที่ 7-ก่อน 14 ตุลาคม 2516
รูปแบบการปกครองสมัยรัชกาลที่ 6-7 ยังคงยึดรูปแบบการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงแก้ไขบ้างเพียงเล็กน้อย ทั้ง 2 พระองค์ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่คงจะมีขึ้นในภายข้างหน้า สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการจัดตั้ง “ดุสิตธานี” ให้เป็นนครจำลองในการปกครองแบบประชาธิปไตย จนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 หลังจากที่รัชกาลที่ 7 ทรงครองราชย์ได้ 7 ปี คณะผู้ก่อการซึ่งเรียกตัวเองว่า “คณะราษฎร์” ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือและพลเรือน จำนวน 99 คน ได้ทำการยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช หรือ “ราชาธิปไตย” มาเป็นระบบการปกครองแบบ “ประชาธิปไตย” และได้อัญเชิญรัชกาลที่ 7 ขึ้นเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ นับได้ว่ารัชกาลที่ 7 ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกในระบอบประชาธิปไตย
มูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
1.ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก หลังสงครามโลก รัฐบาลต้องการลดรายจ่าย โดยปลดข้าราชการบางส่วนออก ผู้ถูกปลดไม่พอใจ
2.ผู้ที่ไปเรียนจากต่างประเทศเมื่อกลับมาแล้วต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันสมัยเหมือนประเทศที่เจริญแล้ว
3.ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างข้าราชการและประชาชน จึงต้องการสิทธิเสมอภาคกัน
4.ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานชีวิตของราษฎรได้
ลักษณะการปกครองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 1.พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ 2.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ 3.อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทยและเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ 4.ประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา รัฐบาลและศาล 5.ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน 6.ประชาชนเลือกตัวแทนในการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี 7. ในการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
- การปกครองส่วนกลาง แบ่งเป็น กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ- การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น จังหวัด และอำเภอ- การปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยเป็นไปอย่างสงบไม่รุนแรงเหมือนบางประเทศอย่างไรก็ตามลักษณะการเมืองการปกครองมิได้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ อำนาจบางส่วนตกอยู่กับผู้นำทางการเมือง หรือผู้บริหารประเทศ มีการขัดแย้งกันในด้านนโยบายมีการแย่งชิงผลประโยชน์ เป็นเหตุให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นหลายครั้ง ระบบการปกครองของไทยจึงมีลักษณะกลับไปกลับมาระหว่างประชาธิปไตยกับคณาธิปไตย (การปกครองโดยคณะปฏิวัติ)
ประชาธิปไตย หลัง 14 ตุลาคม 2516
จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2511 หลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ซึ่งใช้เวลาร่างถึง 10 ปีแต่หลังจากบริหารประเทศมาเพียง 3 ปีเศษ จอมพลถนอม กิตติขจร และคณะได้ทำการปฏิวัติตนเองและล้มเลิก รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 และได้เข้าควบคุมการบริหารประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ การบริหารประเทศโดยคณะปฏิวัติ ซึ่งนำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร หรือกลุ่ม ถนอม-ประภาส-ณรงค์ ถูกมองว่าเป็นการทำการปฏิวัติเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและกลุ่ม มีการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นมากมายในที่สุด นิสิต นักศึกษา และประชาชนได้ร่วมกันเรียกร้องรัฐธรรมนูญและขับไล่รัฐบาล จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเรียกเป็น “วันมหาวิปโยค” และในที่สุดจอมพลถนอม กิตติขจรและคณะต้องลาออกจากตำแหน่งและเดินทางออกนอกประเทศภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีระยะหนึ่งในระยะนี้ถือว่าเป็นการตื่นตัวในทางประชาธิปไตยอย่างมาก มีการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพมากขึ้น มีการจัดหยุดงาน (Strife) มีการแสดงออกในทางเสรีภาพด้านการพูด การเขียน จำนวนหนังสือพิมพ์ได้มีออกจำหน่ายมากขึ้น มีกลุ่มพลังทางการเมืองเกิดขึ้นมากมาย มีการเดินขบวน เพื่อเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์หลายครั้งเหตุการณ์เหล่านี้ได้สร้างความเบื่อหน่ายให้กับประชาชนเรื่อยมา อีกทั้งคุณภาพของผู้แทนราษฎรไม่ดีไปกว่าเดิม นิสิตนักศึกษาได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเหตุการณ์วุ่นวายต่างๆ
จนในที่สุดเกิดวิกฤติการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 ทหารในนาม “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” ได้เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้แต่งตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร บริหารประเทศมาได้เพียง 1 ปี คณะปฏิรูปฯ ได้ยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่ง และครั้งหลังนี้ได้แต่งตั้งพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523 จึงได้ลาออกจากตำแหน่ง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจาก พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ดำรงตำแหน่งมาจนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2531 รวมระยะเวลา 8 ปีเศษได้มีการปรับปรุงคณะรัฐบาลหลายครั้ง ในระหว่างดำรงตำแหน่ง มีผู้พยายามทำการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ สมัย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ชื่อว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ทางด้านการเมืองการปกครองมีการพัฒนาโครงสร้างทางการเมือง ให้เข้มแข็งรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศให้ก้าวหน้าด้วย พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อจากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2531 และถือได้ว่าเป็นคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความชอบธรรมในกระบวนการบริหารตามระบอบประชาธิปไตย
รัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ถูกคณะทหารซึ่งเรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติทำการยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 และได้แต่งตั้งให้ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน ทำการบริหารประเทศมาได้ปีเศษจึงพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่นำโดย พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลโดยพลเอก สุจินดา คราประยูร ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งจึงถูกต่อต้านจากพรรคการเมืองบางพรรค นิสิตนักศึกษา และประชาชนบางกลุ่ม จนนำไปสู่เหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” เมื่อวันที่ 15-17 พฤษภาคม 2535 ในที่สุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ลาออกจากตำแหน่ง นายอานันท์ ปันยารชุน ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง โดยมีเป้าหมายสำคัญที่การยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่และเมื่ออยู่ในตำแหน่งได้ประมาณ 3 เดือนเศษ จึงได้ทำการยุบสภา เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2535เป็นต้นมา
ประวัติการปฏิวัติ รัฐประหารในประเทศไทย
รูปแบบของการจลาจลกบฏ ปฏิวัติหรือรัฐประหารความหมายของคำเหล่านี้เหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้กำลังอาวุธยึดอำนาจทางการเมืองแต่มีความหมายต่างกันในด้านผลของการใช้กำลังความรุนแรงนั้น หากทำการไม่สำเร็จจะถูกเรียกว่า กบฏ จลาจล (rebellion) ถ้าการยึดอำนาจนั้นสัมฤทธิผล และเปลี่ยนเพียงรัฐบาลเรียกว่า รัฐประหาร (coupd etat) แต่ถ้ารัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง ก็นับว่าเป็น การปฏิวัติครั้งสำคัญๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่
- การปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส ค.ศ.1789
- การปฏิวัติในรัสเซีย ค.ศ.1917
- การปฏิวัติของจีนในปี ค.ศ.1949
- การปฏิวัติในคิวบา ค.ศ.1952
ในการเมืองไทยคำว่า ปฏิวัติ กับ รัฐประหาร มักใช้ปะปนกัน แล้วแต่ผู้ยึดอำนาจได้นั้นจะเรียกตัวเองว่าอะไร เท่าที่ผ่านมามักนิยมใช้คำว่า ปฏิวัติ เพราะเป็นคำที่ดูขึงขังน่าเกรงขามเพื่อความสะดวกในการธำรงไว้ซึ่งอำนาจที่ได้มานั้น ทั้งที่โดยเนื้อแท้แล้ว นับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่แท้จริงครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การยึดอำนาจโดยวิธีการใช้กำลังครั้งต่อๆ มาในทางรัฐศาสตร์ถือว่าเป็นเพียงการรัฐประหารเท่านั้น เพราะผู้ยึดอำนาจได้นั้นไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงหลักการมูลฐานของระบอบการปกครองเลย ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมทางการเมืองและมิให้สับสนกับการใช้ชื่อเรียกตัวเองของคณะที่ทำการยึดอำนาจทั้งหลาย อาจสรุปความหมายแคบๆ โดยเฉพาะเจาะจงสำหรับคำว่าปฏิวัติ และรัฐประหารในบรรยากาศการเมืองไทยเป็นดังนี้คือ "ปฏิวัติ" หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่
อาจมีหรือไม่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง เช่นเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย หรือ คอมมิวนิสต์ ฯลฯ "รัฐประหาร" หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าต่อไป หรือประกาศใช้รัฐธรรมฉบับใหม่ เพื่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก ในประเทศไทยถือได้ว่ามีการปฏิวัติเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียวคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2547 โดยคณะราษฎร จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และมีการกบฏเกิดขึ้น 12 ครั้ง และรัฐประหาร 9 ครั้ง ดังนี้
กบฏ 12 ครั้ง
1.กบฏ ร.ศ.130 2.กบฏบวรเดช 11 ต.ค. 24763.กบฏนายสิบ 3 ส.ค.2478 4.กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ 29 ม.ค.2482 5.กบฏเสนาธิการ 1 ต.ค.2491 6.กบฏแบ่งแยกดินแดน พ.ย. 2491 7.กบฏวังหลวง 26 ก.พ.2492 8.กบฏแมนฮัตตัน 29 มิ.ย. 2494 9.กบฏสันติภาพ 8 พ.ย. 2497 10.กบฏ 26 มี.ค. 2520 11.กบฏยังเติร์ก 1-3 เม.ย. 2524 12.กบฏทหารนอกราชการ 9 ก.ย. 2528
รัฐประหาร 9 ครั้ง 1.พ.อ.พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร 20 มิ.ย. 2476 2.พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก ทำการรัฐประหาร เมื่อ 8 พ.ย. 2490 3.จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร 29 พ.ย.2494 4.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร 16 ก.ย. 2500 5.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำรัฐประหาร 20 ต.ค.2501 6.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร 17 พ.ย. 2514 7.พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 8.พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 25349.คณะผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ ผบ.ตร. นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ทำการ รัฐประหาร เมื่อ 19 ก.ย. 2549
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศสำหรับประเทศไทย นับจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๕๗๕ เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและประกาศใช้รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองอีกหลายฉบับ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์บ้านเมืองที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัยบรรดารัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองที่มีมาทุกฉบับ มีสาระสำคัญเหมือนกัน ที่ยึดมั่นในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล จะมีเนื้อหาแตกต่างกันก็แต่เฉพาะในเรื่องสถานภาพของรัฐสภาและสัมพันธภาพระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น ๆ มีดังนี้ (ข้อมูลถึงปี 2551)
1.พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
3.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
4.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
5.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
6.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
7.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
8.รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
9.ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
10.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
11.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
12.ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
13.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
14.ธรรมนูยการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
15.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2538
16.รัฐธรรมนูยแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
17.เปรียบเทียบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 กับ
พุทธศักราช 2540
18.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
กรุงศรีอยุธยาสถาปนา เมื่อปี พ.ศ.1893 โดยพระเจ้าอู่ทอง(พระรามาธิบดีที่ 1) สมัยกรุงศรีอยุธยามีการปกครองแบบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราช โดยสมบูรณ์แบบ คืออำนาจอยู่ที่กษัตริย์เพียงพระองค์เดียว โดยเชื่อถือตามคติพราหมณ์ตามแบบพวกเขมรว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอำนาจจากสวรรค์ ฐานะของกษัตริย์จึงเป็น “สมมติเทพ” ทรงมีอำนาจที่จะกำหนดชะตาชีวิตของใครก็ได้จึงเรียกระบบการปกครองนี้ว่า “ระบบเทวสิทธิ์”(Divine Right) ลักษณะการปกครองเป็นแบบนายปกครองบ่าว หรือ “เจ้าปกครองไพร่ ฐานะของกษัตริย์กับประชาชนจึงห่างไกลกัน ข้าราชบริพารเป็นสื่อกลางระหว่างกษัตริย์ และประชาชน จึงเกิดเป็นระบบเจ้าขุนมูลนาย หรือศักดินาขึ้นระบบเจ้าขุนมูลนายหรือศักดินาเกิดขึ้นเพราะกรุงศรีอยุธยาอยู่ในสภาวะสงครามตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องให้พลเมืองทุกคนอยู่ในสังกัดของเจ้าขุนมูลนายเพื่อว่าเมื่อมีศึกสงครามพระมหากษัตริย์จะได้สั่งการ ให้เจ้าขุนมูลนายเกณฑ์ไพร่พลมาช่วยทำสงครามป้องกันบ้านเมืองได้
พระเจ้าอู่ทอง(พระรามาธิบดีที่ 1) ทรงวางระบบการปกครองดังนี้ ส่วนกลางเป็นแบบจตุสดมภ์ โดยมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ดูแลกิจกรรมหลัก 4 ประการของการบริหารราชการแผ่นดิน มีการแบ่งหัวเมือง 3 ระดับ คือ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช
สมัยพระบรมไตรโลกนาถ - สมัยรัชกาลที่ 4
ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031)มีการปรับปรุงระบบบริหารใหม่โดยแยกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือนหัวหน้าฝ่ายพลเรือน เรียกว่า“สมุหนายก” รับผิดชอบด้านการบริหารพลเรือนเกี่ยวกับ เมือง วัง คลัง นา หัวหน้าฝ่ายทหาร เรียกว่า “สมุหกลาโหม” รับผิดชอบด้านการทหารและป้องกันประเทศ เช่น กรมช้าง กรมม้า กรมทหารราบ ส่วนในด้านภูมิภาคได้มีการปฏิรูปการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง คือ เมืองหลวง มากขึ้นขยายเขตหัวเมืองชั้นในให้กว้างขวางขึ้น หัวเมืองชั้นนอกให้เรียกเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลักษณะความสำคัญและขนาดของพื้นที่
และส่งพระราชวงศ์ หรือขุนนางไปดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ เมืองประเทศราชยังคงให้ปกครองตนเอง และส่งบรรณาการ 3 ปีต่อครั้ง ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา(สมัยพระเพทราชา) จึงมีการปรับปรุงระบบการปกครองอีกครั้งหนึ่ง โดยแยกหัวเมืองนอกเขตราชธานีเป็น 2 ภาค หัวเมืองภาคเหนือให้สมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน หัวเมืองภาคใต้ให้สมุหกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบดูแล ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนเช่นกัน ในด้านการปกครอง มีการปรับปรุงหัวเมืองภูมิภาค 3 ส่วน คือ หัวเมืองฝ่ายเหนือ สังกัดสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายใต้ สังกัดสมุหกลาโหม หัวเมืองชายทะเลตะวันออก และเมืองท่าสังกัดกรมท่า ในสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบอยุธยาตอนปลายแต่บทบาทกษัตริย์ในฐานะสมมติเทพเริ่มค่อย ๆลดความสำคัญลง โดยเฉพาะรัชกาลที่ 4 ทรงดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการทั้งหลาย จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นเหมือนสมัยสุโขทัย
สมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2411 - 2475)
สมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ เรียกว่า “การปฏิรูปการปกครอง”อันนำมาซึ่งความเจริญอย่างมากมายในปัจจุบัน การปฏิรูปการปกครองที่สำคัญ ได้แก่
1)การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และจตุสดมภ์แล้วแบ่งส่วนราชการเป็น 12 กระทรวง มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าราชการกระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสัดส่วนแน่นอน ไม่ก้าวก่ายกันเหมือนแต่ก่อน เช่นกระทรวงมหาดไทยดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว กระทรวงกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ตะวันออกแหลมมลายู กระทรวงการต่างประเทศดูแลในเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศ กระทรวงนครบาล รับผิดชอบด้านความสงบเรียบร้อยภายในเมืองหลวงกระทรวงพระคลังมหาสมบัติดูแลในการจัดเก็บภาษีและหาเงินเข้าท้องพระคลังเป็นต้น
2)การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค ยกเลิกระบบเมืองเอก โท ตรี แต่ให้รวมหัวเมืองภาคเหนือ ภาคใต้และเมืองท่าตั้งเป็น “มณฑล”ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยมี สมุหเทศาภิบาล หรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล แต่ละมณฑลประกอบด้วยเมือง มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ปกครอง แต่ละเมืองยังแบ่งเป็นอำเภอมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง แต่ละอำเภอแบ่งเป็นตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน กำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองตำบลและหมู่บ้าน 3)การปกครองส่วนท้องถิ่น รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นประโยชน์ที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง“สุขาภิบาล” ซึ่งลักษณะคล้ายเทศบาลในปัจจุบัน สุขาภิบาลแห่งแรกคือสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลท่าฉลอม (จังหวัดสมุทรสาคร) เป็นสุขาภิบาลหัวเมือง เป็นการทดลองรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปรากฏว่าการดำเนินงานของสุขาภิบาลทั้ง 2 แห่งได้ผลดียิ่งจึงได้ตราเป็นพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2458 แบ่งสุขาภิบาลเป็น 2 แบบ คือ สุขาภิบาลเมือง และตำบล เพื่อขยายกิจการสุขาภิบาล ให้แพร่หลายไปยังท้องถิ่นอื่น ๆการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการวางรากฐานการปกครองในสมัยต่อมา มีการแก้ไขปรับปรุงบางส่วนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศมีระบบการบริหารที่ทันสมัย มีเอกภาพและมั่นคง
สมัยประชาธิปไตย (พ.ศ.2475-2535) สมัยรัชกาลที่ 7-ก่อน 14 ตุลาคม 2516
รูปแบบการปกครองสมัยรัชกาลที่ 6-7 ยังคงยึดรูปแบบการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงแก้ไขบ้างเพียงเล็กน้อย ทั้ง 2 พระองค์ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่คงจะมีขึ้นในภายข้างหน้า สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการจัดตั้ง “ดุสิตธานี” ให้เป็นนครจำลองในการปกครองแบบประชาธิปไตย จนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 หลังจากที่รัชกาลที่ 7 ทรงครองราชย์ได้ 7 ปี คณะผู้ก่อการซึ่งเรียกตัวเองว่า “คณะราษฎร์” ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือและพลเรือน จำนวน 99 คน ได้ทำการยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช หรือ “ราชาธิปไตย” มาเป็นระบบการปกครองแบบ “ประชาธิปไตย” และได้อัญเชิญรัชกาลที่ 7 ขึ้นเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ นับได้ว่ารัชกาลที่ 7 ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกในระบอบประชาธิปไตย
มูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
1.ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก หลังสงครามโลก รัฐบาลต้องการลดรายจ่าย โดยปลดข้าราชการบางส่วนออก ผู้ถูกปลดไม่พอใจ
2.ผู้ที่ไปเรียนจากต่างประเทศเมื่อกลับมาแล้วต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันสมัยเหมือนประเทศที่เจริญแล้ว
3.ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างข้าราชการและประชาชน จึงต้องการสิทธิเสมอภาคกัน
4.ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานชีวิตของราษฎรได้
ลักษณะการปกครองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 1.พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ 2.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ 3.อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทยและเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ 4.ประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา รัฐบาลและศาล 5.ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน 6.ประชาชนเลือกตัวแทนในการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี 7. ในการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
- การปกครองส่วนกลาง แบ่งเป็น กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ- การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น จังหวัด และอำเภอ- การปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยเป็นไปอย่างสงบไม่รุนแรงเหมือนบางประเทศอย่างไรก็ตามลักษณะการเมืองการปกครองมิได้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ อำนาจบางส่วนตกอยู่กับผู้นำทางการเมือง หรือผู้บริหารประเทศ มีการขัดแย้งกันในด้านนโยบายมีการแย่งชิงผลประโยชน์ เป็นเหตุให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นหลายครั้ง ระบบการปกครองของไทยจึงมีลักษณะกลับไปกลับมาระหว่างประชาธิปไตยกับคณาธิปไตย (การปกครองโดยคณะปฏิวัติ)
ประชาธิปไตย หลัง 14 ตุลาคม 2516
จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2511 หลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ซึ่งใช้เวลาร่างถึง 10 ปีแต่หลังจากบริหารประเทศมาเพียง 3 ปีเศษ จอมพลถนอม กิตติขจร และคณะได้ทำการปฏิวัติตนเองและล้มเลิก รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 และได้เข้าควบคุมการบริหารประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ การบริหารประเทศโดยคณะปฏิวัติ ซึ่งนำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร หรือกลุ่ม ถนอม-ประภาส-ณรงค์ ถูกมองว่าเป็นการทำการปฏิวัติเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและกลุ่ม มีการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นมากมายในที่สุด นิสิต นักศึกษา และประชาชนได้ร่วมกันเรียกร้องรัฐธรรมนูญและขับไล่รัฐบาล จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเรียกเป็น “วันมหาวิปโยค” และในที่สุดจอมพลถนอม กิตติขจรและคณะต้องลาออกจากตำแหน่งและเดินทางออกนอกประเทศภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีระยะหนึ่งในระยะนี้ถือว่าเป็นการตื่นตัวในทางประชาธิปไตยอย่างมาก มีการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพมากขึ้น มีการจัดหยุดงาน (Strife) มีการแสดงออกในทางเสรีภาพด้านการพูด การเขียน จำนวนหนังสือพิมพ์ได้มีออกจำหน่ายมากขึ้น มีกลุ่มพลังทางการเมืองเกิดขึ้นมากมาย มีการเดินขบวน เพื่อเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์หลายครั้งเหตุการณ์เหล่านี้ได้สร้างความเบื่อหน่ายให้กับประชาชนเรื่อยมา อีกทั้งคุณภาพของผู้แทนราษฎรไม่ดีไปกว่าเดิม นิสิตนักศึกษาได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเหตุการณ์วุ่นวายต่างๆ
จนในที่สุดเกิดวิกฤติการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 ทหารในนาม “คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน” ได้เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้แต่งตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร บริหารประเทศมาได้เพียง 1 ปี คณะปฏิรูปฯ ได้ยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่ง และครั้งหลังนี้ได้แต่งตั้งพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523 จึงได้ลาออกจากตำแหน่ง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจาก พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ดำรงตำแหน่งมาจนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2531 รวมระยะเวลา 8 ปีเศษได้มีการปรับปรุงคณะรัฐบาลหลายครั้ง ในระหว่างดำรงตำแหน่ง มีผู้พยายามทำการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ สมัย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ชื่อว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ทางด้านการเมืองการปกครองมีการพัฒนาโครงสร้างทางการเมือง ให้เข้มแข็งรวมถึงการพัฒนาโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศให้ก้าวหน้าด้วย พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อจากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2531 และถือได้ว่าเป็นคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความชอบธรรมในกระบวนการบริหารตามระบอบประชาธิปไตย
รัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ถูกคณะทหารซึ่งเรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติทำการยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 และได้แต่งตั้งให้ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน ทำการบริหารประเทศมาได้ปีเศษจึงพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่นำโดย พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลโดยพลเอก สุจินดา คราประยูร ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งจึงถูกต่อต้านจากพรรคการเมืองบางพรรค นิสิตนักศึกษา และประชาชนบางกลุ่ม จนนำไปสู่เหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” เมื่อวันที่ 15-17 พฤษภาคม 2535 ในที่สุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ลาออกจากตำแหน่ง นายอานันท์ ปันยารชุน ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง โดยมีเป้าหมายสำคัญที่การยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่และเมื่ออยู่ในตำแหน่งได้ประมาณ 3 เดือนเศษ จึงได้ทำการยุบสภา เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2535เป็นต้นมา
ประวัติการปฏิวัติ รัฐประหารในประเทศไทย
รูปแบบของการจลาจลกบฏ ปฏิวัติหรือรัฐประหารความหมายของคำเหล่านี้เหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้กำลังอาวุธยึดอำนาจทางการเมืองแต่มีความหมายต่างกันในด้านผลของการใช้กำลังความรุนแรงนั้น หากทำการไม่สำเร็จจะถูกเรียกว่า กบฏ จลาจล (rebellion) ถ้าการยึดอำนาจนั้นสัมฤทธิผล และเปลี่ยนเพียงรัฐบาลเรียกว่า รัฐประหาร (coupd etat) แต่ถ้ารัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง ก็นับว่าเป็น การปฏิวัติครั้งสำคัญๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่
- การปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส ค.ศ.1789
- การปฏิวัติในรัสเซีย ค.ศ.1917
- การปฏิวัติของจีนในปี ค.ศ.1949
- การปฏิวัติในคิวบา ค.ศ.1952
ในการเมืองไทยคำว่า ปฏิวัติ กับ รัฐประหาร มักใช้ปะปนกัน แล้วแต่ผู้ยึดอำนาจได้นั้นจะเรียกตัวเองว่าอะไร เท่าที่ผ่านมามักนิยมใช้คำว่า ปฏิวัติ เพราะเป็นคำที่ดูขึงขังน่าเกรงขามเพื่อความสะดวกในการธำรงไว้ซึ่งอำนาจที่ได้มานั้น ทั้งที่โดยเนื้อแท้แล้ว นับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่แท้จริงครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การยึดอำนาจโดยวิธีการใช้กำลังครั้งต่อๆ มาในทางรัฐศาสตร์ถือว่าเป็นเพียงการรัฐประหารเท่านั้น เพราะผู้ยึดอำนาจได้นั้นไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงหลักการมูลฐานของระบอบการปกครองเลย ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมทางการเมืองและมิให้สับสนกับการใช้ชื่อเรียกตัวเองของคณะที่ทำการยึดอำนาจทั้งหลาย อาจสรุปความหมายแคบๆ โดยเฉพาะเจาะจงสำหรับคำว่าปฏิวัติ และรัฐประหารในบรรยากาศการเมืองไทยเป็นดังนี้คือ "ปฏิวัติ" หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่
อาจมีหรือไม่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง เช่นเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย หรือ คอมมิวนิสต์ ฯลฯ "รัฐประหาร" หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าต่อไป หรือประกาศใช้รัฐธรรมฉบับใหม่ เพื่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก ในประเทศไทยถือได้ว่ามีการปฏิวัติเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียวคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2547 โดยคณะราษฎร จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และมีการกบฏเกิดขึ้น 12 ครั้ง และรัฐประหาร 9 ครั้ง ดังนี้
กบฏ 12 ครั้ง
1.กบฏ ร.ศ.130 2.กบฏบวรเดช 11 ต.ค. 24763.กบฏนายสิบ 3 ส.ค.2478 4.กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ 29 ม.ค.2482 5.กบฏเสนาธิการ 1 ต.ค.2491 6.กบฏแบ่งแยกดินแดน พ.ย. 2491 7.กบฏวังหลวง 26 ก.พ.2492 8.กบฏแมนฮัตตัน 29 มิ.ย. 2494 9.กบฏสันติภาพ 8 พ.ย. 2497 10.กบฏ 26 มี.ค. 2520 11.กบฏยังเติร์ก 1-3 เม.ย. 2524 12.กบฏทหารนอกราชการ 9 ก.ย. 2528
รัฐประหาร 9 ครั้ง 1.พ.อ.พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร 20 มิ.ย. 2476 2.พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก ทำการรัฐประหาร เมื่อ 8 พ.ย. 2490 3.จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร 29 พ.ย.2494 4.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร 16 ก.ย. 2500 5.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำรัฐประหาร 20 ต.ค.2501 6.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร 17 พ.ย. 2514 7.พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 8.พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 25349.คณะผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ ผบ.ตร. นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ทำการ รัฐประหาร เมื่อ 19 ก.ย. 2549
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศสำหรับประเทศไทย นับจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๕๗๕ เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและประกาศใช้รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองอีกหลายฉบับ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์บ้านเมืองที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัยบรรดารัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองที่มีมาทุกฉบับ มีสาระสำคัญเหมือนกัน ที่ยึดมั่นในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล จะมีเนื้อหาแตกต่างกันก็แต่เฉพาะในเรื่องสถานภาพของรัฐสภาและสัมพันธภาพระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น ๆ มีดังนี้ (ข้อมูลถึงปี 2551)
1.พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
3.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
4.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
5.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
6.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
7.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
8.รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
9.ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
10.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
11.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
12.ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
13.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
14.ธรรมนูยการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
15.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2538
16.รัฐธรรมนูยแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
17.เปรียบเทียบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 กับ
พุทธศักราช 2540
18.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
การปกครองท้องถิ่นรูปต่างๆ และการจัดองค์การบริหาร
การจัดองค์การและการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และสุขาภิบาล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นโดย พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 โดยมีเจตนารมณ์ที่จะเร่งพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดที่มิได้อยู่ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาลให้เจริญขึ้นอีกทางหนึ่ง จึงเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่เพราะมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่จังหวัด แต่ยกเว้นพื้นที่ของหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปอื่นในจังหวัด
1. การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคล และตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นราชการส่วนท้องถิ่น โดยจัดตั้งขึ้นจังหวัดละ 1 แห่ง ในทุก จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร เพราะมีการจัดการปกครองท้องถิ่นรูปเศษ) รับผิดชอบในเขตท้องที่ของจังหวัดอยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล เป็นหน่วยการปกครองที่แยกต่างหากไปส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง อีกทั้งเป็นหน่วยการปกครองที่มีงบประมาณ ทรัพย์สิน และเจ้าหน้าที่ของตนเอง มีอำนาจหน้าที่จัดทำกิจการที่เรียกว่า “กิจการส่วนจังหวัด” ในเขตที่รับผิดชอบโดยอิสระตามที่กฎหมายกำหนด
ดังนั้น หน่วยการปกครองจังหวัดมีฐานะ 2 อย่างในขณะเดียวกัน คือ เป็นทั้ง “ราชการบริหารส่วนภูมิภาค” และ “ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น” กล่าวคือ
จังหวัดในฐานะเป็น “ราชการบริหารส่วนภูมิภาค” ซึ่งเป็นตัวแทนของราชการบริหารส่วนกลางที่แยกออกไปสู่ส่วนต่างๆ ของประเทศ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และตามที่กระทรวง ทบวง กรม ส่วนกลางมอบหมายมาปฏิบัติให้เหมาะสมกบท้องที่และประชาชน จึงเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิที่ใหญ่ที่สุด โดยมี “อำเภอ” เป็นหน่วยรองลงมา การบริหารงานในด้านการใช้จ่ายเพื่อดำเนินงานต่างๆ ใช้จากเงินงบประมาณแผ่นดิน กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ได้รับและจัดสรรไปให้ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานมาจากการแต่งตั้งของส่วนกลาง และอยู่ในบังคับบัญชาของส่วนกลาง ตามลำดับ รวมทั้งได้รับเงินเดือนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากเงินงบประมาณแผ่นดินของส่วนกลางทั้งสิ้น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติให้เหมาะสมกับท้องที่ที่ประชาชน ดังนั้น จึงเป็นหน่วยงานที่นำนโยบายของส่วนกลางไปปฏิบัติให้เกิดผลประโยชน์โดยตรงในจังหวัดและอำเภอที่รับผิดชอบ
จังหวัดในฐานะเป็น “ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น” เป็นหน่วยงานที่แยกไปต่างหากจากการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง โดยมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการที่เรียกว่า “กิจการส่วนจังหวัด” ตามที่กฎหมายกำหนด จึงมีทรัพย์สิน งบประมาณ และรายได้จากภาษีอากรของตนเอง ซึ่งสามารถนำมาใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ อีกทั้งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดโดยอิสระ ราชการส่วนกลางเพียงแต่ควบคุมดูแล มีการจัดระเบียบการปกครองที่มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ “สภาจังหวัด” และ “ผู้ว่าราชการจังหวัด” เป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปนี้
2. การจัดองค์การและการบริหาร ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วย “สภาจังหวัด” และ “ผู้ว่าราชการจังหวัด” เป็นผู้ดำเนินกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
2.1 สภาจังหวัด เป็นองค์การตัวแทนของราษฎรในจังหวัดและเป็นองค์การฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งจากอำเภอต่างๆ ในจังหวัด จำนวนสมาชิกถือเกณฑ์ตามจำนวนราษฎร แต่ ละจังหวัดคือ
- จังหวัดที่มีราษฎรไม่เกิน 200,000 คน มีสมาชิกได้ 18 คน
- จังหวัดที่มีราษฎรเกินกว่า 200,000 คน แต่ไม่เกิน 500,000 คน มีสมาชิกได้ 24 คน
- จังหวัดที่มีราษฎรเกินกว่า 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1,000,000 คน มีสมาชิกได้ 30 คน
- จังหวัดที่มีราษฎรเกินกว่า 1,000,000 คน ขึ้นไป มีสมาชิกได้ 36 คน
ดังนั้น จำนวนสมาชิกต้องมีอย่างน้อย 18 คน อย่างมาก 36 คน โดยให้อำเภอหนึ่งๆ เลือกตั้งสมาชิกได้หนึ่งโดยมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และจะสิ้นสุดลงก่อนครบวาระเมื่อ
- สภาจังหวัดถูกยุบโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ตาย
- ลาออก
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ออก เพราะขาดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
- สภาจังหวัดวินิจฉัยให้ออกเพราะมีความประพฤติไม่เหมาะสม แต่ต้องมีเสียงไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่งทั้งหมด
อำนาจหน้าที่ของสภาจังหวัดสรุปได้ดังนี้
(1) ตราข้อบัญญัติจังหวัด มีกระบวนการดำเนิน การ คือ ร่างข้อบัญญัติเสนอได้โดยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสมาชิกสภาจังหวัด เมื่อสภาจังหวัดพิจารณาและลงมติเห็นชอบ จะใช้บังคับได้ต่อเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบ โดยลงชื่อประกาศใช้ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับร่าง แต่ถ้าไม่เห็นชอบด้วยก็ต้องส่งร่างข้อบัญญัตินั้นไปให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณา ซึ่งถ้าเห็นชอบด้วยก็จะส่งกลับไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดให้ลงชื่อบังคับใช้ แต่ถ้าไม่เห็นชอบก็เป็นอันระงับไป อีกทั้งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจจะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดไว้ด้วยก็ได้ โดยไม่เกิน 100 บาท และถือเป็นความผิดลหุโทษ
(2) อนุมัติงบประมาณ คือ แผนการหรืโครงการปฏิบัติแต่ละปีที่จัดทำขึ้นและเสนอโดยฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติงบประมาณประจำปีของจังหวัดต่อสภาจังหวัด เพราะงบประมาณประจำปีของจังหวัดต้องตราเป็นข้อบัญญัติจังหวัด
(3) การควบคุมการบริหารงานกิจการ สมาชิกสภาจังหวัดมีสิทธิตั้งกระทู้ถามและสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ โดยเป็นข้อความที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของราชการบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งทำได้ทั้งในสภา และในส่วนภูมิภาค สำหรับคำสอบถามและการตอบให้บันทึกทำเป็นหนังสือเสนอ กระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีสิทธิไม่ตอบถ้าเห็นว่ายังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของจังหวัด หรือเกี่ยวข้องกับนโยบายราชการบริหารส่วนกลาง ตลอดจนอาจมีการตั้งคณะกรรมการสามัญ และวิสามัญอันถือเป็นการควบคุมฝ่ายบริหารในการดำเนินกิจการส่วนจังหวัดในรูปคณะกรรมการ
2.2 ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกระทรวงมหาดไทย และมี 2 ฐานะ คือ
(ก) ฐานะเป็นตัวแทนราชการบริหารส่วนกลาง มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนภูมิภาพในเขตจังหวัด ตลอดจนรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ควบคุมดูแลเทศบาลและสุขาภิบาลแทนราชการส่วนกลางด้วย
(ข) ฐานะเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารกิจการส่วนจังหวัดตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เรียกว่า “องค์การบริหารส่วนจังหวัด” อันเป็นตำแหน่งคล้ายกับนกยกเทศมนตรี โดยมีหน้าที่ปฏิบัติกิจการส่วนจังหวัดที่แยกต่างหากจากราชการส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง ต้องรับผิดชอบต่อสภาจังหวัด ดังนั้น จึงมีอำนาจหน้าที่อันได้แก่ ปฏิบัติตามมติของสภาจังหวัด, ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการส่วนจังหวัด, เสนอร่างข้อบัญญัติจังหวัดและให้ความเห็นชอบประกาศใช้ร่างข้อบัญญัติจังหวัด,เปิด – ปิด และขยายเวลาสมัยประชุมสภาจังหวัด สั่งเพิกถอนมติของสภาจังหวัด, รับใบลาออกและสั่งให้สมาชิกสภาจังหวัดออก และปฏิบัติหน้าที่ทั่วไป
3. หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีหน้าที่ทำกิจการที่ เรียกว่า “กิจการส่วนจังหวัด” ซึ่งเป็นกิจการที่รัฐมอบให้จัดทำ ทั้งนี้ภายในวงเงินงบประมาณที่ตั้งไว้ ของจังหวัด และได้รับอนุมัติจากสภาจังหวัดแล้วกิจการส่วนจังหวัด เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน, การศึกษา การทุบำรุงศาสนา และการส่งเสริมวัฒนธรรม, การสาธารณูปการ, การป้องกันโรค การบำบัดโรค การจัดตั้งและบำรุงสถานพยาบาล การจัดให้มีการบำรุงทั้งทางน้ำและทางบก, การจัดให้มีการบำรุงทางระบายน้ำ, การรักษาความสะอาดท้องถนน ทางเดิน และที่สาธารณะ, การกำจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล, การจัดให้มีน้ำสะอาดและบำรุงการไฟฟ้า, การจัดให้มีสุสาน และฌาปนสถาน, การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น นอกจากนี้อาจทำกิจการนอกเขตโดยเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำและเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินตามอำนาจหน้าที่อยู่ในเขตของตน โดยได้รับความยินยอมจากสภาเทศบาล คณะกรรมการสุขาภิบาล สภาจังหวัด หรือตำบลแห่งท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อีกทั้งอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นในรูปบริษัทจำกัด หรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค และต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เช่นกัน
4. รายได้และรายจ่ายองค์การบริหารส่วนจังหวัด
4.1 รายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายจึงอาจมีรายได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ และผลประโยชน์ ซึ่งเป็นรายได้ที่เทศบาลจะตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนให้จังหวัดให้จัดเก็บเพิ่มขึ้นเฉพาะท้องที่นอกเขตสุขาภิบาล เพื่อกิจการส่วนจังหวัดด้วยก็ได้
4.2 รายจ่ายองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ร.บ. บริหารราชการส่วนจังหวัดได้กำหนดประเภทรายจ่ายไว้ คือ เงินเดือน, ค่าจ้าง, เงินตอบแทนอื่นๆ, ค่าใช้สอย, ค่าวัสดุ, ค่าครุภัณฑ์, ค่าที่ดิน, สิ่งก่อสร้างและทรัพย์สินอื่นๆ เงินอุดหนุน ตลอดจนรายจ่ายอื่นใดตามข้อผูกพันหรือตามที่กฎหมายหรือระเบียบกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้
5. ข้าราชการส่วนจังหวัดและการแบ่งราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งนอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าฝ่าบริหารแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้มี “ข้าราชการส่วนจังหวัด” ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำและมีฐานะเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน จึงให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้เป็นระเบียบข้าราชการส่วนจังหวัดโดยอนุโลม แบ่งการบริหารส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดออกเป็น
(1) สำนักงานเลขานุการจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการทั่วไปของจังหวัด
(2) ส่วนต่างๆ ที่จังหวัดจัดตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการส่วนจังหวัดในส่วนนั้น เช่น ส่วนการคลัง การโยธา ส่วน รพช. ส่วนอำเภอ ส่วนกิ่งอำเภอ เป็นต้น
6. การควบคุมองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(1) การยุบสภาพจังหวัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจที่จะยุบสภาจังหวัดเพื่อให้ราษฏรเลือกตั้งใหม่ และต้องแสดงเหตุผล และกำหนดให้เลือกตั้งใหม่ภายใน 90 วัน
(2) สั่งเพิกถอนมติสภาจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งเพิกถอนมติซึ่งมิใช้ข้อบัญญัติจังหวัด เมื่อเห็นว่ามตินั้นเป็นการเมืองแห่งรัฐหรือฝ่าฝืนกฎหมาย แต่ต้องสั่งเพิกถอนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่สภาจังหวัดมีมติ
แผนภูมิองค์การบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
สภาจังหวัด
(เลือกตั้ง)
ผู้ว่าราชการจังหวัด
(โดยตำแหน่ง)
ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สำนักงานเลขานุการจังหวัด
ส่วนอำเภอ
ส่วน…
ส่วน…
เทศบาล
เทศบาลเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยโดย พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2476 ซึ่งมีลักษณะสมบูรณ์ตามหลักการกระจายอำนาจ โดยไดกำหนดโครงสร้างของเทศบาลที่จำลองรูปแบบการปกครองของประเทศแบบรัฐสภา และนิยมกันมากในประเทศตะวันตก ปัจจุบันเทศบาลได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 กับฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม วัตถุประสงค์ของการนำมาใช้ก็เพื่อให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการปกครองในระดับท้องถิ่นตามแบบอารยประเทศ
1. การจัดตั้งเทศบาล
พระราชบัญญัติเทศบาล แบ่งเทศบาลออกเป็น 3 ประเภท คือ
(1) เทศบาลตำบล เป็นเทศบาลขนาดเล็ก
(2) เทศบาลเมือง เป็นเทศบาลขนาดกลาง
(3) เทศบาลนคร เป็นเทศบาลขนาดใหญ่
การจัดตั้งเทศบาลจะจัดตั้งเป็นแห่งๆ ไป ส่วนการยกฐานะของท้องถิ่นขึ้นเป็นเทศบาลจะถือความสำคัญของท้องถิ่น จำนวนและความหนาแน่นของราษฎรในชุมชน ตลอดจนรายได้ที่คาดว่าสามารถจัดเก็บมาเป็นค่าใช้จ่ายการปฏิบัติหน้าที่ที่บังคับไว้ตามกฎหมาย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลตำบล โดยให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย ดังนั้น การยกฐานะท้องถิ่นใดขึ้นเป็นเทศบาลตำบลจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาล ซึ่งต้องเป็นท้องถิ่นที่มีราษฎรอยู่มาก และมีความเจริญพอสมควร
(ข) เทศบาลเมือง การจัดตั้งกระทำได้ 2 กรณี คือ
(1) ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดทุกแห่ง
(2) ท้องถิ่นอื่นๆ ซึ่งต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้
- เป็นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป
- ชุมนุมชนมีราษฎรอยู่หนาแน่เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
- มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่ที่บังคับไว้ตามกฎหมาย สำหรับเทศบาลเมือง
(ค) เทศบาลนคร การจัดตั้งจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- เป็นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป
- ชุมนุมชนมีราษฎรอยู่หนาแน่เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
- มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่ที่บังคับไว้ตามกฎหมาย สำหรับเทศบาลนคร
การจัดตั้งจะต้องกระทำเป็น “พระราชกฤษฎีกา” โดยระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย เมื่อเป็นเทศบาลแล้วก็จะมีสภาพเป็นทบวงการเมือง ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย สำหรับการเปลี่ยนชื่อเทศบาล, เปลี่ยนเขตเทศบาล, เปลี่ยนแปลงฐานะ หรือยุบเลิกเทศบาล กฎหมายก็กำหนดให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา เช่นกัน
2. การจัดตั้งองค์การและการบริหาร
พ.ร.บ.เทศบาลได้กำหนดรูปแบบโครงสร้างการจัดองค์การ และการบริหารของเทศบาลจำลองแบบการปกครองแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นแบบการปกครองประเทศมาใช้กับเทศบาลด้วย มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ
2.1 สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
เทศบาลตำบล มีสมาชิกจำนวน 12 คน
เทศบาลเมือง มีสมาชิกจำนวน 18 คน
เทศบาลนคร มีสมาชิกจำนวน 24 คน[1]
เขตเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล โดยปกติให้ถือเขตเทศบาลเป็นเขตเลือกตั้งเขตหนึ่ง แต่ถ้าเทศบาลมีจำนวนราษฎรเกินกว่า 100,000 คน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศแบ่งเขต เป็นเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่เกิน 4 เขต โดยให้แต่ละเขตมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันเท่าที่จะแบ่งได้ และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมีจำนวนเท่ากันทุกเขต อีกทั้งต้องระบุว่าเป็นเขตเลือกตั้งที่เท่าใด ของเทศบาลใดมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลที่จะทำการเลือกตั้งเท่าใด และต้องประกาศให้ราษฎรทราบก่อนวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยเขตที่ประกาศนั้นก็จะใช้ตลอดไปจนกว่าจะได้ประกาศเปลี่ยนแปลง
สมาชิกสภาเทศบาล มีวาระอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 5 ปี แต่สมาชิกภาพของเทศบาลอาจสิ้นสุดลงก่อนวาระได้ เมื่อ
(1) สภาเทศบาลถูกยุบโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(2) ตาย
(3) ลาออกโดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
(5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้สอบสวนแล้วสั่งให้ออก เพราะไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลนั้น
(6) สภากระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยให้ออก เพราะมีความประพฤติที่จะทำให้เสื่อมเสียแก่กระทรวงมหาดไทย โดยมีคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกอยู่ในตำแหน่ง
(7) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้ออก เพราะมีความประพฤติที่จะทำให้เสื่อมเสียแก่เทศบาลหรือไม่มาประชุมสภาเทศบาล 3 ครั้ง ติดๆ กัน โดยไม่มีเหตุผลสมควร
สภาเทศบาลจะมีประธานและรองประธานที่เลือกตั้งมาจากสมาชิกสภาเทศบาล โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้ง มีหน้าที่ดำเนินการของสภาเทศบาล ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุม ซึ่งในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสำคัญ 2 สมัย หรือหลายสมัยก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 4 สมัย และในการประชุมครั้งแรกต้องทำภายใน 90 วัน นับแต่การเลือกตั้งเสร็จแล้ว โดยสมัยหนึ่งๆ มีกำหนดไม่เกิน 15 วัน แต่ถ้าจะขยายออกไปก็ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนการประชุมวิสามัญควรเป็นกรณีที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งเทศบาล และมีจำนวนผู้เข้าประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่ง ซึ่งอาจยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดให้พิจารณาและเรียกประชุมเมื่อเห็นสมควร ตลอดจนอนุญาตให้มีการขยายเวลาประชุมถ้าเกินกว่า 15 วัน สำหรับองค์ประชุมต้องมีสมาชิกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่ง แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด และการลงมติวินิจฉันข้อปรึกษาให้ถือเอาเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงเพิ่มหนึ่งเสียงซึ่งเป็นเสียงชี้ขาด การประชุมสภาเทศบาลมิให้ทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่, ฝ่าฝืนกฎหมาย, หรือเรื่องการเมืองแห่งรัฐ อีกทั้งกระทำโดยเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล ส่วนการประชุมลับประธานจะดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอมติที่ประชุมเมื่อคณะเทศมนตรีหรือสมาชิกสภาเทศบาลรวมกันไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของจำวนสมาชิกที่มาประชุมร้องขอให้ทำการประชุมลับ
อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล ซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติของเทศบาล สรุปได้ดังนี้
(1) ตราเทศบัญญัติ ซึ่งใช้บังคับกับประชาชนในเขตเทศบาล และไม่ขัดแย้งต่อตัวบทกฎหมาย เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาล อีกทั้งอาจจะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดไว้ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 1,000 บาท นอกจากนี้เทศพาณิชย์ของเทศบาลกฎหมายกำหนดไว้ตราเป็น เทศบัญญัติด้วย สำหรับการนำเสนอร่างทำได้โดยสมาชิกสภาเทศบาลหรือคณะเทศมนตรีซึ่งไม่ต้องมีผู้รับรอง แต่ถ้าสมาชิกสภาฯ เป็นผู้เสนอ จะต้องมีผู้รับรองอย่างน้อย 2 คน โดยลงชื่อในร่างญัตติ ทั้ง 2 ฝ่าย และถ้าเป็นร่างฯ ที่เกี่ยวกับการเงิน ต้องให้นายกเทศมนตรีรับรอง
สำหรับการพิจารณาร่างเทศบัญญัติจะทำเป็น 3 วาระ แต่ที่ประชุมจะอนุมัติให้พิจารณา 3 วาระรวดเดียวก็ได ยกเว้นร่างเทศบัญญัติงบประมาณจะทำไม่ได้ และจะใช้บังคับได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบ และลงชื่อโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งกำหนดไว้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ร่างฯเสร็จ ในกรณีเทศบาลตำบลต้องส่งให้นายอำเภอก่อน ส่วนเทศบาลเมืองและเทศบาลนครให้ประธานสภาจะส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดได้เลย ถ้าเห็นชอบให้ลงชื่ออนุมัติภายในกำหนด 30 วัน แต่ถ้าไม่เห็นชอบก็จะส่งกลับคืนไปยังสภาเทศบาล เพื่อพิจารณาใหม่ และถ้ายืนยันร่างเดิมก็ส่งกลับมายังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อส่งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 30 วัน ซึ่งถ้าเห็นชอบก็สั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่ออนุมัติ แต่ถ้าไม่เห็นชอบก็เป็นอันระงับไปและในกรณีฉุกเฉินคณะเทศมนตรีอาจออกเทศบัญญัติชั่วคราว โดยให้ใช้บังคับทันทีในวันที่ประกาศ ตลอดจนต้องมีการประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานเทศบาลแล้ว 7 วัน
(2) พิจารณาอนุมัติงบประมาณประจำปีของเทศบาล เป็นแผนโครงการใช้จ่ายเงินของเทศบาลแต่ละปีรวมทั้งรายรับของเทศบาลที่ได้ประมาณการไว้ด้วย คณะเทศมนตรีเป็นฝ่ายจัดทำโยเสนอต่อสภาเทศบาลเพื่อพิจารณา และกำหนดเป็น 3 วาระ จึงต้องตามเป็นเทศบัญญัติ อีกทั้งมีความสำคัญเพราะว่าถ้าสภาเทศบาลไม่รับหลักการ คณะเทศมนตรีต้องพันจากตำแหน่ง ซึ่งสมาชิกสภาเทศบาลมักจะอาศัยอำนาจนี่โค่นล้มคณะเทศมนตรีทำให้การบริหารงานของเทศบาลดำเนินไปไม่ราบรื่น แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยับยั้งโดยส่งคืนให้สมาชิกเทศบาลพิจารณาใหม่ และต้องมีมติยืนยันด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด จึงจะถือว่าสภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งรางเทศบัญญัติงบประมาณ อันเป็นผลให้คณะเทศมนตรีทั้งคณะต้องออกจากตำแหน่ง
(3) ควบคุมการบริหารงานของเทศบาล ซึ่งได้จำลองรูปแบบการปกครองแบบรัฐสภามาใช้ โดยฝ่ายบริหารไม่ได้มาจากการเลืองตั้งโดยตรง แต่เป็นทางอ้อม คือ ประชาชนเลือกสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งจะเป็นผู้เลือกและให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกันเอง ดังนั้น สภาเทศบาลจึงมีอำนาจในการควบคุมการบริหารงานของเทศบาลที่คณะเทศมนตรีรับผิดชอบด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
- ตั้งกระทู้ถาม ในข้อความใดๆ อันเกี่ยวกับการงานในหน้าที่ได้ แต่คณะเทศมนตรีมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่า ยังไม่สมควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือประโยชน์สำคัญของเทศบาล
- ยื่นคำร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้คณะเทศมนตรี หรือ เทศมนตรีออกจากตำแหน่ง
- การตั้งคณะกรรมการ สภากระทรวงมหาดไทยมีอำนาจเลือกสมาชิกสภาเทศบาล ตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลทั้งที่เป็นหรือไม่เป็นสมาชิกเป็นคณะกรรมการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการหรือพิจาณาสอบสวนข้อความใดๆ อันอยู่ในวงงานของสภาเทศบาล
2.2 คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารของเทศบาล ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี และเทศมนตรีอื่น มีจำนวนกำหนดไว้ตามประเภทของเทศบางดังนี้
- เทศบาลตำบล มีนากยกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรีอีก 2 คน
- เทศบาลตำเมือง มีนากยกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรีอีก 2 คน (แต่ในกรณีเทศบาลเมืองแห่งใดมีรายได้จับเก็บตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป ก็ให้มีเทศมนตรีเพิ่มขึ้นได้อีก 1 คน)
- เทศบาลนคร มีนากยกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรีอีก 4 คน
การแต่งตั้งคณะเทศมนตรี มีหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี
(2) ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีจากผู้เป็นสมาชิก สภาเทศบาลเท่านั้น จะแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกไม่ได้ (เว้นแต่กรณีคณะเทศมนตรีชั่วคราว)
(3) ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาเทศบาล
เนื่องจากคณะเทศมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง กฎหมายจึงมิได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะเทศมนตรีไว้ แต่ก็ได้มีการกำหนดการออกจากตำแหน่งไว้ดังนี้
การออกจากตำแหน่งทั้งคณะของเทศมนตรี
(1) สมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลชุดที่คณะเทศมนตรีเข้ารับหน้าที่สิ้นสุดลง
(2) สภานายกเทศมนตรีและเทศมนตรีไม่รับหลักการเทศบัญญัติงบประมาณ และผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบด้วยสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณนั้น หรือสภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมด
(3) ความเป็นเทศมนตรีของนกยกเทศมนตรีสิ้นสุดลง
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้เทศมนตรีทั้งคณะออกจากตำแหน่ง
ความเป็นเทศมนตรีจะสิ้นสุดเฉพาะตัวเมื่อ
(1) สมาชิกภาพแห่งสภาสิ้นสุดลง
(2) ลาออกโดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้สอบสวนแล้วสั่งให้ออก โดยเห็นว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับเทศบาลหรือในกิจการที่ทำให้แก่เทศบาล ทั้งนี้ไม่ว่าโดยตรงหรืออ้อม
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้ออก
อำนาจหน้าที่ของคณะเทศมนตรี คณะเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารของเทศบาล โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า นอกจากนี้เทศบาลทุกแห่งที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นครบ 1 ปีแล้ว จะเป็นเหตุให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้นๆ พ้นจากตำแหน่งและหน้าที่ ให้นายกเทศมนตรีของเทศบาลนั้นมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตเทศบาล
3. หน้าที่ของเทศบาล
เทศบาลจำดำเนินกิจการใดย่อมอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ อีกทั้งเพื่อความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นแต่ละแห่งและสถานะเกี่ยวกับรายได้ของเทศบาลด้วย มีดังต่อไปนี้
เทศบาลตำบล มีหน้าที่ที่ต้องทำในเขตเทศบาล ได้แก่ รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ รักษาความสะอาดของถนนและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลฯ ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม ฯลฯ
เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลได้แก่ กิจการตามที่ระบุไว้ว่าเป็นหน้าที่ที่เทศบาลตำบลต้องทำ ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา ให้มีโรงฆ่าสัตว์ ให้มีการบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้ ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ฯลฯ
เทศบาลนคร มีหน้าทีที่ต้องทำในเขตเทศบาล ได้แก่ กิจการตามที่ระบุไว้ว่าเป็นหน้าที่ที่เทศบาลเมืองต้องทำ ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข ฯลฯ
สหการ เป็นองค์การซึ่งเทศบาลตั้งแต่ 2 เทศบาลขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อประกอบกิจการอันอยู่ในหน้าที่ของเทศบาลร่วมกัน การจัดตั้งจะทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และมีสภาพเป็นทบวงการเมือง ซึ่งได้กำหนดชื่อ อำนาจ หน้าที่ และระเบียบการดำเนินงานไว้ สำหรับการยุบเลิกสหการก็ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาโดยกำหนดวิธีการจัดทรัพย์สินไว้ด้วย สหการอาจได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และอาจกู้เงินได้โดยออกพันธบัตร หรือเงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ ตลอดจนนิติบุคคลต่างๆ
4. รายได้และรายจ่ายของเทศบาล
รายได้ของเทศบาล อาจได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล รายได้จากสาธารณูปโภคและเทศพาณิชย์ พันธบัตรหรือเงินกู้ เงินกู้จาก กระทรวง ทบวง กรม องค์การ ตลอดจนนิติบุคคลต่างๆ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินและทรัพย์สินอย่าอื่นที่มีผู้อุทิศให้ ฯลฯ
รายจ่ายของเทศบาล อาจมีรายจ่าย เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เงินตอบแทนอื่นๆ ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดินก่อสร้างและทรัพย์สินอื่นๆ เงินอุดหนุน ฯลฯ
5. พนักงานเทศบาลและการกำหนดส่วนราชการของเทศบาล
พนักงานเทศบาล ในการบริหารกิจการของเทศบาลนกจากจะมีคณะเทศมนตรีซึ่งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า กฎหมายเทศบาลยังกำหนดให้เทศบาลมี “พนักงานเทศบาล” ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำ เป็นผู้ปฏิบัติกิจการของเทศบาล โดยมี “ปลัดเทศบาล” เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาล และรับผิดชอบในงานประจำทั่วไปของเทศบาล ระเบียบพนักงานเทศบาลให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
การกำหนดส่วนราชการของเทศบาล การบริหารงานของเทศบาลตามกฎหมายกำหนดให้จัดแบ่งการบริหารออกเป็นส่วนต่างๆ ตามปริมาณและคุณภาพของงาน
6. การควบคุมเทศบาล โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด และ นายอำเภอ เป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมเทศบาล ดังนี้
(1) การชี้แจงนำตักเตือนเทศบาลและตรวจสอบกิจการ
(2) สั่งเพิกถอนหรือสั่งให้ระงับการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี หรือเทศมนตรี
(3) การสั่งให้คณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีออกจากตำแหน่ง
(4) การสั่งยุบสภาเทศบาล
(5) การสั่งให้เทศบาลอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทยโดยตรง และต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
สรุป จะเห็นได้ว่าเทศบาลเป็นรูปการปกครองท้องถิ่นไทยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง และเป็นไปตามลักษณะการกระจายอำนาจมากที่สุด ซึ่งการจัดตั้งเทศบาลทุกประเภทต้องตราเป็น “พระราชกฤษฎีกา” แต่ในปัจจุบันเทศบาลหลายแห่งยังประสบปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย จึงทำให้ไม่สามารถพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญเท่าที่ควรได้
แผนภูมิการจัดองค์การบริหารของเทศบาล
เทศบาล
สภาเทศบาล
(เลือกตั้ง)
คณะเทศมนตรี
(มาจากสภาเทศบาล)
ปลัดเทศบาล
สำนักงานปลัดเทศบาล
กองฝ่าย..
กองฝ่าย..
กองฝ่าย..
สุขาภิบาล เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ทรงจัดตั้งขึ้นในกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2440 และประสบผลสำเร็จในการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม พ.ศ.2451 จึงได้ตรา พ.ร.บ.จัดการสุขาภิบาลหัวเมือง ร.ศ.127 ขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการมาจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ก็หยุดชะงักไป เพราะรัฐบาลจะจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาลทั้งหมดแต่ในปี พ.ศ.2495 ก็นำกลับมาใช้อีก เพราะมีท้องถิ่นชุมชนขนาดเล็กหรือขนาดกลางจำนวนมาที่ไม่อาจจัดตั้งเป็นเทศบาลได้
1. การจัดตั้งสุขาภิบาล ให้จัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ เป็นแห่งๆ ไป จะจัดตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย โดยต้องมีการระบุชื่อและเขตไว้ด้วย และต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล ตลอดจนให้ประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษาด้วย ดังนั้น การจัดตั้งจึงอยู่ในดุลพินิจของรัฐบาล โดยกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่รับผิดชอบซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้
- ท้องถิ่นที่เป็นที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ จะต้องมีรายได้จริงในปีงบประมาณที่ แล้ว ตั้งแต่ 300,000 บาทขึ้นไป โดยไม่รวมเงินอุดหนุน
- ท้องถิ่นที่เป็นเขตตำบลหรือหมู่บ้าน จะต้องมีราได้จริงในปีงบประมาณที่แล้วตั้งแต่ 400,000. บาท ขึ้นไป โดยไม่รวมเงินอุดหนุน
- มีพื้นที่ไม่เกินกว่า 13 ตารางกิโลเมตร เว้นแต่กรณีที่สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทยเห็นว่ามีความจำเป็นทางวิชาการด้านผังเมือง
- มีประชากรตั้งแต่ 1,500 คนขึ้นไป
- ได้รับความเห็นชอบจากราษฎรในท้องถิ่นนั้น
2. การยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- มีรายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่แล้วตั้งแต่ 5,000,000 บาท ขึ้นไป
- มีประชากรตั้งแต่ 7,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ขึ้นไป
- ได้รับความเห็นชอบจากราษฎรในท้องถิ่นนั้น
3. การจัดองค์การและการบริหาร มีการจัดองค์การในรูปคณะกรรมการ เรียกว่า “คณะกรรมการสุขาภิบาล” ซึ่งทำหน้าที่ทั้งทางนิติบัญญัติและทางบริหารไปพร้อมกัน โดยมีหน้าที่ทำการตราข้อบังคับ วางนโยบาย และรับผิดชอบบริหารกิจการของสุขาภิบาลตามกฎหมาย คณะกรรมการสุขาภิบาล ประกอบด้วย
(1) นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอแห่งท้องที่ที่สุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่
(2) ปลัดอำเภอแห่งอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่สุขาภิบาลตั้งอยู่ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำนวน 1 คน
(3) กำนันแห่งตำบลซึ่งมีพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของตำบลนั้นตั้งอยู่ ในเขตสุขาภิบาล
(4) ผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งราษฎรในเขตสุขาภิบาลนั้นเลือกตั้งขึ้นจำนวน 9 คน และมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยจะพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุต่อไปนี้
- ถึงคราวออกตามวาระ
- ตาย
- ลาออก โดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
- ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง
- กรรมการสุขาภิบาลไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดมีมติให้ออกเพราะพฤติกรรมไม่ดี
- ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สอบสวนแล้วสั่งให้ออก
การบริหารสุขาภิบาล กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมสุขาภิบาลมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารเกี่ยวกับสุขาภิบาล โดยมีหน้าที่ประชุมร่วมกันเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงาน บริหารกิจการของสุขาภิบาล และปรึกษาเกี่ยวกับการตราข้อบังคับสุขาภิบาล เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของสุขาภิบาล สำหรับการประชุมจะต้องมีไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้งเป็นปกติ โดยมีกรรมการประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่อยู่ในตำแหน่ง ส่วนการลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ที่ลงคะแนน ดังนั้น จึงต่างกับการประชุมสภาท้องถิ่นรูปอื่น คือ ไม่มีการเสนอญัตติ ตั้งกระทู้ถาม หรือเปิดอภิปราย และในด้านการบริหารงานก็มีหน้าที่จัดทำ “แผนดำเนินงาน” ไว้เพื่อใช้เป็นหลักในการบริหารกิจการสุขาภิบาล แต่ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเสียก่อน จึงจะปฏิบัติตามแผนได้ นอกจากนี้ยังมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและอนุมัติงบประมาณประจำปี โดยตราเป็นข้อบังคับว่าด้วย งบประมาณประจำปี และเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่ออนุมัติ
4. หน้าที่ของสุขาภิบาล มีหน้าที่จัดทำกิจการภายในเขต ได้แก่ ให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ รักษาความสะอาดของถนน การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้อกันและระงับโรคติดต่อ ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา ให้มีโรงฆ่าสัตว์ ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม ให้มีสุสานและฌาปนสถาน ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า ป้องกันและระงับสาธารณภัย ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ ส่งเสริมให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬา การส่งเสริมศาสนา การสาธารณูปการ การพาณิชย์ ฯลฯ
5. พนักงานสุขาภิบาลและการกำหนดส่วนบริหารของสุขาภิบาล
พนักงานสุขาภิบาล กฎหมายกำหนดให้สุขาภิบาล มีพนักงานสุขาภิบาลซึ่งเป็นฝ่ายปฏิบัติงานประจำ ประกอบด้วย ปลัดสุขาภิบาล สมุห์บัญชีสุขาภิบาล และพนักงานสุขาภิบาลอื่น ตามความจำเป็น
การกำหนดส่วนบริหารของสุขาภิบาล ประกอบด้วย สำนักปลัดสุขาภิบาล ฝ่ายคลัง ฝ่ายช่าง ฝ่ายสาธารณสุข และฝ่ายประปา ซึ่งต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการพนักงานสุขาภิบาล (ก.สภ.) เพื่อกำหนดส่วนการบริหารตามลักษณะปริมาณและคุณภาพของงานสุขาภิบาลนั้นๆ
6. การควบคุมสุขาภิบาล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่ควบคุมดูแลสุขาภิบาลในจังหวัดนั้นเพื่อให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่เป็นไปตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังให้ผู้ตรวจการเทศบาลจังหวัด มีหน้าที่ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลสุขาภิบาลในจังหวัดนั้น ซึ่งปัจจุบันคือตำแห่งผู้ตรวจราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติราชการอยู่ ณ ที่ทำการปกครองจังหวัด
สรุป สุขาภิบาลเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่งที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นที่ยังไม่เจริญพอที่จะจัดตั้งเป็นเทศบาลได้ เพื่อทำการพัฒนาให้เจริญขึ้นและอาจยกฐานะเป็นเทศบาลได้ในอนาคต ซึ่งจัดในรูปของคณะกรรมการ จึงไม่แบ่งแยกองค์การเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารเหมือนการปกครองท้องถิ่นรูปอื่นๆ ที่ปัจจุบันสุขาภิบาล โดยทั่วไปยังมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะบริหารงานประจำได้ต้องอาศัยเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น รูปแบบสุขาภิบาลที่มีนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ เป็นประธานสุขาภิบาล จึงมีมากกว่ารูปแบบที่มาจากกรรมการสุขาภิบาลโดยการเลือกตั้ง
แผนภูมิการจัดองค์การของสุขาภิบาล
สุขาภิบาล
คณะกรรมการสุขาภิบาล
โดยตำแหน่ง
โดยแต่งตั้ง
โดยเลือกตั้ง
ปลัดสุขาภิบาล
สำนักงานปลัดสุขาภิบาล
ฝ่าย...
ฝ่าย...
ฝ่าย...
การจัดองค์การและการบริหารงานของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
กรุงเทพมหานคร
เป็นหน่วยการปกครองที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นให้มีลักษณะพิเศษ เพื่อให้สามารถจัดทำกิจการและบริหารในด้านต่างๆ ให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว ตลอดจนเพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของกรุงเทพมหานครให้สำเร็จลุล่วงไปได้ จึงเป็นหน่วยการปกครองรูปแบบพิเศษที่มีฐานะเป็นจังหวัดพิเศษที่มุ่งเน้นให้การปกครองดำเนินไปโดย ประหยัด มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับนโยบายของส่วนกลาง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น โดยแบ่งพื้นที่การบริหารเป็น เขต และ แขวง การตั้ง ยุบหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตให้กระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
1. การจัดองค์การและการบริหารกรุงเทพมหานคร
1.1 สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งเข้ามา สำหรับการกำหนดเขตเลือกตั้งจะถือเกณฑ์ราษฎร 100,000 คน ต่อสมาชิกฯ 1 คน เขตใดที่มีราษฎรไม่ถึง 100,000 คน ให้มีสมาชิกสภาฯ ได้ 1 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกิน 100,000 คน ก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาฯ ในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ต่อจำนวนราษฎรที่ 1 แสนคน เศษของ 1 แสน ถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสนคน ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาฯ จะกระทำได้เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้ง โดยให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้งไว้ด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี เช่นเดียวกับสภากรุงเทพมหานครและเมื่อครบวาระกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน ซึ่งสภาพของสมาชิกสภาจะสิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้
1. ถึงคราวออกตามอายุของสภาฯ หรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
2. ตาย
3. ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภาฯ และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันยื่นหนังสือลาออก
4. ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือมีลักษณะห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาฯ
5. กระทำการต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใด ในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์กรุงเทพฯ หรือบริษัทกรุงเทพฯ ถือหุ้น หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
6. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
7. ขาดการประชุมสภาฯ ตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาฯ
8. สภากรุงเทพมหานครวินิจฉันให้ออก เพราะมีความประพฤติที่เสื่อมเสีย
การยุบสภากรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาฯ ใหม่ กระทำได้ 2 กรณี คือ
(1) ในกรณีที่การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร ขัดแย้งกันจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครหรือแก่ราชการโดยส่วนรวม
(2) ถ้าปรากฏว่าการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกันหรือเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้องจนอาจให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม และการแก้ไขสภาพที่เหมาะสมคือ การยุบสภาฯ โดยจะต้องทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยพร้อมแสดงเหตุผลโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประธานสภาพและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร สภากรุงเทพมหานครมีประธานสภา 1 คน และรองประธานไม่เกิน 2 คน โดยเลือกจากสมาชิกสภาและให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก มีวาระคราวละ 2 ปี ซึ่งอาจพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระดังนี้
(3) ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
(4) ลาออกจากตำแหน่ง โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(5) เมื่อสมาชิกสภาฯ ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เข้าชื่อเสนอญัตติให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยสภา ก.ท.ม. มีมติเห็นตามนั้นด้วยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของสมาชิกทั้งหมด
การประชุมสภากรุงเทพมหานคร ภายใน 15 วัน นับแต่วันเลือกตั้งโดยทั่วไป ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเรียกประชุมเป็นครั้งแรก
สมัยประชุม มีไม้น้อยกว่า 2 สมัย แต่ต้องไม่เกิน 4 สมัย และมีกำหนดเวลา 30 วัน และสามารถขยายได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกิน 15 วัน การปิดสมัยประชุมก่อนครบ 30 วัน ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร นอกจากนี้อาจมีการประชุมสมัยวิสามัญเมื่อมีกรณีที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภาฯ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดยื่นคำร้องต่อประธานสภาฯ ซึ่งกำหนดวันประชุมภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง และมีกำหนดเวลาสมัยประชุม 30 วัน
องค์ประชุม ในการประชุมทุกคราว ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเข้าประชุมสภาฯด้วย อีกทั้งมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ส่วนการลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ การประชุมกระทำเป็นอย่างเปิดเผย แต่ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภาฯ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดร้องขอให้ประชุมลับก็ให้เป็นไปตามคำร้องขอ
อำนาจหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร
(6) การตราข้อบังคับกรุงเทพมหานคร ขึ้นใช้บังคับในกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของสภาฯ ดังนี้
- เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
- เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานคร มีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
- การดำเนินการพาณิชย์กรุงเทพมหานคร
- การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์ จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ
(7) การพิจารณาขออนุมัติงบประมาณ งบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรุงเทพมหานคร ต้องทำเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอ และกรณีที่งบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่พอ หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นใหม่ ในระหว่างปี ก็ให้ทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมได้ โดยสภากรุงเทพมหานครจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 45 วัน และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามและประกาศใช้ราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
(8) การควบคุมการบริหาร โดยใช้วิธีการต่างๆ ดังนี้
- ตั้งกระทู้ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นๆ ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญ ของกรุงเทพมหานคร
- การเปิดอภิปรายทั่วไป สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติให้เปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริงในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
- การตั้งคณะกรรมการ ซึ่งสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเลือกสมาชิกสภาฯ ตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกสภาฯ หรือไม่ได้เป็นสมาชิกสภาฯ ตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจกรรมหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร
- การลงมติขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรี ส่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกจากตำแหน่ง เมื่อเห็นว่ามีความประพฤติไม่เหมาะสม
1.2 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นโดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร และมีรองผู้ว่าราชการฯ ไม่เกิน 4 คน ที่แต่งตั้งและถอดถอนโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับการเลือกตั้งนั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งต้องระบุวันเลือกตั้ง และระยะเวลารับสมัครไว้ด้วย มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี ส่วนการมอบหมายงานให้ทำภายใน 7 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง และเมื่อครบวาระแล้วต้องทำการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน แต่ถ้าตำแหน่งว่างลงด้วยเหตุอื่นให้ทำการเลือกตั้งใหม่ภายใน 90 วัน
ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือกระทำอันต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์ ของ กทม. บริษัทที่ กทม. ถือหุ้น, ตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(2) ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการหรืหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจหรือการพาณิชย์ของ กทม. หรือบริษัทที่ กทม. ถือหุ้น
(3) ต้องไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับ กทม. หรือการพาณิชย์ของ กทม. หรือบริษัทที่ กทม. ถือหุ้น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้
(1) ถึงคราวออกตามวาระ
(2) ตาย
(3) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยกเว้นกรณีต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
(5) กระทำอันต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
(6) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่ได้ทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(7) มีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(8) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรีสั่งให้ออก จากตำแหน่งเมื่อเห็นว่ามีความประพฤติที่ไม่เหมาะสม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมาย
(2) สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
(3) แต่งตั้งและถอดทอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และตั่งตั้ง ถอดถอน ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ
(4) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
(5) วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย
(6) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(7) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.นี้ และกฎหมายอื่น
นอกจากนี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยังเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ตลอดจนรับผิดชอบปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
การบริหารงานของกรุงเทพมหานคร นอกจากจะมีสภากรุงเทพมหานครเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ และมีผู้ว่ารากชารกรุงเทพมหานครเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปลัดกรุงเทพมหานคร และข้าราชการกรุงเทพมหานคร รวมทั้งลูกจ้างกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ปฏิบัติงานประจำให้เป็นไปตามกฎหมาย และนโยบายของกรุงเทพมหานคร
2. อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ การรักษาความเรียบร้อยของประชาชน การทะเบียนตามี่กฎหมายกำหนด การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การผังเมือง การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ การวิศวกรรมจราจร การขนส่ง การจัดให้มีและควบคุมตลาดท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสาธารณูปโภค การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน การควบคุมสัตว์เลี้ยง การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การควบคุมความปลอดภัย การจัดการศึกษา การสาธารณูปการ การสังคมสงเคราะห์ การส่งเสริมการกีฬา การส่งเสริมการประกอบอาชีพ การพาณิชย์ของ กรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ถ้ากิจการใดอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ก็อาจดำเนินการนั้นร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น โดยจัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า “สหการ” มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย ผู้แทนของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ระบุวิธีจัดการทรัพย์สินไว้ด้วย
3. ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
นอกจากจะมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารแล้ว ยังมีผู้ปฏิบัติงานประจำคือ “ข้าราชการกรุงเทพมหานคร” โดยมีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นตำแหน่งข้าราชการประจำสูงสุดขงกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร รองลงมาจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
4. การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีส่วนราชการที่เป็นสำนัก ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการที่เป็นของสภากรุงเทพมหานคร
(2) สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(3) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(4) สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(5) สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจ แนะนำ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการทั่วไปของหน่วยงาน และส่วนราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร ตลอดจนปฏิบัติราชการตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ ปลัดกรุงเทพมหานคร มอบหมาย
(6) สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร
(7) สำนักงานแพทย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานด้านการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดกรุงเทพมหานคร การจัดการศึกษาหรือฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ และการพยาบาล
(8) สำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน ควบคุมและประสานงานกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสาธารณสุข การอนามัยในครอบครัว การอนามัยสิ่งแวดล้อม ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลชุมชน ควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การอนามัยในโรงมหรสพ ฯลฯ
(9) สำนักการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งดูแลการปฏิบัติงานของโรงเรียนและนิเทศการศึกษา
(10) สำนักการโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการโยธา การออกแบบการก่อสร้าง และบูรณะ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร และการดูแลรักษาที่สาธารณะ
(11) สำนักการระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุมและดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วม และการกำจัดน้ำเสีย
(12) สำนักรักษาความสะอาด มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ควบคุมและดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตลอดจนจัดให้มีและบำรุงรักษาสุขาชั่วคราวและรถสุขาเคลื่อนที่
(13) สำนักสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดที่อยู่อาศัย จัดให้มีและบำรุงสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา การนันทนาการ และการพัฒนาเยาวชน
(14) สำนักการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคลังการเงิน การบัญชี การพัสดุ การซ่อม บำรุงรักษายานพาหนะ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรงของกรุงเทพมหานคร และควบคุมดูแลการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(15) สำนักเทศกิจ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลและบังคับให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
5. เขตและสภาเขต
กรุงเทพมหานครมีเขตการปกครอง 36 เขต โดยมีสำนักงานเขตเป็นส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินกิจการของกรุงเทพมหานคร ภายในเขต และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันยังได้กำหนดให้มีสภาเขตอีกด้วย
5.1 สำนักงานเขต มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมอาชีพ การทะเบียน การโยธา การรักษาที่สาธารณะ การสาธารณสุข การจัดเก็บรายได้ การรักษาความสะอาด การจัดการศึกษา การดูแลและรักษาให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการเขตมีหน้าที่ดังนี้
(1) อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ
(2) อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนายการเขต
(3) อำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือปลัดกรุงเทพมหานคร มอบหมาย
5.2 สภาเขต ในเขตหนึ่งๆ มีสภาเขตประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้ง มีจำนวนอย่างน้อยเขตละ 7 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกิน 100,000 คน ให้มีการเลือกตั้งเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ต่อจำนวนราษฎรทุก 100,000 คน สำหรับเศษถ้าถึงห้าหมื่นหรือเกินกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร สภาเขตมีอายุคราวละ 4 ปี และเมื่อสิ้นสุดลงต้องจัดการเลือกตั้งใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่อายุของสภาเขตสิ้นสุดลง ส่วนประธานและรองประธานสภาเขตมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 1 ปี
สภาเขตมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อำนวยการเขต และสภากรุงเทพมหานคร
(2) จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต ตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรืองบประมาณรายจ่าย
(3) สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขตเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร
(4) ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขตเกี่ยวกับการปรับปุรง หรือการแก้ไขการบริการประชาชนภายในเขต
(5) ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตขอร้อง
(6) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันเกี่ยวกับการงานของสภาเขต
6.การควบคุมกรุงเทพมหานคร
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอาจให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อเห็นว่าการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานคร ขัดแย้งกันหรือเป็นไปในทางไม่ถูกต้อง
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยุบสภากรุงเทพมหานครตามข้อเสนอของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่การดำเนินงานก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือราชการโดยส่วนรวม
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกจากตำแหน่ง เมื่อเห็นว่ามีความประพฤติไม่เหมาะสม
สรุป กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ ที่ได้จัดตั้งขึ้นโดยรวมหน่วยงานส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นเข้าด้วยกันเป็นองค์การปกครองท้องถิ่น ภายใต้การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับสภากรุงเทพมหานคร เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารในอันที่จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ และจัดบริการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง และรวดเร็วกว่าเดิม โดยได้นำเอาหลักการแบ่งแยกอำนาจแบบการปกครองระบอบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกามาใช้ เป็นแบบที่ให้องค์การต่างๆ ปฏิบัติหน้าที่ไปตามเขตอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ก้าวก่ายกัน จึงเป็นการจัดองค์การและการบริหารที่แตกต่างกันไป จากหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปอื่น ๆ
ข้อดีของการปกครองท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร
(1) เป็นรูปการปกครองท้องถิ่นที่ให้เลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรง
(2) ฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพมั่นคง เพราะได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
จุดอ่อนของกรุงเทพมหานครคือ
(1) ทั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งเหมือนกัน ถ้าในสภากรุงเทพมหานคร มีกลุ่มหรือพรรคของผู้ว่าน้อย ก็อาจทำให้การบริหารงานเป็นไปโดยยากลำบากได้
(2) สภากรุงเทพมหานคร ไม่มีสิทธิถอดถอนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฉะนั้นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ได้นั้นไม่ดีก็ต้องรอจนครบวาระถึงเปลี่ยนได้
แผนภูมิการจัดองค์การบริหารกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าฯ กทม.
สำนักงานเลขานุการสภา กทม.
ปลัดกรุงเทพมหานคร
สำนักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
สำนักงานปลัด กทม.
สำนัก....
สำนัก....
สำนัก....
เขต
สภาเขต
เมืองพัทยา
เมืองพัทยาเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ ซึ่งได้นำระบบการปกครองท้องถิ่นที่เรียกว่าแบบ “ผู้จัดการนคร” (City Manager) มาใช้ โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
1. การจัดการเมืองพัทยา
ให้ยุบเลิกสุขาภิบาลเกลือ และจัดตั้งเมืองพัทยาโดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น เมืองพัทยา จึงเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ มีเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
2. การจัดองค์การและการบริหาร
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา ได้กำหนดหลักการจัดองค์การและการบริหารเมืองพัทยา เป็นแบบ “ผู้จัดการนคร” ซึ่งเป็นแบบหนึ่งของเทศบาลในสหรัฐอเมริกา นับเป็นครั้งแรกที่นำมาใช้ในประเทศไทยการปกครองท้องถิ่นระบบนี้จะประกอบด้วยองค์การสำคัญ คือ สภากับผู้จัดการ
2.1 สภาเมืองพัทยา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 17 คน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สมาชิกซึ่งประชาชนเลือกตั้ง จำนวน 9 คน และให้กระทำโดยวิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
- สมาชิกซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งจำนวน 8 คน โดยแต่งตั้งจากบุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ กัน จำนวน 4 คน และจากผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับเมืองพัทยาจำนวน 4 คน
ซึ่งสมาชิกภาพ 2 ประเภท จะเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับแต่งตั้ง โดยมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้งทั่วไป และให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่อายุของสภาเมืองพัทยา สิ้นสุดลง ในกรณีที่มีการยุบสภาเมืองพัทยา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาเมืองพัทยา เพื่อให้มีการเลือกตั้งและแต่งตั้งสมาชิกใหม่ โดยในคำสั่งนั้นต้องแสดงเหตุผลและกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน 3 เดือน
สมาชิกภาพของสภาเมืองพัทยาอาจสิ้นสุดลงด้วยเหตุผลต่อไปนี้
(1) ถึงคราวออกตามอายุของสภาหรือมีการยุบสภาเมืองพัทยา
(2) ตาย
(3) ลาออก โดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา เว้นแต่สมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งซึ่งยกเว้นเกี่ยวกับเรื่องภูมิลำเนา
(5) มีลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา เว้นแต่สมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งที่ยกเว้นเกี่ยวกับการเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของทางราชการ หรือการพาณิชย์ของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(6) กระทำการต้องห้าม คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งต้องไม่ดำรงตำแหน่ง หรือหน้าที่อื่นใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์ของเมืองพัทยา บริษัทที่พัทยาถือหุ้นหรือดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือพนักงานท้องถิ่น
(7) สภาเมืองพัทยามีมติให้ออก เพราะเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อเสียแก่เมืองพัทยา โดยมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 6 คน เข้าชื่อเสนอญัตติให้สภาเมืองพัทยาพิจารณาและมีมติในข้อนี้ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 11 คน เห็นชอบด้วยกับญัตติดังกล่าว
(8) ไม่มาประชุมสภาเมืองพัทยา 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ในการนี้ยกเว้นเมืองพัทยารายงานผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อส่งให้พ้นจากตำแหน่ง
(9) สำหรับสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งจากผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง กับเมืองพัทยา เมื่อพ้นจากตำแหน่งอันเป็นเหตุที่ได้รับการแต่งตั้ง
การประชุมสภาเมืองพัทยา ในการประชุมสภาเมืองพัทยาครั้งแรก ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป ผู้ว่าราชการจังหวัดเรียกประชุมสภาภายใน 15 วัน และต้องมีการประชุมอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ส่วนในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยาหรือสมาชิกไม่น้อยกว่า 6 คน อาจทำคำร้องยื่นต่อนายกเมืองพัทยาขอให้เรียกประชุมสภาเมืองพัทยา โดยกำหนดวันประชุมภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง ในการประชุมสภาเมืองพัทยาทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจะเป็นองค์ประชุม ซึ่งมีนายกเมืองพัทยาเป็นประธาน และปลัดเมืองพัทยาเป็นเลขานุการสภาเมืองพัทยาโดยเปิดเผย แต่ถ้าสมาชิกไม่น้อยกว่า 6 คน ร้องขอให้ประชุมลับก็ให้ประชุมได้
อำนาจหน้าที่ของสภาเมืองพัทยา
(1) วางนโยบายและอนุมัติแผนเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการเมืองพัทยา
(2) พิจารณาและอนุมัติร่างข้อญัตติ
(3) แต่งตั้งสมาชิกเป็นคณะกรรมการสามัญ และตั้งบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกเป็นคณะกรรมการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเมืองพัทยา แล้วรายงานต่อสภาหรือให้คำปรึกษาแก่สภาเมืองพัทยา หรือปลัดเมืองพัทยา
(4) ควบคุมการปฏิบัติราชการของปลัดเมืองพัทยาให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย ข้อบัญญัติ นโยบาย และแผน
นายกเมืองพัทยา พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา หรือปลัดเมืองพัทยาได้กำหนดให้มีตำแหน่ง “นายกเมืองพัทยา” โดยให้สมาเมืองพัทยาเลือกสมาชิกคนหนึ่งเป็นนกยกเมืองพัทยา อยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และให้เลือกใหม่ภายใน 15 วัน เมื่อครบวาระ นอกจากนี้นายกเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสมาเมืองพัทยา
(2) ลาออกจากตำแหน่ง โดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) สมาชิกไม่น้อยกว่า 6 คน เข้าชื่อเสนอญัตติให้สมาเมืองพัทยาเลือกนายกเมืองพัทยาใหม่ และสมาเมืองพัทยามีมติเห็นชอบในญัตติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 11 เสียง
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้ออกจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่
นกยกเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่พอสรุปได้ดังนี้
(1) เป็นประธานเมืองพัทยา มีอำนาจหน้าที่เรียกประชุมสภาเมืองพัทยา และควบคุมการประชุมให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุม
(2) เป็นผู้แทนและผู้นำ ของเมืองพัทยาในงานหรือพิธีการต่างๆ
(3) เสนอชื่อผู้มิได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา โดยมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด อย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน เพื่อให้สภาเมืองพัทยาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งปลัดเมืองพัทยา
(4) ลงชื่อในร่างข้อญัตติและประกาศใช้ข้อญัตติ ซึ่งสมาเมืองพัทยาตราขึ้นและผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบแล้ว
(5) ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยและข้อบัญญัติ
ข้อญัตติเมืองพัทยา ต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายในกรีอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
(1) เพื่อปฏิบัติให้เป็นตามอำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยา
(2) เมื่อมีกฎหมายข้อบัญญัติให้เมืองพัทยาตราข้อบัญญัติได้
(3) การให้บริการโดยมีค่าตอบแทน
(4) การพาณิชย์ ซึ่งเป็นการประกอบการพาณิชย์ของเมืองพัทยา อาจจะกำหนดโทษจำคุกหรือโทษปรับผู้ละเมิดไว้ก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เมื่อนกยกเมืองพัทยาลงชื่อแล้วให้ใช้บังคับเมื่อได้ประกาศไว้ โดยเปิดเผยที่ศาลาว่าการเมืองพัทยาแล้ว 3 วัน และในกรณีที่อายุของสภาเมืองพัทยาสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาเมืองพัทยา บรรดาร่างของบัญญัติที่สภาเมืองพัทยาได้พิจารณาและที่ยังพิจารณาไม่เสร็จ เป็นอันตกไป
2.2 ปลัดเมืองพัทยา ทำหน้าที่บริหารให้เป็นไปตามนโยบาย ของสภาเมืองพัทยา และจะมีรองปลัดจำนวนไม่เกิน 2 คน ทำหน้าที่ช่วยปลัดเมืองเมืองพัทยาบริหารกิจการเมืองพัทยาตามที่ได้รับมอบหมาย นายกเมืองพัทยาเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน เพื่อให้สภาเมืองพัทยา ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งเป็นปลัดเมืองพัทยา โดยมีสัญญาจ้างคราวละไม่เกิน 4 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งและการกำหนดเงื่อนไขอื่นในการทำงานเป็นไปตามแบบสัญญาจ้าง ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดตลอดจนให้นกยกเมืองพัทยาเป็นคู่สัญญาในนามของเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยาจึงเป็นบุคคลที่เมืองพัทยาจ้างมาทำหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยา มีฐานเสมือนผู้จัดการเมืองพัทยาซึ่งถือว่าเป็นนักบริหารอาชีพ จึงคล้ายกับระบบธุรกิจของเอกชน ส่วนรองปลัดเมืองพัทยา กฎหมายกำหนดให้เมืองพัทยา เป็นผู้แต่งตั้งโดยใช้หลักการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งปลัดเมืองพัทยา ที่กล่าวข้างต้น และในการว่าจ้างนั้นให้ปลัดเมืองพัทยาเป็นคู่สัญญาในนามเมืองพัทยา
ปลัดเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) สัญญาจ้างสิ้นสุด และไม่มีการต่ออายุสัญญาจ้างใหม่
(2) ตาย
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเมืองพัทยา และรองปลัดเมืองพัทยา
(4) ลาออกจากตำแหน่งโดยยื่นใบลาออกต่อนกยกเมืองพัทยา ตามเงื่อนไข ที่กำหนดในสัญญาจ้าง
(5) กระทำการที่ผิดเงื่อนไขในสัญญาจ้าง ซึ่งสัญญาจ้างระบุไว้ ให้ถือสัญญาจ้างสิ้นสุดลง
(6) นายกเมืองพัทยาบออกเลิกจ้างด้วยความเห็นชอบจากสภาเมืองพัทยา ตามเหตุที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง
อำนาจหน้าที่ของปลัดเมืองพัทยา
(1) ร่างแผนเพื่อเสนอสภาเมืองพัทยา
(2) บริหารกิจการตามนโยบายและแผนของสภาเมืองพัทยา
(3) ร่างข้อบัญญัติงบประมาณและข้อบัญญัติอื่นๆ เพื่อเสนอต่อสภาเมืองพัทยา
(4) ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย และข้อบัญญัติ
(5) รวบรวมปัญหาในการบริหารราชการเมืองพัทยา พร้อมด้วยข้อเสนอแนะเพื่อเสนอสภาเมืองพัทยา
(6) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของเมืองพัทยาต่อสภาเมืองพัทยา
(7) ปฏิบัติงานอื่นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายเมืองพัทยา
3.อำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยา
(1) การรักษาความสงบเรียบร้อย
(2) การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
(3) การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง
(4) การจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
(5) การรักษาความสะอาดของถนน ทางเดิน และที่สาธารณะ
(6) การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(7) การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(8) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ และที่จอดรถ
(9) การควบคุมอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่นๆ
(10)การควบคุมการส่งเสริมการท่องเที่ยว
(11)หน้าที่อื่นที่กฎหมายระบุเป็นหน้าที่ของเทศบาลนคร หรือของเมืองพัทยา
4. พนักงานเมืองพัทยาและการกำหนดส่วนราชการของเมืองพัทยา
4.1 พนักงานเมืองพัทยา เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของปลัดเมืองพัทยา ถือว่าเมืองพัทยามีฐานะเทียบเท่าเทศบาลนคร และปลัดเมืองพัทยามีอำนาจบังคับบัญชา เทียบเท่านายกเทศมนตรี นอกจากนี้กำหนดว่าในระหว่างดำรงตำแหน่งให้ปลัดเมืองพัทยา และรองเมืองพัทยามีฐานะเป็นพนักงานเมืองพัทยา เว้นแต่ในสัญญาจ้างจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
4.2 การกำหนดส่วนราชการของเมืองพัทยา การบริหารงานของเมืองพัทยากฎหมายกำหนดให้แบ่งส่วนราชการออกเป็นดังนี้
- สำนักปลัดเมืองพัทยา
- ฝ่ายหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
การตั้ง การเปลี่ยน การยุบ การกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและหัวหน้าส่วนราชการให้กระทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย ในปัจจุบันได้มีการกำหนดส่วนราชการ และอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการเมืองพัทยาคือสำนักปลัดเมืองพัทยา กองการแพทย์ กองการศึกษา กองคลัง กองช่าง กองช่างสุขาภิบาล กองวิชาการและแผนงาน กองสวัสดิการของสังคม กองอนามัยและสิ่งแวดล้อม งานตรวจสอบภายใน และแขวง
สำนักปลัดเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปเมืองพัทยา มีหัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยาเป็นหัวหน้าบังคับบัญชา และรับผิดชอบของสำนักปลัดเมืองพัทยา ขึ้นตรงต่อปลัดเมืองพัทยา ส่วนกองต่างๆ มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการนั้นเป็นหัวหน้าบังคับบัญชา รับผิดชอบงานส่วนราชการนั้นๆ
5. การควบคุมเมืองพัทยา
(1) ให้ปลัดเมืองพัทยาทำรายงานรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณเสนอต่อสภาเมืองพัทยาภายใน 1 เดือน
(2) ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน การจ่างเงิน การบัญชี การเงิน และทรัพย์สินอื่นๆ แล้วรายงานต่อปลัดเมืองพัทยา เพื่อเสนอสภาเมืองพัทยา
(3) บรรดาเรื่องที่เมืองพัทยาต้องเสนอไปยังเมืองหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนั้น ให้ปลัดเมืองพัทยา เสนอผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของเมืองพัทยาโดยมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง หรือสั่งให้เมืองพัทยาชี้แจงแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการเมืองพัทยาได้
(5) ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เห็นว่าปลัดเมืองพัทยาปฏิบัติการ ในทางที่จะนำมาซึ่งความเสียหายแก่เมืองพัทยาโดยได้ชี้แจง แนะนำ หรือตักเตือนแล้ว แต่ก็ยังไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานให้รัฐมนตรีทราบเพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควร หรือถ้าในกรณีฉุกเฉิน ก็ให้มีอำนาจออกคำสั่งระงับการปฏิบัติราชการของปลัดเมืองพัทยาไว้ก่อนได้ และในกรณีที่ปลัดเมืองพัทยาเห็นว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรัฐมนตรีได้สั่งการโดยมิชอบ ก็ให้นำเรื่องขึ้นฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง เพื่อวินิจฉัยได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันได้รับคำสั่ง
สรุปเมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีความเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีปัญหาต่างๆ มากมายที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นและประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว จึงได้จัดตั้งเมืองพัทยาเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษขึ้นโดยกำหนดให้ฝ่ายบริหารมาจากนักบริหารอาชีพ และนำระบบผู้จัดการมาใช้ ซึ่งเน้นที่จะให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และคล่องตัวตลอดจนจัดองค์การโดยการบริหารและการเมืองออกจากกันกล่าวคือ
1. สภาเมืองพัทยาจะทำหน้าที่ทางด้านกำหนดนโยบายและควบคุมการบริหาร
2. ด้านการดำเนินงานได้มีสัญญาจ้างปลัดเมืองพัทยาและรองเมืองพัทยา ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการบริหารมาทำหน้าที่บริหารงาน
3. สภาเมืองพัทยาจะไม่เข้าไปก้าวก่ายการบริหารงานประจำของปลัดเมืองพัทยา
4. ปลัดเมืองพัทยามีภาระหน้าที่ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย ของสภาเมืองพัทยาและรับผิดชอบโดยตรงต่อสภาเมืองพัทยา
5. นายกเมืองพัทยาทำหน้าที่ประธานสมาเมืองพัทยาไม่มีอำนาจในทางบริหารเหมือนกับนายกเทศมนตรีของเทศบาล
แผนภูมิการจัดองค์การบริหารเมืองพัทยา
เมืองพัทยา
นายกเมืองพัทยา
สภาเมืองพัทยา
(เลือกตั้งและแต่งตั้ง)
ปลัดเมืองพัทยา
(มาจากการจ้าง)
รองปลัดเมืองพัทยา
(มาจากการจ้าง)
สำนักงานปลัดเมือง
กองการแพทย์
กองการศึกษา
กองคลัง
กองช่าง
กอง
แนวโน้มการปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นของไทย
การจัดการปกครองท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันได้ดำเนินการตามที่ได้กำหนดไว้ เป็นหลักการใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534[2] โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และดำเนินกิจการท้องถิ่นของตนเองตามหลักการกระจายอำนาจ มีอยู่ 5 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ซึ่งหน่วยการปกครองท้องถิ่นของไทยทุกรูปแบบ ยกเว้นสุขาภิบาล จะมีองค์การสภาท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และองค์การบริหาร สภาท้องถิ่นจึงประกอบด้วยสมาชิกที่มากจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น ยกเว้นสภาเมืองพัทยาที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้ง ฝ่ายบริหารของกรุงเทพมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ส่วนฝ่ายบริหารของเทศบาลมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม สำหรับฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด กฎหมายกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามารับผิดชอบในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งแตกต่างจากรูปการปกครองท้องถิ่นอื่นๆ
สำหรับสุขาภิบาลมีการจัดองค์การที่แตกต่างจากรูปการปกครองท้องถิ่นรูปอื่น ไม่แยกฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารออกจากกัน โครงสร้างการจัดองค์การของสุขาภิบาลเป็นแบบรูปคณะกรรมการ เรียกว่า คณะกรรมการสุขาภิบาล ทำหน้าที่ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยการปกครองท้องถิ่น คือ การบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และพัฒนาความเจริญให้แก่ท้องถิ่น โดยสามารถดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด จะเห็นได้ว่าหน่วยการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลแบบกรุงเทพมหานคร มีลักษณะการจัดองค์การ และการบริหารที่เป็นไปตามลักษณะการกระจายอำนาจ มากกว่าแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัดและแบบสุขาภิบาล เพราะเป็นรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและดำเนินกิจการของท้องถิ่นของตนเองอย่างมาก แต่ก็ประสบอุปสรรคที่ทำให้ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการโดยเฉพาะปัญหาเรื่องท้องถิ่นมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้จ่ายในการพัฒนาท้องถิ่น
ส่วนกรุงเทพมหานครก็เกิดการแตกแยกระหว่างสภากรุงเทพมหานครกับ ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสุขาภิบาลนั้น แม้จะเป็นรูปแบบที่กระจายอำนาจไม่เต็มที่ แต่ก็เป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นตามความเหมาะสมและตามสภาพของท้องถิ่นส่วยเมืองพัทยาก็เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นตามความเหมาะสมและตามสภาพของท้องถิ่นส่วนเมืองพัทยาก็เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งเน้นการบริหารให้มีประสิทธิภาพโดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมการบริหารงานตามสมควร และเป็นการกระจายอำนาจอีกแบบหนึ่ง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการปกครองท้องถิ่นของไทยมีหน่วยการปกครองท้องถิ่นหลายรูปแบบ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามความเหมาะสมของสภาพท้องถิ่น และวัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการที่จะให้มีกระจายอำนาจทำให้เกิดการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายที่จะเป็นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยการปกครองท้องถิ่น จึงควรที่จะจัดระบบการปกครองท้องถิ่นให้เป็นแบบเดียวกัน รูปแบบที่เหมาะสมควรจะเป็นระบบเทศบาล และแบ่งเทศบาลเป็นขนาดต่างๆ ตามความเหมาะสมกับท้องถิ่นและรายได้ นอกจากนี้อาจพิจารณาจัดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดที่มีความเจริญก้าวหน้าและมีความเหมาะสมให้เป็นแบบเดียวกับกรุงเทพมหานครก็สามารถดำเนินการได้
ดังนั้น รูปการปกครองท้องถิ่นของไทยในอนาคตควรจะเป็นแบบระบบเทศบาลหรือแบบระบบพิเศษเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครในบางจังหวัดที่เหมาะสมที่จะจัดให้มีรูปการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการปกครองท้องถิ่นที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
ปัญหาและอุปสรรคขององค์การปกครองท้องถิ่นไทยปัจจุบัน มีดังนี้
1. ปัญหาเกี่ยวกับอุดมคติในการปกครองท้องถิ่น ปัญหาและอุปสรรคสำคัญประการแรก “อุดมคติของการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย” ซึ่งหมายถึง ทัศนคติที่มีต่อการปกครองท้องถิ่นในด้านรัฐบาลและประชาชน คือ
ด้านรัฐบาล
(1) จะจำกัดขอบเขตการปฏิบัติงานขององค์การปกครองท้องถิ่น
(2) แต่งตั้งให้ข้าราชการของรัฐเข้าดำรงตำแหน่งในองค์การปกครองท้องถิ่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลต้องการรวมอำนาจเข้าส่วนกลาง
(3) รัฐบาลให้การปฏิวัติหรือรัฐประหารเข้าแก้ไขปัญหายุ่งยากทางการเมือง เป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยในแต่ครั้งที่กระทำ
ด้านประชาชน
(1) ประชาชนขาดความรู้ในการปกครองตนเอง
(2) ประชาชนเคยชินกับการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาแต่ก่อน
(3) ประชาชนยังมีความคิดหรือทัศนคติเก่า คือ มักเรียกร้องให้รัฐบาลทำทุกอย่างให้ โดยคิดว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว
2. ปัญหาเกี่ยวกับการคลัง ซึ่งปัจจุบันคือ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงทำให้การบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความอิสระของตนเองไป เพราะส่วนกลางได้ให้การอุดหนุนทำให้มีการควบคุมกัน
สาเหตุของรายได้ไม่พอกับรายจ่าย คือ สาเหตุเกี่ยวกับนโยบายระบบภาษีอากรและสภาพเศรษฐกิจยังไม่ดี
3. ปัญหาพนักงานท้องถิ่น ซึ่งแยกออกเป็นฝ่ายที่ได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกับฝ่ายพนักงานประจำ คือ
(1) ฝ่ายที่ได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติกิจการของท้องถิ่นในรูปผู้วางนโยบายหรือควบคุมนโยบายระดังสูง ทำให้เกิด
- เกิดการพิพาทระหว่างคณะเทศมนตรีและสภาเทศบางเป็นผลให้การโค่นล้ม คณะเทศมนตรีอยู่เป็นประจำ
- ปัญหาเกี่ยวกับความรู้ของผู้ดำรงตำแหน่งบริหารท้องถิ่น คือ หาคนที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนดไม่ค่อยได้
(2) ฝ่ายที่เป็นพนักงานประจำ คือ มีปัญหาไม่สามารถดึงดูดคนดีมีความรู้มาทำงานให้องค์การปกครองท้องถิ่นได้ เพราะศักดิ์ศรีของพนักงานปกครองท้องถิ่นยังไม่อยู่ในระดับมาตรฐาน และนอกจากนี้คณะกรรมการส่วนกลางที่แต่งตั้งขึ้นรับฟังความคิดเห็นของพนักงานเทศบาลน้อยมาก
การแก้ไขปัญหาในข้อ 1. คือ นำเอารูปแบบการจัดองค์การที่ให้ฝ่ายบริหาร มีความเข็มแข็งมาใช้ เช่น ระบบผู้จัดการเทศบาลเหมือนพัทยา
ส่วนในข้อ 2. แก้ไขโดยปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคลเสียใหม่
4. ปัญหาการควบคุม คือ รัฐบาลควบคุมองค์การปกครองท้องถิ่นสูงมาก ทำให้ขาดอิสระในการกระทำกิจการต่างๆ นอกจากนี้ยังทำให้ประชาชนขาดความสนใจทางการเมือง เพราะคิดไปว่าการเมืองเป็นเรื่องของรัฐบาล
็็็
[1] ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง ตามบริบท แห่งเวลา และสถานที่
[2] อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามบริบท แห่งเวลาและสถานที่
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นโดย พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 โดยมีเจตนารมณ์ที่จะเร่งพัฒนาพื้นที่ของจังหวัดที่มิได้อยู่ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาลให้เจริญขึ้นอีกทางหนึ่ง จึงเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่เพราะมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่จังหวัด แต่ยกเว้นพื้นที่ของหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปอื่นในจังหวัด
1. การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคล และตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นราชการส่วนท้องถิ่น โดยจัดตั้งขึ้นจังหวัดละ 1 แห่ง ในทุก จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร เพราะมีการจัดการปกครองท้องถิ่นรูปเศษ) รับผิดชอบในเขตท้องที่ของจังหวัดอยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล เป็นหน่วยการปกครองที่แยกต่างหากไปส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง อีกทั้งเป็นหน่วยการปกครองที่มีงบประมาณ ทรัพย์สิน และเจ้าหน้าที่ของตนเอง มีอำนาจหน้าที่จัดทำกิจการที่เรียกว่า “กิจการส่วนจังหวัด” ในเขตที่รับผิดชอบโดยอิสระตามที่กฎหมายกำหนด
ดังนั้น หน่วยการปกครองจังหวัดมีฐานะ 2 อย่างในขณะเดียวกัน คือ เป็นทั้ง “ราชการบริหารส่วนภูมิภาค” และ “ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น” กล่าวคือ
จังหวัดในฐานะเป็น “ราชการบริหารส่วนภูมิภาค” ซึ่งเป็นตัวแทนของราชการบริหารส่วนกลางที่แยกออกไปสู่ส่วนต่างๆ ของประเทศ มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และตามที่กระทรวง ทบวง กรม ส่วนกลางมอบหมายมาปฏิบัติให้เหมาะสมกบท้องที่และประชาชน จึงเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิที่ใหญ่ที่สุด โดยมี “อำเภอ” เป็นหน่วยรองลงมา การบริหารงานในด้านการใช้จ่ายเพื่อดำเนินงานต่างๆ ใช้จากเงินงบประมาณแผ่นดิน กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ได้รับและจัดสรรไปให้ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานมาจากการแต่งตั้งของส่วนกลาง และอยู่ในบังคับบัญชาของส่วนกลาง ตามลำดับ รวมทั้งได้รับเงินเดือนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากเงินงบประมาณแผ่นดินของส่วนกลางทั้งสิ้น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติให้เหมาะสมกับท้องที่ที่ประชาชน ดังนั้น จึงเป็นหน่วยงานที่นำนโยบายของส่วนกลางไปปฏิบัติให้เกิดผลประโยชน์โดยตรงในจังหวัดและอำเภอที่รับผิดชอบ
จังหวัดในฐานะเป็น “ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น” เป็นหน่วยงานที่แยกไปต่างหากจากการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง โดยมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการที่เรียกว่า “กิจการส่วนจังหวัด” ตามที่กฎหมายกำหนด จึงมีทรัพย์สิน งบประมาณ และรายได้จากภาษีอากรของตนเอง ซึ่งสามารถนำมาใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ อีกทั้งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดโดยอิสระ ราชการส่วนกลางเพียงแต่ควบคุมดูแล มีการจัดระเบียบการปกครองที่มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ “สภาจังหวัด” และ “ผู้ว่าราชการจังหวัด” เป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปนี้
2. การจัดองค์การและการบริหาร ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วย “สภาจังหวัด” และ “ผู้ว่าราชการจังหวัด” เป็นผู้ดำเนินกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
2.1 สภาจังหวัด เป็นองค์การตัวแทนของราษฎรในจังหวัดและเป็นองค์การฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งจากอำเภอต่างๆ ในจังหวัด จำนวนสมาชิกถือเกณฑ์ตามจำนวนราษฎร แต่ ละจังหวัดคือ
- จังหวัดที่มีราษฎรไม่เกิน 200,000 คน มีสมาชิกได้ 18 คน
- จังหวัดที่มีราษฎรเกินกว่า 200,000 คน แต่ไม่เกิน 500,000 คน มีสมาชิกได้ 24 คน
- จังหวัดที่มีราษฎรเกินกว่า 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1,000,000 คน มีสมาชิกได้ 30 คน
- จังหวัดที่มีราษฎรเกินกว่า 1,000,000 คน ขึ้นไป มีสมาชิกได้ 36 คน
ดังนั้น จำนวนสมาชิกต้องมีอย่างน้อย 18 คน อย่างมาก 36 คน โดยให้อำเภอหนึ่งๆ เลือกตั้งสมาชิกได้หนึ่งโดยมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และจะสิ้นสุดลงก่อนครบวาระเมื่อ
- สภาจังหวัดถูกยุบโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ตาย
- ลาออก
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ออก เพราะขาดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
- สภาจังหวัดวินิจฉัยให้ออกเพราะมีความประพฤติไม่เหมาะสม แต่ต้องมีเสียงไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่งทั้งหมด
อำนาจหน้าที่ของสภาจังหวัดสรุปได้ดังนี้
(1) ตราข้อบัญญัติจังหวัด มีกระบวนการดำเนิน การ คือ ร่างข้อบัญญัติเสนอได้โดยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือสมาชิกสภาจังหวัด เมื่อสภาจังหวัดพิจารณาและลงมติเห็นชอบ จะใช้บังคับได้ต่อเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบ โดยลงชื่อประกาศใช้ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับร่าง แต่ถ้าไม่เห็นชอบด้วยก็ต้องส่งร่างข้อบัญญัตินั้นไปให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณา ซึ่งถ้าเห็นชอบด้วยก็จะส่งกลับไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดให้ลงชื่อบังคับใช้ แต่ถ้าไม่เห็นชอบก็เป็นอันระงับไป อีกทั้งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจจะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดไว้ด้วยก็ได้ โดยไม่เกิน 100 บาท และถือเป็นความผิดลหุโทษ
(2) อนุมัติงบประมาณ คือ แผนการหรืโครงการปฏิบัติแต่ละปีที่จัดทำขึ้นและเสนอโดยฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติงบประมาณประจำปีของจังหวัดต่อสภาจังหวัด เพราะงบประมาณประจำปีของจังหวัดต้องตราเป็นข้อบัญญัติจังหวัด
(3) การควบคุมการบริหารงานกิจการ สมาชิกสภาจังหวัดมีสิทธิตั้งกระทู้ถามและสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ โดยเป็นข้อความที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของราชการบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งทำได้ทั้งในสภา และในส่วนภูมิภาค สำหรับคำสอบถามและการตอบให้บันทึกทำเป็นหนังสือเสนอ กระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีสิทธิไม่ตอบถ้าเห็นว่ายังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของจังหวัด หรือเกี่ยวข้องกับนโยบายราชการบริหารส่วนกลาง ตลอดจนอาจมีการตั้งคณะกรรมการสามัญ และวิสามัญอันถือเป็นการควบคุมฝ่ายบริหารในการดำเนินกิจการส่วนจังหวัดในรูปคณะกรรมการ
2.2 ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกระทรวงมหาดไทย และมี 2 ฐานะ คือ
(ก) ฐานะเป็นตัวแทนราชการบริหารส่วนกลาง มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารซึ่งปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนภูมิภาพในเขตจังหวัด ตลอดจนรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ควบคุมดูแลเทศบาลและสุขาภิบาลแทนราชการส่วนกลางด้วย
(ข) ฐานะเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารกิจการส่วนจังหวัดตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เรียกว่า “องค์การบริหารส่วนจังหวัด” อันเป็นตำแหน่งคล้ายกับนกยกเทศมนตรี โดยมีหน้าที่ปฏิบัติกิจการส่วนจังหวัดที่แยกต่างหากจากราชการส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง ต้องรับผิดชอบต่อสภาจังหวัด ดังนั้น จึงมีอำนาจหน้าที่อันได้แก่ ปฏิบัติตามมติของสภาจังหวัด, ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการส่วนจังหวัด, เสนอร่างข้อบัญญัติจังหวัดและให้ความเห็นชอบประกาศใช้ร่างข้อบัญญัติจังหวัด,เปิด – ปิด และขยายเวลาสมัยประชุมสภาจังหวัด สั่งเพิกถอนมติของสภาจังหวัด, รับใบลาออกและสั่งให้สมาชิกสภาจังหวัดออก และปฏิบัติหน้าที่ทั่วไป
3. หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีหน้าที่ทำกิจการที่ เรียกว่า “กิจการส่วนจังหวัด” ซึ่งเป็นกิจการที่รัฐมอบให้จัดทำ ทั้งนี้ภายในวงเงินงบประมาณที่ตั้งไว้ ของจังหวัด และได้รับอนุมัติจากสภาจังหวัดแล้วกิจการส่วนจังหวัด เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน, การศึกษา การทุบำรุงศาสนา และการส่งเสริมวัฒนธรรม, การสาธารณูปการ, การป้องกันโรค การบำบัดโรค การจัดตั้งและบำรุงสถานพยาบาล การจัดให้มีการบำรุงทั้งทางน้ำและทางบก, การจัดให้มีการบำรุงทางระบายน้ำ, การรักษาความสะอาดท้องถนน ทางเดิน และที่สาธารณะ, การกำจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล, การจัดให้มีน้ำสะอาดและบำรุงการไฟฟ้า, การจัดให้มีสุสาน และฌาปนสถาน, การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น นอกจากนี้อาจทำกิจการนอกเขตโดยเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำและเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินตามอำนาจหน้าที่อยู่ในเขตของตน โดยได้รับความยินยอมจากสภาเทศบาล คณะกรรมการสุขาภิบาล สภาจังหวัด หรือตำบลแห่งท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อีกทั้งอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นในรูปบริษัทจำกัด หรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค และต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เช่นกัน
4. รายได้และรายจ่ายองค์การบริหารส่วนจังหวัด
4.1 รายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายจึงอาจมีรายได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ และผลประโยชน์ ซึ่งเป็นรายได้ที่เทศบาลจะตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนให้จังหวัดให้จัดเก็บเพิ่มขึ้นเฉพาะท้องที่นอกเขตสุขาภิบาล เพื่อกิจการส่วนจังหวัดด้วยก็ได้
4.2 รายจ่ายองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ร.บ. บริหารราชการส่วนจังหวัดได้กำหนดประเภทรายจ่ายไว้ คือ เงินเดือน, ค่าจ้าง, เงินตอบแทนอื่นๆ, ค่าใช้สอย, ค่าวัสดุ, ค่าครุภัณฑ์, ค่าที่ดิน, สิ่งก่อสร้างและทรัพย์สินอื่นๆ เงินอุดหนุน ตลอดจนรายจ่ายอื่นใดตามข้อผูกพันหรือตามที่กฎหมายหรือระเบียบกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้
5. ข้าราชการส่วนจังหวัดและการแบ่งราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งนอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าฝ่าบริหารแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้มี “ข้าราชการส่วนจังหวัด” ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำและมีฐานะเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน จึงให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้เป็นระเบียบข้าราชการส่วนจังหวัดโดยอนุโลม แบ่งการบริหารส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดออกเป็น
(1) สำนักงานเลขานุการจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการทั่วไปของจังหวัด
(2) ส่วนต่างๆ ที่จังหวัดจัดตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการส่วนจังหวัดในส่วนนั้น เช่น ส่วนการคลัง การโยธา ส่วน รพช. ส่วนอำเภอ ส่วนกิ่งอำเภอ เป็นต้น
6. การควบคุมองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(1) การยุบสภาพจังหวัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจที่จะยุบสภาจังหวัดเพื่อให้ราษฏรเลือกตั้งใหม่ และต้องแสดงเหตุผล และกำหนดให้เลือกตั้งใหม่ภายใน 90 วัน
(2) สั่งเพิกถอนมติสภาจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งเพิกถอนมติซึ่งมิใช้ข้อบัญญัติจังหวัด เมื่อเห็นว่ามตินั้นเป็นการเมืองแห่งรัฐหรือฝ่าฝืนกฎหมาย แต่ต้องสั่งเพิกถอนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่สภาจังหวัดมีมติ
แผนภูมิองค์การบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
สภาจังหวัด
(เลือกตั้ง)
ผู้ว่าราชการจังหวัด
(โดยตำแหน่ง)
ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สำนักงานเลขานุการจังหวัด
ส่วนอำเภอ
ส่วน…
ส่วน…
เทศบาล
เทศบาลเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยโดย พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2476 ซึ่งมีลักษณะสมบูรณ์ตามหลักการกระจายอำนาจ โดยไดกำหนดโครงสร้างของเทศบาลที่จำลองรูปแบบการปกครองของประเทศแบบรัฐสภา และนิยมกันมากในประเทศตะวันตก ปัจจุบันเทศบาลได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 กับฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม วัตถุประสงค์ของการนำมาใช้ก็เพื่อให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการปกครองในระดับท้องถิ่นตามแบบอารยประเทศ
1. การจัดตั้งเทศบาล
พระราชบัญญัติเทศบาล แบ่งเทศบาลออกเป็น 3 ประเภท คือ
(1) เทศบาลตำบล เป็นเทศบาลขนาดเล็ก
(2) เทศบาลเมือง เป็นเทศบาลขนาดกลาง
(3) เทศบาลนคร เป็นเทศบาลขนาดใหญ่
การจัดตั้งเทศบาลจะจัดตั้งเป็นแห่งๆ ไป ส่วนการยกฐานะของท้องถิ่นขึ้นเป็นเทศบาลจะถือความสำคัญของท้องถิ่น จำนวนและความหนาแน่นของราษฎรในชุมชน ตลอดจนรายได้ที่คาดว่าสามารถจัดเก็บมาเป็นค่าใช้จ่ายการปฏิบัติหน้าที่ที่บังคับไว้ตามกฎหมาย ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลตำบล โดยให้ระบุชื่อและเขตของเทศบาลไว้ด้วย ดังนั้น การยกฐานะท้องถิ่นใดขึ้นเป็นเทศบาลตำบลจึงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาล ซึ่งต้องเป็นท้องถิ่นที่มีราษฎรอยู่มาก และมีความเจริญพอสมควร
(ข) เทศบาลเมือง การจัดตั้งกระทำได้ 2 กรณี คือ
(1) ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดทุกแห่ง
(2) ท้องถิ่นอื่นๆ ซึ่งต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้
- เป็นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป
- ชุมนุมชนมีราษฎรอยู่หนาแน่เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
- มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่ที่บังคับไว้ตามกฎหมาย สำหรับเทศบาลเมือง
(ค) เทศบาลนคร การจัดตั้งจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- เป็นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป
- ชุมนุมชนมีราษฎรอยู่หนาแน่เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
- มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่ที่บังคับไว้ตามกฎหมาย สำหรับเทศบาลนคร
การจัดตั้งจะต้องกระทำเป็น “พระราชกฤษฎีกา” โดยระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย เมื่อเป็นเทศบาลแล้วก็จะมีสภาพเป็นทบวงการเมือง ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย สำหรับการเปลี่ยนชื่อเทศบาล, เปลี่ยนเขตเทศบาล, เปลี่ยนแปลงฐานะ หรือยุบเลิกเทศบาล กฎหมายก็กำหนดให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา เช่นกัน
2. การจัดตั้งองค์การและการบริหาร
พ.ร.บ.เทศบาลได้กำหนดรูปแบบโครงสร้างการจัดองค์การ และการบริหารของเทศบาลจำลองแบบการปกครองแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นแบบการปกครองประเทศมาใช้กับเทศบาลด้วย มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ
2.1 สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
เทศบาลตำบล มีสมาชิกจำนวน 12 คน
เทศบาลเมือง มีสมาชิกจำนวน 18 คน
เทศบาลนคร มีสมาชิกจำนวน 24 คน[1]
เขตเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล โดยปกติให้ถือเขตเทศบาลเป็นเขตเลือกตั้งเขตหนึ่ง แต่ถ้าเทศบาลมีจำนวนราษฎรเกินกว่า 100,000 คน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศแบ่งเขต เป็นเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่เกิน 4 เขต โดยให้แต่ละเขตมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันเท่าที่จะแบ่งได้ และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมีจำนวนเท่ากันทุกเขต อีกทั้งต้องระบุว่าเป็นเขตเลือกตั้งที่เท่าใด ของเทศบาลใดมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลที่จะทำการเลือกตั้งเท่าใด และต้องประกาศให้ราษฎรทราบก่อนวันเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยเขตที่ประกาศนั้นก็จะใช้ตลอดไปจนกว่าจะได้ประกาศเปลี่ยนแปลง
สมาชิกสภาเทศบาล มีวาระอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 5 ปี แต่สมาชิกภาพของเทศบาลอาจสิ้นสุดลงก่อนวาระได้ เมื่อ
(1) สภาเทศบาลถูกยุบโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(2) ตาย
(3) ลาออกโดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
(5) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้สอบสวนแล้วสั่งให้ออก เพราะไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลนั้น
(6) สภากระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยให้ออก เพราะมีความประพฤติที่จะทำให้เสื่อมเสียแก่กระทรวงมหาดไทย โดยมีคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกอยู่ในตำแหน่ง
(7) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้ออก เพราะมีความประพฤติที่จะทำให้เสื่อมเสียแก่เทศบาลหรือไม่มาประชุมสภาเทศบาล 3 ครั้ง ติดๆ กัน โดยไม่มีเหตุผลสมควร
สภาเทศบาลจะมีประธานและรองประธานที่เลือกตั้งมาจากสมาชิกสภาเทศบาล โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้ง มีหน้าที่ดำเนินการของสภาเทศบาล ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุม ซึ่งในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสำคัญ 2 สมัย หรือหลายสมัยก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 4 สมัย และในการประชุมครั้งแรกต้องทำภายใน 90 วัน นับแต่การเลือกตั้งเสร็จแล้ว โดยสมัยหนึ่งๆ มีกำหนดไม่เกิน 15 วัน แต่ถ้าจะขยายออกไปก็ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนการประชุมวิสามัญควรเป็นกรณีที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งเทศบาล และมีจำนวนผู้เข้าประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่ง ซึ่งอาจยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดให้พิจารณาและเรียกประชุมเมื่อเห็นสมควร ตลอดจนอนุญาตให้มีการขยายเวลาประชุมถ้าเกินกว่า 15 วัน สำหรับองค์ประชุมต้องมีสมาชิกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่ง แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด และการลงมติวินิจฉันข้อปรึกษาให้ถือเอาเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงเพิ่มหนึ่งเสียงซึ่งเป็นเสียงชี้ขาด การประชุมสภาเทศบาลมิให้ทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่, ฝ่าฝืนกฎหมาย, หรือเรื่องการเมืองแห่งรัฐ อีกทั้งกระทำโดยเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล ส่วนการประชุมลับประธานจะดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอมติที่ประชุมเมื่อคณะเทศมนตรีหรือสมาชิกสภาเทศบาลรวมกันไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของจำวนสมาชิกที่มาประชุมร้องขอให้ทำการประชุมลับ
อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล ซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติของเทศบาล สรุปได้ดังนี้
(1) ตราเทศบัญญัติ ซึ่งใช้บังคับกับประชาชนในเขตเทศบาล และไม่ขัดแย้งต่อตัวบทกฎหมาย เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาล อีกทั้งอาจจะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดไว้ด้วยก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 1,000 บาท นอกจากนี้เทศพาณิชย์ของเทศบาลกฎหมายกำหนดไว้ตราเป็น เทศบัญญัติด้วย สำหรับการนำเสนอร่างทำได้โดยสมาชิกสภาเทศบาลหรือคณะเทศมนตรีซึ่งไม่ต้องมีผู้รับรอง แต่ถ้าสมาชิกสภาฯ เป็นผู้เสนอ จะต้องมีผู้รับรองอย่างน้อย 2 คน โดยลงชื่อในร่างญัตติ ทั้ง 2 ฝ่าย และถ้าเป็นร่างฯ ที่เกี่ยวกับการเงิน ต้องให้นายกเทศมนตรีรับรอง
สำหรับการพิจารณาร่างเทศบัญญัติจะทำเป็น 3 วาระ แต่ที่ประชุมจะอนุมัติให้พิจารณา 3 วาระรวดเดียวก็ได ยกเว้นร่างเทศบัญญัติงบประมาณจะทำไม่ได้ และจะใช้บังคับได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบ และลงชื่อโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งกำหนดไว้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ร่างฯเสร็จ ในกรณีเทศบาลตำบลต้องส่งให้นายอำเภอก่อน ส่วนเทศบาลเมืองและเทศบาลนครให้ประธานสภาจะส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดได้เลย ถ้าเห็นชอบให้ลงชื่ออนุมัติภายในกำหนด 30 วัน แต่ถ้าไม่เห็นชอบก็จะส่งกลับคืนไปยังสภาเทศบาล เพื่อพิจารณาใหม่ และถ้ายืนยันร่างเดิมก็ส่งกลับมายังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อส่งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายใน 30 วัน ซึ่งถ้าเห็นชอบก็สั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่ออนุมัติ แต่ถ้าไม่เห็นชอบก็เป็นอันระงับไปและในกรณีฉุกเฉินคณะเทศมนตรีอาจออกเทศบัญญัติชั่วคราว โดยให้ใช้บังคับทันทีในวันที่ประกาศ ตลอดจนต้องมีการประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานเทศบาลแล้ว 7 วัน
(2) พิจารณาอนุมัติงบประมาณประจำปีของเทศบาล เป็นแผนโครงการใช้จ่ายเงินของเทศบาลแต่ละปีรวมทั้งรายรับของเทศบาลที่ได้ประมาณการไว้ด้วย คณะเทศมนตรีเป็นฝ่ายจัดทำโยเสนอต่อสภาเทศบาลเพื่อพิจารณา และกำหนดเป็น 3 วาระ จึงต้องตามเป็นเทศบัญญัติ อีกทั้งมีความสำคัญเพราะว่าถ้าสภาเทศบาลไม่รับหลักการ คณะเทศมนตรีต้องพันจากตำแหน่ง ซึ่งสมาชิกสภาเทศบาลมักจะอาศัยอำนาจนี่โค่นล้มคณะเทศมนตรีทำให้การบริหารงานของเทศบาลดำเนินไปไม่ราบรื่น แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยับยั้งโดยส่งคืนให้สมาชิกเทศบาลพิจารณาใหม่ และต้องมีมติยืนยันด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด จึงจะถือว่าสภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งรางเทศบัญญัติงบประมาณ อันเป็นผลให้คณะเทศมนตรีทั้งคณะต้องออกจากตำแหน่ง
(3) ควบคุมการบริหารงานของเทศบาล ซึ่งได้จำลองรูปแบบการปกครองแบบรัฐสภามาใช้ โดยฝ่ายบริหารไม่ได้มาจากการเลืองตั้งโดยตรง แต่เป็นทางอ้อม คือ ประชาชนเลือกสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งจะเป็นผู้เลือกและให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกันเอง ดังนั้น สภาเทศบาลจึงมีอำนาจในการควบคุมการบริหารงานของเทศบาลที่คณะเทศมนตรีรับผิดชอบด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
- ตั้งกระทู้ถาม ในข้อความใดๆ อันเกี่ยวกับการงานในหน้าที่ได้ แต่คณะเทศมนตรีมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่า ยังไม่สมควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือประโยชน์สำคัญของเทศบาล
- ยื่นคำร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้คณะเทศมนตรี หรือ เทศมนตรีออกจากตำแหน่ง
- การตั้งคณะกรรมการ สภากระทรวงมหาดไทยมีอำนาจเลือกสมาชิกสภาเทศบาล ตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลทั้งที่เป็นหรือไม่เป็นสมาชิกเป็นคณะกรรมการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการหรือพิจาณาสอบสวนข้อความใดๆ อันอยู่ในวงงานของสภาเทศบาล
2.2 คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารของเทศบาล ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี และเทศมนตรีอื่น มีจำนวนกำหนดไว้ตามประเภทของเทศบางดังนี้
- เทศบาลตำบล มีนากยกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรีอีก 2 คน
- เทศบาลตำเมือง มีนากยกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรีอีก 2 คน (แต่ในกรณีเทศบาลเมืองแห่งใดมีรายได้จับเก็บตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป ก็ให้มีเทศมนตรีเพิ่มขึ้นได้อีก 1 คน)
- เทศบาลนคร มีนากยกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรีอีก 4 คน
การแต่งตั้งคณะเทศมนตรี มีหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี
(2) ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีจากผู้เป็นสมาชิก สภาเทศบาลเท่านั้น จะแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกไม่ได้ (เว้นแต่กรณีคณะเทศมนตรีชั่วคราว)
(3) ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาเทศบาล
เนื่องจากคณะเทศมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง กฎหมายจึงมิได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะเทศมนตรีไว้ แต่ก็ได้มีการกำหนดการออกจากตำแหน่งไว้ดังนี้
การออกจากตำแหน่งทั้งคณะของเทศมนตรี
(1) สมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลชุดที่คณะเทศมนตรีเข้ารับหน้าที่สิ้นสุดลง
(2) สภานายกเทศมนตรีและเทศมนตรีไม่รับหลักการเทศบัญญัติงบประมาณ และผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบด้วยสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณนั้น หรือสภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมด
(3) ความเป็นเทศมนตรีของนกยกเทศมนตรีสิ้นสุดลง
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้เทศมนตรีทั้งคณะออกจากตำแหน่ง
ความเป็นเทศมนตรีจะสิ้นสุดเฉพาะตัวเมื่อ
(1) สมาชิกภาพแห่งสภาสิ้นสุดลง
(2) ลาออกโดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้สอบสวนแล้วสั่งให้ออก โดยเห็นว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับเทศบาลหรือในกิจการที่ทำให้แก่เทศบาล ทั้งนี้ไม่ว่าโดยตรงหรืออ้อม
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้ออก
อำนาจหน้าที่ของคณะเทศมนตรี คณะเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารของเทศบาล โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า นอกจากนี้เทศบาลทุกแห่งที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นครบ 1 ปีแล้ว จะเป็นเหตุให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้นๆ พ้นจากตำแหน่งและหน้าที่ ให้นายกเทศมนตรีของเทศบาลนั้นมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตเทศบาล
3. หน้าที่ของเทศบาล
เทศบาลจำดำเนินกิจการใดย่อมอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ อีกทั้งเพื่อความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นแต่ละแห่งและสถานะเกี่ยวกับรายได้ของเทศบาลด้วย มีดังต่อไปนี้
เทศบาลตำบล มีหน้าที่ที่ต้องทำในเขตเทศบาล ได้แก่ รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ รักษาความสะอาดของถนนและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลฯ ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม ฯลฯ
เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลได้แก่ กิจการตามที่ระบุไว้ว่าเป็นหน้าที่ที่เทศบาลตำบลต้องทำ ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา ให้มีโรงฆ่าสัตว์ ให้มีการบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้ ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ฯลฯ
เทศบาลนคร มีหน้าทีที่ต้องทำในเขตเทศบาล ได้แก่ กิจการตามที่ระบุไว้ว่าเป็นหน้าที่ที่เทศบาลเมืองต้องทำ ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข ฯลฯ
สหการ เป็นองค์การซึ่งเทศบาลตั้งแต่ 2 เทศบาลขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อประกอบกิจการอันอยู่ในหน้าที่ของเทศบาลร่วมกัน การจัดตั้งจะทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และมีสภาพเป็นทบวงการเมือง ซึ่งได้กำหนดชื่อ อำนาจ หน้าที่ และระเบียบการดำเนินงานไว้ สำหรับการยุบเลิกสหการก็ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาโดยกำหนดวิธีการจัดทรัพย์สินไว้ด้วย สหการอาจได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และอาจกู้เงินได้โดยออกพันธบัตร หรือเงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ ตลอดจนนิติบุคคลต่างๆ
4. รายได้และรายจ่ายของเทศบาล
รายได้ของเทศบาล อาจได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล รายได้จากสาธารณูปโภคและเทศพาณิชย์ พันธบัตรหรือเงินกู้ เงินกู้จาก กระทรวง ทบวง กรม องค์การ ตลอดจนนิติบุคคลต่างๆ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินและทรัพย์สินอย่าอื่นที่มีผู้อุทิศให้ ฯลฯ
รายจ่ายของเทศบาล อาจมีรายจ่าย เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เงินตอบแทนอื่นๆ ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดินก่อสร้างและทรัพย์สินอื่นๆ เงินอุดหนุน ฯลฯ
5. พนักงานเทศบาลและการกำหนดส่วนราชการของเทศบาล
พนักงานเทศบาล ในการบริหารกิจการของเทศบาลนกจากจะมีคณะเทศมนตรีซึ่งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า กฎหมายเทศบาลยังกำหนดให้เทศบาลมี “พนักงานเทศบาล” ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำ เป็นผู้ปฏิบัติกิจการของเทศบาล โดยมี “ปลัดเทศบาล” เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาล และรับผิดชอบในงานประจำทั่วไปของเทศบาล ระเบียบพนักงานเทศบาลให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
การกำหนดส่วนราชการของเทศบาล การบริหารงานของเทศบาลตามกฎหมายกำหนดให้จัดแบ่งการบริหารออกเป็นส่วนต่างๆ ตามปริมาณและคุณภาพของงาน
6. การควบคุมเทศบาล โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด และ นายอำเภอ เป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมเทศบาล ดังนี้
(1) การชี้แจงนำตักเตือนเทศบาลและตรวจสอบกิจการ
(2) สั่งเพิกถอนหรือสั่งให้ระงับการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี หรือเทศมนตรี
(3) การสั่งให้คณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีออกจากตำแหน่ง
(4) การสั่งยุบสภาเทศบาล
(5) การสั่งให้เทศบาลอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทยโดยตรง และต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
สรุป จะเห็นได้ว่าเทศบาลเป็นรูปการปกครองท้องถิ่นไทยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง และเป็นไปตามลักษณะการกระจายอำนาจมากที่สุด ซึ่งการจัดตั้งเทศบาลทุกประเภทต้องตราเป็น “พระราชกฤษฎีกา” แต่ในปัจจุบันเทศบาลหลายแห่งยังประสบปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย จึงทำให้ไม่สามารถพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญเท่าที่ควรได้
แผนภูมิการจัดองค์การบริหารของเทศบาล
เทศบาล
สภาเทศบาล
(เลือกตั้ง)
คณะเทศมนตรี
(มาจากสภาเทศบาล)
ปลัดเทศบาล
สำนักงานปลัดเทศบาล
กองฝ่าย..
กองฝ่าย..
กองฝ่าย..
สุขาภิบาล เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ทรงจัดตั้งขึ้นในกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2440 และประสบผลสำเร็จในการจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม พ.ศ.2451 จึงได้ตรา พ.ร.บ.จัดการสุขาภิบาลหัวเมือง ร.ศ.127 ขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการมาจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ก็หยุดชะงักไป เพราะรัฐบาลจะจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาลทั้งหมดแต่ในปี พ.ศ.2495 ก็นำกลับมาใช้อีก เพราะมีท้องถิ่นชุมชนขนาดเล็กหรือขนาดกลางจำนวนมาที่ไม่อาจจัดตั้งเป็นเทศบาลได้
1. การจัดตั้งสุขาภิบาล ให้จัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ เป็นแห่งๆ ไป จะจัดตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย โดยต้องมีการระบุชื่อและเขตไว้ด้วย และต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล ตลอดจนให้ประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษาด้วย ดังนั้น การจัดตั้งจึงอยู่ในดุลพินิจของรัฐบาล โดยกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่รับผิดชอบซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้
- ท้องถิ่นที่เป็นที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ จะต้องมีรายได้จริงในปีงบประมาณที่ แล้ว ตั้งแต่ 300,000 บาทขึ้นไป โดยไม่รวมเงินอุดหนุน
- ท้องถิ่นที่เป็นเขตตำบลหรือหมู่บ้าน จะต้องมีราได้จริงในปีงบประมาณที่แล้วตั้งแต่ 400,000. บาท ขึ้นไป โดยไม่รวมเงินอุดหนุน
- มีพื้นที่ไม่เกินกว่า 13 ตารางกิโลเมตร เว้นแต่กรณีที่สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทยเห็นว่ามีความจำเป็นทางวิชาการด้านผังเมือง
- มีประชากรตั้งแต่ 1,500 คนขึ้นไป
- ได้รับความเห็นชอบจากราษฎรในท้องถิ่นนั้น
2. การยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- มีรายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่แล้วตั้งแต่ 5,000,000 บาท ขึ้นไป
- มีประชากรตั้งแต่ 7,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ขึ้นไป
- ได้รับความเห็นชอบจากราษฎรในท้องถิ่นนั้น
3. การจัดองค์การและการบริหาร มีการจัดองค์การในรูปคณะกรรมการ เรียกว่า “คณะกรรมการสุขาภิบาล” ซึ่งทำหน้าที่ทั้งทางนิติบัญญัติและทางบริหารไปพร้อมกัน โดยมีหน้าที่ทำการตราข้อบังคับ วางนโยบาย และรับผิดชอบบริหารกิจการของสุขาภิบาลตามกฎหมาย คณะกรรมการสุขาภิบาล ประกอบด้วย
(1) นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอแห่งท้องที่ที่สุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่
(2) ปลัดอำเภอแห่งอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่สุขาภิบาลตั้งอยู่ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำนวน 1 คน
(3) กำนันแห่งตำบลซึ่งมีพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของตำบลนั้นตั้งอยู่ ในเขตสุขาภิบาล
(4) ผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งราษฎรในเขตสุขาภิบาลนั้นเลือกตั้งขึ้นจำนวน 9 คน และมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยจะพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุต่อไปนี้
- ถึงคราวออกตามวาระ
- ตาย
- ลาออก โดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
- ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง
- กรรมการสุขาภิบาลไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดมีมติให้ออกเพราะพฤติกรรมไม่ดี
- ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สอบสวนแล้วสั่งให้ออก
การบริหารสุขาภิบาล กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมสุขาภิบาลมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารเกี่ยวกับสุขาภิบาล โดยมีหน้าที่ประชุมร่วมกันเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงาน บริหารกิจการของสุขาภิบาล และปรึกษาเกี่ยวกับการตราข้อบังคับสุขาภิบาล เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของสุขาภิบาล สำหรับการประชุมจะต้องมีไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้งเป็นปกติ โดยมีกรรมการประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่อยู่ในตำแหน่ง ส่วนการลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ที่ลงคะแนน ดังนั้น จึงต่างกับการประชุมสภาท้องถิ่นรูปอื่น คือ ไม่มีการเสนอญัตติ ตั้งกระทู้ถาม หรือเปิดอภิปราย และในด้านการบริหารงานก็มีหน้าที่จัดทำ “แผนดำเนินงาน” ไว้เพื่อใช้เป็นหลักในการบริหารกิจการสุขาภิบาล แต่ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเสียก่อน จึงจะปฏิบัติตามแผนได้ นอกจากนี้ยังมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและอนุมัติงบประมาณประจำปี โดยตราเป็นข้อบังคับว่าด้วย งบประมาณประจำปี และเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่ออนุมัติ
4. หน้าที่ของสุขาภิบาล มีหน้าที่จัดทำกิจการภายในเขต ได้แก่ ให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ รักษาความสะอาดของถนน การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้อกันและระงับโรคติดต่อ ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา ให้มีโรงฆ่าสัตว์ ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม ให้มีสุสานและฌาปนสถาน ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า ป้องกันและระงับสาธารณภัย ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ ส่งเสริมให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬา การส่งเสริมศาสนา การสาธารณูปการ การพาณิชย์ ฯลฯ
5. พนักงานสุขาภิบาลและการกำหนดส่วนบริหารของสุขาภิบาล
พนักงานสุขาภิบาล กฎหมายกำหนดให้สุขาภิบาล มีพนักงานสุขาภิบาลซึ่งเป็นฝ่ายปฏิบัติงานประจำ ประกอบด้วย ปลัดสุขาภิบาล สมุห์บัญชีสุขาภิบาล และพนักงานสุขาภิบาลอื่น ตามความจำเป็น
การกำหนดส่วนบริหารของสุขาภิบาล ประกอบด้วย สำนักปลัดสุขาภิบาล ฝ่ายคลัง ฝ่ายช่าง ฝ่ายสาธารณสุข และฝ่ายประปา ซึ่งต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการพนักงานสุขาภิบาล (ก.สภ.) เพื่อกำหนดส่วนการบริหารตามลักษณะปริมาณและคุณภาพของงานสุขาภิบาลนั้นๆ
6. การควบคุมสุขาภิบาล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่ควบคุมดูแลสุขาภิบาลในจังหวัดนั้นเพื่อให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่เป็นไปตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังให้ผู้ตรวจการเทศบาลจังหวัด มีหน้าที่ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลสุขาภิบาลในจังหวัดนั้น ซึ่งปัจจุบันคือตำแห่งผู้ตรวจราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติราชการอยู่ ณ ที่ทำการปกครองจังหวัด
สรุป สุขาภิบาลเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่งที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นที่ยังไม่เจริญพอที่จะจัดตั้งเป็นเทศบาลได้ เพื่อทำการพัฒนาให้เจริญขึ้นและอาจยกฐานะเป็นเทศบาลได้ในอนาคต ซึ่งจัดในรูปของคณะกรรมการ จึงไม่แบ่งแยกองค์การเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารเหมือนการปกครองท้องถิ่นรูปอื่นๆ ที่ปัจจุบันสุขาภิบาล โดยทั่วไปยังมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะบริหารงานประจำได้ต้องอาศัยเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น รูปแบบสุขาภิบาลที่มีนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ เป็นประธานสุขาภิบาล จึงมีมากกว่ารูปแบบที่มาจากกรรมการสุขาภิบาลโดยการเลือกตั้ง
แผนภูมิการจัดองค์การของสุขาภิบาล
สุขาภิบาล
คณะกรรมการสุขาภิบาล
โดยตำแหน่ง
โดยแต่งตั้ง
โดยเลือกตั้ง
ปลัดสุขาภิบาล
สำนักงานปลัดสุขาภิบาล
ฝ่าย...
ฝ่าย...
ฝ่าย...
การจัดองค์การและการบริหารงานของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
กรุงเทพมหานคร
เป็นหน่วยการปกครองที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นให้มีลักษณะพิเศษ เพื่อให้สามารถจัดทำกิจการและบริหารในด้านต่างๆ ให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว ตลอดจนเพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของกรุงเทพมหานครให้สำเร็จลุล่วงไปได้ จึงเป็นหน่วยการปกครองรูปแบบพิเศษที่มีฐานะเป็นจังหวัดพิเศษที่มุ่งเน้นให้การปกครองดำเนินไปโดย ประหยัด มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับนโยบายของส่วนกลาง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น โดยแบ่งพื้นที่การบริหารเป็น เขต และ แขวง การตั้ง ยุบหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตให้กระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
1. การจัดองค์การและการบริหารกรุงเทพมหานคร
1.1 สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งเข้ามา สำหรับการกำหนดเขตเลือกตั้งจะถือเกณฑ์ราษฎร 100,000 คน ต่อสมาชิกฯ 1 คน เขตใดที่มีราษฎรไม่ถึง 100,000 คน ให้มีสมาชิกสภาฯ ได้ 1 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกิน 100,000 คน ก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาฯ ในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ต่อจำนวนราษฎรที่ 1 แสนคน เศษของ 1 แสน ถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสนคน ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาฯ จะกระทำได้เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้ง โดยให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้งไว้ด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี เช่นเดียวกับสภากรุงเทพมหานครและเมื่อครบวาระกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน ซึ่งสภาพของสมาชิกสภาจะสิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้
1. ถึงคราวออกตามอายุของสภาฯ หรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
2. ตาย
3. ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภาฯ และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันยื่นหนังสือลาออก
4. ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือมีลักษณะห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาฯ
5. กระทำการต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใด ในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์กรุงเทพฯ หรือบริษัทกรุงเทพฯ ถือหุ้น หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
6. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
7. ขาดการประชุมสภาฯ ตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาฯ
8. สภากรุงเทพมหานครวินิจฉันให้ออก เพราะมีความประพฤติที่เสื่อมเสีย
การยุบสภากรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาฯ ใหม่ กระทำได้ 2 กรณี คือ
(1) ในกรณีที่การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร ขัดแย้งกันจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครหรือแก่ราชการโดยส่วนรวม
(2) ถ้าปรากฏว่าการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกันหรือเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้องจนอาจให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม และการแก้ไขสภาพที่เหมาะสมคือ การยุบสภาฯ โดยจะต้องทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยพร้อมแสดงเหตุผลโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประธานสภาพและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร สภากรุงเทพมหานครมีประธานสภา 1 คน และรองประธานไม่เกิน 2 คน โดยเลือกจากสมาชิกสภาและให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก มีวาระคราวละ 2 ปี ซึ่งอาจพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระดังนี้
(3) ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
(4) ลาออกจากตำแหน่ง โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(5) เมื่อสมาชิกสภาฯ ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เข้าชื่อเสนอญัตติให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยสภา ก.ท.ม. มีมติเห็นตามนั้นด้วยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของสมาชิกทั้งหมด
การประชุมสภากรุงเทพมหานคร ภายใน 15 วัน นับแต่วันเลือกตั้งโดยทั่วไป ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเรียกประชุมเป็นครั้งแรก
สมัยประชุม มีไม้น้อยกว่า 2 สมัย แต่ต้องไม่เกิน 4 สมัย และมีกำหนดเวลา 30 วัน และสามารถขยายได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกิน 15 วัน การปิดสมัยประชุมก่อนครบ 30 วัน ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร นอกจากนี้อาจมีการประชุมสมัยวิสามัญเมื่อมีกรณีที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภาฯ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดยื่นคำร้องต่อประธานสภาฯ ซึ่งกำหนดวันประชุมภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง และมีกำหนดเวลาสมัยประชุม 30 วัน
องค์ประชุม ในการประชุมทุกคราว ต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเข้าประชุมสภาฯด้วย อีกทั้งมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ส่วนการลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ การประชุมกระทำเป็นอย่างเปิดเผย แต่ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภาฯ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดร้องขอให้ประชุมลับก็ให้เป็นไปตามคำร้องขอ
อำนาจหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร
(6) การตราข้อบังคับกรุงเทพมหานคร ขึ้นใช้บังคับในกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของสภาฯ ดังนี้
- เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
- เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานคร มีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
- การดำเนินการพาณิชย์กรุงเทพมหานคร
- การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์ จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ
(7) การพิจารณาขออนุมัติงบประมาณ งบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรุงเทพมหานคร ต้องทำเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอ และกรณีที่งบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่พอ หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นใหม่ ในระหว่างปี ก็ให้ทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมได้ โดยสภากรุงเทพมหานครจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 45 วัน และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามและประกาศใช้ราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
(8) การควบคุมการบริหาร โดยใช้วิธีการต่างๆ ดังนี้
- ตั้งกระทู้ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นๆ ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญ ของกรุงเทพมหานคร
- การเปิดอภิปรายทั่วไป สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติให้เปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริงในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
- การตั้งคณะกรรมการ ซึ่งสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเลือกสมาชิกสภาฯ ตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกสภาฯ หรือไม่ได้เป็นสมาชิกสภาฯ ตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจกรรมหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร
- การลงมติขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรี ส่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกจากตำแหน่ง เมื่อเห็นว่ามีความประพฤติไม่เหมาะสม
1.2 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นโดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร และมีรองผู้ว่าราชการฯ ไม่เกิน 4 คน ที่แต่งตั้งและถอดถอนโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับการเลือกตั้งนั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งต้องระบุวันเลือกตั้ง และระยะเวลารับสมัครไว้ด้วย มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี ส่วนการมอบหมายงานให้ทำภายใน 7 วัน นับแต่วันเลือกตั้ง และเมื่อครบวาระแล้วต้องทำการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน แต่ถ้าตำแหน่งว่างลงด้วยเหตุอื่นให้ทำการเลือกตั้งใหม่ภายใน 90 วัน
ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือกระทำอันต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์ ของ กทม. บริษัทที่ กทม. ถือหุ้น, ตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(2) ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการหรืหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจหรือการพาณิชย์ของ กทม. หรือบริษัทที่ กทม. ถือหุ้น
(3) ต้องไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับ กทม. หรือการพาณิชย์ของ กทม. หรือบริษัทที่ กทม. ถือหุ้น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้
(1) ถึงคราวออกตามวาระ
(2) ตาย
(3) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยกเว้นกรณีต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
(5) กระทำอันต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
(6) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่ได้ทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(7) มีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(8) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรีสั่งให้ออก จากตำแหน่งเมื่อเห็นว่ามีความประพฤติที่ไม่เหมาะสม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมาย
(2) สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
(3) แต่งตั้งและถอดทอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และตั่งตั้ง ถอดถอน ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ
(4) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
(5) วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย
(6) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(7) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.นี้ และกฎหมายอื่น
นอกจากนี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยังเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ตลอดจนรับผิดชอบปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
การบริหารงานของกรุงเทพมหานคร นอกจากจะมีสภากรุงเทพมหานครเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ และมีผู้ว่ารากชารกรุงเทพมหานครเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารแล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปลัดกรุงเทพมหานคร และข้าราชการกรุงเทพมหานคร รวมทั้งลูกจ้างกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ปฏิบัติงานประจำให้เป็นไปตามกฎหมาย และนโยบายของกรุงเทพมหานคร
2. อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ การรักษาความเรียบร้อยของประชาชน การทะเบียนตามี่กฎหมายกำหนด การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การผังเมือง การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ การวิศวกรรมจราจร การขนส่ง การจัดให้มีและควบคุมตลาดท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสาธารณูปโภค การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน การควบคุมสัตว์เลี้ยง การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การควบคุมความปลอดภัย การจัดการศึกษา การสาธารณูปการ การสังคมสงเคราะห์ การส่งเสริมการกีฬา การส่งเสริมการประกอบอาชีพ การพาณิชย์ของ กรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ถ้ากิจการใดอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ก็อาจดำเนินการนั้นร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น โดยจัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า “สหการ” มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย ผู้แทนของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ระบุวิธีจัดการทรัพย์สินไว้ด้วย
3. ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
นอกจากจะมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารแล้ว ยังมีผู้ปฏิบัติงานประจำคือ “ข้าราชการกรุงเทพมหานคร” โดยมีปลัดกรุงเทพมหานครเป็นตำแหน่งข้าราชการประจำสูงสุดขงกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร รองลงมาจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
4. การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีส่วนราชการที่เป็นสำนัก ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการที่เป็นของสภากรุงเทพมหานคร
(2) สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(3) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(4) สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(5) สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจ แนะนำ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการทั่วไปของหน่วยงาน และส่วนราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร ตลอดจนปฏิบัติราชการตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ ปลัดกรุงเทพมหานคร มอบหมาย
(6) สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร
(7) สำนักงานแพทย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานด้านการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดกรุงเทพมหานคร การจัดการศึกษาหรือฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ และการพยาบาล
(8) สำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน ควบคุมและประสานงานกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสาธารณสุข การอนามัยในครอบครัว การอนามัยสิ่งแวดล้อม ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลชุมชน ควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การอนามัยในโรงมหรสพ ฯลฯ
(9) สำนักการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งดูแลการปฏิบัติงานของโรงเรียนและนิเทศการศึกษา
(10) สำนักการโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการโยธา การออกแบบการก่อสร้าง และบูรณะ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร และการดูแลรักษาที่สาธารณะ
(11) สำนักการระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุมและดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วม และการกำจัดน้ำเสีย
(12) สำนักรักษาความสะอาด มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ควบคุมและดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตลอดจนจัดให้มีและบำรุงรักษาสุขาชั่วคราวและรถสุขาเคลื่อนที่
(13) สำนักสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดที่อยู่อาศัย จัดให้มีและบำรุงสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา การนันทนาการ และการพัฒนาเยาวชน
(14) สำนักการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคลังการเงิน การบัญชี การพัสดุ การซ่อม บำรุงรักษายานพาหนะ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรงของกรุงเทพมหานคร และควบคุมดูแลการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(15) สำนักเทศกิจ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลและบังคับให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
5. เขตและสภาเขต
กรุงเทพมหานครมีเขตการปกครอง 36 เขต โดยมีสำนักงานเขตเป็นส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินกิจการของกรุงเทพมหานคร ภายในเขต และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันยังได้กำหนดให้มีสภาเขตอีกด้วย
5.1 สำนักงานเขต มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมอาชีพ การทะเบียน การโยธา การรักษาที่สาธารณะ การสาธารณสุข การจัดเก็บรายได้ การรักษาความสะอาด การจัดการศึกษา การดูแลและรักษาให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการเขตมีหน้าที่ดังนี้
(1) อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ
(2) อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนายการเขต
(3) อำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือปลัดกรุงเทพมหานคร มอบหมาย
5.2 สภาเขต ในเขตหนึ่งๆ มีสภาเขตประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้ง มีจำนวนอย่างน้อยเขตละ 7 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกิน 100,000 คน ให้มีการเลือกตั้งเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ต่อจำนวนราษฎรทุก 100,000 คน สำหรับเศษถ้าถึงห้าหมื่นหรือเกินกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน ส่วนหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร สภาเขตมีอายุคราวละ 4 ปี และเมื่อสิ้นสุดลงต้องจัดการเลือกตั้งใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่อายุของสภาเขตสิ้นสุดลง ส่วนประธานและรองประธานสภาเขตมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 1 ปี
สภาเขตมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อำนวยการเขต และสภากรุงเทพมหานคร
(2) จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต ตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรืองบประมาณรายจ่าย
(3) สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขตเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร
(4) ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขตเกี่ยวกับการปรับปุรง หรือการแก้ไขการบริการประชาชนภายในเขต
(5) ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตขอร้อง
(6) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันเกี่ยวกับการงานของสภาเขต
6.การควบคุมกรุงเทพมหานคร
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอาจให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อเห็นว่าการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานคร ขัดแย้งกันหรือเป็นไปในทางไม่ถูกต้อง
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยุบสภากรุงเทพมหานครตามข้อเสนอของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่การดำเนินงานก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือราชการโดยส่วนรวม
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกจากตำแหน่ง เมื่อเห็นว่ามีความประพฤติไม่เหมาะสม
สรุป กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ ที่ได้จัดตั้งขึ้นโดยรวมหน่วยงานส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นเข้าด้วยกันเป็นองค์การปกครองท้องถิ่น ภายใต้การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับสภากรุงเทพมหานคร เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารในอันที่จะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ และจัดบริการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง และรวดเร็วกว่าเดิม โดยได้นำเอาหลักการแบ่งแยกอำนาจแบบการปกครองระบอบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกามาใช้ เป็นแบบที่ให้องค์การต่างๆ ปฏิบัติหน้าที่ไปตามเขตอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ก้าวก่ายกัน จึงเป็นการจัดองค์การและการบริหารที่แตกต่างกันไป จากหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปอื่น ๆ
ข้อดีของการปกครองท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร
(1) เป็นรูปการปกครองท้องถิ่นที่ให้เลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรง
(2) ฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพมั่นคง เพราะได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
จุดอ่อนของกรุงเทพมหานครคือ
(1) ทั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งเหมือนกัน ถ้าในสภากรุงเทพมหานคร มีกลุ่มหรือพรรคของผู้ว่าน้อย ก็อาจทำให้การบริหารงานเป็นไปโดยยากลำบากได้
(2) สภากรุงเทพมหานคร ไม่มีสิทธิถอดถอนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฉะนั้นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ได้นั้นไม่ดีก็ต้องรอจนครบวาระถึงเปลี่ยนได้
แผนภูมิการจัดองค์การบริหารกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าฯ กทม.
สำนักงานเลขานุการสภา กทม.
ปลัดกรุงเทพมหานคร
สำนักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
สำนักงานปลัด กทม.
สำนัก....
สำนัก....
สำนัก....
เขต
สภาเขต
เมืองพัทยา
เมืองพัทยาเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ ซึ่งได้นำระบบการปกครองท้องถิ่นที่เรียกว่าแบบ “ผู้จัดการนคร” (City Manager) มาใช้ โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
1. การจัดการเมืองพัทยา
ให้ยุบเลิกสุขาภิบาลเกลือ และจัดตั้งเมืองพัทยาโดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น เมืองพัทยา จึงเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ มีเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
2. การจัดองค์การและการบริหาร
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา ได้กำหนดหลักการจัดองค์การและการบริหารเมืองพัทยา เป็นแบบ “ผู้จัดการนคร” ซึ่งเป็นแบบหนึ่งของเทศบาลในสหรัฐอเมริกา นับเป็นครั้งแรกที่นำมาใช้ในประเทศไทยการปกครองท้องถิ่นระบบนี้จะประกอบด้วยองค์การสำคัญ คือ สภากับผู้จัดการ
2.1 สภาเมืองพัทยา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 17 คน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สมาชิกซึ่งประชาชนเลือกตั้ง จำนวน 9 คน และให้กระทำโดยวิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
- สมาชิกซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งจำนวน 8 คน โดยแต่งตั้งจากบุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ กัน จำนวน 4 คน และจากผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับเมืองพัทยาจำนวน 4 คน
ซึ่งสมาชิกภาพ 2 ประเภท จะเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับแต่งตั้ง โดยมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้งทั่วไป และให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่อายุของสภาเมืองพัทยา สิ้นสุดลง ในกรณีที่มีการยุบสภาเมืองพัทยา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยคำแนะนำของผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยุบสภาเมืองพัทยา เพื่อให้มีการเลือกตั้งและแต่งตั้งสมาชิกใหม่ โดยในคำสั่งนั้นต้องแสดงเหตุผลและกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน 3 เดือน
สมาชิกภาพของสภาเมืองพัทยาอาจสิ้นสุดลงด้วยเหตุผลต่อไปนี้
(1) ถึงคราวออกตามอายุของสภาหรือมีการยุบสภาเมืองพัทยา
(2) ตาย
(3) ลาออก โดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา เว้นแต่สมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งซึ่งยกเว้นเกี่ยวกับเรื่องภูมิลำเนา
(5) มีลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา เว้นแต่สมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งที่ยกเว้นเกี่ยวกับการเป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของทางราชการ หรือการพาณิชย์ของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
(6) กระทำการต้องห้าม คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งต้องไม่ดำรงตำแหน่ง หรือหน้าที่อื่นใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์ของเมืองพัทยา บริษัทที่พัทยาถือหุ้นหรือดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือพนักงานท้องถิ่น
(7) สภาเมืองพัทยามีมติให้ออก เพราะเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อเสียแก่เมืองพัทยา โดยมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 6 คน เข้าชื่อเสนอญัตติให้สภาเมืองพัทยาพิจารณาและมีมติในข้อนี้ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 11 คน เห็นชอบด้วยกับญัตติดังกล่าว
(8) ไม่มาประชุมสภาเมืองพัทยา 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ในการนี้ยกเว้นเมืองพัทยารายงานผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อส่งให้พ้นจากตำแหน่ง
(9) สำหรับสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งจากผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง กับเมืองพัทยา เมื่อพ้นจากตำแหน่งอันเป็นเหตุที่ได้รับการแต่งตั้ง
การประชุมสภาเมืองพัทยา ในการประชุมสภาเมืองพัทยาครั้งแรก ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป ผู้ว่าราชการจังหวัดเรียกประชุมสภาภายใน 15 วัน และต้องมีการประชุมอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ส่วนในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยาหรือสมาชิกไม่น้อยกว่า 6 คน อาจทำคำร้องยื่นต่อนายกเมืองพัทยาขอให้เรียกประชุมสภาเมืองพัทยา โดยกำหนดวันประชุมภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง ในการประชุมสภาเมืองพัทยาทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจะเป็นองค์ประชุม ซึ่งมีนายกเมืองพัทยาเป็นประธาน และปลัดเมืองพัทยาเป็นเลขานุการสภาเมืองพัทยาโดยเปิดเผย แต่ถ้าสมาชิกไม่น้อยกว่า 6 คน ร้องขอให้ประชุมลับก็ให้ประชุมได้
อำนาจหน้าที่ของสภาเมืองพัทยา
(1) วางนโยบายและอนุมัติแผนเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการเมืองพัทยา
(2) พิจารณาและอนุมัติร่างข้อญัตติ
(3) แต่งตั้งสมาชิกเป็นคณะกรรมการสามัญ และตั้งบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกเป็นคณะกรรมการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเมืองพัทยา แล้วรายงานต่อสภาหรือให้คำปรึกษาแก่สภาเมืองพัทยา หรือปลัดเมืองพัทยา
(4) ควบคุมการปฏิบัติราชการของปลัดเมืองพัทยาให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย ข้อบัญญัติ นโยบาย และแผน
นายกเมืองพัทยา พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา หรือปลัดเมืองพัทยาได้กำหนดให้มีตำแหน่ง “นายกเมืองพัทยา” โดยให้สมาเมืองพัทยาเลือกสมาชิกคนหนึ่งเป็นนกยกเมืองพัทยา อยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี และให้เลือกใหม่ภายใน 15 วัน เมื่อครบวาระ นอกจากนี้นายกเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสมาเมืองพัทยา
(2) ลาออกจากตำแหน่ง โดยยื่นใบลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(3) สมาชิกไม่น้อยกว่า 6 คน เข้าชื่อเสนอญัตติให้สมาเมืองพัทยาเลือกนายกเมืองพัทยาใหม่ และสมาเมืองพัทยามีมติเห็นชอบในญัตติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 11 เสียง
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้ออกจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่
นกยกเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่พอสรุปได้ดังนี้
(1) เป็นประธานเมืองพัทยา มีอำนาจหน้าที่เรียกประชุมสภาเมืองพัทยา และควบคุมการประชุมให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุม
(2) เป็นผู้แทนและผู้นำ ของเมืองพัทยาในงานหรือพิธีการต่างๆ
(3) เสนอชื่อผู้มิได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา โดยมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด อย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน เพื่อให้สภาเมืองพัทยาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งปลัดเมืองพัทยา
(4) ลงชื่อในร่างข้อญัตติและประกาศใช้ข้อญัตติ ซึ่งสมาเมืองพัทยาตราขึ้นและผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบแล้ว
(5) ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยและข้อบัญญัติ
ข้อญัตติเมืองพัทยา ต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายในกรีอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
(1) เพื่อปฏิบัติให้เป็นตามอำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยา
(2) เมื่อมีกฎหมายข้อบัญญัติให้เมืองพัทยาตราข้อบัญญัติได้
(3) การให้บริการโดยมีค่าตอบแทน
(4) การพาณิชย์ ซึ่งเป็นการประกอบการพาณิชย์ของเมืองพัทยา อาจจะกำหนดโทษจำคุกหรือโทษปรับผู้ละเมิดไว้ก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เมื่อนกยกเมืองพัทยาลงชื่อแล้วให้ใช้บังคับเมื่อได้ประกาศไว้ โดยเปิดเผยที่ศาลาว่าการเมืองพัทยาแล้ว 3 วัน และในกรณีที่อายุของสภาเมืองพัทยาสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาเมืองพัทยา บรรดาร่างของบัญญัติที่สภาเมืองพัทยาได้พิจารณาและที่ยังพิจารณาไม่เสร็จ เป็นอันตกไป
2.2 ปลัดเมืองพัทยา ทำหน้าที่บริหารให้เป็นไปตามนโยบาย ของสภาเมืองพัทยา และจะมีรองปลัดจำนวนไม่เกิน 2 คน ทำหน้าที่ช่วยปลัดเมืองเมืองพัทยาบริหารกิจการเมืองพัทยาตามที่ได้รับมอบหมาย นายกเมืองพัทยาเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยา ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน เพื่อให้สภาเมืองพัทยา ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งเป็นปลัดเมืองพัทยา โดยมีสัญญาจ้างคราวละไม่เกิน 4 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งและการกำหนดเงื่อนไขอื่นในการทำงานเป็นไปตามแบบสัญญาจ้าง ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดตลอดจนให้นกยกเมืองพัทยาเป็นคู่สัญญาในนามของเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยาจึงเป็นบุคคลที่เมืองพัทยาจ้างมาทำหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยา มีฐานเสมือนผู้จัดการเมืองพัทยาซึ่งถือว่าเป็นนักบริหารอาชีพ จึงคล้ายกับระบบธุรกิจของเอกชน ส่วนรองปลัดเมืองพัทยา กฎหมายกำหนดให้เมืองพัทยา เป็นผู้แต่งตั้งโดยใช้หลักการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งปลัดเมืองพัทยา ที่กล่าวข้างต้น และในการว่าจ้างนั้นให้ปลัดเมืองพัทยาเป็นคู่สัญญาในนามเมืองพัทยา
ปลัดเมืองพัทยาพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) สัญญาจ้างสิ้นสุด และไม่มีการต่ออายุสัญญาจ้างใหม่
(2) ตาย
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งปลัดเมืองพัทยา และรองปลัดเมืองพัทยา
(4) ลาออกจากตำแหน่งโดยยื่นใบลาออกต่อนกยกเมืองพัทยา ตามเงื่อนไข ที่กำหนดในสัญญาจ้าง
(5) กระทำการที่ผิดเงื่อนไขในสัญญาจ้าง ซึ่งสัญญาจ้างระบุไว้ ให้ถือสัญญาจ้างสิ้นสุดลง
(6) นายกเมืองพัทยาบออกเลิกจ้างด้วยความเห็นชอบจากสภาเมืองพัทยา ตามเหตุที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง
อำนาจหน้าที่ของปลัดเมืองพัทยา
(1) ร่างแผนเพื่อเสนอสภาเมืองพัทยา
(2) บริหารกิจการตามนโยบายและแผนของสภาเมืองพัทยา
(3) ร่างข้อบัญญัติงบประมาณและข้อบัญญัติอื่นๆ เพื่อเสนอต่อสภาเมืองพัทยา
(4) ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย และข้อบัญญัติ
(5) รวบรวมปัญหาในการบริหารราชการเมืองพัทยา พร้อมด้วยข้อเสนอแนะเพื่อเสนอสภาเมืองพัทยา
(6) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของเมืองพัทยาต่อสภาเมืองพัทยา
(7) ปฏิบัติงานอื่นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายเมืองพัทยา
3.อำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยา
(1) การรักษาความสงบเรียบร้อย
(2) การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
(3) การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง
(4) การจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
(5) การรักษาความสะอาดของถนน ทางเดิน และที่สาธารณะ
(6) การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(7) การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(8) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ และที่จอดรถ
(9) การควบคุมอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่นๆ
(10)การควบคุมการส่งเสริมการท่องเที่ยว
(11)หน้าที่อื่นที่กฎหมายระบุเป็นหน้าที่ของเทศบาลนคร หรือของเมืองพัทยา
4. พนักงานเมืองพัทยาและการกำหนดส่วนราชการของเมืองพัทยา
4.1 พนักงานเมืองพัทยา เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของปลัดเมืองพัทยา ถือว่าเมืองพัทยามีฐานะเทียบเท่าเทศบาลนคร และปลัดเมืองพัทยามีอำนาจบังคับบัญชา เทียบเท่านายกเทศมนตรี นอกจากนี้กำหนดว่าในระหว่างดำรงตำแหน่งให้ปลัดเมืองพัทยา และรองเมืองพัทยามีฐานะเป็นพนักงานเมืองพัทยา เว้นแต่ในสัญญาจ้างจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
4.2 การกำหนดส่วนราชการของเมืองพัทยา การบริหารงานของเมืองพัทยากฎหมายกำหนดให้แบ่งส่วนราชการออกเป็นดังนี้
- สำนักปลัดเมืองพัทยา
- ฝ่ายหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
การตั้ง การเปลี่ยน การยุบ การกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและหัวหน้าส่วนราชการให้กระทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย ในปัจจุบันได้มีการกำหนดส่วนราชการ และอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการเมืองพัทยาคือสำนักปลัดเมืองพัทยา กองการแพทย์ กองการศึกษา กองคลัง กองช่าง กองช่างสุขาภิบาล กองวิชาการและแผนงาน กองสวัสดิการของสังคม กองอนามัยและสิ่งแวดล้อม งานตรวจสอบภายใน และแขวง
สำนักปลัดเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปเมืองพัทยา มีหัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยาเป็นหัวหน้าบังคับบัญชา และรับผิดชอบของสำนักปลัดเมืองพัทยา ขึ้นตรงต่อปลัดเมืองพัทยา ส่วนกองต่างๆ มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการนั้นเป็นหัวหน้าบังคับบัญชา รับผิดชอบงานส่วนราชการนั้นๆ
5. การควบคุมเมืองพัทยา
(1) ให้ปลัดเมืองพัทยาทำรายงานรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณเสนอต่อสภาเมืองพัทยาภายใน 1 เดือน
(2) ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน การจ่างเงิน การบัญชี การเงิน และทรัพย์สินอื่นๆ แล้วรายงานต่อปลัดเมืองพัทยา เพื่อเสนอสภาเมืองพัทยา
(3) บรรดาเรื่องที่เมืองพัทยาต้องเสนอไปยังเมืองหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนั้น ให้ปลัดเมืองพัทยา เสนอผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด
(4) ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของเมืองพัทยาโดยมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง หรือสั่งให้เมืองพัทยาชี้แจงแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการเมืองพัทยาได้
(5) ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เห็นว่าปลัดเมืองพัทยาปฏิบัติการ ในทางที่จะนำมาซึ่งความเสียหายแก่เมืองพัทยาโดยได้ชี้แจง แนะนำ หรือตักเตือนแล้ว แต่ก็ยังไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานให้รัฐมนตรีทราบเพื่อพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควร หรือถ้าในกรณีฉุกเฉิน ก็ให้มีอำนาจออกคำสั่งระงับการปฏิบัติราชการของปลัดเมืองพัทยาไว้ก่อนได้ และในกรณีที่ปลัดเมืองพัทยาเห็นว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรัฐมนตรีได้สั่งการโดยมิชอบ ก็ให้นำเรื่องขึ้นฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง เพื่อวินิจฉัยได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันได้รับคำสั่ง
สรุปเมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีความเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีปัญหาต่างๆ มากมายที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นและประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว จึงได้จัดตั้งเมืองพัทยาเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษขึ้นโดยกำหนดให้ฝ่ายบริหารมาจากนักบริหารอาชีพ และนำระบบผู้จัดการมาใช้ ซึ่งเน้นที่จะให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และคล่องตัวตลอดจนจัดองค์การโดยการบริหารและการเมืองออกจากกันกล่าวคือ
1. สภาเมืองพัทยาจะทำหน้าที่ทางด้านกำหนดนโยบายและควบคุมการบริหาร
2. ด้านการดำเนินงานได้มีสัญญาจ้างปลัดเมืองพัทยาและรองเมืองพัทยา ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการบริหารมาทำหน้าที่บริหารงาน
3. สภาเมืองพัทยาจะไม่เข้าไปก้าวก่ายการบริหารงานประจำของปลัดเมืองพัทยา
4. ปลัดเมืองพัทยามีภาระหน้าที่ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย ของสภาเมืองพัทยาและรับผิดชอบโดยตรงต่อสภาเมืองพัทยา
5. นายกเมืองพัทยาทำหน้าที่ประธานสมาเมืองพัทยาไม่มีอำนาจในทางบริหารเหมือนกับนายกเทศมนตรีของเทศบาล
แผนภูมิการจัดองค์การบริหารเมืองพัทยา
เมืองพัทยา
นายกเมืองพัทยา
สภาเมืองพัทยา
(เลือกตั้งและแต่งตั้ง)
ปลัดเมืองพัทยา
(มาจากการจ้าง)
รองปลัดเมืองพัทยา
(มาจากการจ้าง)
สำนักงานปลัดเมือง
กองการแพทย์
กองการศึกษา
กองคลัง
กองช่าง
กอง
แนวโน้มการปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นของไทย
การจัดการปกครองท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันได้ดำเนินการตามที่ได้กำหนดไว้ เป็นหลักการใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534[2] โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และดำเนินกิจการท้องถิ่นของตนเองตามหลักการกระจายอำนาจ มีอยู่ 5 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ซึ่งหน่วยการปกครองท้องถิ่นของไทยทุกรูปแบบ ยกเว้นสุขาภิบาล จะมีองค์การสภาท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และองค์การบริหาร สภาท้องถิ่นจึงประกอบด้วยสมาชิกที่มากจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น ยกเว้นสภาเมืองพัทยาที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้ง ฝ่ายบริหารของกรุงเทพมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ส่วนฝ่ายบริหารของเทศบาลมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม สำหรับฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด กฎหมายกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามารับผิดชอบในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งแตกต่างจากรูปการปกครองท้องถิ่นอื่นๆ
สำหรับสุขาภิบาลมีการจัดองค์การที่แตกต่างจากรูปการปกครองท้องถิ่นรูปอื่น ไม่แยกฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารออกจากกัน โครงสร้างการจัดองค์การของสุขาภิบาลเป็นแบบรูปคณะกรรมการ เรียกว่า คณะกรรมการสุขาภิบาล ทำหน้าที่ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยการปกครองท้องถิ่น คือ การบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และพัฒนาความเจริญให้แก่ท้องถิ่น โดยสามารถดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด จะเห็นได้ว่าหน่วยการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลแบบกรุงเทพมหานคร มีลักษณะการจัดองค์การ และการบริหารที่เป็นไปตามลักษณะการกระจายอำนาจ มากกว่าแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัดและแบบสุขาภิบาล เพราะเป็นรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและดำเนินกิจการของท้องถิ่นของตนเองอย่างมาก แต่ก็ประสบอุปสรรคที่ทำให้ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการโดยเฉพาะปัญหาเรื่องท้องถิ่นมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้จ่ายในการพัฒนาท้องถิ่น
ส่วนกรุงเทพมหานครก็เกิดการแตกแยกระหว่างสภากรุงเทพมหานครกับ ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสุขาภิบาลนั้น แม้จะเป็นรูปแบบที่กระจายอำนาจไม่เต็มที่ แต่ก็เป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นตามความเหมาะสมและตามสภาพของท้องถิ่นส่วยเมืองพัทยาก็เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นตามความเหมาะสมและตามสภาพของท้องถิ่นส่วนเมืองพัทยาก็เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งเน้นการบริหารให้มีประสิทธิภาพโดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมการบริหารงานตามสมควร และเป็นการกระจายอำนาจอีกแบบหนึ่ง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการปกครองท้องถิ่นของไทยมีหน่วยการปกครองท้องถิ่นหลายรูปแบบ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามความเหมาะสมของสภาพท้องถิ่น และวัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการที่จะให้มีกระจายอำนาจทำให้เกิดการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายที่จะเป็นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยการปกครองท้องถิ่น จึงควรที่จะจัดระบบการปกครองท้องถิ่นให้เป็นแบบเดียวกัน รูปแบบที่เหมาะสมควรจะเป็นระบบเทศบาล และแบ่งเทศบาลเป็นขนาดต่างๆ ตามความเหมาะสมกับท้องถิ่นและรายได้ นอกจากนี้อาจพิจารณาจัดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดที่มีความเจริญก้าวหน้าและมีความเหมาะสมให้เป็นแบบเดียวกับกรุงเทพมหานครก็สามารถดำเนินการได้
ดังนั้น รูปการปกครองท้องถิ่นของไทยในอนาคตควรจะเป็นแบบระบบเทศบาลหรือแบบระบบพิเศษเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครในบางจังหวัดที่เหมาะสมที่จะจัดให้มีรูปการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการปกครองท้องถิ่นที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน
ปัญหาและอุปสรรคขององค์การปกครองท้องถิ่นไทยปัจจุบัน มีดังนี้
1. ปัญหาเกี่ยวกับอุดมคติในการปกครองท้องถิ่น ปัญหาและอุปสรรคสำคัญประการแรก “อุดมคติของการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย” ซึ่งหมายถึง ทัศนคติที่มีต่อการปกครองท้องถิ่นในด้านรัฐบาลและประชาชน คือ
ด้านรัฐบาล
(1) จะจำกัดขอบเขตการปฏิบัติงานขององค์การปกครองท้องถิ่น
(2) แต่งตั้งให้ข้าราชการของรัฐเข้าดำรงตำแหน่งในองค์การปกครองท้องถิ่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลต้องการรวมอำนาจเข้าส่วนกลาง
(3) รัฐบาลให้การปฏิวัติหรือรัฐประหารเข้าแก้ไขปัญหายุ่งยากทางการเมือง เป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยในแต่ครั้งที่กระทำ
ด้านประชาชน
(1) ประชาชนขาดความรู้ในการปกครองตนเอง
(2) ประชาชนเคยชินกับการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาแต่ก่อน
(3) ประชาชนยังมีความคิดหรือทัศนคติเก่า คือ มักเรียกร้องให้รัฐบาลทำทุกอย่างให้ โดยคิดว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว
2. ปัญหาเกี่ยวกับการคลัง ซึ่งปัจจุบันคือ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย จึงทำให้การบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความอิสระของตนเองไป เพราะส่วนกลางได้ให้การอุดหนุนทำให้มีการควบคุมกัน
สาเหตุของรายได้ไม่พอกับรายจ่าย คือ สาเหตุเกี่ยวกับนโยบายระบบภาษีอากรและสภาพเศรษฐกิจยังไม่ดี
3. ปัญหาพนักงานท้องถิ่น ซึ่งแยกออกเป็นฝ่ายที่ได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกับฝ่ายพนักงานประจำ คือ
(1) ฝ่ายที่ได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติกิจการของท้องถิ่นในรูปผู้วางนโยบายหรือควบคุมนโยบายระดังสูง ทำให้เกิด
- เกิดการพิพาทระหว่างคณะเทศมนตรีและสภาเทศบางเป็นผลให้การโค่นล้ม คณะเทศมนตรีอยู่เป็นประจำ
- ปัญหาเกี่ยวกับความรู้ของผู้ดำรงตำแหน่งบริหารท้องถิ่น คือ หาคนที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนดไม่ค่อยได้
(2) ฝ่ายที่เป็นพนักงานประจำ คือ มีปัญหาไม่สามารถดึงดูดคนดีมีความรู้มาทำงานให้องค์การปกครองท้องถิ่นได้ เพราะศักดิ์ศรีของพนักงานปกครองท้องถิ่นยังไม่อยู่ในระดับมาตรฐาน และนอกจากนี้คณะกรรมการส่วนกลางที่แต่งตั้งขึ้นรับฟังความคิดเห็นของพนักงานเทศบาลน้อยมาก
การแก้ไขปัญหาในข้อ 1. คือ นำเอารูปแบบการจัดองค์การที่ให้ฝ่ายบริหาร มีความเข็มแข็งมาใช้ เช่น ระบบผู้จัดการเทศบาลเหมือนพัทยา
ส่วนในข้อ 2. แก้ไขโดยปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคลเสียใหม่
4. ปัญหาการควบคุม คือ รัฐบาลควบคุมองค์การปกครองท้องถิ่นสูงมาก ทำให้ขาดอิสระในการกระทำกิจการต่างๆ นอกจากนี้ยังทำให้ประชาชนขาดความสนใจทางการเมือง เพราะคิดไปว่าการเมืองเป็นเรื่องของรัฐบาล
็็็
[1] ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง ตามบริบท แห่งเวลา และสถานที่
[2] อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามบริบท แห่งเวลาและสถานที่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)