วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความคิดทางการเมืองยุคกลาง

ความคิดทางการเมืองยุคกลาง
อาจารย์ สุรชัย เจนประโคน

คำว่า “ยุคกลาง” หมายถึงช่วงระยะเวลาตั้งแต่ศตวรรษที่ห้า จนถึงศตวรรษที่ สิบสาม ของยุโรป เพราะก่อนศตวรรษที่ห้าเป็นยุคของโรมัน ส่วนหลังศตวรรษที่สิบสี่ก็เข้าสู่ยุคฟื้นฟูอารยธรรมกรีกและโรมันอย่างเต็มตัว หรือเรียกว่า “Renaissance” และที่สำคัญก็คือผู้คนชาวยุโรปในช่วงเวลาที่เรียกว่า “ยุคกลาง” นั้น มิได้ตระหนักสำนึกรู้ว่าพวกเขาอยู่ใน “ยุคกลาง” และมิได้สำนึกว่าพวกเขาอยู่ในยุคกลาง และพวกเขาเรียกยุคของเขาว่า “ยุคใหม่” (Modern) ด้วยเหตุที่หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ผู้คนในยุโรปต่างตระหนักว่ายุคสมัยหนึ่ง (ยุคแห่งความรุ่งเรืองของจักรวรรดิโรมัน) ได้สิ้นสุดลงแล้ว
และได้เข้าสู่ยุค “หลังจักรวรรดิโรมัน” ซึ่งพวกเขาเรียกมันว่า “ยุคใหม่” และเรียกยุคของจักรวรรดิโรมัน ที่ล่มสลายไปว่าเป็น “ยุคโบราณ”
[1]
ขณะเดียวกัน เราก็ต้องเข้าใจด้วยว่านัยความหมายของยุคสมัยใหม่ ของพวกเขานั้นแตกต่างไปจากความเข้าใจใน “ยุคสมัยใหม่” อย่างที่เราเข้าใจ กัน ในปัจจุบัน เพราะ “ยุคใหม่” ของพวกเขานั้นเป็นอะไรที่ ว่างเปล่า สูญเสีย ไม่มีอะไรที่ยิ่งใหญ่ เพราะความยิ่งใหญ่ได้หายไปพร้อมๆ กับการจบลงของยุคแห่งความรุ่งเรืองของจักรวรรดิโรมัน
พวกเขามองกลับไปที่ “ยุคโบราณ” อย่างชื่นชมและอาลัยอาวรณ์ ด้วยเหตุผลที่พวกเขาเชื่อว่าศิลปะวิทยาการหรือภูมิปัญญา “โบราณ” นั้นยิ่งใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดแล้ว
ดังนั้นเมื่อพวกเขาเข้าสู่ “ยุคใหม่” ที่ว่างเปล่าและต่ำต้อย จึงเป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องฟื้นฟู “ภูมิปัญญาโบราณอีกครั้งหนึ่ง การพยายามฟื้นฟูภูมิปัญญาโบราณให้กลับฟื้นคืนมานั้นได้ดำเนินไปตั้งแต่ศตวรรษที่ห้าจนถึงศตวรรษที่สิบห้า
แต่หลังจากการค้นพบทวีปใหม่ของโคลัมบัส และการค้นพบกฎธรรมชาติหรือกฎวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ของกาลิเลโอ ก็ได้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ท้าทายความถูกต้องสมบูรณ์แบบของภูมิปัญญาโบราณอันยิ่งใหญ่ และได้นำไปสู่วิวาทะครั้งใหญ่ในหมู่ชนชั้นสูงและผู้ทรงปัญญาความรู้ในยุโรป ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ “การวิวาทะระหว่างผู้ที่นิยมภูมิปัญญาโบราณ และผู้ที่นิยมภูมิปัญญาสมัยใหม่” (the Quarrel between the Ancients and the Moderns)
[2]
วิวาทะ ที่ว่านี้ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายศตวรรษที่สิบหกเรื่อยมาจนถึงปลายศตวรรษที่สิบแปด และลงเอยด้วยชัยชนะของพวกที่นิยมภูมิปัญญาสมัยใหม่ โดยรูปธรรมของชัยชนะคือ “การปฏิวัติฝรั่งเศส 1789” ซึ่งล้มล้างสิ่งต่างๆ ของระบอบเก่า[3] โดยสิ้นเชิง ทำให้คนยุโรปตระหนักถึงการก้าวเข้าสู่ “ยุคสมัยใหม่” ที่แท้จริง ที่เลิกนิยมภูมิปัญญาโบราณและหันมาชื่นชมยกย่อง “ความรู้ใหม่” และการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ซึ่งดำเนินสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น จึงได้มีการเรียกขาน “ยุคใหม่” ที่อยู่ในช่วงระหว่าง ศตวรรษที่ห้าจนถึงศตวรรษที่สิบสามเสียใหม่ว่า “ยุคกลาง” อันหมายถึงยุคที่อยู่ระหว่าง ยุคโบราณ และยุคสมัยใหม่ และนี่เป็นที่มาของยุคกลาง ซึ่งไม่มีใครในยุคนั้นรู้ว่าตนอยู่ในยุคกลาง หรือเป็นคนยุคกลาง
เมื่อพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า “ความคิดทางการเมืองยุคกลาง” จะพบว่า ในการพยายามให้คำจำกัดความของหลักการสำคัญของความคิดทางการเมืองยุคกลางนั้นอาจกล่าวได้ว่า ยุคกลางคือยุคที่กลับหัวกลับหางกับยุคคลาสสิก เพราะในยุคคลาสสิกศาสนาเป็นแค่ฐานให้กับการเมือง แต่ในยุคกลาง ศาสนามีอิทธิพลครอบงำการเมือง แต่ในยุคกลาง ศาสนามีอิทธิพลครอบงำการเมือง และเป็นตัวกำหนดความชอบธรรมทางการเมืองด้วย โดยเชื่อว่าการดำรงอยู่ของสังคมจะต้องอิงอยู่กับความศรัทธาทางศาสนาที่ทุกคนต้องมีร่วมกัน
จากความเชื่อดังกล่าวนี้ทำให้สังคมสมัยกลางเป็นอาจักรของคริสต์ศาสนา
[4] และในทำนองกลับกัน เราก้กล่าวได้ว่า การสิ้นสุดของความคิดทางการเมืองยุคกลางในประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตกได้เกิดขึ้นเมื่อสภาวะของการขึ้นต่อศาสนาของสังคมการเมืองทั้งในทางปฏิบัติและในทางทฤษฎีได้ยุติลง
ส่วนในโลกตะวันตก ยุโรปสมัยกลาง
[5] ถือกำเนิดขึ้นมาหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ยุโรปอยู่ภายใต้อิทธิพลของจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิโรมันได้ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพทางการเมือง และสังคมที่มีกลไกที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั่วพื้นแถบเมดิเตอร์เรเนียน
แต่เมื่อราวศตวรรษที่ 4-5 โครงสร้างทั้งกมดที่เคยดำรงสืบเนื่องมาภายใต้อารยธรรมโรมันในบริเวณฝั่งตะวันตกของพื้นที่ดังกล่าวได้ล่มสลายลง ด้วยน้ำมือของพวกอนารยชนและชาวคริสต์
พวกอารยชนเหล่านี้ได้รับเอาอารยธรรมละตินของชาวโรมันมาในทำนองเดียวกันกับที่ชาวโรมันรับอารยธรรมตลอดจนศิลปะวิทยาการกรีกหลังจากได้พิชิตชาวกรีกได้แล้ว
เมื่อพิจารณาความคิดทางการเมืองยุคกลางภายใต้บริบทดังกล่าว จะพบว่ามีองค์ประกอบสำคัญสามส่วนนั้นคือ อิทธิพลของคริสต์ศาสนา อารยธรรมโรมันที่สืบต่อมาจากอารยธรรมกรีกและส่วนที่มาจากพวกอนารยชนเอง
ในองค์ประกอบแรก จะพบว่าโลกทัศน์ทางการเมืองแบบคริสต์ศาสนาอยู่ภายใต้อิทธิพลความเชื่อในเรื่องบาปดั้งเดิมของมนุษย์ (original sin) ซึ่งส่งผลให้พวกพระในคริสต์ศาสนาสรุปว่า ความจำเป็นในการใช้อำนาจทางการเมือง (authority) สืบเนื่องมาจากความชั่วร้ายในธรรมชาติ ของมนุษย์เอง ดังนั้นอำนาจทางการเมืองจึงมีไว้เพื่อทั้งลงโทษและแก้ไขบาปของมนุษย์
จะเห็นได้ว่า โลกทัศน์ทางการเมืองแบบคริสต์ศาสนานี้ตรงกันข้ามกับความคิดทางการเมืองในยุคคลาสสิกของเพลโตและอริสโตเติลที่อธิบายว่า การเมืองการปกครองเป็นเรื่องที่เป็นผลพวกของธรรมชาติของมนุษย์และเป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์พบกับความสมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์
ความคิดทางการเมืองยุคกลางจึงปฏิเสธความคิดของอริสโตเติลที่ว่า “มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์การเมือง” โดยเฉพาะความคิดทางการเมืองยุคกลางในช่วงต้นๆ ที่เห็นว่ารัฐและการเมืองไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่เป็นเรื่องที่มนุษย์สร้างหรือตกลงกันขึ้นมาเองที่หลัง (convention) และที่สำคัญ มันเป็นการตกลงกันของคนที่ไม่บริสุทธิ์สมบูรณ์ (imperfect man) เพื่อที่จะหาทางที่จะมีชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในโลกที่เต็มไปด้วยคนบาป (to make the best of a bad job) ดังนั้นเราจะพบว่า บรรดาพระในคริสต์สาสนาอธิบายสถาบันทางสังคมการเมืองที่ดำรงอยู่ในสมัยนั้นว่าเป็นสิ่งที่เป็นผลพวกจากความตกต่ำหรือบาปของมนุษย์ (the fall of man)
วิธีคิดดังกล่าวนี้มองว่า “การเมือง – การปกครอง” ไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นจากความจำเป็น อันมีสาเหตุมากจากบาปและความชั่วร้ายของมนุษย์ของคริสต์ศาสนา มีส่วนคล้ายคลึงกับความคิดทางการเมืองของนักคิดที่ไม่ช่ชาวคริสต์ หรือพวกที่ไม่ได้นับถือพระเจ้าในสมัยโรมัน (pagan) ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดของพวกสโตอิก (stoic) ซึ่งเป็นสำนักคิดที่ได้รับความนิยมในช่วงต้นคริสตกาลหรือปลายยุคโรมันโดยเฉพาะความคิดของนักคิดโรมัน ชื่อ เซเนกา เขาได้แบ่งมนุษย์ออกเป็นสองยุค ยุคแรกได้แก่ยุคทองที่มนุษย์ทุกคนมีความสุขสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องมีการเมืองการปกครองแต่อย่างใด ส่วนอีกยุคหนึ่งคือยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่ไม่สมบูรณ์ อันเกิดจากความฉ้อฉลของมวลมนุษย์ด้วยกันเอง แต่กระนั้น ความแตกต่างระหว่างมุมมองของเซเนกาและคริสต์ศาสนาอยู่ที่เซเนากา เห็นว่า อารยธรรมเป็นตัวทำให้มนุษย์เลวลง ส่วนคริสต์ศาสนาเห็นว่าสาเหตุของความตกต่ำของมนุษย์อยู่ที่วิญญาณชั่วร้ายของมนุษย์เอง
มรดกทางความคิดอีกประการหนึ่งของสโตอิก ซึ่งเป็นสำนึกคิดสำคัญแห่งอารยธรรมโรมัน ที่มีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองยุคกลาง และพวกชาวคริสต์ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างมากในภายหลัง นั้นคือ เรื่อง กฎธรรมชาติ สากล (the idea of a universal law of nature) ความคิดที่ว่านี้เชื่อว่า มีกฎแห่งจักรวาลที่โยงใยสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเข้าด้วยกัน และนำสรรพสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายนี้ไปสู่ความสมบูรณ์ที่เป็นธรรมชาติ ของแต่ละสรรพสิ่งนั้น
อย่างไรก็ตาม พวกสโตอิก ไม่ได้อธิบายให้ชัดเจนลงไปว่า กฎดังกล่าวที่ว่านี้เป็นกฎที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายไม่ว่าคนหรือสัตว์ รับรู้ได้อยู่แล้วโดยสัญชาตญาณ หรือ กฎดังกล่านี้เป็นสิ่งที่มนุษย์เท่านั้นที่รับรู้ได้โดยอาศัยพลังหรือศักยภาพในการใช้เหตุผลที่มีอยู่เฉพาะในตัวมนุษย์ เมื่อไม่มีการอธิบายไว้ให้ชัดเจน พวกนักคิดในคริสต์ศาสนาในช่วงต้นๆจึงได้เลือกที่จะเชื่อในคำอธิบายในแบบที่สอง นั้นคือ มนุษย์ เท่านั้นที่สามารถรับรู้การดำรงอยู่ของกฎธรรมชาตินี้
ต่อมา นักคิดทางการเมืองในช่วงต้นคริสต์ศาสนาอย่างอากัสติน
[6] เป็นผู้มีอิทธิพลสำคัญยิ่งต่อการก่อการร่างความคิดทางการเมืองยุคกลาง โดยงานเขียนสำคัญของเขาชื่อ “The City of God” มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความเป็นปฎิปักษ์กันของชีวิตสองแบบ นั่นคือ ชีวิตของชาวคริสต์ที่มีจิตวิญญาณที่กลับใจ และมุ่งสู่การหลุดพ้นและชีวิตของสังคมอันตกต่ำของพวกมนุษย์ที่ละเลยพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งการแบ่งชีวิตของสังคมอันตกต่ำของพวกมนุษย์ที่ละเลยพระผู้เป็นเจ้าซึ่งการแบ่งชีวิตออกเป็นงานสองแบบของออกัสตินนี้ส่งผลต่อการอธิบายเรื่องการเมืองในความคิดทางการเมืองยุคกลางอย่างเห็นได้ชัด
ออกัสตินมิได้มุ่งหมายให้ “The City of God” เป็นงานทาง “ปรัชญาทางการเมือง” แต่ประการใด เพราะเจตนาในการเขียนงานชิ้นนี้มุ่งไปที่การตอบโต้ข้อกล่าวหาของพวกที่ไม่ได้นับถือพระเจ้า (pagan) ที่กล่าวหาว่าคริสต์ศาสนาเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จักรวรรดิโรมันล่มสลาย และในการโต้แย้งนี้ออกัสตินได้สร้างสิ่งที่เราสามารถเรียกได้ว่าเป็น ปรัชญาประวัติศาสตร์ ในแนวทางคริสต์ศาสนาอย่างเป็นระบบขึ้นครั้งแรกอันเป็นการกล่าวถึงเรื่องราวของมนุษย์ชาติทั้งมวล ที่ครอบคลุมกาลเวลาทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยตั้งประเด็นในการดำเนินเรื่องราวของมนุษยชาติ อยู่ที่ความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างสองนคร นั่นคือ นครของพระผู้เป็นเจ้า (the city of God) และนครของวิญญาณชั่วร้าย (the city of Devil)
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรพึงระมัดระวังให้ดีในการตีความในประเด็นนี้ก็คือ ออกัสตินไม่ได้กล่าวอย่างเจาะจงชัดเจนลงไปเลยว่า ศาสนจักร คือนครแห่งพระผู้เป็นเจ้า (the city of God) หรือตีตราว่า รัฐหรืออาณาจักร (the State) ที่มีฆราวาสเป็นผู้นำนั้นเป็นนครแห่งมารร้าย (the city of Devil) เพราะเราพบเพียงว่าตลอดข้อเขียนของเขานั้น เขากล่าวว่า ตราบจนถึงวันพิพากษา (the day of judgement) ทั้งคนดีหรือคนที่พระผู้เป็นเจ้าเลือก และคนเลวหรือคนที่พระผู้เป็นเจ้าสาปแช่งนั้นต่างมีอยู่ปะปนกันทั้งในโลกของพระหรือศาสนจักร และในโลกของฆราวาสหรือรัฐ
ข้อที่ควรสังเกตให้ความสนใจอีกประการหนึ่งคือ ในบทที่สิบเก้า ใน the city of God ออกัสตินได้กล่าวถึงปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของศาสนจักรที่มีต่ออำนาจทางการเมืองทางโลกที่มีรัฐต่างๆ เขากล่าวว่า ความยุติธรรมที่แท้จริงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในรัฐหรืออาณาจักรของคนที่ไม่นับถือคริสต์เพราะคนเหล่านี้ไม่เชื่อฟังและไม่เคารพพระผู้เป็นเจ้า แต่เฉพาะในชุมชนทางการเมืองของชาวคริสต์เท่านั้นที่เป็นรัฐที่แท้ (a true commonwealth) และชาติของชาวคริสต์เท่านั้นที่เป็นเงื่อนไขสำคัญอย่างยิ่งที่จะก่อให้เกิดความยุติธรรมที่แท้จริงได้
ด้วยเหตุนี้ออกัสตินจึงไม่ยอมรับว่า รับของพวกนอกศาสนาเป็นรัฐที่แท้ แต่กระนั้นก็ดี เขากลับรับว่า รัฐของพวกนอกศาสนาเป็นรัฐที่แท้ แต่กระนั้นก็ดี เขากลับยอมรับว่า การที่คนมาอยู่รวมกันเป็นพลเมืองและมีเป้าหมายร่วมกันก็สามารถจะเรียกชุมชนของพวกนอกศาสนานี้ว่าเป็นรัฐได้ในระดับหนึ่งหากรัฐดังกล่าวสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานขั้นต่ำสุดของการมีระเบียบและความสงบเรียบร้อยทางด้านวัตถุได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวคริสต์สามารถใช้ประโยชน์ได้ในช่วงเวลาของการแสวงบุญในโลกมนุษย์
จากความคิดที่เชื่อว่าชุมชนทางการเมืองของชาวคริสต์เท่านั้นที่เป็นรัฐที่แท้ และรัฐของชาวคริสต์เท่านั้นที่เป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งที่จะก่อให้เกิดความยุติธรรม เราจะพบการขยายความต่อไปได้อีกว่า ความยุติธรรมในสังคมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้มีอำนาจทางการเมืองมีคุณธรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อคุณธรรมตามแนวของคริสต์ศาสนาเป็นกรอบในการใช้อำนาจทางการเมือง ย่อมส่งผลให้เกิดความยุติธรรมแก่สังคมโดยรวม ดังนั้น สิทธิทางการเมือง ย่อมสมควรถูกจำกัดอยู่แต่ผู้ที่มีคุณธรรมเท่านั้น และผู้ที่ทรงคุณธรรมตามแนวคริสต์ศาสนาย่อมได้แก่ พระ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ปกครองทางจิตวิญญาณ และ รวมถึงฆราวาสที่ได้รับการยอมรับจากพระให้เป็นผู้ปกครองทางโลก หรือทางกาย อันมีสถานะต่ำกว่าพระซึ่งเป็นผู้ปกครองทางจิตวิญญาณ ด้วยวิญญาณเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์และมีสถานะสูงกว่า กาย และด้วยเหตุนี้นี่เองที่ทำให้ การยอมรับความเท่าเทียมกัน ของสมาชิกทุกคนในสังคมย่อมไม่ใช่สิ่งที่จะก่อให้เกิดความยุติธรรมและความดี เพราะคนดีย่อมต้องอยู่เหนือความชั่ว คนที่มีคุณธรรมย่อมต้องอยู่เหนือคนที่ไม่มีคุณธรรม
เราจะพบว่า ประเด็นข้างต้นนี้มีส่วนคล้ายคลึงกับแนวคิดทางการเมืองกรีกโบราณของเพลโตที่ว่า ผู้รักในความรู้ (Philosopher) เท่านั้นที่ สมควรที่เป็นผู้ปกครอง (ruler) หรือแนวคิดทางการเมืองของ อริสโตเติล ที่ปฎิเสธ ความเท่าเทียมกันตามหลักคณิตศาสตร์ (arithmetic equality) ซึ่งยืนยันว่า คนดีมีคุณธรรมเท่านั้นสมควรที่จะมีสิทธิทางสังคมการเมืองหรือมีสิทธิทางสังคมการเมืองมากกว่าคนผู้ไร้ซึ่งคุณธรรม และด้วยเหตุนี้เองที่พวกพระในฐานะที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมความดีย่อมมีสิทธิ์ต่างๆ เหนือคนธรรมดาทั่วไป และผู้ที่ได้รับการยอมรับจากพระให้เป็นตัวแทนในการปกครองทางโลกย่อมมีสิทธิ์เหนือคนธรรมดาทั่วไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความคิดคริสต์ศาสนานี้ แน่นอนว่า อำนาจสูงสุดย่อมเป็นอำนาจของฝ่ายสงฆ์ และการใช้อำนาจดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถปฎิเสธได้ ไม่ว่าผลที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจนั้จจะเป็นอย่างไรก็ตาม ดังที่ สันตะปาปาเกลาซิอุสที่ หนึ่ง (Pope Gelasius I) ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่าง ค.ศ.492-496 ได้พยายามกำหนดความชัดเจนของอำนาจของศาสนจักรขึ้น ซึ่งปรากฎในเนื้อหาของจดหมายที่พระองค์ได้เขียนถึงอนาสทาซิอุสที่ หนึ่ง (Anastasius I) จักรพรรดิแห่งอนาจักไบแซนไทน์ว่า “อำนาจการปกครองที่สำคัญในโลกนี้มีอยู่สองประเภทเท่านั้น นั่นคือ อำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ (the sacred authority or auctoritas) ซึ่งเป็นของสันตะปาปา และพระราชอำนาจของกษัตริย์ (potestas)”
ในการเขียนจดหมายนี้ สันตะปาปาเกลาซิอุสมีพระประสงค์ที่จะต่อต้านการขยายอำนาจของฝ่ายอาณาจักรโดยจักรพรรดิอนาสทาซิอุส พระองค์กล่าวย้ำว่า ระหว่างสองอำนาจนี้ อำนาจทางจิตวิญญาณย่อมอยู่เหนือกว่า และการใช้คำว่า Auctoritas สำหรับอำนาจฝ่ายอาณาจักรของกษัตริย์นั้นบ่งชี้ถึงลำดับความสำคัญในตัวมันเองอยู่แล้ว เพราะ auctoritas ตามนัยกฎหมายโรมัน หมายถึงต้นกำเนิดของอำนาจการปกครองสูงสุดในขณะที่ potestas หมายถึงการเป็นตัวแทนที่ได้รับมอบหมายอำนาจการปกครองและนำไปปฎิบัติ
การ

[1] Ancient
[2] Querelle Ddes anciens et des modernes, in Tilo Schabert, “Modernity and History I: What is Modernity?,” pp.12-13 in The Promise of History: Essays in Political Philosophy, Athanasios Moulakis, edt. (Berlin and New York: Walter d Gruyter: 1986).
[3] Ancient regime
[4] Christian Commonwealth
[5] The Middle Ages
[6] St.Augrstine of Hippo: 354-430

รัฐศาสตร์ทั่วไป

อ.สุรชัย เจนประโคน
คำนิยามของ วี.โอ.คีย์[1]
การเมืองเป็นเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการบังคับบัญชาและถูกบังคับบัญชา การควบคุม การเป็นผู้ปกครองและถูกปกครอง[2]
การเมืองตามคำนำยามนี้เป็นเรื่อง อำนาจ อันได้แก่ การได้มาและรักษาไว้ซึ่งอำนาจหรืออิทธิพลทางการเมือง “อำนาจ” หมายถึง การลดหลั่นในเรื่องการบังคับบัญชา มีการแบ่งงานระดับสายงาน หรือมีการแบ่งว่าไครเป็น
1.ผู้ปกครอง (คือรัฐ)
2.ใครเป็นผู้อยู่ใต้การปกครอง (ราษฎร์)

คำนิยามของ David Easton[3]
การเมือง เป็นการ แบ่งสันปันส่วนหรือจัดสรร โดยใช้อำจาจอันเป็นที่ได้รับการยอมรับหรือที่ถือว่าเป็นไปตามสิทธิอำนาจ (authoritative allocation of values)[4] เป็นคำนิยามที่เน้นการแบ่งสรรประโยชน์

คำนิยามของโวลิน
เน้นสามประเด็นหลักช่วยให้เข้าใจได้อย่างสมบูรณ์
[1] นักรัฐศาสตร์อเมริกัน ช่วงประธานาธิบดีไอเซนเฮาวร์
[2] V.O.Key, Jr.Politics, Parties and Pressure Groups, 4th ed., Crowell, 1985, p.6
[3] นักรัฐศาสตร์ร่วมสมัยกับ V.O.Key
[4] David Easton. The Political System. New York: Knopf, 1957, p.180

รัฐศาสตร์ทั่วไป

รัฐศาสตร์ทั่วไป
Introduction to Political Science

อ.สุรชัย เจนประโคน

รัฐศาสตร์ เป็นศัพท์ที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ
1.Politics การเมือง
2.Political Science รัฐศาสตร์
3.Government การปกครอง
ความแตกต่างของศัพท์ 3 คำมีอยู่บ้าง แต่ในวงการรัฐศาสตร์ตะวันตกใช้ในความหมายที่แทนกันได้ อ้างจาก Encytclopedia of the Social sciences สารานุกรมสังคมศาสตร์.Vol.11, New York: Macmillan, 1954, p.225
คำศัพท์ในภาควิชาในสหรัฐอเมริกาเน้น ความเป็นวิชาการและมีความเป็นเอกเทศ คือ เป็นตัวของตัวเองมากไม่ใช่อยู่ใต้บังคับบัญชาเชิงบริหารอย่างสังคมไทย ซึ่งขึ้นอยู่กับคณะ วิชา
ความแตกต่างระหว่าง “รัฐศาสตร์” กับ “การเมือง” ที่ใช้ในภาษาไทย คือ “รัฐศาสตร์” เป็นเรื่องวิชาการ ซึ่งมีการจัดระบบหมวดหมู่อย่างชัดแจ้ง
ศัพท์ “การเมือง” ในภาษาพูดมีความหมายเอนเอียงไปในทางลบ หรือไม่ค่อยดีนัก ซึ่งเข้าใจในเรื่องขัดแย้งด้วยผลประโยชน์ ส่วนตัว
“การเมือง” อิงรากศัพท์มาจาก “Polis” ซึ่งเป็นภาษากรีก แปลว่า นครรัฐ
[1]อันเป็นการรวมตัวทางการเมืองแบบหนึ่ง ซึ่งใหญ่กว่าระดับครอบครัวหรือชนเผ่า
ต้นตอของ “รัฐศาสตร์” หรือที่เราใช้ในภาษาอังกฤษว่า “political science” มาจากภาษา เยอรมัน คือ staatswissenschaft
[2] แปรตามตัวอักษร คือ “ศาสตร์แห่งรัฐ” ซึ่งพึ่งมีขึ้น ในศตวรรษที่ 18 และ 19 (ประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา) และในภาษาเยอรมัน Staat-สตาต แปลว่ารัฐ และ Wissenschaft –วิสเซนชาฟต์ หมายถึง วิทยาการ ไม่ได้หมายเฉพาะเจาะจงว่าเป็น วิทยาศาสตร์ ดังนั้น จวบจนกระทั่งทุกวันนี้
ศัพท์ “Government” มีรากมาจากภาษากรีก คือ “kybernates”
[3] แปลว่า ผู้ถือหางเสือเรือ ซึ่งคงทำให้เกิดการเปรียบเทียบว่าการเมืองการปกครอง และโดยเฉพาะรัฐบาลเป็นเสมือนเรือที่ไม่อยู่นิ่ง และมีวลี ว่า “รัฐนาวา” (ship of state ) ตามมา

คำนิยาม ของ ลาสเวลล์
การเมือง ได้แก่ เรื่องเกี่ยวกับอิทธิพลและผู้มีอิทธิพลHarold Lasswell กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่อง เกี่ยวกับอิทธิพล (The study of politics is the study of influence and the influential) ในหนังสือชื่อ การเมือง ใครได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร
[1] ยกตัวอย่าง นครรัฐในกรีกโบราณได้แก่ เอเธนส์และสปาร์ตา
[2] อ่านว่า สตาตสวิสเซนชาฟต์
[3] อ่านว่า ไค เบอร์ เน ตีส

การศึกษาปรัชญาการเมือง

การศึกษา ปรัชญาการเมือง ช่วยให้เราจัดรูปแบบและสร้างระเบียบความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ กับตัวของเขาเอง ผ่านทางคำสอน และแนวคิดในเรื่องการรู้จักตัวเอง จิตวิญญาณ และการมีชีวิตที่ดี มีคุณธรรมส่วนนี้สำคัญ
และการที่เป็นส่วนหนึ่งของคุณสมบัติของบุคคลที่จะมาเป็นผู้นำ ผู้ปกครอง สามารถ ที่จะแยกความแตกต่างของผู้ปกครองที่ดีกับผู้ปกครองที่เลว ได้
และได้รู้ซึ้งถึงเรื่องของระบบการปกรองรูปแบบต่างๆ

อาจารย์ สุรชัย เจนประโคน