วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พระพุทธศาสนากับประชาธิปไตย

1. แนวการวิจารณ์ (a critical approach) การจะวิจารณ์หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก จะต้องมีความรู้พื้นฐาน 4 ประเภท คือ 1.1 รู้บาลีพระไตรปิฎกดี (สพยญฺชนํ) เพื่อที่จะเป็นหลักในการตีความคำสอนให้ตรงกับความหมายดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า
1.2 รู้ความหมายพระไตรปิฎกดี (สาตฺถํ) คือ ต้องอ่านคำสอนที่ท่านแปลจากพระไตรปิฎกเป็นภาษาของตน เช่น พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นไทย พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำอธิบายที่เรียกว่า อรรถกถา
1.3 มีความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ดี โดยเฉพาะในแง่ ประยุกตวิทยา (Technology) อย่างน้อยที่สุดก็สามารถจับประเด็นหลักของวิทยาการนั้นๆ ได้ว่า ด้วยเรื่องอะไร สามารถนำมาเทียบเคียงสงเคราะห์กับพุทธธรรมได้ในแง่ใดบ้าง
1.4 มีจิตใจเปิดกว้าง (open mind) ตามแนวกาลามสูตร ที่ว่า อย่าเชื่อเพียงเพราะฟังตามกันมา ฯลฯ ผู้นี้เป็นครูของเรา สามารถจะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยจิตเยือกเย็น และตอบโต้ได้อย่างมั่นคง และด้วยเหตุด้วยผลจากการปฏิบัติของตนเอง
เมื่อมีความรู้พื้นฐานแล้วก็ต้องมีหลักในการวิจารณ์ดังนี้
1. ตั้งข้อสงสัย (ปุจฉา) ว่าสิ่งนั้น คืออะไร มาจากไหน เพื่ออะไร และโดยวิธีใด ตามหลักอริยสัจ
2. ค้นคว้าหาคำตอบตามแนว ธรรมวินัย คือ วิจัยธรรม เพราะธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านั้นมีคุณลักษณะหนึ่ง คือ เอหิ ปัสสิโก คือ เชิญมาดู (come and see) เชิญมาพิสูจน์ค้นคว้าทดลองปฏิบัติ อย่างน้อยที่สุด คือการรวบรวมข้อมูลอันเกี่ยวกับธรรมด้านนั้นๆ ว่ามีอยู่ที่ใดบ้าง มีคำอธิบายเดิมอย่างไร และจะนำมาตีความกับโลกยุคสมัยปัจจุบันได้อย่างไร
3. หาข้อสรุป หาข้อยุติที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น อย่าหาข้อสรุปที่มุ่งเอาแพ้เอาชนะอย่างเดียว อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอลคัททูปมสูตรว่า การศึกษาวิจารณ์นั้นมี 3 แบบ คือ 3.1 ศึกษาเพื่อข่มผู้อื่น เอาชนะผู้อื่น อย่างนี้เป็นศึกษาการวิจารณ์ที่เรียกว่า งูพิษ ทำให้เกิดการโทษแก่ตนเอง
3.2 ศึกษาวิจารณ์ เพื่อหาแนวทางให้เกิดการออกไปจากทุกข์ เพื่อให้เกิดการดับทุกข์ แนวธรรมสากัจฉา ก็อาศัยแนวนี้ จึงเกิดมงคลแก่ผู้สนทนาธรรม และทำให้พ้นทุกข์ได้ เป็น นิสสรณปริยัติ. 3.3 ศึกษาวิจารณ์ เพื่อเป็นตัวอย่างผู้อื่น เพื่อให้เกิดแนวคิดกระตุ้นแรงเร้าในการปฏิบัติธรรมแก่ศิษย์และรุ่นน้องๆ เรียกว่า แบบเรือนคลังภัณฑาคาริก ปริยัติ
ต่อไปนี้จะได้ตั้งประเด็นวิจารณ์เป็นข้อๆ ไปในเรื่องที่เห็นว่า สมควรแก่การวิจารณ์
2. หลักประชาธิปไตย
คำว่า "ประชาธิปไตย" หรือ "Democracy"เป็นคำที่ใช้มานานตั้งแต่สมัยกรีกโบราณรุ่งเรือง ซึ่งมุ่งแสดงถึงการปกครองที่ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการแสดงออก มีส่วนร่วมในการปกครองโดยเลือกผู้แทนเข้าไปนั่งในสภาบริหารและสภานิติบัญญัติ ผู้ให้คำนิยามแก่การปกครองแบบประชาธิปไตยที่กระชับและสั้น คือ ลิงคอล์น ที่ว่าประชาธิปไตย คือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชนหลักของประชาธิปไตย คือให้อำนาจแก่ประชาชน ทั้งทางนิติบัญญัติ บริหาร และด้านพิจารณาอรรถคดี ที่เรียกว่า ตุลาการ อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวถึงหลักของประชาธิปไตยว่า มี 5 หลักด้วยกันคือ
1. หลักเสรีภาพ (Liberty) ซึ่งต้องประกอบด้วย สิทธิ หน้าที่ อิสรภาพ และสมภาพ จะต้องอยู่ร่วมกัน
2. หลักความเสมอภาค (Equality) คือความเท่าเทียมกัน ในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐ
3. หลักเหตุผล (Rationality) การตัดสินความขัดแย้งด้วยเหตุผล
4. การตัดสินโดยเสียงข้างมาก (Majority) เสียงข้างน้อย ได้รับการคุ้มครอง (Majority rule, and minority right)
5. การผลัดเปลี่ยนกันหมุนเวียนดำรงตำแหน่ง (Rotation) ไม่ผูกขาดแต่คนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เพียงผู้เดียว.
3. แนวความคิดประชาธิปไตยในพระไตรปิฎก
3.1 แนวความคิดเรื่องประชาธิปไตยแนวพระวินัยปิฎก
จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อเป็นแนวในการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ แต่การบัญญัติวินัยนั้นก็ทรงบัญญัติเป็นพระสงฆ์มิได้บัญญัติตามลำพัง ต้องให้เกิดเรื่องก่อน แล้วประชุมสอบสวนแล้วบัญญัติพระวินัยท่ามกลางพระสงฆ์ ด้วยความเห็นชอบของพระสงฆ์ต่างพร้อมใจกันนำไปปฏิบัติ การทำกรรมต่างๆ ของสงฆ์ ยกเว้นอปโลกนกรรม ล้วนให้ทำเป็นการสงฆ์ทั้งสิ้น กล่าวคือ
ญัตติกรรม-ทำด้วยสงฆ์จตุวรรค คือ 4 รูปขึ้นไป เช่นการสวดปาติโมกข์
ญัตติทุติยกรรม-ทำด้วยสงฆ์ปัญจวรรคคือ 5 รูปขึ้นไป เช่น เรื่องกฐินญัตติจตุตถกรรม-ทำด้วยสงฆ์ ทสวรรค คือ ตั้งแต่ 10 รูปขึ้นไปยกเว้นในที่กันดาร เช่นการอุปสมบทการให้มานัตต์ การสวดอัพภาน ก็ต้องใช้สงฆ์ตั้งแต่ 21 รูปขึ้นไป จึงกล่าวได้ว่า
พระวินัย คือ รัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ
พระสงฆ์ คือ สมาชิกสภาผู้แทน
คุณสมบัติของพระสงฆ์ คือ คุณสมบัติของสมาชิก
อำนาจพระสงฆ์ คือ อำนาจอธิปไตย
อธิกรณ์สงฆ์ทั้ง 4 คือ
ก. วิวาทาธิกรณ์-การขัดแย้งกันเกี่ยวกับธรรมวินัย
ข. อนุวาทาธิกรณ์-การโจทก์กันด้วยอาบัติต่างๆ
ค. อาปัตตาธิกรณ์-การละเมิดอาบัติต่างๆ
ง. กิจจาธิกรณ์-กิจของสงฆ์ที่เกิดขึ้นที่จะพึงทำด้วยสงฆ์จำนวนต่างๆ
ต่างก็จะต้องระงับด้วยวิธีการที่เรียกว่า อธิกรณสมถะ 7 คือ
1. สัมมุขาวินัย ระงับต่อหน้าสงฆ์ต่อหน้าบุคคลต่อหน้าวัตถุ
2. สติวินัย การระงับด้วยการให้เกียรติแก่พระอรหันต์ ผู้มีสติสมบูรณ์
3. อมูฬหกวินัย การระงับเหตุด้วยการยกเว้นให้แก่ผู้ทำผิดในขณะที่เป็นบ้า คือได้หลงไปแล้ว
4. เยภุยยสิกา ระงับด้วยเสียงข้างมากลงมติ
5. ปฏิญญาตกรณะ ระงับด้วยการทำตามปฏิญญา
6. ตัสสปาปิยสิกากรรม ระงับด้วยการลงโทษศัตรูผู้ถูกสอบสวนแล้วพูดไม่อยู่กับร่องกับรอย ให้
การรับแล้วปฏิเสธ ปฏิเสธแล้วรับเป็นต้น
7. ติณวัตถารกวินัย ระงับด้วยการประนีประนอมทั้งสองฝ่าย ดุจเอาหญ้าทับสิ่งสกปรกไว้ไม่ให้มีกลิ่นทั้งอธิกรณ์และการระงับต้องทำเป็นการสงฆ์เป็นส่วนใหญ่ ดุจการตั้งกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ฉะนั้นจึงเป็นการทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีมและในการประชุมทำกรรมต่างๆ เป็นการสงฆ์นั้น ต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ จริงๆ ถ้ามีข้อข้องใจมีสิทธิ ยับยั้ง (Veto) ได้แม้เพียงเสียงเดียวสงฆ์ทั้งหมดก็ต้องฟังดังท้ายกรรมวาจาว่า "ยสฺสายสฺมโตขมติโส ตุณฺหสฺสยสฺส น ขมติ โส ภาเสยฺย"
"ถ้ากรรมนี้ ชอบใจต่อท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเงียบ ถ้าไม่ชอบใจต่อท่านผู้ใดท่านผู้นั้นพึงพูดขึ้น"อนึ่งการทำกรรมอันใดก็ตาม พระวินัยจะต้องพร้อมเพรียงกัน ดังคำขึ้นต้น ของกรรมวาจาว่า"ยทิสงฺฆสฺสปตฺตกลฺลํ" ซึ่งแปลว่า "ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ พร้อมแล้ว... สงฆ์พึงทำ..." ดังนี้.นี้คือเนื้อความใน มหาขันธกะ มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 4
3.2 แนวความคิดเรื่องประชาธิปไตย ตามแนวพระสุตตันตปิฎก ซึ่งอาจนำมาเป็นประเด็นในการวิจารณ์ ได้ดังต่อไปนี้
1. หลักเสรีภาพทางความคิด พระพุทธเจ้าได้ให้โอกาสแก่ชาวกาลามะในการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ คำสอนของนักบวช ที่มาเผยแผ่คำสอนด้วยข้อความต่อไปนี้
"ดูกรกาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าเชื่อ เพียงเพราะ
· การฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
· การถือกันสืบๆ มา (มา ปรมฺปราย)
· ข่าวเล่าลือ (มา อิติกิราย)
· การอ้างตำรา (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
· การใช้ตรรกะ (มา ตกฺกเหตุ)
· การอนุมาน (มา นยเหตุ)
· การตรึกตรองตามอาการ (มา อาการปริวิตกฺเกน)
· เข้าได้กับทฤษฎีที่ตนคิดไว้ (มา ทิฏฺฐินิชฺฌานขนฺติยา)
· มองเห็นลักษณะว่าน่าเชื่อได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
· สมณะ นี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
ต่อเมื่อใดรู้เข้าใจ ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละ หรือ ถือปฏิบัติตามนั้น"
2. หลักความเสมอภาค ในพระธรรมวินัย จะเห็นได้จากหลักความอัศจรรย์ของพระธรรมวินัย 8 อย่างเปรียบเทียบกับความอัศจรรย์ของมหาสมุทร 8 อย่าง ดังนี้ 1. ธรรมวินัย หรือพระพุทธศาสนามีการศึกษาตามลำดับทำตามลำดับปฏิบัติตามลำดับ แทงตลอดอรหัตตมรรค ด้วยการทำต่อเนื่องดุจมหาสมุทรลุ่มลึกตามลำดับ 2. สาวกของพระพุทธเจ้าที่แท้ไม่ล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว แม้จะต้องสละชีวิตก็ยอม ดุจมหาสมุทรไม่ล้นฝั่ง 3. สงฆ์ ย่อมกันคนชั่วให้ห่างไกล ดุจทะเลซัดซากศพให้เข้าสู่ฝั่งฉะนั้น 4. วรรณะ 4 ออกบวชแล้วย่อมละซึ่งชื่อโคตร ในกาลก่อนถึงการนับว่าเป็นสมณศากยบุตร ดุจน้ำจากแม่น้ำทั้งหลาย เมื่อถึงมหาสมุทรแล้ว ก็เป็นน้ำมหาสมุทรอันเดียวกัน 5. แม้ฝนตก มหาสมุทรก็ไม่ปรากฏความพร่องและความเต็ม ฉันใด ภิกษุในธรรมวินัย ที่ดับกิเลสด้วยนิพพานธาตุ ย่อมไม่ทำนิพพานให้เต็ม 6. พระธรรมวินัย มีรสเดียว คือ วิมุตติรส-รสแห่งความหลุดพ้น ดุจมหาสมุทรมีรสเดียวคือ รสเค็ม (เอกรโส-โลณรโส, เอกรโส-วิมุตฺติรโส) 7. มหาสมุทรเต็มไปด้วยรัตนะนานาประการ ฉันใด พระธรรมวินัยก็มากด้วย ธรรมรัตนะ คือ สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, มรรค 8, ฉันนั้น8. มหาสมุทร เป็นที่อยู่ของสัตว์มีชีวิตใหญ่ๆ เช่น ปลาติมิติมังคลา ติปริมังคลา อสูร นาค คนธรรพ์ ฉันใด พระธรรมวินัยก็มีอริยบุคคล 4 และผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นอริยบุคคล 4 ฉันนั้น.เหตุนี้ จึงทำให้ภิกษุยินดียิ่งในธรรมวินัย.
3. หลักความเป็นพี่เป็นน้องกัน หรือ ภราดรภาพ คือ สหธรรมิก ผู้ปฏิบัติธรรมร่วมกัน ควรมีธรรมต่อไปนี้ก. สังคหวัตถุ 4 คือ แบ่งปัน, พุดไพเราะ, บำเพ็ญประโยชน์และวางตัวเคียงบ่าเคียงไหล่ ร่วมสุขร่วมทุกข์ ข. สาราณียธรรม 6 คือจะพูด จะทำ จะคิด ก็ประกอบด้วย เมตตาจิต แบ่งปันลาภกันอย่างทั่วถึง, มีศีลเสมอกันและมีทัศนะเสมอกัน. ค. หลักอปริหานิยธรรม 7 คือ- หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์- เมื่อประชุมก็พร้อมกันเข้าประชุม และพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม- ไม่ทำลายหลักการเดิม- เคารพผู้หลักผู้ใหญ่- คุ้มครองกุลสตรี มิให้ถูกข่มเหง- เคารพ เจดีย์ อนุสาวรีย์คนสำคัญของชาติ- ให้การคุ้มครองอารักขาสมณะชีพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในรัฐ 4. หลักการใช้อธิปไตย พระพุทธเจ้าทรงนิยม ธรรมาธิปไตย คือ เอาหลักการเป็นใหญ่ มิใช่ อัตตาธิปไตย เอาตนเป็นใหญ่ หรือ โลกาธิปไตย เอาโลกหรือพวกพ้องเป็นใหญ่ ดังพระองค์แสดงไว้อย่างชัดเจน"ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นมิใช่สภา"สัตบุรุษ คือ ผู้รู้จักเหตุผล-รู้จักคน รู้จักประมาณ-รู้จักกาล-รู้จักชุมชุม และรู้จักความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล จึงอาจกล่าวได้ว่า"พระธรรมวินัย ของพระพุทธเจ้าเป็นหลักการปกครองของพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ และเพื่อพระสงฆ์อันมีประโยชน์ 10 อย่าง เป็นเป้าหมาย คือ1. เพื่อหมู่คณะยอมรับว่าดี2. เพื่อให้หมู่คณะมีความผาสุก3. เพื่อข่มคนชั่ว4. เพื่อปกป้องคนดี5. เพื่อขจัดทุกข์ในปัจจุบัน6. เพื่อตัดทุกข์ในอนาคต7. เพื่อผู้ที่ยังไม่ศรัทธาได้มีความศรัทธา8. เพื่อรักษาจิตของคนที่ศรัทธาอยู่แล้ว ให้เลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป9. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม คือ พระพุทธศาสนา10. เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย คือ หลักการอันดีงาม ของการอยู่ร่วมกันโดยสันติ อย่างที่เรียกว่า "มีสันติสุขในส่วนตน และสันติภาพในส่วนรวม" ฉะนี้แล
หลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา Archived Posts from this Category ในสมัยข้าพเจ้าเป็นเด็กนักเรียนบ้านนอก หลังจากโรงเรียนเลิกหรือวันโรงเรียนหยุด ข้าพเจ้าจะช่วยบิดาเลี้ยงควายในท้องทุ่งนอกจากควายของบิดาข้าพเจ้าแล้วก็ยังมีของผู้อื่นในละแวกเดียวกันในท้องทุ่งจึงมีควายฝูงใหญ่พอสมควรทีเดียวควายทุกตัวมันจะแทะเล็มหญ้าไปอย่างเพลิดเพลินทุกตัวไม่เกะกะเกเรกัน ตลอดเวลาจนถึงยามเย็นมากแล้วจะมีบางตัวเข้าจับกลุ่มกันเพื่อเดินทางลงหนองน้ำแช่ตัวดื่มกินตามที่ต้องการ ขณะนั้นก็จะมีตัวอื่นๆอีกเดินตามกันไปทั้งหมดทุกตัวหยุดและเล็มหญ้าทันทีเพื่อลงหนองน้ำโดยพร้อมเพรียงกันจากนั้นสักพักใหญ่หลังจากแช่ตัวจนพอใจแล้ว กลุ่มแรกที่เดินลงก็จะเดินขึ้นจากหนองน้ำทุกตัวต่างก็ตามกันขึ้นด้วยอย่างมีระเบียบเช่นกันเวลานั้นข้าพเจ้าไม่ได้คิดอะไรถึงขณะนี้ พอจะนึกได้ว่าแม้สัตว์เดียรัจฉานทำไมจึงได้มีการแสดงออกเช่นนั้น ความจริงเป็นลักษณะของการปฏิบัติตามกันในความเห็นของหมู่มากถ้าหมู่มากเขาจะเอาอย่างไร ทุกๆหน่วยของสมาชิกในหมู่นั้นก็เห็นด้วยและทำอย่างนั้นนี่ไม่เฉพาะในหมู่ของควาย แม้สัตว์เดียรัจฉานอื่นก็เป็นได้ เช่น เป็ด ไก่นก ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันพฤติกรรมของสัตว์อย่างนั้นอาจสงเคราะห์ได้กับหลักประชาธิปไตยของมนุษย์ที่เรียกหากันอยู่ทุกวันนี้ก็ได้ส่วนในหมู่มนุษย์นั้นคำว่า “ประชาธิปไตย” มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นเองเพราะถือว่ามีมันสมองเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้นถ้าลักษณะของการแสดงออกก็ดี แนวความคิดก็ดีจะขัดแย้งกันบ้าง แต่เมื่อยอมรับให้ไปกันได้กับเสียงส่วนใหญ่แล้วก็เรียกกว่าการมีประชาธิปไตยว่าโดยความหมายก็คือ ถือความเป็นใหญ่ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งจะเป็นในหลักของการปกครองการบริหาร หรือการกระทำกิจกรรมร่วมกันประการใดก็ตามเช่นในหลักการบริหารประเทศรัฐธรรมนูญกำหนดว่าอำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทยคือ อำนาจในความเป็นใหญ่การกำหนดทิศทางวางแผนการบริหารประเทศเป็นของประชาชนชาวไทยทุกคน ในทางปฎิบัติเรายอมรับในการเลือกตัวแทนไปทำหน้าที่แทนในรัฐสภา เรียกว่าผู้แทนราษฎรการประชุมร่างกฎหมาย แก้ไข ยกเลิกกฎหมายก็ต้องกระทำกันตามความเห็นของเสียงส่วนใหญ่จากผู้แทนราษฎรนั้น นี่เรียกว่าหลักประชาธิปไตยของมนุษย์ส่วนจะผิดจะถูกอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป นอกจากนั้นประชาธิปไตยยังหมายถึงการมีอิสรเสรีในการพูด การเขียนและการกระทำอื่นๆภายในขอบเขตของกฎหมายด้วย ในโลกนี้มีประเทศที่มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยกันหลายประเทศทั้งที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแต่ในสังคมของคนที่ยังต่างความคิดกันอยู่การดำเนินการใดๆ แม้จะกระทำไปตามมติของส่วนใหญ่ซึ่งเป็นกติกาที่ตกลงกันไว้แล้วก็ตาม ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะการที่คนไม่เข้าใจหลักประชาธิปไตยประการหนึ่งหรือเข้าใจแต่ไม่อยากจะยอมรับกติกาประการหนึ่ง หลักประชาธิปไตยของสังคมมนุษย์ในโลกจึงหาจุดแน่นอนไม่ได้ทั้งอาจมีปัญหาตลอดกาลก็เป็นได้ ในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าแสดงไว้ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัญณาสก์ หมวด 50 สูตรที่ 1 วรรค 4 ชื่อ เทวทูตวรรค ทรงแสดงอธิปไตย คือความเป็นใหญ่ไว้เป็น 3 ประการคือ 1. อัตตธิปไตย คือการปรารภตนเป็นใหญ่อำนาจอยู่ในคนๆเดียว ซึ่งเป็นได้ทั้งระบบกษัตราธิปไตยหรือระบบเผด็จการ การปกครองในระบบอัตตาธิปไตยนี้จะนับว่าเป็นระบบที่ไม่ดีเสียทีเดียวก็ไม่ได้แต่อาจจะเป็นการปกครองที่ดีที่สุดแบบหนึ่งด้วยเพราะการมีอำนาจสิทธิ์ขาดในคนๆเดียว อาจทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองไปรวดเร็วก็ได้หรืออาจจะทำให้บ้านเมืองหายนะเร็วก็ได้เหมือนกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าก็เคยปกครองในแบบอัตตาธิปไตยหรือเอกาธิปไตยเหมือนกัน ในสมัยที่พระองค์ทรงประกาศศาสนาใหม่ๆ ถ้าจะเปรียบเทียบแล้วก็เหมือนพระพุทธเจ้าเป็นเผด็จการเพราะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่พระองค์เพียงองค์เดียว เช่นการจะให้กุลบุตรคนใดคนหนึ่งมาบวชในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ก็จะตรัสเพียงสองคำว่า เอหิภิกขุ อุปสมปทา เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด ก็เป็นพระแล้วไม่ต้องทำพิธีอะไรมากมาย แต่เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้อยู่เหนือโลกไม่ใช่อยู่ในอำนาจของโลกีย์วิสัยแล้ว ฉะนั้นแม้การปกครองแบบอัตตธิปไตยก็เป็นการปกครองที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ เป็นการเริ่มต้นที่พระองค์จะทรงปฎิวัติหรือปฎิรูปสังคมจึงจำเป็นต้องวางรากฐานให้มั่นคงก่อน ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะต้องได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีใจบริสุทธิ์จริงๆเข้ามาช่วยทำจึงจะทำให้การปกครองของสังคมนั้นๆ เป็นไปอย่างมีขั้นตอนปราศจากปัญหาใดๆ
2. โลกาธิปไตย การปรารถโลกเป็นใหญ่เป็นการปกครองที่ยึดเสียงของคนหมู่มากเป็นใหญ่แล้วแต่สังคมจะไปทางไหนยังไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลว่าจะดีหรือไม่ดีถ้าส่วนใหญ่ว่าอย่างไรก็เอาอย่างนั้น การปกครองลักษณะนี้จัดเข้ากันได้กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ชาวโลกกำหนดให้เป็นการปกครองระบบหนึ่งเหมือนกันคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เน้นหนักไปในทางประชาธิปไตย คือหลักประชาธิปไตยมีความสอดคล้องกับหลักของพระพุทธศาสนาหลายประการแต่อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่าพระพุทธองค์ทรงอยู่เหนือโลกนอกอำนาจของโลกีย์วิสัย ระบบโลกาธิปไตยหรือหลักประชาธิปไตยของพระพุทธศาสนาจึงเป็นไปด้วยเหตุผลและคำนึงถึงสิ่งที่ถูกต้องประการเดียว ผิดกับหลักประชาธิปไตยของชาวโลกดังที่กล่าวในข้อ 1 ว่า อัตตาธิปไตย พระองค์ทรงเป็นเผด็จการในระยะแรกเมื่อปูฐานของศาสนาเพื่อการเผยแผ่อย่างมีประสิทธิภาพแล้วพระองค์ก็ทรงอนุญาตให้พระอรหันต์สาวกทั้งหลายอุปสมบทแก่กุลบุตรได้โดยไม่ต้องนำไปเฝ้าพระองค์ การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่าแบบ”ติสรณคมณูปสมปทา”การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกเป็นคล้ายแบบคณาธิปไตยคือกล่าวคำนึงถึงพระรัตนตรัยต่อพระอรหันต์สาวกที่พระพุทธองค์ได้ทรงมอบหมายแล้วก็เป็นภิกษุได้ต่อเมื่อมีพระสงฆ์เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าการปกครองแบบนั้นเป็นการดีเฉพาะบางยุคบางสมัยเท่านั้น ไม่ดีตลอดไปเพราะหากว่าบุคคลที่มามีอำนาจต่อไปไม่มีศีลธรรมการปกครองก็จะล้มเหลว ฉะนั้นต่อมาพระพุทธองค์จึงได้มอบหมายให้คณะสงฆ์เป็นใหญ่ในการปกครองจนกระทั่งการปกครองในระยะหลังในการอุปสมบทหรือการรับกุลบุตรเข้าสู่หมู่คณะจึงกระทำโดยวิธี “ญัตติจตุถกรรมวาจา” เช่นการบวชอยู่ในปัจจุบันนี้โดยมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ หมายถึงการประชุมสงฆ์ในการทำสังฆกรรมใดๆก็ตามต้องเป็นโดยเสียงส่วนใหญ่ของหมู่คณะอย่างเอกฉันท์ นี่เป็นหลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
3. ธรรมาธิปไตย การปรารภธรรมคือเหตุผล ความถูกต้อง ความดี ความงามเป็นใหญ่ ฉะนั้นระบบโลกาธิปไตยหรือประชาธิปไตยดังที่กล่าวข้างต้นจะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์จะต้องมีความเคารพในธรรม ความถูกต้องและเหตุผล พระพุทธองค์ทรงยกย่องธรรมาธิปไตยว่าเป็นเลิศ หมู่คณะของสงฆ์ที่เป็นใหญ่ในการปกครองดูแลจึงต้องเป็นคณะสงฆ์ที่มีหลักของธรรมาธิปไตย คือยึดเหตุผล ความถูกต้องและความดีงามเป็นหลักด้วยกล่าวโดยใจความก็คือหลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนาจะต้องอาศัยหลักของธรรมาธิปไตยเป็นเครื่องประกอบด้วยแต่ธรรมาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้โดยสมบูรณ์ก็ต้องประกอบด้วยรากฐานที่สำคัญดังนี้
3.1 ความเสมอภาค พุทธศาสนาถือว่ามนุษย์ทุกคนมีสภาพเป็นเวไนยสัตว์ คือสอนได้ เรียนได้ ปรับปรุงตนเองได้ มนุษย์จึงมีสภาพเท่าเทียมกันไม่ว่ายากจน มั่งมีผู้ดี ไพร่ สูง ต่ำ ดำ ขาวทุกคนมีโอกาสบรรลุธรรมขั้นสูงถึงความพ้นทุกข์ได้ หากใช้ความเพียรปฎิบัติโดยถูกต้องและปฎิบัติตามคำสั่งสอนดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้โดยย่อว่า “กุลบุตรจากสกุลกษัตริย์หรือพราหมณ์หรือแพศย์หรือศูทรก็ตาม ได้อาศัยธรรมและวินัยอันตถาคตประกาศแล้วย่อมประสบความสำเร็จและนำตนให้ออกจากทุกข์ได้” หรือแม้ในหลักเกณฑ์การมีเครื่องนุ่งห่มภิกษุเก่าหรือภิกษุผู้มาใหม่จะแก่พรรษาหรืออ่อนพรรษากว่ากันก็มีความเสมอภาคคือ มีผ้ากาสาวพัสตร์ที่เหมือนกันหมด
3.2 ความมีเสรีภาพ พระองค์ทรงสั่งสอนและทรงส่งเสริมให้มนุษย์มีสิทธิเท่าเทียมกันให้เลิกระบบทาสไม่มีการซื้อขายมนุษย์ห้ามภิกษุมีทาสไว้รับใช้ ที่สุดทรงสอนให้เลิกทาสภายในได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง และให้มีเสรีภาพในการประพฤติปฎิบัติให้ถูกต้องตามหลักคำสอนโดยที่ไม่ได้กำหนดโทษให้ปรากฏในทางวัตถุหรือทางร่างกายแต่ได้กำหนดให้ได้รับผลทางจิตใจในการที่จะควบคุมตักเตือนตนเอง หากประพฤติปฎิบัตินอกลู่นอกทางจากคำสั่งสอน ก็จะได้รับโทษที่ให้ผลเป็นทุกข์ทางใจของตนเองที่เรียกว่า “อาบัติ” เราจึงเห็นกันว่าพระภิกษุทั่วๆไปในสายตาของชาวบ้านจะมองไม่ออกว่าองค์ใดได้ประพฤติผิดล่วงธรรม ล่วงวินัยไปแล้วอย่างใดบ้างนั่นเป็นลักษณะเสรีภาพในการควบคุมตนเองให้อยู่กับการประพฤติปฎิบัติต่อคำสั่งสอนที่ถูกต้องต่อไป
3.3 ความมีศีลและวินัย พระพุทธศาสนายืนยาวมากว่า 2,000 ปี ก็เพราะพระสงฆ์มีวินัย พระพุทธองค์ทรงปกครองสงฆ์ด้วยธรรมาธิปไตยคือให้พระสงฆ์มีวินัย เมื่อพระสงฆ์มีวินัยก็สามารถปกครองตนเองได้ดีมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในตัวเองเพราะประชาธิปไตยจะมีโดยสมบูรณ์ต่อเมื่อทุกคนได้รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง รับผิดชอบตนเอง เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่นไม่ล่วงเกินก้าวก่ายกันเพราะพระสงฆ์อาจจะต้องไปอยู่ป่าองค์เดียว อยู่ถ้ำองค์เดียวหรือจาริกไปองค์เดียว จึงต้องมีศีล มีวินัย คุ้มครองดูแลตนเองหรือถ้าจะเข้าสู่หมู่คณะก็จะต้องรักษากาย วาจา ใจ ที่จะประพฤติปฎิบัติต่อกันอย่างไร ต่ออุปัชฌาย์อย่างไร ต่อที่ประชุมอย่างไร วินัยที่กำหนดให้เคารพต่อกันระหว่างผู้มีพรรษาแก่อ่อนกว่ากันไม่ว่าชาติตระกูลจะเป็นอย่างไร พระสงฆ์ต้องเคารพต่อพระธรรมความถูกต้องเป็นใหญ่ในการที่จะยอมรับกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันเพราะถ้าสังคมใดไม่เคารพต่อกฎหมายกติกาสังคมแล้วย่อมวุ่นวายเดือดร้อน เมื่อตรากฎหมายขึ้นมาอย่างไรก็ต้องเคารพต่อกฎหมาย ปฎิบัติตามกฎหมายนั้น รู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ของตนไม่ก้าวก่ายกันมีหน้าที่อย่างไรก็ปฎิบัติไปอย่างนั้น มีสิทธิอย่างไรก็ควรจะใช้สิทธิอย่างนั้นภายในขอบเขตของกฎเกณฑ์ วินัยจึงเป็นรากฐานของประชาธิปไตย พระพุทธศาสนาได้วางหลักของวินัยที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ดังกล่าวนั้น
3.4 ความถูกต้อง-ถูกใจ ในพระพุทธศาสนาพระพุทธองค์ทรงถือความถูกต้องเป็นใหญ่มิได้ถือความถูกใจ เพราะถูกต้องกับถูกใจนั้นเป็นคนละเรื่องกัน บางครั้งบางเรื่องอาจเป็นไปอย่างถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ บางครั้งถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง จึงต้องถือความถูกต้องไว้เป็นหลักเพราะความถูกต้องนั้นเป็นเรื่องของธรรม ของส่วนรวม แต่ความถูกใจนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวเรื่องความเห็นแก่ตัวประชาธิปไตยนั้นเป็นหลักของการคำนึงถึงความผาสุกของส่วนรวม พระพุทธองค์ตรัสว่า “ปชาสุขํ มหตตมํ” ความผาสุกของประชาชนเป็นเลิศอย่างยิ่งในการใช้ความถูกต้องของพระพุทธเจ้านั้น ดังเช่นในคราวหนึ่งพระภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลถามพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องโลกนี้ โลกหน้า มีหรือไม่ สรีระนี้กับสรีระหน้าอันเดียวกันหรือไม่คนเราตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ให้พระพุทธเจ้าทรงตอบ ถ้าไม่ทรงตอบจะขอลาสึกไม่บวชอยู่ต่อไป พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์เป็นเรื่องไม่ถูกต้องตามธรรมคำสั่งสอนแต่ถูกใจของผู้ถาม พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์ให้และตรัสแก่ภิกษุนั้นว่า เธอจะสึกหรือจะอยู่ก็เป็นเรื่องของเธอ อนาคตไม่ได้ตั้งเงื่อนไขที่จะตอบปัญหานี้ให้เป็นความสมัครใจของผู้บวชในศาสนานี้นี่เป็นเรื่องของประชาธิปไตยที่จะต้องใช้ความคิดไปในทางที่ถูกต้องอย่าถือความถูกใจของตนมาเป็นใหญ่
3.5 ความมีเหตุผล คำสอนของพระองค์ทรงแนะให้ใช้ปัญญาใคร่ครวญหาเหตุผลเช่น ในกาลามสูตรทรงสอนไม่ให้เชื่อโดยอาการ 10 อย่าง แต่ให้เชื่อโดยการพิจารณาคิดค้นหาเหตุผลและนำไปปฎิบัติในธรรมที่ได้ยินได้ฟังนั้นๆ เรื่องนี้ทรงสรรเสริญพระสารีบุตรเป็นตัวอย่าง
การที่พระพุทธศาสนาสอนให้ใช้เหตุผลก็เพื่อให้คนพ้นจากความโง่งมงายเชื่อในสิ่งที่ไม่ใช่สารประโยชน์ที่จะนำตนเองให้ออกจากทุกข์จึงได้สอนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็นจริงไม่สอนให้เชื่อในเรื่องฤกษ์ยามหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก ที่จะมาบันดาลให้เราได้รับความเจริญหรือความเสื่อมได้นอกจากตัวของตัวเอง สอนให้รู้จักความจริงในเรื่องความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพันที่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เนื่องจากการยึดถือในขันธ์ 5 สอนให้พึ่งตนเอง ไม่พาชีวิตไปผูกพันไว้กับสิ่งอื่น ให้เสริมสร้างคุณธรรมในตน ให้ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นไปจนเป็นเทวดา เป็นพรหมในชาตินี้ด้วยคุณธรรมไม่ใช่เป็นเทวดาหรือพรหมเมื่อตายแล้วสอนให้เชื่อในเรื่องของกรรมว่าด้วยการกระทำเป็นเหตุ ย่อมมีผลได้รับจากการกระทำนั้น ซึ่งตนเองเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่”พรหมลิขิต”สอนให้ใช้ปัญญาคิดค้นในสิ่งที่ถูกที่ควรอย่างมีอิสรเสรี มีเหตุผลตลอดเวลาจากรากฐานของธรรมาธิปไตยที่เป็นเครื่องประกอบของหลักประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ของพระพุทธศาสนาดังกล่าวนั้นพระพุทธศาสนาจึงเป็นสถาบันที่มีการใช้หลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงไม่มีปัญหาอันใด แต่ในสังคมของชาวโลกเหตุที่ประชาธิปไตยยังมีปัญหาไม่ดำเนินไปอย่างราบรื่นเรียบร้อยก็เพราะเป็นการใช้หลักประชาธิปไตยที่ปราศจากหลักของธรรมาธิปไตยดังได้กล่าวมาด้วยประการฉะนี้
ในสมัยข้าพเจ้าเป็นเด็กนักเรียนบ้านนอก หลังจากโรงเรียนเลิกหรือวันโรงเรียนหยุด ข้าพเจ้าจะช่วยบิดาเลี้ยงควายในท้องทุ่งนอกจากควายของบิดาข้าพเจ้าแล้วก็ยังมีของผู้อื่นในละแวกเดียวกันในท้องทุ่งจึงมีควายฝูงใหญ่พอสมควรทีเดียวควายทุกตัวมันจะแทะเล็มหญ้าไปอย่างเพลิดเพลินทุกตัวไม่เกะกะเกเรกัน ตลอดเวลาจนถึงยามเย็นมากแล้วจะมีบางตัวเข้าจับกลุ่มกันเพื่อเดินทางลงหนองน้ำแช่ตัวดื่มกินตามที่ต้องการ ขณะนั้นก็จะมีตัวอื่นๆอีกเดินตามกันไปทั้งหมดทุกตัวหยุดและเล็มหญ้าทันทีเพื่อลงหนองน้ำโดยพร้อมเพรียงกันจากนั้นสักพักใหญ่หลังจากแช่ตัวจนพอใจแล้ว กลุ่มแรกที่เดินลงก็จะเดินขึ้นจากหนองน้ำทุกตัวต่างก็ตามกันขึ้นด้วยอย่างมีระเบียบเช่นกันเวลานั้นข้าพเจ้าไม่ได้คิดอะไรถึงขณะนี้ พอจะนึกได้ว่าแม้สัตว์เดียรัจฉานทำไมจึงได้มีการแสดงออกเช่นนั้น ความจริงเป็นลักษณะของการปฎิบัติตามกันในความเห็นของหมู่มากถ้าหมู่มากเขาจะเอาอย่างไร ทุกๆหน่วยของสมาชิกในหมู่นั้นก็เห็นด้วยและทำอย่างนั้นนี่ไม่เฉพาะในหมู่ของควาย แม้สัตว์เดียรัจฉานอื่นก็เป็นได้ เช่น เป็ด ไก่นก ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันพฤติกรรมของสัตว์อย่างนั้นอาจสงเคราะห์ได้กับหลักประชาธิปไตยของมนุษย์ที่เรียกหากันอยู่ทุกวันนี้ก็ได้ส่วนในหมู่มนุษย์นั้นคำว่า “ประชาธิปไตย” มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นเองเพราะถือว่ามีมันสมองเลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้นถ้าลักษณะของการแสดงออกก็ดี แนวความคิดก็ดีจะขัดแย้งกันบ้าง แต่เมื่อยอมรับให้ไปกันได้กับเสียงส่วนใหญ่แล้วก็เรียกกว่าการมีประชาธิปไตยว่าโดยความหมายก็คือ ถือความเป็นใหญ่ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งจะเป็นในหลักของการปกครองการบริหาร หรือการกระทำกิจกรรมร่วมกันประการใดก็ตามเช่นในหลักการบริหารประเทศรัฐธรรมนูญกำหนดว่าอำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทยคือ อำนาจในความเป็นใหญ่การกำหนดทิศทางวางแผนการบริหารประเทศเป็นของประชาชนชาวไทยทุกคน ในทางปฎิบัติเรายอมรับในการเลือกตัวแทนไปทำหน้าที่แทนในรัฐสภา เรียกว่าผู้แทนราษฎรการประชุมร่างกฎหมาย แก้ไข ยกเลิกกฎหมายก็ต้องกระทำกันตามความเห็นของเสียงส่วนใหญ่จากผู้แทนราษฎรนั้น นี่เรียกว่าหลักประชาธิปไตยของมนุษย์ส่วนจะผิดจะถูกอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป นอกจากนั้นประชาธิปไตยยังหมายถึงการมีอิสรเสรีในการพูด การเขียนและการกระทำอื่นๆภายในขอบเขตของกฎหมายด้วยในโลกนี้มีประเทศที่มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยกันหลายประเทศทั้งที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแต่ในสังคมของคนที่ยังต่างความคิดกันอยู่การดำเนินการใดๆ แม้จะกระทำไปตามมติของส่วนใหญ่ซึ่งเป็นกติกาที่ตกลงกันไว้แล้วก็ตาม ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะการที่คนไม่เข้าใจหลักประชาธิปไตยประการหนึ่งหรือเข้าใจแต่ไม่อยากจะยอมรับกติกาประการหนึ่ง หลักประชาธิปไตยของสังคมมนุษย์ในโลกจึงหาจุดแน่นอนไม่ได้ทั้งอาจมีปัญหาตลอดกาลก็เป็นได้ในพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าแสดงไว้ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัญณาสก์ หมวด 50 สูตรที่ 1 วรรค 4 ชื่อ เทวทูตวรรค ทรงแสดงอธิปไตย คือความเป็นใหญ่ไว้เป็น 3 ประการคือ
1. อัตตธิปไตย คือการปรารภตนเป็นใหญ่อำนาจอยู่ในคนๆเดียว ซึ่งเป็นได้ทั้งระบบกษัตราธิปไตยหรือระบบเผด็จการ การปกครองในระบบ อัตตาธิปไตยนี้จะนับว่าเป็นระบบที่ไม่ดีเสียทีเดียวก็ไม่ได้แต่อาจจะเป็นการปกครองที่ดีที่สุดแบบหนึ่งด้วยเพราะการมีอำนาจสิทธิ์ขาดในคนๆเดียว อาจทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองไปรวดเร็วก็ได้หรืออาจจะทำให้บ้านเมืองหายนะเร็วก็ได้เหมือนกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าก็เคยปกครองในแบบอัตตาธิปไตยหรือเอกาธิปไตยเหมือนกัน ในสมัยที่พระองค์ทรงประกาศศาสนาใหม่ๆ ถ้าจะเปรียบเทียบแล้วก็เหมือนพระพุทธเจ้าเป็นเผด็จการเพราะทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่พระองค์เพียงองค์เดียว เช่นการจะให้กุลบุตรคนใดคนหนึ่งมาบวชในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ก็จะตรัสเพียงสองคำว่า เอหิภิกขุ อุปสมปทา เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด ก็เป็นพระแล้วไม่ต้องทำพิธีอะไรมากมาย แต่เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้อยู่เหนือโลกไม่ใช่อยู่ในอำนาจของโลกีย์วิสัยแล้ว ฉะนั้นแม้การปกครองแบบอัตตธิปไตยก็เป็นการปกครองที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ เป็นการเริ่มต้นที่พระองค์จะทรงปฎิวัติหรือปฎิรูปสังคมจึงจำเป็นต้องวางรากฐานให้มั่นคงก่อน ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะต้องได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีใจบริสุทธิ์จริงๆเข้ามาช่วยทำจึงจะทำให้การปกครองของสังคมนั้นๆ เป็นไปอย่างมีขั้นตอนปราศจากปัญหาใดๆ
2. โลกาธิปไตย การปรารถโลกเป็นใหญ่เป็นการปกครองที่ยึดเสียงของคนหมู่มากเป็นใหญ่แล้วแต่สังคมจะไปทางไหนยังไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลว่าจะดีหรือไม่ดีถ้าส่วนใหญ่ว่าอย่างไรก็เอาอย่างนั้น การปกครองลักษณะนี้จัดเข้ากันได้กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ชาวโลกกำหนดให้เป็นการปกครองระบบหนึ่งเหมือนกันคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เน้นหนักไปในทางประชาธิปไตย คือหลักประชาธิปไตยมีความสอดคล้องกับหลักของพระพุทธศาสนาหลายประการแต่อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่าพระพุทธองค์ทรงอยู่เหนือโลกนอกอำนาจของโลกียวิสัย ระบบโลกาธิปไตยหรือหลักประชาธิปไตยของพระพุทธศาสนาจึงเป็นไปด้วยเหตุผลและคำนึงถึงสิ่งที่ถูกต้องประการเดียว ผิดกับหลักประชาธิปไตยของชาวโลกดังที่กล่าวในข้อ 1 ว่า อัตตาธิปไตย พระองค์ทรงเป็นเผด็จการในระยะแรกเมื่อปูฐานของศาสนาเพื่อการเผยแผ่อย่างมีประสิทธิภาพแล้วพระองค์ก็ทรงอนุญาตให้พระอรหันต์สาวกทั้งหลายอุปสมบทแก่กุลบุตรได้โดยไม่ต้องนำไปเฝ้าพระองค์ การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่าแบบ”ติสรณคมณูปสมปทา”การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกเป็นคล้ายแบบคณาธิปไตยคือกล่าวคำนึงถึงพระรัตนตรัยต่อพระอรหันต์สาวกที่พระพุทธองค์ได้ทรงมอบหมายแล้วก็เป็นภิกษุได้ต่อเมื่อมีพระสงฆ์เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าการปกครองแบบนั้นเป็นการดีเฉพาะบางยุคบางสมัยเท่านั้น ไม่ดีตลอดไปเพราะหากว่าบุคคลที่มามีอำนาจต่อไปไม่มีศีลธรรมการปกครองก็จะล้มเหลว ฉะนั้นต่อมาพระพุทธองค์จึงได้มอบหมายให้คณะสงฆ์เป็นใหญ่ในการปกครองจนกระทั่งการปกครองในระยะหลังในการอุปสมบทหรือการรับกุลบุตรเข้าสู่หมู่คณะจึงกระทำโดยวิธี “ญัตติจตุถกรรมวาจา” เช่นการบวชอยู่ในปัจจุบันนี้โดยมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ หมายถึงการประชุมสงฆ์ในการทำสังฆกรรมใดๆก็ตามต้องเป็นโดยเสียงส่วนใหญ่ของหมู่คณะอย่างเอกฉันท์ นี่เป็นหลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา 3. ธรรมมาธิปไตย การปรารภธรรมคือเหตุผล ความถูกต้อง ความดี ความงามเป็นใหญ่ ฉะนั้นระบบโลกาธิปไตยหรือประชาธิปไตยดังที่กล่าวข้างต้นจะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์จะต้องมีความเคารพในธรรม ความถูกต้องและเหตุผล พระพุทธองค์ทรงยกย่องธรรมาธิปไตยว่าเป็นเลิศ หมู่คณะของสงฆ์ที่เป็นใหญ่ในการปกครองดูแลจึงต้องเป็นคณะสงฆ์ที่มีหลักของธรรมธิปไตย คือยึดเหตุผล ความถูกต้องและความดีงามเป็นหลักด้วย กล่าวโดยใจความก็คือหลักประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนาจะต้องอาศัยหลักของธรรมธิปไตยเป็นเครื่องประกอบด้วยแต่ธรรมาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้โดยสมบูรณ์ก็ต้องประกอบด้วยรากฐานที่สำคัญดังนี้ 3.1 ความเสมอภาค พุทธศาสนาถือว่ามนุษย์ทุกคนมีสภาพเป็นเวไนยสัตว์ คือสอนได้ เรียนได้ ปรับปรุงตนเองได้ มนุษย์จึงมีสภาพเท่าเทียมกันไม่ว่ายากจน มั่งมีผู้ดี ไพร่ สูง ต่ำ ดำ ขาวทุกคนมีโอกาสบรรลุธรรมขั้นสูงถึงความพ้นทุกข์ได้ หากใช้ความเพียรปฎิบัติโดยถูกต้องและปฎิบัติตามคำสั่งสอนดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้โดยย่อว่า “กุลบุตรจากสกุลกษัตริย์หรือพราหมณ์หรือแพศย์หรือศูทรก็ตาม ได้อาศัยธรรมและวินัยอันตถาคตประกาศแล้วย่อมประสบความสำเร็จและนำตนให้ออกจากทุกข์ได้” หรือแม้ในหลักเกณฑ์การมีเครื่องนุ่งห่มภิกษุเก่าหรือภิกษุผู้มาใหม่จะแก่พรรษาหรืออ่อนพรรษากว่ากันก็มีความเสมอภาคคือ มีผ้ากาสาวพัสตร์ที่เหมือนกันหมด 3.2 ความมีเสรีภาพ พระองค์ทรงสั่งสอนและทรงส่งเสริมให้มนุษย์มีสิทธิเท่าเทียมกันให้เลิกระบบทาสไม่มีการซื้อขายมนุษย์ห้ามภิกษุมีทาสไว้รับใช้ ที่สุดทรงสอนให้เลิกทาสภายในได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง และให้มีเสรีภาพในการประพฤติปฎิบัติให้ถูกต้องตามหลักคำสอนโดยที่ไม่ได้กำหนดโทษให้ปรากฏในทางวัตถุหรือทางร่างกายแต่ได้กำหนดให้ได้รับผลทางจิตใจในการที่จะควบคุมตักเตือนตนเอง หากประพฤติปฎิบัตินอกลู่นอกทางจากคำสั่งสอน ก็จะได้รับโทษที่ให้ผลเป็นทุกข์ทางใจของตนเองที่เรียกว่า “อาบัติ” เราจึงเห็นกันว่าพระภิกษุทั่วๆไปในสายตาของชาวบ้านจะมองไม่ออกว่าองค์ใดได้ประพฤติผิดล่วงธรรม ล่วงวินัยไปแล้วอย่างใดบ้างนั่นเป็นลักษณะเสรีภาพในการควบคุมตนเองให้อยู่กับการประพฤติปฎิบัติต่อคำสั่งสอนที่ถูกต้องต่อไป 3.3 ความมีศีลและวินัย พระพุทธศาสนายืนยาวมากว่า 2,000 ปี ก็เพราะพระสงฆ์มีวินัย พระพุทธองค์ทรงปกครองสงฆ์ด้วยธรรมาธิปไตยคือให้พระสงฆ์มีวินัย เมื่อพระสงฆ์มีวินัยก็สามารถปกครองตนเองได้ดีมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในตัวเองเพราะประชาธิปไตยจะมีโดยสมบูรณ์ต่อเมื่อทุกคนได้รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง รับผิดชอบตนเอง เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่นไม่ล่วงเกินก้าวก่ายกันเพราะพระสงฆ์อาจจะต้องไปอยู่ป่าองค์เดียว อยู่ถ้ำองค์เดียวหรือจาริกไปองค์เดียว จึงต้องมีศีล มีวินัย คุ้มครองดูแลตนเองหรือถ้าจะเข้าสู่หมู่คณะก็จะต้องรักษากาย วาจา ใจ ที่จะประพฤติปฎิบัติต่อกันอย่างไร ต่ออุปัชฌาย์อย่างไร ต่อที่ประชุมอย่างไร วินัยที่กำหนดให้เคารพต่อกันระหว่างผู้มีพรรษาแก่อ่อนกว่ากันไม่ว่าชาติตระกูลจะเป็นอย่างไร พระสงฆ์ต้องเคารพต่อพระธรรมความถูกต้องเป็นใหญ่ในการที่จะยอมรับกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันเพราะถ้าสังคมใดไม่เคารพต่อกฎหมายกติกาสังคมแล้วย่อมวุ่นวายเดือดร้อน เมื่อตรากฎหมายขึ้นมาอย่างไรก็ต้องเคารพต่อกฎหมาย ปฎิบัติตามกฎหมายนั้น รู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ของตนไม่ก้าวก่ายกันมีหน้าที่อย่างไรก็ปฎิบัติไปอย่างนั้น มีสิทธิอย่างไรก็ควรจะใช้สิทธิอย่างนั้นภายในขอบเขตของกฎเกณฑ์ วินัยจึงเป็นรากฐานของประชาธิปไตย พระพุทธศาสนาได้วางหลักของวินัยที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ดังกล่าวนั้น 3.4 ความถูกต้อง-ถูกใจ ในพระพุทธศาสนาพระพุทธองค์ทรงถือความถูกต้องเป็นใหญ่มิได้ถือความถูกใจ เพราะถูกต้องกับถูกใจนั้นเป็นคนละเรื่องกัน บางครั้งบางเรื่องอาจเป็นไปอย่างถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ บางครั้งถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง จึงต้องถือความถูกต้องไว้เป็นหลักเพราะความถูกต้องนั้นเป็นเรื่องของธรรม ของส่วนรวม แต่ความถูกใจนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวเรื่องความเห็นแก่ตัวประชาธิปไตยนั้นเป็นหลักของการคำนึงถึงความผาสุกของส่วนรวม พระพุทธองค์ตรัสว่า “ปชาสุขํ มหตตมํ” ความผาสุกของประชาชนเป็นเลิศอย่างยิ่งในการใช้ความถูกต้องของพระพุทธเจ้านั้น ดังเช่นในคราวหนึ่งพระภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลถามพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องโลกนี้ โลกหน้า มีหรือไม่ สรีระนี้กับสรีระหน้าอันเดียวกันหรือไม่คนเราตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ให้พระพุทธเจ้าทรงตอบ ถ้าไม่ทรงตอบจะขอลาสึกไม่บวชอยู่ต่อไป พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์เป็นเรื่องไม่ถูกต้องตามธรรมคำสั่งสอนแต่ถูกใจของผู้ถาม พระองค์ไม่ทรงพยากรณ์ให้และตรัสแก่ภิกษุนั้นว่า เธอจะสึกหรือจะอยู่ก็เป็นเรื่องของเธอ อนาคตไม่ได้ตั้งเงื่อนไขที่จะตอบปัญหานี้ให้เป็นความสมัครใจของผู้บวชในศาสนานี้นี่เป็นเรื่องของประชาธิปไตยที่จะต้องใช้ความคิดไปในทางที่ถูกต้องอย่าถือความถูกใจของตนมาเป็นใหญ่ 3.5 ความมีเหตุผล คำสอนของพระองค์ทรงแนะให้ใช้ปัญญาใคร่ครวญหาเหตุผลเช่น ในกาลามสูตรทรงสอนไม่ให้เชื่อโดยอาการ 10 อย่าง แต่ให้เชื่อโดยการพิจารณาคิดค้นหาเหตุผลและนำไปปฎิบัติในธรรมที่ได้ยินได้ฟังนั้นๆ เรื่องนี้ทรงสรรเสริญพระสารีบุตรเป็นตัวอย่างการที่พระพุทธศาสนาสอนให้ใช้เหตุผลก็เพื่อให้คนพ้นจากความโง่งมงายเชื่อในสิ่งที่ไม่ใช่สารประโยชน์ที่จะนำตนเองให้ออกจากทุกข์จึงได้สอนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็นจริงไม่สอนให้เชื่อในเรื่องฤกษ์ยามหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก ที่จะมาบันดาลให้เราได้รับความเจริญหรือความเสื่อมได้นอกจากตัวของตัวเอง สอนให้รู้จักความจริงในเรื่องความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพันที่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เนื่องจากการยึดถือในขันธ์ 5 สอนให้พึ่งตนเอง ไม่พาชีวิตไปผูกพันไว้กับสิ่งอื่น ให้เสริมสร้างคุณธรรมในตน ให้ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นไปจนเป็นเทวดา เป็นพรหมในชาตินี้ด้วยคุณธรรมไม่ใช่เป็นเทวดาหรือพรหมเมื่อตายแล้วสอนให้เชื่อในเรื่องของกรรมว่าด้วยการกระทำเป็นเหตุ ย่อมมีผลได้รับจากการกระทำนั้น ซึ่งตนเองเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่”พรหมลิขิต”สอนให้ใช้ปัญญาคิดค้นในสิ่งที่ถูกที่ควรอย่างมีอิสรเสรี มีเหตุผลตลอดเวลา
จากรากฐานของธรรมาธิปไตยที่เป็นเครื่องประกอบของหลักประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ของพระพุทธศาสนาดังกล่าวนั้นพระพุทธศาสนาจึงเป็นสถาบันที่มีการใช้หลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงไม่มีปัญหาอันใด แต่ในสังคมของชาวโลกเหตุที่ประชาธิปไตยยังมีปัญหาไม่ดำเนินไปอย่างราบรื่นเรียบร้อยก็เพราะเป็นการใช้หลักประชาธิปไตยที่ปราศจากหลักของธรรมาธิปไตยดังได้กล่าวมาด้วยประการฉะนี้

หลักประชาธิปไตยทั่วไปในพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาธิปไตยมาตั้งแต่เริ่มแรก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงมอบให้พระสงฆ์เป็นใหญ่ในกิจการทั้งปวงเสียอีกลักษณะ ที่เป็นประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนามีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด พระธรรม คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระวินัยคือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเมื่อรวมกัน เรียกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งมีความสำคัญขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานเพียงเล็กน้อย
2. มีการกำหนดลักษณะของศาสนาไว้เรียบร้อย ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ลักษณะของพระพุทธศาสนาคือสายกลาง ไม่ซ้ายสุด ไม่ขวาสุด ทางสายกลางนี้เป็นครรลอง อาจปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดก็ได้ โดยใช้สิทธิในการแสวงหาอดิเรกลาภตามที่ทรงอนุญาตไว้ ในสมัยต่อมา เรียกแนวกลางๆ ของพระพุทธศาสนาว่า วิภัชชวาที คือศาสนาที่กล่าวจำแนกแจกแจง ตามความเป็นจริงบางอย่างกล่าวยืนยันโดยส่วนเดียวได้ บางอย่างกล่าวจำแนกแจกแจงเป็นกรณี ๆ ไป
3. พระพุทธศาสนา มีความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย บุคคลที่เป็นวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมาแต่เดิม รวมทั้งคนวรรณะต่ำกว่านั้น เช่นพวกจัณฑาล พวกปุกกุสะคนเก็บขยะ และพวกทาส เมื่อเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว มีความเท่าเทียมกัน คือปฏิบัติตามสิกขาบทเท่ากัน และเคารพกันตามลำดับอาวุโส คือผู้อุปสมบทภายหลังเคารพผู้อุปสมบทก่อน
4. พระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย เช่นในฐานะภิกษุเจ้าถิ่น จะมีสิทธิได้รับของแจกก่อนภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันมีสิทธิได้รับของแจกตามลำดับพรรษา มีสิทธิรับกฐิน และได้รับอานิสงส์กฐินในการแสวงหาจีวรตลอด 4 เดือนฤดูหนาวเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ จะอยู่จำพรรษาวัดใดก็ได้เลือกปฏิบัติกรรมฐานข้อใด ถือธุดงควัตรข้อใดก็ได้ทั้งสิ้น
5. มีการแบ่งอำนาจ พระเถระผู้ใหญ่ทำหน้าที่บริหารปกครองหมู่คณะ การบัญญัติพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง เช่นมีภิกษุผู้ทำผิดมาสอบสวนแล้วจึงทรงบัญญัติพระวินัย ส่วนการตัดสินคดีตามพระวินัยทรงบัญญัติแล้วเป็นหน้าที่ของพระวินัยธรรมซึ่งเท่ากับศาล
6. พระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือ ใช้เสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียกว่า วิธีเยภุยยสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี
หลักประชาธิปไตยในการที่พระพุทธเจ้าทรงมอบความเป็นใหญ่แก่สงฆ์
การมอบความเป็นใหญ่แก่สงฆ์มีลักษณะตรงกับหลักประชาธิปไตยหลายประการ ส่วนมากเป็นเรื่องสังฆกรรม คือการประชุมกันทำกิจสงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ การทำสังฆกรรมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ประการ ถ้าทำผิดพลาดประการใดประการหนึ่ง จะทำให้สังฆกรรมนั้นเสียไป ใช้ไม่ได้ ไม่มีผล คือเป็นโมฆะ ส่วนสำคัญ 5 ประการมีดังนี้คือ
1 จำนวนสงฆ์อย่างต่ำที่เข้าประชุม การกำหนดจำนวนสงฆ์ผู้เข้าประชุมอย่างต่ำว่าจะทำสังฆกรรมอย่างใดได้บ้างมี 5 ประเภท คือ
-- ภิกษุ 4 รูปเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้เกือบทุกชนิด เว้นแต่ การอุปสมบทหรือการบวชพระ การปวารณาหรือ พิธีกรรมในวันออกพรรษาที่ทรงอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน และการสวดอัพภาน หรือการเพิกถอนอาบัติหนักของภิกษุบางรูป
--- ภิกษุ 5 รูป เข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค สามารถทำสังฆกรรมที่สงฆ์จตุรวรรค ทำได้ทั้งหมด และยังเพิ่มการปวารณา การอุปสมบทในชนบทชายแดนได้อีกด้วย -- ภิกษุ 10 รูป เข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค สามารถทำสังฆกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคทำได้ทั้งหมด และยังเพิ่มการอุปสมบทในมัชฌิชนบท คือ ในภาคกลางของอินเดียได้อีกด้วย --- ภิกษุ 20 รูปเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้ทุกชนิด รวมทั้งสวดอัพภาน เพิกถอนอาบัติหนักด้วย
--- ภิกษุกว่า 20 รูปเข้าประชุม เรียกว่า อติเรกวีสติวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้ทุกชนิด สำหรับประเพณีไทย นิยมนิมนต์ภิกษุเข้าประชุมให้เกินจำนวนอย่างต่ำของการทำสังฆกรรมนั้นๆ เสมอ เพื่อให้ถูกต้องอย่างไม่มีโอกาสผิดพลาดในเรื่องจำนวนสงฆ์
2 สถานที่ประชุมของสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรม เรียกว่า สีมา แปลว่า เขตแดน สีมา หมายถึงพื้นดิน ไม่ใช่อาคาร อาคารจะสร้างเป็นรูปทรงอย่างไรหรือไม่มีอาคารเลยก็ได้ สีมามี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ พัทธสีมา สีมาที่ผูกแล้ว และอพัทธสีมา สีมาที่ไม่ต้องผูก พัทธสีมามีหลายชนิด จะกล่าวเฉพาะวิสุงคามสีมา แปลว่าสีมาในหมู่บ้าน ซึ่งแยกออกต่างหากจากอาณาเขตของประเทศ การขอวิสุงคามสีมาต้องขอจากประมุขของรัฐ ในประเทศไทยขอพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในประเทศมาเลเซีย ขอพระราชทานจากพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ในประเทศสหรัฐอเมริกา ขอจากผู้ว่าการมลรัฐที่วัดตั้งอยู่ ไม่ใช่ขอจากประธานาธิบดี เพราะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อขอแล้วต้องทำพิธีถอนสีมาในบริเวณนั้น ซึ่งอาจเคยเป็นวัด ผูกพัทธสีมามาแล้วในสมัยโบราณก็ได้ แล้วทำพิธีผูกพัทธสีมา สีมาซึ่งทำสังฆกรรมผูกแล้วนี้จะคงอยู่ตลอดไปจนกว่าโลกนี้แตกสลาย กลายเป็นธุลีคอสมิค ยกเว้น จะทำพิธีถอนสีมาเสีย อพัทธสีมา มีมากมายหลายชนิดเช่นเดียวกัน จะกล่าวเฉพาะสีมาน้ำ หรือเรียกว่า อุทกุกเขปสีมา แปลว่า สีมาชั่ววักน้ำสาด สีมาชนิดนี้ไม่ต้องผูกแต่สร้างอาคาร หรืออยู่ในเรือแพ ภายในหนองบึง แม่น้ำ ทะเล ซึ่งมีน้ำขังตลอดปี และอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 2 ชั่ววักน้ำสาดของบุรุษผู้มีกำลังปานกลาง สีมาน้ำนี้ใช้ทำสังฆกรรมได้เหมือนวิสุงคามสีมาเช่นกัน ส่วนมากนิยมทำกันในวัดหรือสำนักสงฆ์ที่ยังไม่ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา การกำหนดสีมาขึ้นนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ใครเข้ามายุ่งเกี่ยว ทำให้สังฆกรรมเสียไป หรือมีเจตนามาทำลายสงฆ์ทราบ ผู้ประกาศมีรูปเดียวหรือ 2 รูป ก็ได้ เรียกว่า พระคู่สังฆกรรมโดยตรง เพราะภายในสีมานั้น สงฆ์มีอำนาจสิทธิขาด ใครจะอ้างเป็นเจ้าของไม่ได้
3 การประกาศเรื่องที่ประชุม และการประกาศขอความเห็นชอบ สงฆ์จะประชุมกันทำสังฆกรรมเรื่องอะไรก็ตาม จะต้องมีการประกาศเรื่องนั้นให้สงฆ์ทราบ ผู้ประกาศมีรูปเดียวหรือ 2 รูป ก็ได้ เรียกว่า พระคู่สวดหรือพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อประกาศให้ทราบแล้ว ยังมีการประกาศขอความเห็นชอบจากสงฆ์อีก ถ้าเป็นเรื่องไม่สำคัญนัก มีการประกาศให้ทราบ 1 ครั้ง และประกาศขอความเห็นชอบอีก 1 ครั้งเรียกว่า ญัตติทุติยกรรม เช่น การประกาศมอบผ้ากฐินแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง การแต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ต่างๆ ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมาก มีการประกาศให้ทราบ 1 ครั้ง และประกาศขอความเห็นอีก 3 ครั้ง รวมเป็น 4 ครั้ง เรียกว่า ญัตติจตุตถกรรม เช่นการให้อุปสมบท การลงโทษภิกษุผู้ประพฤติมิชอบ 7 อย่าง มีตัชชนียกรรม (การตำหนิโทษ) เป็นต้น การยกโทษเมื่อภิกษุนั้นประพฤติตนดีแล้วและการแต่งตั้งภิกษุให้เป็นผู้สอนภิกษุณี เป็นต้น
4 สิทธิของภิกษุผู้เข้าประชุม ภิกษุผู้เข้าร่วมประชุมทำสังฆกรรมทุกรูปมีสิทธิแสดงความคิดเห็นทั้งในทางเห็นด้วยและในทางคัดค้าน ตามปกติเมื่อภิกษุผู้ประกาศ หรือพระคู่สวดถามความคิดเห็นของที่ประชุม ถ้าเห็นด้วย ให้ใช้วิธีนิ่ง ถ้าไม่เห็นด้วยให้คัดค้านขึ้น จะต้องมีการทำความเข้าใจกันจนกว่าจะยอมเห็นด้วย ถ้าภิกษุผู้คัดค้าน ยังคงยืนกรานไม่เห็นด้วย การทำสังฆกรรมนั้นๆ เช่น การอุปสมบท หรือการมอบผ้ากฐินย่อมไม่สมบูรณ์ จึงเห็นได้ว่า มติของที่ประชุมต้องเป็นเอกฉันท์คือเห็นพร้อมกันทุกรูป
5 มติที่ประชุม การทำสังฆกรรมทั้งหมด มติของที่ประชุมต้องเป็นเอกฉันท์ คือเป็นที่ยอมรับของภิกษุทุกรูป ทั้งนี้เพราะในสังฆมณฑลนั้น ภิกษุทั้งหลายต้องอยู่ร่วมกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน กล่าวคือมีศีลและมีความเห็นเหมือน ๆ กัน จึงจะมีความสามัคคี สืบต่อพระพุทธศาสนาได้อย่างถาวร แต่ในบางกรณี เมื่อภิกษุมีความเห็นแตกต่างกันเป็นสองฝ่ายและมีจำนวนมากด้วยกันต้องหาวิธีระงับโดยวิธีจับฉลาก หรือการลงคะแนนเพื่อดูว่าฝ่ายไหนได้เสียงข้างมาก ก็ตัดสินไปตามเสียงข้างมากนั้น วิธีนี้เรียกว่า เยภุยยสิกา การถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ ตามหลักประชาธิปไตยทั่วไป ซึ่งแสดงว่า มติที่ประชุมไม่ได้ใช้มติเอกฉันท์เสมอไป
ลักษณะอื่นๆ ที่แสดงถึงความเป็นประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
1 พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุศึกษาพระพุทธศาสนาด้วยภาษาใด ๆ ก็ได้ คือศึกษาด้วยภาษาที่ตนเองรู้ดีที่สุด ไม่ให้ผูกขาดศึกษาด้วยภาษาเดียว เหมือนศาสนาพราหมณ์ที่ต้องศึกษาด้วยภาษาสันสกฤตเพียงภาษาเดียว แต่การที่คณะสงฆ์ไทยใช้ภาษาบาลีเป็นหลัก ก็เพื่อสอบทานความถูกต้องในกรณีที่มีความสงสัยเท่านั้น ส่วนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะใช้ภาษาท้องถิ่นใด ๆ ก็ได้2 พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ปฏิบัติคล้อยตามกฎหมายของประเทศที่ตนอาศัยอยู่ การปฏิบัติใด ๆ ที่ไม่มีห้ามไว้ในศีลของภิกษุแต่ผิดกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ภิกษุก็กระทำไม่ได้ ข้อนี้ทำให้ภิกษุสามารถอยู่ได้ในทุกประเทศโดยไม่มีความขัดแย้งกับรัฐบาล และประชาชนของประเทศนั้น ๆ
3 ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ว่าถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบทเล็กน้อย(คือ เลิกศีลข้อเล็กน้อย) เสียก็ได้ พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทตกลงกันไม่ได้ว่า ข้อใดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย จึงมีมติไม่ให้ถอนสิกขาบทใด ๆ ทั้งสิ้น ส่วนพระสงฆ์ฝ่ายมหายานมีมติให้ถอนสิกขาบทที่เห็นว่าเล็กน้อยได้ เมื่อกาลเวลาล่วงไปก็ยิ่งถอนมากขึ้นทุกที การปฏิบัติระหว่างพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทกับฝ่ายมหายานจึงแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น
ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ต้องถือหลักธรรมาธิปไตย
ธรรมาธิปไตย หมายถึง การถือธรรมเป็นใหญ่ คนในสังคมประชาธิปไตยจะต้องเป็นธรรมาธิปไตย นั่นคือไม่ตกอยู่ในอำนาจของโลภะ โทสะ โมหะ หรือ ตัณหา มานะ ทิฐิ ตัณหา คือ ความอยากได้อยากเอาสิ่งต่าง ๆ มาเป็นของตัวเอง ต้องการผลประโยชน์และสิ่งบำรุงบำเรอปรนเปรอตน ไม่ยอมเสียสละเพื่อใคร (ใฝ่เสพ ใฝ่บริโภค)
มานะ คือ ความอยากให้ตัวเองยิ่งใหญ่ ต้องการอำนาจ ความเด่นดัง ความสำคัญหรือการครอบงำเหนือผู้อื่น ไม่ยอมใคร (ใฝ่อำนาจ ใฝ่อิทธิพล)
ทิฐิ คือ ความยึดถือเอาแต่ความเห็นของตัว ต้องการให้เขารับเอาความเห็นของตน ยึดติดถือรั้นในความเชื่อ ลัทธิ อุดมการณ์ของตน จนสำคัญเหนือกว่าความจริง ไม่ยอมรับฟังใคร (คลั่งลัทธินิยม อุดมการณ์คับแคบ) การถือธรรมเป็นใหญ่จะต้องอาศัยปัญญาเป็นตัวนำเข้าสู่ธรรม ดังนั้น ธรรมที่จะต้องถือหรือเคารพยึดเป็นหลักเป็นมาตรฐาน แบ่งได้เป็น 2 ระดับคือ
ขั้นต้น ได้แก่ หลักการ กฎเกณฑ์ กติกาต่าง ๆ อันชอบธรรม ที่ได้ตกลงกันวางไว้ เช่น รัฐธรรมนูญ หลักศีลธรรม เป็นต้น
ขั้นสูง ได้แก่ ความจริง ความถูกต้องดีงาม และประโยชน์สุข
หลักสาราณียธรรม
หลักสาราณียธรรมเป็นหลักการใหญ่ที่ก่อให้เกิดเอกภาพหรือภราดรภาพ หลักสาราณียธรรม แปลว่าธรรมเป็นเครื่องระลึกถึงกัน เป็นหลักการที่จะทำให้เกิดความประสานพร้อมเพียงสามัคคีและผนึกร่วมกันเป็น เอกภาพ
หลักธรรมนี้มีสาระสำคัญที่สอนว่า สังคมประชาธิปไตยจะต้องมีเครื่องผูกพันคนให้มีความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกัน เพราะการที่แต่ละคนจะอยู่ได้ด้วยดีและเอาศักยภาพของตนมาร่วมสร้างสรรค์สังคม ประชาธิปไตยได้นั้นคนเหล่านั้นจะต้องมีความสามัคคีรู้จักร่วมมือกันและอยู่ ร่วมกันด้วยดี การร่วมมือกันและอยู่ร่วมกันด้วยดีนั้นมีลักษณะการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งเน้นความมีเมตตาปรารถนาดีหวังประโยชน์สุขต่อกันอันจะโยงไปหาหลักการพื้น ฐานคือการที่คนเราจะต้องใช้ปัญญา คือ จะต้องใช้ปัญญานั้นบนพื้นฐานของเมตตา หมายความว่าใช้ปัญญาโดยมีเมตตาประกอบ หลักของความเป็นเอกภาพที่เรียกว่า สาราณียธรรม มี 6 ประการคือ
1. เมตตากายกรรม คือ จะทำอะไรก็ทำต่อกันด้วยเมตตา หมายความว่าทำด้วยความรัก ด้วยไมตรีด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีความช่วยเหลือกัน มีการร่วมมือกัน มีความพร้อมที่จะประสานงานกัน
2. เมตตาวจีกรรม คือ จะพูดอะไรก็พูดด้วยเมตตา โดยเจรจากันด้วยเหตุผล โดยใช้ปัญญา ไม่ใช้โทสะเป็นตัวนำฉะนั้นต้อพูดด้วยความปรารถนาดีต่อกัน มีจิตสำนึกในผลประโยชน์สุขร่วมกัน ต้องการสร้างสรรค์
3. เมตตามโนกรรม คือ จะคิดอะไรก็คิดต่อกันด้วยเมตตา นั่นคือ การมีความหวังดีต่อกัน ปรารถนาดีต่อกันโดยการคิดพิจารณาวินิจฉัย คิดวางแผนต่าง ๆ โดยมุ่งทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน สร้างสรรค์สังคมและมีไมตรีต่อกันอย่างแท้จริง
4. สาธารณโภคี หมายถึง การมีกินมีใช้ร่วมกัน หรือมีการแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันหรือการมุ่งช่วยเหลือและบำเพ็ญ ประโยชน์ต่อสาธารณะโดยการไม่เห็นแก่ตัว เป็นต้น
5. สีลสามัญญตา หมายถึง มีศีลเสมอกัน คือมีความประพฤติดี รักษาระเบียบวินัย รักษากฎกติกาของสังคม มีความสุจริตกายวาจาที่เสมอกัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม6. ทิฐิสามัญญตา หมายถึง มีทิฐิ มีความเห็น มีความเชื่อมั่น ยึดถือในหลักการอุดมการณ์และอุดมคติร่วมกันหรือสอดคล้องกันคนในสังคม ประชาธิปไตยจะต้องมีความเห็นความเข้าใจและความเชื่อมั่นในหลักการ ประชาธิปไตยร่วมกัน เช่น การยอมรับระบอบประชาธิปไตย การเข้าใจเรื่องสิทธิและหน้าที่ การเข้าใจเรื่องเสรีภาพ ภราดรภาพหรือเอกภาพ เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป พระพุทธเจ้าทรงสอนสำหรับพระสงฆ์ก่อน ว่าพระสงฆ์จะต้องอยู่ด้วยหลัก 6 ประการนี้ ถ้าอยู่ด้วยหลัก 6 ประการแล้วแต่ละคนที่เป็นสมาชิกของสังคมก็จะระลึกถึงกัน มีน้ำใจประสานกลมกลืนพร้อมที่จะร่วมมือกัน เพราะตั้งแต่ทางกายเราก็มีเมตตาต่อกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยเมตตาช่วยเหลือเอาธุระต่อกัน ทางวาจาเราก็พูดด้วยน้ำใจรักกัน ในจิตใจเราก็คิดปรารถนาดีต่อกัน ในการอยู่ร่วมกันมีของอะไร หรือได้รับสิ่งใดมาก็มาแบ่งปันกัน ในการรักษาสถานภาพของสังคมเราก็รักษาระเบียบวินัย มีศีลเสมอกัน ไม่เบียดเบียนก่อความเดือดร้อนแก่กัน และปฏิบัติตามกฎกติกาของส่วนรวม เราก็มีความเชื่อมั่นยึดถือและเข้าใจหลักการสำคัญของประชาธิปไตยร่วมกัน ตลอดจนเข้าใจร่วมกันในความจริงที่เป็นธรรมชาติของโลกและชีวิตที่จะรองรับความเป็นมนุษย์ของเราไว้ด้วยกัน เพียงเท่านี้ก็อยู่เป็นสุขและพัฒนาได้ดีแน่ บนฐานแห่งความสัมพันธ์ที่ดีงามมั่นคง โดยที่แต่ละคนก็มีความระลึกถึงกันมีน้ำใจประสานร่วมมือต่อกัน สังคมก็ยึดเหนี่ยวเกาะกุมกันอยู่ให้เกิดภาวะที่เรียกว่า เอกภาพ

พระพุทธศาสนากับประชาธิปไตย

พระพุทธศาสนากับประชาธิปไตย
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาธิปไตยมาตั้งแต่เริ่มแรก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงมอบให้พระสงฆ์เป็นใหญ่ในกิจการทั้งปวงเสียอีกลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนามีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด พระธรรม คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระวินัยคือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเมื่อรวมกัน เรียกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งมีความสำคัญขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานเพียงเล็กน้อย
2. มีการกำหนดลักษณะของศาสนาไว้เรียบร้อย ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ลักษณะของพระพุทธศาสนาคือสายกลาง ไม่ซ้ายสุด ไม่ขวาสุด ทางสายกลางนี้เป็นครรลอง อาจปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดก็ได้ โดยใช้สิทธิในการแสวงหาอดิเรกลาภตามที่ทรงอนุญาตไว้ ในสมัยต่อมา เรียกแนวกลางๆ ของพระพุทธศาสนาว่า วิภัชชวาที คือศาสนาที่กล่าวจำแนกแจกแจง ตามความเป็นจริงบางอย่างกล่าวยืนยันโดยส่วนเดียวได้ บางอย่างกล่าวจำแนกแจกแจงเป็นกรณี ๆ ไป
3. พระพุทธศาสนา มีความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย บุคคลที่เป็นวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมาแต่เดิม รวมทั้งคนวรรณะต่ำกว่านั้น เช่นพวกจัณฑาล พวกปุกกุสะคนเก็บขยะ และพวกทาส เมื่อเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว มีความเท่าเทียมกัน คือปฏิบัติตามสิกขาบทเท่ากัน และเคารพกันตามลำดับอาวุโส คือผู้อุปสมบทภายหลังเคารพผู้อุปสมบทก่อน
4. พระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย เช่นในฐานะภิกษุเจ้าถิ่น จะมีสิทธิได้รับของแจกก่อนภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันมีสิทธิได้รับของแจกตามลำดับพรรษา มีสิทธิรับกฐิน และได้รับอานิสงส์กฐินในการแสวงหาจีวรตลอด 4 เดือนฤดูหนาวเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ จะอยู่จำพรรษาวัดใดก็ได้เลือกปฏิบัติกรรมฐานข้อใด ถือธุดงควัตรข้อใดก็ได้ทั้งสิ้น
5. มีการแบ่งอำนาจ พระเถระผู้ใหญ่ทำหน้าที่บริหารปกครองหมู่คณะ การบัญญัติพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง เช่นมีภิกษุผู้ทำผิดมาสอบสวนแล้วจึงทรงบัญญัติพระวินัย ส่วนการตัดสินคดีตามพระวินัยทรงบัญญัติแล้วเป็นหน้าที่ของพระวินัยธรรมซึ่งเท่ากับศาล 6. พระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือ ใช้เสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียกว่า วิธีเยภุยยสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี