วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

รัฐศาสตร์ทั่วไป

รัฐศาสตร์ทั่วไป
Introduction to Political Science

อ.สุรชัย เจนประโคน

รัฐศาสตร์ เป็นศัพท์ที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ
1.Politics การเมือง
2.Political Science รัฐศาสตร์
3.Government การปกครอง
ความแตกต่างของศัพท์ 3 คำมีอยู่บ้าง แต่ในวงการรัฐศาสตร์ตะวันตกใช้ในความหมายที่แทนกันได้ อ้างจาก Encytclopedia of the Social sciences สารานุกรมสังคมศาสตร์.Vol.11, New York: Macmillan, 1954, p.225
คำศัพท์ในภาควิชาในสหรัฐอเมริกาเน้น ความเป็นวิชาการและมีความเป็นเอกเทศ คือ เป็นตัวของตัวเองมากไม่ใช่อยู่ใต้บังคับบัญชาเชิงบริหารอย่างสังคมไทย ซึ่งขึ้นอยู่กับคณะ วิชา
ความแตกต่างระหว่าง “รัฐศาสตร์” กับ “การเมือง” ที่ใช้ในภาษาไทย คือ “รัฐศาสตร์” เป็นเรื่องวิชาการ ซึ่งมีการจัดระบบหมวดหมู่อย่างชัดแจ้ง
ศัพท์ “การเมือง” ในภาษาพูดมีความหมายเอนเอียงไปในทางลบ หรือไม่ค่อยดีนัก ซึ่งเข้าใจในเรื่องขัดแย้งด้วยผลประโยชน์ ส่วนตัว
“การเมือง” อิงรากศัพท์มาจาก “Polis” ซึ่งเป็นภาษากรีก แปลว่า นครรัฐ
[1]อันเป็นการรวมตัวทางการเมืองแบบหนึ่ง ซึ่งใหญ่กว่าระดับครอบครัวหรือชนเผ่า
ต้นตอของ “รัฐศาสตร์” หรือที่เราใช้ในภาษาอังกฤษว่า “political science” มาจากภาษา เยอรมัน คือ staatswissenschaft
[2] แปรตามตัวอักษร คือ “ศาสตร์แห่งรัฐ” ซึ่งพึ่งมีขึ้น ในศตวรรษที่ 18 และ 19 (ประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา) และในภาษาเยอรมัน Staat-สตาต แปลว่ารัฐ และ Wissenschaft –วิสเซนชาฟต์ หมายถึง วิทยาการ ไม่ได้หมายเฉพาะเจาะจงว่าเป็น วิทยาศาสตร์ ดังนั้น จวบจนกระทั่งทุกวันนี้
ศัพท์ “Government” มีรากมาจากภาษากรีก คือ “kybernates”
[3] แปลว่า ผู้ถือหางเสือเรือ ซึ่งคงทำให้เกิดการเปรียบเทียบว่าการเมืองการปกครอง และโดยเฉพาะรัฐบาลเป็นเสมือนเรือที่ไม่อยู่นิ่ง และมีวลี ว่า “รัฐนาวา” (ship of state ) ตามมา

คำนิยาม ของ ลาสเวลล์
การเมือง ได้แก่ เรื่องเกี่ยวกับอิทธิพลและผู้มีอิทธิพลHarold Lasswell กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่อง เกี่ยวกับอิทธิพล (The study of politics is the study of influence and the influential) ในหนังสือชื่อ การเมือง ใครได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร
[1] ยกตัวอย่าง นครรัฐในกรีกโบราณได้แก่ เอเธนส์และสปาร์ตา
[2] อ่านว่า สตาตสวิสเซนชาฟต์
[3] อ่านว่า ไค เบอร์ เน ตีส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น